หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สภาพทั่วไปของจังหวัดระนอง
เขียนโดย ศตพชร พูลแก้ว

Rated: vote
by 21 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ที่ตั้งและสภาพทางภูมิศาสตร์
        จังหวัดระนองเป็นจังหวัดภาคใต้ตอนบน ด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน และ
ประเทศพม่า โดยมีระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) ประมาณ 568 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร ( 2,061,278 ไร่ ) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 60 ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา 86 % มีเกาะใหญ่น้อยในทะเล อันดามัน จำนวน 62 เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ  อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  อำเภอเมือง,อำเภอสวี,อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
 และอำเภอไชยา , อำเภอท่าฉาง , อำเภอบ้านตาขุน
 และกิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ  อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
 และอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดต่อกับ  ประเทศพม่า และทะเลอันดามัน
ลักษณะภูมิประเทศ
      จังหวัดระนองมีลักษณะรูปร่างเรียวยาว แคบ จากทิศเหนือสุดจดใต้สุดยาว 169 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดที่เป็นพื้นดิน ประมาณ 25 กิโลเมตร และมีส่วนที่แคบที่สุด 9 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วย ทิวเขา หุบเขาสลับซับซ้อน และเป็นป่าปกคลุม ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง สูง 1,700 ฟุต

ตารางแสดงลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่จังหวัดระนอง

ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ จำนวน (ไร่)
  พื้นที่ราบ เกือบราบ มีความลาดชัน 0 - 2% 288,580
  พื้นที่ราบลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชันเล็กน้อย คือ 2 - 8% 756,170
  พื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน ได้แก่ พื้นที่ซึ่งมีความลาดชันปานกลาง คือ 8 - 16% 590,590
  พื้นที่ที่เป็นเขา เป็นพื้นที่มีความลาดชันมาก คือ 16 - 35% 380,722
  พื้นที่สูงชัน ได้แก่ ดินที่มีความลาดชัน 35 - 50% 42,050
  พื้นที่สูงชันมาก ได้แก่ พื้นที่มีความลาดชัน 50 - 70% 1,954
  พื้นที่สูงชันมากที่สุด ได้แก่ พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 75% 1,212
รวม 2,061,278

ที่มา : โครงการชลประทานระนอง     

ลักษณะภูมิอากาศ
      อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
                 จังหวัดระนองได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28.01 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.16 องศาเซลเซียส เดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด เคยตรวจวัดอุณหภูมิสูงสุดได้ที่ 39.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2516 และอุณหภูมิต่ำสุดได้ที่ 13.70 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499 นอกจากนี้อิทธิพลของมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน โดยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 77.05% ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 95% ต่ำสุดเฉลี่ย 46.90/%
ลมมรสุมและลมพายุเขตร้อน
                 ลมมรสุม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลอมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก และฝนตกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดระนอง และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
                 พายุเขตร้อน มีชื่อเรียกแต่งต่างกันไป ตามแหล่งกำเนิด ส่วนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน ทั้ง 2 ด้าน ด้านตะวันออก คือ มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตก คือ อ่างเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจาก มหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกมากกว่าตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เป็นแนวที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านจากตะวันออกสู่ทะเลอันดามันหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พายุหมุ่ยฟ้า ได้เคลื่อนผ่าน แต่ขนาดและความเร็วลดลงไปมากทำให้ได้รับความเสียหาย หรือมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย
ลักษณะฤดูกาล
  ฤดูกาลของจังหวัดระนอง แบ่งตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทยออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
             ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของ ฤดูมรสุม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนทั่วไป อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศกลายความร้อนลงไปมาก
             ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมากตลอดฤดู และเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม จะมีฝนตกชุกที่สุดในรอบปี
             ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากจังหวัดระนองอยู่ใกล้ทะเลอุณหภูมิจึงลดลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว อากาศไม่สู้จะหนาวเย็นมากนัก และตามชายฝั่งจะมีฝนตกทั่วไปแต่มีปริมาณไม่มาก

ทรัพยากรธรรมชาติ

  ดิน

                       ลักษณะดินของจังหวัดระนอง  ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกมากนัก  เนื่องจากมีลักษณะเป็นดินตื้น   ระบายน้ำดีเกินไปและมีสภาพเป็นดินเปรี้ยวในบางพื้นที่  เช่น  อำเภอกระบุรี จากข้อมูลของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระนอง  ปี 2547 จากพื้นที่ทั้งหมด 2,061,278  ไร่  สามารถจำแนกตามสภาพการใช้ที่ดินได้ดังนี้

                                (1)  พื้นที่ป่าบก                    1,027,508  ไร่                       (4)  พื้นที่นากุ้ง                           6,171  ไร่

                                (2)  พื้นพื้นที่ป่าชายเลน       156,822  ไร่                       (5)  พื้นที่ไม่ได้จำแนก           869,692  ไร่

                                (3)  พื้นที่แหล่งน้ำ                     1,085  ไร่

ป่าไม้

                          จังหวัดระนองมีป่าไม้อยู่  2 ประเภท

                                (1)  ป่าบก เป็นป่าที่ปรากฏให้เห็นอยู่โดยทั่วไป   ปี 2547  จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าบก          เหลืออยู่   1,027,508  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ  49.80  ของพื้นที่จังหวัด เมื่อรวมพื้นที่ป่าชายเลนอีก จำนวน  156,822  ไร่  แล้วจะมีพื้นที่ป่าทั้งสิ้น   1,184,330  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  57.40  ของพื้นที่จังหวัดทั้งหมด

                                (2)  ป่าชายเลน  จังหวัดระนองอยู่ติดกับทะเลอันดามัน   ชายฝั่งมีน้ำทะเลท่วมถึง    ทำให้เกิดสภาพป่าอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า  ป่าชายเลน  เป็นป่าที่มีสภาพทางนิเวศน์วิทยาที่สำคัญมากเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน  มีไม้ที่สำคัญ ได้แก่  โกงกาง ปรง  ถั่ว  ตะบูน  ประสัก  และอื่น ๆ  จากภาพถ่ายดาวเทียม 

ปี  2546  จังหวัดระนองมีพื้นที่ป่าชายเลนที่คงสภาพประมาณ  158,301.25  ไร่   คิดเป็น 8.09 %  ของพื้นที่จังหวัด   แต่ในปี  2547   มีเนื้อที่ป่าชายเลนเหลืออยู่  156,822  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  7.61

 

                 แหล่งน้ำ

                         แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดระนอง

                                จังหวัดระนอง  มีแม่น้ำลำคลองที่เกิดจากเทือกเขาทางด้านทิศตะวันออกเป็นส่วนใหญ่              มีลักษณะเป็นทางน้ำสายสั้น ๆ  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันทางด้านทิศตะวันตก  ลำน้ำสำคัญ  ได้แก่

                                แม่น้ำกระบุรี  เป็นแม่น้ำสายสำคัญกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย  และประเทศ               สหภาพเมียนม่าร์  ต้นน้ำเกิดจากเขาตุ่น  และเขาจอมแหทางทิศเหนือ  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บริเวณตำบลปากน้ำ  จังหวัดระนอง  ความยาวประมาณ  95  กิโลเมตร

                                คลองลำเลียง  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาบางใหญ่  และเขาแดนทางทิศเหนือ  ไหลลงสู่แม่น้ำ กระบุรีที่บ้านลำเลียง  ความยาวประมาณ  20  กิโลเมตร 

                                คลองปากจั่น  ต้นน้ำเกิดจากเขาปลายคลองบางนาทางทิศเหนือ  ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี            ที่บ้านนาน้อย  ความยาวประมาณ  20  กิโลเมตร

คลองวัน  ต้นน้ำเกิดจากเขาหินลุทางทิศเหนือของจังหวัด  ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี                     ที่บ้านทับหลี  ความยาวประมาณ  20  กิโลเมตร

                                คลองกระบุรี  ต้นน้ำเกิดจากเขาผักแว่นเขตจังหวัดชุมพร - จังหวัดระนอง  ไหลผ่านอำเภอกระบุรีลงสู่แม่น้ำกระบุรีที่บ้านน้ำจืด  อำเภอกระบุรี  ความยาวประมาณ  20  กิโลเมตร

                                คลองละอุ่น  ต้นน้ำเกิดจากเขาห้วยเสียด  และเขาหินด่างทางทิศตะวันออก  ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรีที่บ้านเขาฝาชี  ความยาวประมาณ  50  กิโลเมตร

                                คลองหาดส้มแป้น  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาจอมแหลม  และเขานมสาว  ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรีที่บ้านเกาะกลาง  ความยาวประมาณ  19  กิโลเมตร

                                คลองกะเปอร์  ต้นน้ำเกิดจากเขายายหม่อน  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านบางลำพู  ความยาวประมาณ  32  กิโลเมตร

                                คลองนาคา  ต้นน้ำเกิดจากเขานาคา  และเขาพระหมี  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านนาพรุ  ความยาวประมาณ  30  กิโลเมตร

                                คลองกำพวน  ต้นน้ำเกิดจากเขาพระหมี  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านกำพวน  ความยาวประมาณ  19  กิโลเมตร

                                คลองบางริ้น  ต้นน้ำเกิดจากเขานมสาว  และเขาพ่อตาเขาสูง  ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี                  ที่บ้านบางริ้น  ความยาวประมาณ  25  กิโลเมตร

                                คลองละออง  ต้นน้ำเกิดจากเขานมสาว  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านละออง  ความยาวประมาณ  12  กิโลเมตร

                                   คลองราชกรูด  ต้นน้ำเกิดจากเขาพ่อตาโชงโดง  ไหลลงสู่ทะเลอันดามันที่บ้านราชกรูด  ความยาวประมาณ  12  กิโลเมตร 

 

ผังเมืองและการใช้ที่ดิน

                                สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดระนอง  ได้วางผังเมืองรวม    โดยออกกฎกระทรวงใช้บังคับในพื้นที่จังหวัดระนอง   ครอบคลุมพื้นที่   19.836   ตร.กม.   ซึ่งประกอบด้วย   ตำบลบางนอน    ตำบลเขานิเวศน์    ตำบลบางริ้น    และตำบลปากน้ำ   อำเภอเมืองระนอง    เริ่มใช้บังคับเมื่อวันที่ 14  กันยายน  2533  ปัจจุบันประกาศใช้ฉบับที่ 382    ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่ 115  ตอนที่ 61  จากวันที่ 16 กันยายน 2541 ถึง 15 กันยายน 2546

                                รูปแบบการพัฒนาการใช้ที่ดินของจังหวัดระนองแบ่งออกเป็น  3  ส่วนสำคัญ  คือ

                                (1)  ส่วนที่เป็นเขตสงวน   มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บรักษาไว้    เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศ   และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ   ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางด้านตะวันออกของจังหวัด   และทางด้านตะวันตกบางส่วน

 

(2)  ส่วนที่เป็นเขตอนุรักษ์  เป็นเขตที่จำเป็นต้องรักษาธรรมชาติให้คงอยู่หรือบูรณะให้กลับคืนสู่สภาพธรรมชาติเดิม เพื่อความสมดุลย์ของระบบนิเวศน์

                                (3) ส่วนที่เป็นเขตพัฒนา  เป็นเขตที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด                ซึ่งแบ่งเป็นเขตชุมชนเกษตรกรรม  และอุตสาหกรรม  ซึ่งมีข้อจำกัดเนื่องจากพื้นที่ในเขตพัฒนามีน้อย

 

โครงสร้างพื้นฐาน

                การคมนาคม

                                ทางรถยนต์

                                จากกรุงเทพฯ  ใช้เส้นทางสายธนบุรี - ปากท่อ  ระยะทาง  90  กิโลเมตร  แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข  4  ( ถนนเพชรเกษม )  ผ่านเพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  ถึงสี่แยกปฐมพร  ( ชุมพร )  เลี้ยวขวาไปจนถึงจังหวัดระนอง  รวมระยะทาง  568  กิโลเมตร

 

ทางรถไฟ

                                จากกรุงเทพฯ  ไม่มีรถไฟไประนองโดยตรง  นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางโดยรถไฟ  สามารถลงรถไฟที่สถานีรถไฟชุมพร  แล้วต่อรถโดยสารประจำทางชุมพร - ระนอง  ระยะทาง  122  กิโลเมตร

 

รถโดยสารประจำทาง

                                บริษัทขนส่ง  จำกัด  เปิดบริการเดินรถโดยสารปรับอากาศ  และรถโดยสารประจำทาง  ระหว่างกรุงเทพฯ - ระนอง  ทุกวัน ๆ ละ  7  เที่ยว  ตั้งแต่เวลา  08.40 - 21.45  น.

 

ทางอากาศ 

                                บริษัทภูเก็ตแอร์ไลน์  บริการเที่ยวบินเส้นทางกรุงเทพฯ - ระนอง  สัปดาห์ละ  5  วัน ๆ ละ  1  เที่ยว  ( ยกเว้นวันอังคาร  และวันพุธ )  เวลา  13.15  น.  และระนอง - กรุงเทพฯ  เวลา  15.05  น.  ใช้เวลา           ในการเดินทาง  1  ชั่วโมง  10  นาที

 

การคมนาคมภายในเมืองระนอง

                                เส้นทางคมนาคมภายในจังหวัด  มีถนนลาดยางของทางหลวงแผ่นดิน  ทางหลวงจังหวัดสามารถติดต่อกันได้สะดวกทุกอำเภอ  และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของเทศบาลเมืองระนอง  จำนวน  13  สาย  คือ  ท่าเมือง  เรืองราษฎร์  ชาติเฉลิม  เพิ่มผล  ชลระอุ  ลุวัง  กำลังทรัพย์  ดับคดี  ทวีสินค้า  ผาดาด  ราษฎร์พาณิช  กิจผดุง  บำรุงสถาน  ที่สามารถติดต่อกันได้สะดวกในเขตเทศบาลเมืองระนอง

                                การเดินทางภายในจังหวัดระนองจะมีรถสองแถวบริการในเขตเทศบาลเมือง  และวิ่งรอบเมืองไปบ่อน้ำร้อนและโรงแรมจันทร์สมฮอทสปา  การเดินทางระหว่างต่างอำเภอของจังหวัดระนอง  มีรถสองแถวขนาดใหญ่เป็นพาหนะหลัก  หรือ  อาจจะไปใช้บริการรถโดยสารที่วิ่งระหว่างจังหวัดที่สถานีขนส่ง               มีบริการให้เช่ารถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์สำหรับผู้ต้องการความเป็นส่วนตัว  หรืออาจจะเช่าเหมารถตู้

พร้อมคนขับสำหรับผู้ที่มากันเป็นหมู่คณะ  นอกจากนั้นการเดินทางจากจังหวัดระนองไปจังหวัดใกล้เคียง 

สามารถขึ้นรถที่สถานีขนส่งจังหวัดระนอง  ซึ่งมีรถโดยสารประจำทางไปยังชุมพร   หลังสวน  สุราษฎร์ธานี  ตะกั่วป่า  และภูเก็ต

การคมนาคมภายในตัวเมืองระนอง  ใช้รถสองแถวโดยสารวิ่งรอบเมือง  ดังนี้

                                สายที่  1  :  ตลาดท่าเมือง - หมู่บ้านกิจติมา

                                สายที่  2  :  รอบเมือง - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง

                                สายที่  3  :  บ้านปากคลอง - สามแยกเขาพริกไทย

                                สายที่  4  :  บ้านปากคลอง - บ้านบางนอน

                                สายที่  5  :  หมู่บ้านพรเทพ - ท่าเทียบเรือชาวเกาะ

                                สายที่  6  :  หมู่บ้านปากคลอง - โรงเรียนสตรีระนอง

การคมนาคมจากจังหวัดระนองไปจังหวัดใกล้เคียง  มีรถบัสประจำทางรถธรรมดา                 รถปรับอากาศ  ตามเส้นทางดังนี้

                                ระนอง - ชุมพร                                                    ระยะทาง               122         กิโลเมตร

                                ระนอง - หาดใหญ่                                              ระยะทาง               508         กิโลเมตร

                                ระนอง - ตะกั่วป่า                                                ระยะทาง               174         กิโลเมตร

                                ระนอง - หลังสวน - สุราษฎร์ธานี                   ระยะทาง               223         กิโลเมตร

                                ระนอง - ตะกั่วป่า - ภูเก็ต                                  ระยะทาง               300         กิโลเมตร

                                ระนอง - กระบี่                                                    ระยะทาง               318         กิโลเมตร

                                ระนอง - นครศรีธรรมราช                                ระยะทาง               356         กิโลเมตร

การเดินทางทางน้ำไปเกาะช้างและเกาะพยาม

                                ช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะเป็นช่วงเดือนมกราคม - เมษายน  เพราะเป็นช่วงที่ไม่มีมรสุม  การเดินทางมีความปลอดภัยกว่า  เรือจะมีให้บริการ  2  เที่ยว  เช้า  เวลา  9.00  น.  และบ่าย           เวลา  15.00  น.  ค่าโดยสารคนละ  60  บาท

 

การไฟฟ้า

                             จังหวัดระนองมีจำนวนการไฟฟ้าทั้งหมด  4  แห่ง  คือ  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกะเปอร์  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอละอุ่น  และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค                  อำเภอพะโต๊ะ  ( จังหวัดชุมพร )  มีพื้นที่รับผิดชอบ  44,263  ครัวเรือน  มีไฟฟ้าใช้  43,005  ครัวเรือน  ไม่มีไฟฟ้าใช้  1,258  ครัวเรือน  โดยพื้นที่อำเภอเมือง  อำเภอกะเปอร์  และกิ่งอำเภอสุขสำราญ  อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง  ส่วนอำเภอกระบุรีและอำเภอละอุ่น  อยู่ในความรับผิดชอบของ  2  หน่วยงาน  คือ  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง  ประมาณ  96%  และการไฟฟ้า           ส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร  4%  คือ  พื้นที่อำเภอกระบุรี  เฉพาะตำบลลำเลียง  ม.1 - ม.11  ตำบลน้ำจืด  ม.4 -            ม.8  และตำบลบางใหญ่  ม.1 - ม.5  ( ส่วนที่เหลือ  อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร )  และอำเภอละอุ่น  เฉพาะ ตำบลละอุ่นเหนือ  ตำบลละอุ่นใต้  ตำบลบางพระเหนือ  และตำบล              บางพระใต้  ( ตำบลในวงเหนือ  และตำบลในวงใต้  อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร )

 

                            การกระจายเขตระบบไฟฟ้า




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ข้อคิดสำหรับชีวิตลูกจ้าง (มืออาชีพ)
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ญี่ปุ่น japanese ม.6 รามคำแหง จ-ศ ชลบุรี สมัครงานนิเด็ด พี่เลี้ยงเด็กภูเก็ต บัญชีนครราชสีมา Resturant Manager ผู้จัดการฝ่ายผลิตและวางแผน ขายต่างหวัด lavazza งานวุฒิ ม.6 หาดใหญ่ เเลป การตลาดสมุทรปราการ ประกันสังคม บางวัว งานประเมินราคา รับเหมา งานระบบ Teller sale marketng hotel กรุงเทพ ธุรกิจสะพานควาย jotun เกษต มีที่พักให้ จังหวัดสมุทรสาคร ไม่มีวุฒิ ไม่จำกัดวุฒิ พลักงานฝ่านผลิต วุฒิ ปวส เชียงใหม่ หางานธุรการ สระแก้ว ธุรการบางนา พระโขนง จันจิรา ชมนิกร ลาดพร้าว จตุจักร ฝ่ายผลิต บางปู แปลงบิล oralce งานเขตห้วยขวางรัดชา เจ้าหน้าที่ธุรการแถวงามวงวาน sale ฝั่งธน ฝ่ายผลิต แหลมฉบัง ชลบุรี ธนาคาร กำแพงเพชร สมัครงานราชการ จ.ลพบุรี ธุรการฟรุงเทพ เจ้าหน้าโรงงาน สาทร สีลม -vocdjo หางานโรงแรมนนทบุรี ธุรการการเงินการบัญชี กฎหมาย บางกะปิ ธุรการ กรุงธน n.p.v Manager jewelry กิฟฟารีนบางใหญ่