หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน(อาญา)
เขียนโดย นางสาวกนกวรรณ เจนปรุ

Rated: vote
by 24 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายอาญา

 

กฎหมายอาญา       คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำอย่างใดเป็นความผิด (ลักษณะความผิด) และกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น (ลักษณะโทษ) เช่น

                1. บัญญัติลักษณะความผิดว่าการที่ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต การกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คือ “ความผิดฐานลักทรัพย์”

                2. บัญญัติลักษณะโทษ คือกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดฐานลักทรัพย์ไว้คือ “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 6,000 บาท”

                กฎหมายอาญา  หมายถึง กฎหมายทุกอย่างที่บัญญัติถึงลักษณะความผิดและลักษณะโทษทางอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท

1.       ต้องมีการกระทำ 

การกระทำ    หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก การละเมอ หรือการถูกสะกดจิตแล้วกระทำ

ความผิดในระหว่างนั้น ย่อมไม่ใช่การกระทำ จึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย

2.       ก่อนที่จะมีการกระทำความผิดขึ้น จะมีขั้นตอนของการกระทำเป็น 3 ระยะ

2.1    การคิดที่จะกระทำ

2.2    ตกลงใจหรือตัดสินใจที่จะกระทำ

2.3    ได้มีการกระทำตามที่ตกลงใจนั้น

3.       การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เมื่อมี “การกระทำ”

แล้วต้องพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดหรือไม่ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และฉ้อโกง เป็นต้น โทษทางอาญา มี 5 สถานคือ

3.1    ประหารชีวิต

3.2    จำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา

3.3    กักขัง คือ โทษที่ให้กักตัวผู้กระทำความผิดไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช้เรือนจำ ทางปฏิบัติให้เอาตัวไปกักขังไว้ที่สถานีตำรวจ

3.4    ปรับ คือ โทษที่ผู้กระทำความผิดต้องชำระเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล มิฉะนั้นต้องถูกยึดทรัพย์ใช้ค่าปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ ในกรณีเด็กหรือเยาวชนต้องโทษปรับ ถ้าเด็กหรือเยาวชนไม่ชำระค่าปรับ จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ แต่ให้ส่งตัวไปเพื่อควบคุมและอบรม เช่น ในสถานพินิจ ตามที่ศาลกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 1 ปี

3.5    ริบทรัพย์สิน        

 

4.       ผู้กระทำต้องมีความสามารถรู้ผิดชอบหรือบังคับตนเองได้      เช่น  ผู้กระทำเป็นโรคจิตไม่สามารถบังคับ

ตนเองได้เลย หรือเสพสุราหรือสิ่งมึนเมาเพราะไม่รู้ว่าเป็นสิ่งมึนเมา หรือถูกบังคับข่มขืนใจให้เสพแล้วไปกระทำความผิดขณะมึนเมาขาดสติเช่นนี้พอจะเป็นข้ออ้างแก้ตัวไม่ต้องรับโทษได้สำหรับความผิดที่ได้กระทำลงนั้น อีกกรณีหนึ่งถ้าหย่อนความสามารถเพราะเป็นเด็กหรือผู้มีอายุน้อย กฎหมายก็ลดหย่อนผ่อนโทษหรือไม่ต้องรับโทษเลย

5.       ผู้กระทำโดยเจนา กระทำโดยเจตนา   คือ  การกระทำโดยรู้สำนึกในการกระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำ

ก็ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น

                   การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ระมัดระวังเช่นนั้นได้  แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ เช่น ขับรถยนต์เร็วเกินกำหนดแล้วไปชนคนตาย หรือยกปืนจ้องไปทางเพื่อนประสงค์จะล้อเล่น แล้วปืนลั่นถูกเพื่อนตาย เป็นต้น

                6.    การกระทำนั้นไม่มีเหตุหรือกฎหมายยกเว้นโทษให้ คือบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่ถ้ามีเหตุที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ผู้กระทำผิดนั้นก็ไม่ต้องรับโทษ เช่น สามีฉ้อโกง ยักยอก หรือลักทรัพย์ของภรรยา หรือภรรยากระทำการดังกล่าวต่อสามี กฎหมายบัญญัติว่า ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือผู้ใดกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน แม้คำสั่งนั้นจะมิชอบด้วยกฎหมาย แต่ถ้าผู้กระทำมีหน้าที่หรือเชื่อโดยสุจริตว่ามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

ถ้าข้อเท็จจริงเข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 6 ประการดังกล่าวมาแล้ว ผู้นั้นจึงจะต้องรับโทษทางอาญา ความผิด

ของเด็กและเยาวชนในทางอาญา

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.. 2534

“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบรูณ์

                “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์นั้น ก็หมายความรวมถึงว่าบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปกระทำความผิดอาญาไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวที่จะพิจารณาพิพากษาคดีได้

                ในความผิดทางอาญา ผู้กระทำมีความสามารถรู้ผิดชอบในการที่กระทำไป จึงจะเป็นความผิดต้องรับโทษ เด็กและเยาวชนคือผู้ที่หย่อนความสามารถ ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดให้เด็กและเยาวชนที่ทำความผิดอาญา แม้การกระทำนั้นจะเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับลดหย่อนผ่อนโทษให้ดังนี้

                1. เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิดทางอาญา เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ ยกเว้นโทษให้โดยเด็ดขาด จะเอาตัวเด็กไปกักขังหรือควบคุมใด ๆ แม้ระหว่างสอบสวนก็ไม่ได้ทั้งสิ้น

                2. เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี กระทำความผิดอาญา เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษแต่ศาลอาจใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” เช่นว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไปหรือส่งตัวไปสถานฝึกอบรมสำหรับเด็กชั่วระยะเวลาหนึ่งก็ได้

                3. ผู้ใด (กฎหมายใช้คำว่า “ผู้ใด”) อายุต่ำกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำความผิดอาญา ผู้นั้นอาจถูกศาลใช้ “วิธีการสำหรับเด็ก” หรือถ้าเห็นสมควรจะพิพากษาลงโทษ โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ลดมาตราส่วนโทษ โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ลดมาตราส่วนโทษ เช่น กฎหมายกำหนดอัตราโทษสำหรับความผิดนั้นไว้จำคุกไม่เกิน 10 ปี ถ้าลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งคงเป็นจำคุกไม่เกิน 5 ปีเป็นต้น

                4. ผู้ใดอายุกว่า 17 ปี แต่ยังไม่เกิน 20 ปี กระทำความผิดอาญา ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งสำหรับความผิดนั้นก็ได้ (ไม่ลดเลยก็ได้) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นเยาวชนคืออายุไม่เกิน 18 ปี เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาจำคุกแล้วเปรียบเทียบโทษจำคุก “กักและอบรม” ในสถานกักและอบรมของสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่ผู้นั้นจะมีอายุครบ 24 ปี

 

 

ตารางแสดงเกณฑ์อายุของเด็กที่ต้องรับโทษทางอาญา

 

ผู้ทำผิด

อายุ

วิธีการสำหรับเด็ก

โทษ

เด็ก

ไม่เกิน 7 ปี

(ไม่ต้องใช้วิธีการสำหรับเด็ก)

 

(ไม่ต้องรับโทษ)

เด็ก

กว่า 7 –14 ปี

ใช้วิธีการสำหรับเด็ก

 

(ไม่ต้องรับโทษ)

ผู้ใด

กว่า 14 – 17 ปี

ศาลจะใช้วิธีการสำหรับเด็กก็ได้หรือ

ศาลจะลงโทษโดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งก็ได้

ผู้ใด

กว่า 17 – 20 ปี

(ถ้าอายุไม่เกิน 18 ปี ศาลจะใช้วิธี “กักขังและอบรม” แทนโทษจำคุกก็ได้)

ศาลจะลดมาตราส่วนให้กึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 หรือไม่ลดก็ได้

 

 

วิธีการสำหรับเด็ก ซึ่งศาลอาจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งคือ

1.       ว่ากล่าวตักเตือนเด็กหรือผู้ปกครองแล้วปล่อยตัวไป

2.       วางข้อกำหนดถ้าเด็กไปกระทำความผิดอีก จะปรับบิดามารดาหรือผู้ปกครอง

3.       กำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติของเด็ก เช่น ให้ไปรายงานตัว ให้ฝึกหัดหรือทำงานอาชีพ หรือละเว้นการคบหาสมาคมกับบุคคลที่ศาลเห็นไม่สมควร

4.       มอบตัวเด็กให้อยู่กับบุคคลหรือองค์กรเพื่ออบรมสั่งสอน

5.       ส่งตัวไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกและอบรมของสถานพินิจ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การทำขนมจีน
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ศรีราชา ครู ชลบุรี ผู้จัดการ ผลิต วางแผนบ้านบึง ชลบุรี หางาน รัชดาภิเษก รูปปั้น ปวส ผลิต วุฒิ ม.6 แถวพระราม3 gเขตคันนายาว มาตาพุด หางานเขตบางกระดี่ ไฟฟ้า ประปา งานวุฒิ ม6 งาน เชฟ ด้านความงาม พิษณุโลก วุฒิ ม.6สวนหลวง ประสานงานบางเขน งานการเงินและธนาคาร p.cนครศรีธรรมราช งานว่าง สมุทรปราการ บุคคล+ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ธุรการเขตลาดกระบัง เจ้าหน้าที่ จป Expressราชบุรี place สิ่งพิมพ ผู้จัดการฝ่ายหลักประกัน งานขับรถ นนทบุรี โรงงานฉีดพลาสติก พนังงานบริการ ชลบุรี พาทไทม ผู้ช่วยผู้จัดการ กทม even 7 el แผนกคุมคุณคุณภาพ ชลบุรี backstage งานด้านปริญญาตรี ต่างประเทศ ลาว make-up ธุรการฝ่ายขาย ประสานงานทั่วไป เลขานุการ แถวห้วยขวาง กทม ผุ้จัดการฝ่ายบุคคล การตลาด เดินทาง สมัครงานนวดสปาโคราช โรบินสัน สระบุรี การผลิต/ควบคุม ปวช.บัญชี วาธารณสุข ลานา งานสัตหีบ ธุรการ,บุคคล,ประสานงาน คาลปีด้า