หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สงครามโลก 1
เขียนโดย ศิริศักดิ์

Rated: vote
by 129 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




 

สงครามโลกครั้งที่ 1

มหาสงคราม หรือ สงครามโลกครั้งที่ 1 ระเบิดออกมาในยุโรปเมื่อต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ.1914แต่ละฝ่ายก็กล่าวหาซึ่งกันและกัน ทางฝ่ายเยอรมันประกาศว่ามีการซ่องสุมรวมหัวกันของฝ่ายตรงข้ามเพื่อปิดล้อมเยอรมัน ในขณะที่ฝ่ายพันธมิตร (อังกฤษกับฝรั่งเศส) กล่าวหาว่าเกิดจากการบุกรุกของเยอรมัน เป็นเวลาถึง 20 ปีที่ยุโรปตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด เยอรมันมีความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในอดีต ฝรั่งเศสยังคงต้องแบกรับความขมขื่นที่ต้องสูญเสียแคว้นอัลซัค - ลอร์เรน ในปี ค.ศ. 1817 ออสเตรียกำลังมองหาลู่ทางที่จะเข้าไปยึดครองบริเวณ บอลข่าน เซอร์เบียเป็นศัตรูที่ร้ายกาจต่อออสเตรีย อังกฤษมหาอำนาจทางท้องทะเล ซึ่งเคยให้ความสนใจไม่มากนักในการแก่งแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือทวีปยุโรป ต้องตื่นตระหนกเมื่อเห็นกองทัพเรือของเยอรมันที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เยอรมันแยกความเป็นใหญ่ทางทะเลไปจากอังกฤษ อังกฤษจึงใช้นโยบายสร้างความสนิทกับฝรั่งเศสให้มากขึ้น และพยายามเป็นมิตรกับรัสเซีย ซึ่งบรรยากาศเช่นนี้หมายความว่า ยุโรปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอำนาจ คือ กลุ่มไตรพันธมิตร (Triple Alliance) กลุ่มนี้ประกอบด้วย เยอรมัน ออสเตรีย - ฮังการี และ อิตาลี และกลุ่มไตรภาคีระหว่างประเทศ (Triple Entente) กลุ่มนี้ประกอบด้วย ฝรั่งเศส รัสเซีย และ อังกฤษ พร้อมกับอันตรายที่แขวนอยู่เหนือทวีปยุโรปหากเกิดการทะเลาะขัดแย้งระหว่างประเทศของแต่ละฝ่าย นั้นก็ย่อมทำให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มกระโจนเข้าสู่สงครามไปด้วย ในสมัยที่ลัทธิชาตินิยม ความตกใจจากข่าวทางหนังสือพิมพ์ และ การเผชิญหน้ากับปรปักษ์ กลายมาเป็นวิถีทางประจำวัน การเกิดสงครามย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สงครามมักจะเป็นวิธีการของการแก้ปัญหาและภายหลังที่ยุโรปไม่มีสงครามโดยทั่วๆไปนาน 99 ปีมาแล้ว ความตื่นเต้นและความรุนแรง จึงอาจซ่อนตัวอยู่ลึกๆ มาช้านาน ในปี ค.ศ.1914 ไม่มีใครสักคนรู้เรื่องสงครามโหดและยาวนาน ระหว่างประเทศมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม และยุโรปมีความรู้สึกอยู่เสมอว่าการต่อสู้เพื่อกษัตริย์และประเทศชาติถือเป็นวีรกรรม ดีกว่านั่งอยู่เฉยๆ เมื่อไม่ได้รับความยุติธรรมหรือถูกดูหมิ่น ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นที่เชื่อกันทั่วๆไปว่าความสำเร็จในการทำสงครามคือมาตรการของการยืนอยู่ของประเทศชาติ ในโลกนี้ และเป็นวิธีการทดสอบสูงสุดของความเป็นมนุษย์ ในบรรยากาศเช่นนี้เหตุบังเอิญใดๆ ย่อมทำให้สงครามระเบิดออกมาได้ และเรื่องนี้ก็ได้เกิดขึ้นมาเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ.1914 ในเมืองเล็กๆ ชื่อซาราเยโว ซึ่งอยู่ในแคว้นบอสเนีย ถิ่นที่อยู่ของชาวเซอร์เบีย - โครเตีย ซึ่งออสเตรียได้ผนวกเอามาเป็นดินแดนของตนในปี ค.ศ.1908 ในวันนั้น อาร์ดุ๊ค ฟรานซ์ เฟอร์ดินันด์ รัชทายาทบัลลังก์กษัตริย์ของออสเตรีย ถูกนักศึกษาหนุ่มชาวเซอร์เบียใช้ปืนยิงสิ้นพระชนม์ รัฐบาลออสเตรึยแน่ใจว่าแผนการก่ออาชญากรรมครั้งนั้นได้วางแผนทั้งหมดในเซอร์เบีย จึงตัดสินใจว่าโอกาสจะบดขยี้ประเทศเล็กๆอย่างเซอร์เบียได้มาถึงแล้ว เมื่อมั่นใจว่าเยอรมันซึ่งเป็นพันธมิตรต้องสนับสนุนการปฏิบัติของตน ออสเตรียจึงส่งคำขาดไปยังเซอร์เบีย เรียกร้องเรื่องต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการลบหลู่ เหยียดหยามเซอร์เบียทั้งหมด เป็นเรื่องน่าแปลกประหลาด ซึ่งทางเซอร์เบียยอมรับคำขาดจาก ออสเตรียทั้งหมด ยกเว้นเพียงข้อเดียวและวิกฤติกาลดูเหมือนว่าจะผ่านพ้นไป แต่ออสเตรียกลับประกาศสงครามกับเซอร์เบียในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ.1914 เป็นเวลาหนึ่งเดือนพอดี ภายหลังที่เฟอร์ดินันท์องค์รัชทายาทแห่งบัลลังก์กษัตริย์ของตนถูกนักศึกษาหนุ่มชาวเซอร์เบียยิงด้วยปืนสิ้นพระชนม์ที่เมืองซาราเยโว แคว้นบอสเนีย การตัดสินใจอย่างบ้าระห่ำครั้งนี้ยั่วยุให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ พระเจ้าชาร์ นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงมีความรู้สึกว่าเกียรติภูมิของประเทศชาติบังคับให้รัสเซียต้องให้ความช่วยเหลือเซอร์เบีย ดังนั้น พระเจ้าชาร์ นิโคลาส จึงทรงบัญชาระดมพล เกณฑ์ทหารนับล้านคนส่งไปตามเส้นทางรถไฟไปยังจุดยุทธศาสตร์ตามที่คณะเสนาธิการทหารระบุไว้ เมื่อรัสเซียเคลื่อนกำลังทหาร เยอรมันก็ติดตามสถานการณ์และปฏิบัตืการทำนองเดียวกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือออสเตรึยพัธมิตรของตน และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะบรรดานายพลเยอรมันมีความเชื่อมั่นว่า การเตรียมตัวทำสงครามของรัสเซียใกล้ที่จะสมบรูณ์แล้ว เยอรมันรู้ดีว่าการทำสงครามกับรัสเซียหมายความว่าต้องทำสงครามกับฝรั่งเศสด้วย เพราะสองประเทศนี้เป็นพันธมิตรกัน เยอรมันมีแผนการที่จะจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้ไว้แล้ว คือเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะต้องทำสงครามสองแนวหน้าพร้อมๆกัน เยอรมันจะต้องปราบศัตรูของตนประเทศใดประเทศหนึ่งเสียก่อน และประเทศนั้นจะต้องเป็นฝรั่งเศส ทั้งนี้เพราะรัสเซียมีอาณาเขตกว้างใหญ่ และจะต้องใช้เวลายาวนานกว่าที่จะเอาชนะกองทัพใหญ่โตของรัสเซีย เพื่อเอาดินแดนซึ่งจักรพรรดิเยอรมัน (และต่อมาเป็นนาซีเยอรมัน) ต้องการจากรัสเซียมาผนวกรวมเข้ากับเยอรมัน เพราะรัสเซียเป็นดินแดนที่มีความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล ตามแผนการสงครามของเยอรมัน เยอรมันมีแผนการชิฟเฟ่น ซึ่งจัดเตรียมขึ้นมาในปี ค.ศ.1905 โดยนายพลฟอน ชิฟเฟ่น สาระสำคัญของแผนการรบของนายพลผู้นี้คือ เยอรมันต้องใช้กำลังรบรุนแรงผ่านเข้าไปในประเทศเบลเยี่ยมแล้วผ่านเข้าไปทางแนวป้องกันชายแดนของฝรั่งเศสแล้วโอบรอบเคลื่อนตัวเข้าไปในฝรั่ง-เศสเป็นรูปวงโค้งใหญ่ซึ่งจะโอบกรุงปารีสไว้ เมื่อปราบฝรั่งเศสได้เรียบร้อยแล้วกองทัพเยอรมันก็จะถูกส่งไปยังตะวันออกเพื่อปราบรัสเซียต่อไปอย่างรวดเร็ว โดยเดินทางไปตามเส้นทางรถไฟซึ่งได้จัดสร้างไว้สำหรับแผนการนี้เรียบร้อยแล้ว ถ้าหากอังกฤษเข้าแทรกแซงเยอรมันก็ไม่วิตก เพราะกองทัพทางทะเลของเยอรมันมีประสิทธิภาพมากพอที่จะปราบอังกฤษได้ “การเป็นภาคีระหว่างประเทศ” ระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศสไม่ใช้พันธมิตรทางทหารอย่างแน่ชัด รัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษไม่เคยแสดงท่าทีให้เห็นอย่างแน่ชัดว่าอังกฤษจะรบถ้าหากฝรั่งเศสถูกโจมตี และจนกระทั่งถึงวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1914 อังกฤษก็ยังแถลงว่า กรณีพิพาทระหว่างออสเตรีย - เซอร์เบียไม่เกี่ยวข้องกับอังกฤษ ในสถานการณ์เช่นนั้นฝรั่งเศสได้แสดงตัวให้เห็นว่าพยายามสงบเสงี่ยมและระมัดระวังตัว เป็นที่แน่นอนว่าฝรั่งเศสกลัวเยอรมัน และช่วยรัสเซียสร้างโรงงานและเส้นทางรถไฟ การเคลื่อนไหวของฝรั่งเศสส่วนใหญ่มุ่งป้องกันตัวเองมากกว่า และฝรั่งเศสยังมีความเชื่อมั่นว่าเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง จะดึงอังกฤษเข้ามาอยู่ข้างฝรั่งเศสหากถูกโจมตี เมื่อรัสเซียระดมพล เยอรมันส่งคำขาดเรียกร้องให้รัสเซียหยุดการกระทำเช่นนั้น รัสเซียรู้ดีว่าหากปฏิบัติตามคำขาดของเยอรมันย่อมทำให้รัสเซียไม่สามารถป้องกันตัวเองได้จึงปฏิเสธในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ.1914 เยอรมันจึงได้ประกาศสงครามและตามแผนการชิฟเฟ่น เยอรมันจะต้องเอาชนะฝรั่งเศสก่อนเป็นอันดับแรก ดังนั้นในตอนเช้าของวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ.1914 กองทัพของเยอรมันจึงบุกเข้าไปในประเทศเบลเยี่ยม การไม่เคารพความเป็นกลางของประเทศเล็กๆอย่างประเทศเบลเยี่ยม ทำให้ประเทศอังกฤษกระโจนเข้าร่วมในสงครามอีกประเทศหนึ่ง รัฐบาลพรรคลิเบอรัลของอังกฤษขณะนั้น ซึ่งมีผู้นำในสงครามโลกครั้งต่อไปอยู่สองคนคือ เดวิดลอยด์ ยอร์ช และวินสตัน เชอร์ชิลล์ กำลังให้ความสนใจปัญหาของชาวไอริชภายในประเทศมากกว่าที่จะสนใจความขัดแย้งในบริเวณบอลข่าน และไม่สามารถมองหาเหตุผลที่อังกฤษจะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ดีเมื่อเยอรมันรุกรานเบลเยี่ยมไม่ใช่เรื่องที่ต้องการช่วยฝรั่งเศสหรือต้องการทำลายเยอรมันที่ทำให้อังกฤษต้องจับอาวุธ แต่เป็นเพราะความเห็นใจ “เบลเยี่ยมประเทศเล็กๆที่กล้าหาญ” ซึ่งความเป็นกลางได้รับการคุ้มครองจากสนธิสัญญาแห่งลอนดอน ปี ค.ศ.1839 ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปหลายประเทศ รวมทั้งปรัสเซียได้ค้ำประกันความเป็นกลางนิรันดรของประเทศเบลเยี่ยม มีเหตุผลอะไรที่ทำให้มหาอำนาจ 5 ประเทศทำสงครามกันครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นการยุติการครองความเป็นใหญ่ทางการเมือง เศรษฐกิจ และทหาร ของยุโรปตะวันตกต่อบริเวณส่วนที่เหลือของโลกเรื่องนี้หาเหตุผลได้ แต่เหตุใดประเทศอื่นๆจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งแรกนี้ด้วย ? เรื่องที่สร้างความแปลกใจให้กับทุกประเทศ โดยเฉพาะเยอรมันก็คือประเทศในจักรวรรดิอังกฤษได้เข้าร่วมกับอังกฤษซึ่งเป็นประเทศที่แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศเหล่านั้นเอง เรื่องนี้มีคำอธิบายเพียงอย่างเดียวคือประเทศเหล่านั้นอยู่ข้างอังกฤษ เพราะความจงรักภักดีต่ออังกฤษหรือไม่ก็คำนึงถึงความปลอดภัยของประเทศของตน ถ้าอังกฤษต้องแพ้สงคราม อิตาลีแสดงตัวออกมาให้เห็นแต่ภายนอกว่าเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอำนาจกลาง (Central Power) คือประเทศเยอรมันกับออสเตรีย - ฮังการี อยู่ขณะหนึ่ง แต่ไม่นานก็หันไปเข้ากับฝ่ายพันธ-มิตรในปี ค.ศ.1915 เพราะประเทศอิตาลีได้สัญญาว่าจะได้ส่วนแบ่งดินแดนที่จะแย่งมาจากออส - เตรีย ประเทศตุรกีนั้นก่อนสงครามเอาใจเยอรมันอย่างมากเกลียดชังรัสเซียและระแวงสงสัยกับความทะเยอทะยานของอังกฤษและฝรั่งเศสที่เสาะแสวงหาผลประโยชน์ในตะวันออกกลาง ตุรกีจึงเข้าร่วมกับกลุ่มอำนาจกลาง สหรัฐฯนั้นในที่สุดก็เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรในปี ค.ศ.1917 ทั้งนี้ก็เพราะว่าชัยชนะของเยอรมันย่อมหมายถึงเผด็จการทางทหารในทวีปยุโรป อนึ่งการโฆษณาของฝ่ายพันธมิตรช่วยเบนความเห็นของประชาชนชาวอเมริกัน นอกจากนั้นกองทัพทางทะเลของเยอรมันก็ยังจมเรือพานิชย์ของสหรัฐอยู่เรื่อยๆ และเยอรมันยังเสนอให้เอารัฐเท็กซัสและอริโซนาของสหรัฐคืนให้กับเม็กซิโก หากว่าเม็กซิโกยอมสนับสนุนเยอรมัน เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้สหรัฐเร่งตัดสินใจที่จะกระโจนเข้าสู่สงครามปราบเยอรมัน บัลแกเรียนั้นเกลียดชังเซอร์เบียเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน กรีซนั้นถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่กับค่ายพันธมิตรเพราะฝรั่งเศสและอังกฤษ โรมาเนียเข้ามาอยู่ค่ายเดียวกับกรีซเพราะหวังว่าจะได้ส่วนแบ่งอย่างง่ายๆ ส่วนเยอรมันก็ประกาศสงครามกับโปรตุเกส เพราะว่าโปรตุเกสให้ความช่วยเหลือเรือรบของฝ่ายพันธมิตร สเปนนั้นเห็นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการเป็นกลางเหมือนอย่างสวิตเซอร์แลนด์และกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวียและในที่สุดญี่ปุ่นมิตรของอังกฤษมาตั้งแต่ ค.ศ.1902 ก็เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรทั้งนี้ก็เพราะว่าญี่ปุ่นต้องการอาณานิคมของเยอรมันในจีนและแปซิฟิค เกือบทุกคนต้อนรับสงครามด้วยความกระตือรือร้นในความรักประเทศชาติของตน และมีความคิดว่าสงครามใช้เวลาไม่นานก็คงยุติลง ทำให้คิดว่าเงินทองและความพังพินาศของการค้าระหว่างประเทศย่อมมีมากมหาศาลจนประเทศต่างๆที่เข้าร่วมสงครามไม่อาจเข้าร่วมสงครามได้ยาวนาน ในสมัยก่อนปรัสเซียเคยปราบออสเตรียและฝรั่งเศสโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ และในอดีตอีกเช่นกันที่โดยปกติแล้วทางฝ่ายรัฐบาลจะรีบสงบศึกเป็นเวลานานก่อนที่ประชาชนของประเทศนั้นๆจะหมดแรงหรือพบกับหายนะ การคาดหมายเช่นนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าผิดพลาดในสงครามครั้งนี้ พลังที่สำคัญอยู่ที่ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งประเทศเหล่านี้มีขีดความสามารถในการผลิต และประเทศเหล่านี้ผลิตยุทธปัจจัยเพื่อสงครามได้อย่างต่อเนื่อง และยังมีความสามารถดึงประชาชนจำนวนนับล้านๆคนเข้าประจำกองทัพ และถ้าหากว่าการระดมพลจำนวนมหาศาลเช่นนี้จะทำให้การผลิตอาหารและสินค้าต้องลดปริมาณลงไป(ซึ่งก็ลดลงไปจริงๆ)ประชาชนก็จะต้องรัดเข็มขัด เศรษฐกิจในสมัยปกติจะถูกเก็บเข้าลิ้นชักไว้ก่อน ทั้งนี้ก็เพราะรัฐบาลจะควบคุมอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ค่าจ้างแรงงาน ราคาสินค้า กำลังคนและโฆษณา ถึงกระนั้นก็ดีฝ่ายที่คาดหมายว่าสงครามจะไม่ยาวนานเกือบถูกต้อง กษัตริย์ไกเซอร์แห่งเยอรมันทรงตรัส “จงจำไว้ว่าเราสามารถเข้าถึงกรุงปารีสภายในสองสัปดาห์” ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1914 เมื่อทหารเยอรมันสองกองพลบุกเข้าไปในเบลเยี่ยม คำแถลงของพระเจ้าไกเซอร์ก็เกือบเป็นจริง แต่ก็ได้มีเหตุการณ์สองเรื่องขัดขวางเอาไว้ ก็คือทางประเทศเบลเยี่ยมทำการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นเกินความคาดหมายของกองทัพเยอรมัน และทางรัสเซียเคลื่อนกำลังพลอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งทำให้นายพลมอลเก้ ขุนพลของเยอรมันต้องแบ่งกำลังทหารเพื่อไปป้องกันอันตรายจากรัสเซีย ผลที่เกิดขึ้นนั้นก็คือนายพลมอลเก้ไม่สามารถทุ่มกำลังทั้งหมดเพื่อพิชิตเบลเยี่ยม ให้ได้อย่างรวดเร็วตามแผนการชิฟเฟ่น และก็ไม่สามารถโอบล้อมฝรั่งเศสเป็นแนวโค้งกว้างพอตามแผนการที่ได้กำหนดเอาไว้ และเมื่อกองทัพเยอรมันบุกเข้าไปถึงฝรั่งเศส ซึ่งค่อนข้างล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ และเยอรมันยังต้องพบกับความแปลกใจที่ต้องพบกับการรบอย่างดีจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งคอยสกัดกั้นการรุกคืบหน้าของกองทัพทหารเยอรมันที่เมืองมองส์ ปฏิบัติการของกองกำลังทหารอังกฤษเช่นนี้นั้นทำให้นายพลจอฟฟรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของฝรั่งเศสมีเวลาส่งกองกำลังตอบโต้เมื่อเยอรมันสำคัญผิดเคลื่อนกองทัพไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแนวป้องกันกรุงปารีสแทนที่จะตั้งวงล้อมไว้ ดังนั้นกรุงปารีสจึงปลอดภัยจากการถูกโจมตีอย่างรุนแรงไปได้ ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางท่านเรื่องนี้เท่ากับว่าเยอรมันได้แพ้สงครามไปแล้วเพราะไม่เป็นไปตามแผนเผด็จศึกให้เสร็จสิ้นโดยรวดเร็วตามแผนการที่เยอรมันได้วางแผนเอาไว้ ในเดือนกันยายนกองทัพของเยอรมันได้ถอนตัวกลับไปตั้งกองทัพอยู่ทางเหนือของแม่น้ำ Aisne และภายหลังทำการต่อสู้กับการต่อต้านอย่างเหนียวแน่นของกองทัพของฝ่ายพันธมิตร ในบริเวณแม่น้ำ Yres เพราะฝ่ายพันธมิตรต้องการป้องกันท่าเรือบริเวณช่องแคบอังกฤษเอาไว้ กองทัพซึ่งมีกำลังมหาศาลสองกองทัพของเยอรมันก็หลบลงไปรบอยู่ใต้ดิน ซึ่งได้ขุดเป็นแนวสนามเพลาะทอดตัวยาว นับตั้งแต่ชายฝั่งทะเลเบลเยี่ยมผ่านไปทางเหนือของฝรั่งเศสไปกระทั่งถึงพรมแดนของ สวิตเซอร์แลนด์ สงครามสนามเพลาะซึ่งขุดลึกลงไปในพื้นดินเป็นแนวยาวนั้นไม่ใช่เรื่องที่ใหม่เลย นับตั้งแต่สมัยสงครามกลางเมืองของประเทศอังกฤษ ผู้บัญชาการทหารทุกคนทราบดีว่าดินป้องกันกระสุนปืนใหญ่ได้ดีกว่าหินหรืออิฐ แต่นับตั้งแต่นี้ไปการใช้แนวยาวของสนามเพลาะไม่สามารถที่จะป้องกันการรบที่เรียกกันว่า “ศิลปะ” ของสงคราม ซึ่งใช้การโจมตีด้วยกองทัพของทหารม้าเป็นบางครั้ง การโอบขนาบข้างแนวสนามเพลาะ การถอนตัวตามหลักยุทธวิธี ฯลฯ การใช้ “ศิลปะ” เช่นนี้กลายเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้สำหรับ “แนวรบด้านตะวันตก” ที่เยอรมันเผชิญหน้าอยู่ ซึ่งกองทัพกำลังพลมหาศาลไม่สามารถเคลื่อนตัวได้แต่ต้องเผชิญหน้าซึ่งกันและกันใน “ดินแดนไม่มีผู้คน” มีแต่รั้วลวดหนามขึงกั้นไว้เป็นแนวยาว ลวดหนามผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการทำรั้วไร่ของเกษตรกรของสหรัฐ กลายมาเป็นรั้วป้องกันที่ดีของสงครามครั้งนี้ อย่างไรก็ดีเมื่อสงครามมีอายุผ่านไปไม่กี่เดือน ก็เป็นที่เห็นกันชัดว่าการทุ่มเทกองกำลังทหารราบจำนวนมหาศาลโจมตีทหารเยอรมันซึ่งตั้งมั่นอยู่ในแนวขุดสนามเพลาะ มีปืนไรเฟิ้ลและปืนกลไว้รับมือ ฝ่ายพันธมิตรต้องสูญเสียกำลังไปมากมายในการบุกเข้าไปรบกับทหารเยอรมันที่ตั้งรับไว้เช่นนั้น นายพลของฝ่ายพันธมิตรต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ความจริงว่าจะต้องทำการรบแบบไหน นายพลของฝ่ายพันธมิตรยังต้องถูกกดดันจากนักการเมือง หนังสือพิมพ์ และประชาชน ให้หาทางเอาชนะสงครามให้ได้ไม่ว่าจะต้องสูญเสียสักเท่าไร เยอรมันทุ่มเทความพยายามเต็มที่เพื่อที่จะถล่มศัตรูให้พังพินาศย่อยยับ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธปืนได้ประดิษฐ์กระสุนปืนใหญ่เป็นเรียกว่า “ลูกระเบิดปูพรม” ไว้ใช้สำหรับยิงดักหน้าการเคลื่อนกำลังของกองกำลังทหารราบ แต่ก็ไม่ได้ผลเพราะการยิงด้วยกระสุนปืนใหญ่ขนาดนั้นทำให้ดินโคลนถูกแรงระเบิดกลายเป็นหนองน้ำไม่สามารถทำลายรั้วลวดหนามของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่าจะเข้ายึดแนวหน้าของศัตรูแห่งหนึ่งไว้ได้ ด้านหลังออกไปก็ยังมีแนวสนามเพลาะของข้าศึกตั้งอยู่อีกหลายแนว แนวรบเหล่านี้จะเชื่อมต่อกัน แนวป้องกันแข็งแรงซึ่งได้รับการเสริมกำลังจากแนวหลังอย่างไม่มีวันหมดสิ้น การใช้ก๊าซพิษมีอันตรายเพราะว่ากระแสลมอาจเปลี่ยนทิศทางได้ มีการพยายามที่จะใช้กระสุนปืนใหญ่สำหรับการทำลายรั้วลวดหนาม ซึ่งวิธีนี้ก็พบความสำเร็จไม่มากนัก การใช้เครื่องบินนั้นก็ใช้เพื่อบินสังเกตการณ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ในช่วงต้นๆของสงคราม บรรดาผู้บัญชาการทหารไม่ค่อยศรัทธาสิ่งประดิษฐ์ที่ทำด้วยไม้ ลวดและผ้าใบเท่าใดนัก มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการดวลกันทางอากาศระหว่าง “เหยี่ยว” อากาศที่มีชื่อเสียง และมีการทิ้งระเบิดโดย “เรือเหาะ” เซปเปลิน ของเยอรมัน แต่เรื่องนี้มีผลกระทบต่อการรบบนภาคพื้นดินเพียงเล็กน้อย และไม่มีการผลิตเครื่องบินออกมาใช้จำนวนมากๆอย่างไรก็ดีเครื่องบินเริ่มมีบทบาทและความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการสนับสนุนการรุกของทหารราบ พอถึงปี ค.ศ.1918 อังกฤษมีเครื่องบิน 22,000 ลำ ในขณะที่ปี ค.ศ.1914 ช่วงต้นสงครามกองทัพอังกฤษมีเครื่องบินเพียง 272 ลำเท่านั้น บรรดานายพลของทั้งสองฝ่ายเริ่มมีความเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะสงครามก็คือต้องทำลายแนวป้องกันของฝ่ายตรงข้ามให้พังพินาศอย่างแตกหัก และในวิธีนี้ก็จะต้องสังหารชีวิตศัตรูให้หมดสิ้น เพื่อให้เจตจำนงของการต้านทานนั้นแตกสลาย ด้วยเหตุนี้ชีวิตทหารของทั้งสองฝ่ายจึงสูญเสียไปในสงครามที่โหดเหี้ยมครั้งแรกของโลกเป็นจำนวนมากมายมหาศาลจนน่าสะพรึงกลัว ในช่วงเวลาเพียงแค่เดือนเดียวของปี ค.ศ.1914 ทหารของออสเตรียล้มตายและบาดเจ็บเป็นจำนวนถึง 250,000 คน ในช่วงเวลา 5 เดือนของการรบที่แวร์ดังปี ค.ศ.1916 ทหารของเยอรมันและฝรั่งเศสบาดเจ็บล้มตายรวมกันถึง 600,000 คน และในปี ค.ศ.1917 ในการรบที่ยุทธภูมิปาสเซ่นเดล อังกฤษต้องสูญเสียชีวิตทหารและบาดเจ็บเป็นจำนวนถึง 420,000 คน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังพยายามที่จะเอาชนะสงครามโดยวิธีที่ทำให้ศัตรูขาดแคลนอาหารและวัตถุดิบ อังกฤษผู้ซึ่งเป็นเจ้าแห่งทะเลคุมเส้นทางการเดินเรือทั่วโลก ได้ทำการปิดล้อมศัตรูทางทะเล ซึ่งในปีสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้สร้างความทุกข์ยากให้กับพลเรือนชาวเยอรมัน เรื่องนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งทำให้กองทัพเยอรมันพบกับความพ่ายแพ้ เยอรมัน – อังกฤษยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลเคยเผชิญหน้ากันในท้องทะเลแค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น คือที่ยุทธภูมิจัทแลนด์ ในปี ค.ศ.1916 สงครามยุทธนาวีครั้งนี้ถึงแม้ว่าเยอรมันจะอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบกองทัพเรืออังกฤษแต่กองทัพเรือของเยอรมันไม่เคยเดินทางออกจากบริเวณคุ้มกันซึ่งเต็มไปด้วยระเบิดทะเลเลย ตรงกันข้ามเยอรมันหันมาใช้วิธีให้เรือดำน้ำโจมตีเรือสินค้าของฝ่ายพันธมิตรในช่วงเวลาเพียงสามเดือน ตอนกลางปี ค.ศ.1917 เรือดำน้ำเยอรมันจมเรือของศัตรูได้เป็นจำนวนมาก เรื่องนี้ทำให้อาหารของอังกฤษสำหรับไว้เลี้ยงประชาชนมีเหลืออยู่อีกเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น พันธมิตรแก้ปัญหาภัยร้ายแรงจากการที่ถูกเรือดำน้ำของเยอรมันโจมตีเรือสินค้าโดยวิธีจัดให้เรือสินค้าเดินทางโดยที่มีเรือพิฆาตคอยคุ้มกันด้วย อาวุธซึ่งในที่สุดก็ทำให้แนวรบทางด้านตะวันตกถึงขั้นแตกหัก อาวุธพวกนี้ได้แก่รถถังซึ่งอังกฤษเป็นผู้ผลิตออกมาใช้เป็นครั้งแรกในยุทธภูมิแห่งแม่น้ำซอมม์ในปี ค.ศ.1916 ซึ่งครั้งนั้นไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จมากนัก ก็เพราะว่ารถถังของอังกฤษเคลื่อนตัวได้และมีจำนวนไม่มากนัก แต่สำหรับฝ่ายที่เชื่อมั่นในสมรรถนะของรถถังคงทำการผลิตต่อไปเรื่อยๆ และในที่สุดฝ่ายของ พันธมิตรก็มียานยนต์หุ้มเกราะที่สามารถวิ่งผ่านไปตามแนวพื้นที่ที่ทุรกันดารแล้วบดขยี้แนวลวดหนาม พร้อมๆกันนั้นก็มีทหารราบตามหลังมา ในปี ค.ศ.1918 รถถังพร้อมกับการบินระยะต่ำๆของเครื่องบินในระยะต่ำๆ ของฝ่ายพันธมิตรประสบชัยชนะในแถบบริเวณใกล้ๆ อาเมียนส์ เป็นชัยชนะที่เด็ดขาดจนทำให้นายพลลูเดนดอร์ฟฟ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมันแน่ใจว่าเยอรมันเป็นผู้แพ้สงครามแล้ว นับตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ.1914 นั้นเป็นต้นมา เยอรมันต้องทำสงครามพร้อมกันทั้งสองด้านซึ่งบรรดาเหล่าขุนพลของเยอรมันกล่าวกันว่ามันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ภารกิจแรกของเยอรมันก็คือจะต้องหยุดยั้งกองทัพของรัสเซียซึ่งมีถึงสองกองทัพที่มุ่งหน้าเข้ามาในปรัสเซียตะวันออก เรื่องนี้ทำให้ทางเยอรมันจำต้องเรียกตัวนายพลฮินเดนเบิร์กกลับเข้ามารับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายพลฮินเดนเบิร์กกับนายพลลูเดนดอร์ฟฟ์ประสบกับชัยชนะคั้งยิ่งใหญ่ถึงสองครั้งในยุทธภูมิแทนเนนเบิร์กและการรบในบริเวณทะเลสาบมาซูเรียน เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ.1914 ในการรบครั้งนี้นั้นรัสเซียต้องสูญเสียกำลังพลไปถึง 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมดหนึ่งล้านคน แต่ทางใต้ลงมานั้นกองทัพรัสเซียกลับรบชนะกองทัพของออสเตรียฮังการี และผลักดันให้กองทัพออสเตรียฮังการีเข้าไปในกาลิเซีย (ทางตอนใต้ของโปแลนด์) เรื่องนี้เป็นเหตุที่ทำให้เยอรมันต้องย้ายทหารจากแนวรบด้านตะวันตกไปยับยั้งการบุกใหญ่ของรัสเซียในบริเวณนั้น สงครามในแนวรบด้านตะวันออกก็ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ปักหลักอยู่ในสนามเพลาะเหมือนอย่างการรบในแนวรบด้านตะวันตก ทางเหนือของฝรั่งเศส หากเป็นการรบที่ต้องถอยต้องรุกกลับไปกลับมาคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ระหว่าง บอลติค กับทะเลอาชอฟ ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นที่ราบ หนองน้ำ ป่า และภูเขา กองทัพ รัสเซียนั้นถึงแม้จะขาดแคลนอาวุธสมัยใหม่ โดยเฉพาะปืนใหญ่สนาม แต่เหล่าทหารรัสเซียก็ได้ทำการสู้รบอย่างกล้าหาญและทรหดอดทน เหมือนอย่างที่เคยทำการรบกับกองทัพของนโปเลียนมาแล้ว ความจริงการบุกครั้งใหญ่ของนายพลบรูซิลอฟ แม่ทัพของกองทัพรัสเซียในปี ค.ศ.1916 ครั้งนั้นเป็นการช่วยให้ฝ่ายพันธมิตรรอดพ้นความปราชัยไปได้เพราะเป็นการบีบให้เยอรมันต้องย้ายกำลังทหาร 35 กองพลจากแนวรบด้านตะวันตกเพื่อไปยังกองทัพของนายพลบรูซิลอฟ แต่ในปลายปีนั้นกองทัพรัสเซียกลับถูกเยอรมันผลักดันให้ถอยร่นกลับหลังหันและถอยร่นไปยังทิศตะวันออก รัฐบาลของรัสเซียพังทลายและเกิดการปฏิวัติใหญ่ปี ค.ศ.1917 ในรัสเซีย นอกเหนือไปจากบริเวณยุทธภูมิใหญ่ที่สำคัญสองแห่ง คือ แนวรบด้านตะวันตก กับ แนวรบด้านตะวันออก แล้วก็ยังมี “ยุทธภูมิประกอบ” อีกหลายแห่ง สามยุทธภูมิประกอบ แห่งแรกนั้นเป็นการรบโจมตีจักรวรรดิตุรกี โดยหวังว่าเมื่อได้รับชัยชนะย่อมทำให้ประเทศในกลุ่มบอลข่านเข้ามาอยู่ข้างฝ่ายพันธมิตรและก็ยังเป็นเสมือนการเปิดเส้นทางเข้าไปโจมตีเยอรมันจากทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อตุรกีพบกับความปราชัยแล้วนั้นก็ทำให้สามารถเปิดช่องแคบคาร์ดาเนลล์ เพื่อให้เรือของฝ่ายพันธมิตรผ่านไปตามช่องแคบนั้น เพื่อขนยุทธปัจจัยไปให้กองทัพรัสเซีย ส่วนในอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลได้เสนอแผนการที่สำคัญซึ่งถ้าหากนำไปใช้ก็จะเป็นการเอากองกำลังจากทางบกและทางเรือรวมกันเป็นกองกำลังที่ใหญ่โตเพื่อพิชิตศัครู แต่ปรากฏว่าคิทเชนเนอร์นั้นไม่สามารถส่งทหารจากฝรั่งเศสได้มากพอ ทำให้ตุรกีนั้นมีเวลาจัดกำลังเพื่อป้องกัน และกำลังของฝ่ายพันธมิตรซึ่งรวมทั้งกำลังมาจากออสเตรเลียและจากนิวซีแลนด์ ซึ่งได้เดินทางมาขึ้นบกที่คาบสมุทรแกลลิโปลีนั้นมีจำนวนน้อยเกินไปที่จะต่อสู้กับศัตรูได้ การรบที่แกลลิโปลี ฝ่ายพันธมิตรต้องสูญเสียกำลังทหารไปเกือบ 1 ใน 4 ของหนึ่งล้าน ยุทธภูมิแกลลิโปลีจบลงด้วยความพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิงของฝ่ายพันธมิตร “ยุทธภูมิประกอบ” แห่งที่สองนั้นเป็นการโจมตีเมโสโปเตเมีย เพื่อที่จะเอาประเทศในบริเวณนี้ซึ่งมีอิรักกับอิหร่านให้มาอยู่ในความควบคุมของฝ่ายพันธมิตรในขณะที่ “ยุทธภูมิประกอบ” แห่งที่สามนั้นฝ่ายพันธมิตรได้ส่งกำลังจากอียิปต์เข้าไปยังปาเลสไตน์และซีเรีย เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติของชาวอาหรับซึ่งได้ลุกขึ้นโค่นอำนาจปกครองของตุรกีในดินแดนอาหรับ นอกจากนั้นแล้วยังมีฝูงชนรวมตัวทำการก่อกวนเพื่อที่จะโค่นอำนาจของทางเยอรมันในอาณานิคมของเยอรมันทุกแห่ง และได้มีการสู้รบเพื่อที่จะเอาดินแดนของเยอรมันในแอฟริกาตะวันออก อิตาลีซึ่งถูกล่อเข้าสู่สงครามเพราะอังกฤษและฝรั่งเศสทำการรบกับกองทัพของออสเตรียในบริเวณทางตอนเหนือของอิตาลีอย่างเหนียวแน่น แต่ก็ต้องพบกับความปราชัยใหญ่โตที่ยุทธภูมิคาโปเรดาโต เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ.1917 เป็นความปราชัยที่ร้ายแรงจนต้องถอนกำลังจากแนวรบด้านตะวันตกมาป้องกันแนวรบด้านนั้นไว้ อย่างไรก็ดีเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดของสงครามในปี ค.ศ.1917 ได้แก่การได้ร่วมเข้าสู่สงครามของสหรัฐ ความจริงแล้วกองทัพขนาดเล็กๆของสหรัฐที่ส่งมาร่วมรบมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยในการต่อสู้อย่างโหดเหี้ยม ซึ่งกำลังเป็นไปอย่างนองเลือดอยู่ในบริเวณภาคเหนือของฝรั่งเศส เมื่อกองกำลังทหารของสหรัฐเดินทางมาถึงบริเวณนั้น แต่การที่สหรัฐจะเอาทรัพยากรมหาศาลมาช่วยทำให้ขวัญของฝ่ายพันธมิตรเบ่งบาน ความวิตกกังวลปราศจากไป ในขณะเดียวกันก็ทำให้ความหวังในชัยชนะสงครามของเยอรมันมืดมนจนมองไม่เห็นทาง การเข้าร่วมสงครามของมิตรที่ทรงอานุภาพอย่างสหรัฐทำให้ฝ่ายพันธมิตรยินดีเป็นที่สุด เพราะในขณะนั้นรัฐบาลของรัสเซียพังทลาย และกองทัพรัสเซียทิ้งแนวรบด้านตะวันออกไป ภายใต้บัญชาการของนายพลรัสเซียที่ดีที่สุด ผลปรากฏว่ากองทัพรัสเซียมีความทรหดและกล้าหาญ แต่ในปี ค.ศ.1915 พระเจ้าซาร์ตัดสินใจผิดพลาดที่ก้าวเข้ามาเป็นผู้บัญชาการรบสูงสุดด้วยพระองค์เอง ปล่อยให้การปกครองภายในประเทศอยู่ในมือของชายาซารินา อเลกซานดร้า ซึ่งเป็นชาวเยอรมัน ซารินา อเลกซาน–ดร้าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอันชั่วร้ายของไกรกอรี่รัสปูติน “นักบุญ” ขี้เมา ซึ่งมีอำนาจสะกดจิตรักษาโรคร้ายแรงของพระโอรสพระองค์เดียวของซารินา อเลกซานดร้าให้หายขาดได้ จากการก้าวขึ้นสู่อำนาจเหนือซารินาทำให้รัสปูตินเปลี่ยนรัฐบาลรัสเซียให้กลายมาเป็นรัฐบาลที่น่าหัวเราะไร้ความหมาย และรัสปูตินยังจะจัดตั้งรัฐมนตรีด้วยตนเอง ในที่สุดในเดือนธันวาคม ค.ศ.1916 รัสปูตินก็ถูกขุนนางรัสเซียกลุ่มหนึ่งวางแผนการสังหารเสียชีวิต แต่ผลเสียนัน้ได้เกิดขึ้นแล้วเพราะว่าในขณะนั้นรัฐบาลรัสเซียไร้เกียรติยศโดยสิ้นเชิง และสิ่งที่เลวร้ายลงไปอีกก็คือมีข่าวเล่าลือออกไปทั่วรัสเซียว่า ซารินากับสหายของพระนางได้ทำการทรยศและไปเข้าข้างกับฝ่ายของเยอรมัน ถึงกระนั้นก็ดีในช่วงต้นปี ค.ศ.1917 กองทัพที่ใหญ่โตของรัสเซียยังคงทำการสู้รบกับศัตรูอย่างเข้มแข็งและด้านการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมยังคงผลิตได้อย่างเต็มที่ มีปัญหาความยุ่งยากก็คือบรรดาคนงานในเมืองขาดแคลนอาหาร เพราะค่าแรงที่ได้นั้นไม่ทันราคาสินค้าซึ่งถีบตัวสูงรวดเร็ว การขนส่งมีไม่เพียงพอ และชาวนาไม่ยอมทำการเพาะปลูกอาหารที่จำเป็น บรรดาชาวนาเองนั้นก็ไม่สามารถที่จะทนต่อราคาสินค้าซึ่งมีราคาสูงเพราะว่าเนเฟ้อ ชาวนารัสเซียจึงพากันเรียกร้องให้เอาผืนนากว้างใหญ่มหา- ศาลมาแบ่งให้พวกตน ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1917 (ตามปฏิทินของรัสเซียเป็นเดือนกุมภาพันธ์) การนัดหยุดงานและจลาจลได้ระเบิดออกมาในกรุงปีโตรกราด (เมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก เดิม) ทางด้านสภาดูม่าของรัสเซียกล้าที่จะวิจารณ์พระเจ้าซาร์และเตือนให้พระองค์ทราบว่าสถานการณ์เลวร้ายลงทุกขณะ พระเจ้าซาร์ นอโคลาสตอบโต้ด้วยการยุบสภาดูม่า เมื่อเป็นเช่นนี้ทหารจำนวนมากได้เข้าร่วมสมทบกับคนงานแล้วจัดตั้งสภาโซเวียตหรือสภาคนงานของตนขึ้นมา การปฏิวัติขยายตัวรวดเร็วเหมือนกับไฟไหม้ป่า เรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าการปฏิวัติกุมภาพันธ์ ซึ่งบีบบังคับให้พระเจ้าซาร์ต้องยอมสละบัลลังก์ให้พระอนุชาของพระองค์ แต่ประชาชนชาวรัสเซียซึ่งเกิดความเบื่อหน่ายกับสงคราม และจากการที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากมาตลอดชีวิต บัดนี้ได้ถึงจุดเดือด ต้องการให้รัสเซียเป็น สาธารณรัฐ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นมา เป็นรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การนำของนักสังคมนิยมสายกลาง คือนายเคเรนสกี้ ท่านผู้นี้พยายามที่จะทำงานที่เป็นไปไม่ได้สองเรื่อง คือการสร้างรัสเซียประชาธิปไตยและการชักจูงให้ทหารออกไปทำการรบ ในขณะเดียวกันบุคคลผู้มีพลังมากกว่านายเคเรนสกี้กำลังคอยโอกาสอยู่ บุคคลผู้นี้คือวลาดิมีร์ เลนิน วลาดิมีร์ เลนิน ถูกเนรเทศไปใช้ชีวิตอยู่ในสวิตเซอร์แลนด์ แต่เลนินยังคงติดต่อกับพวกบอลเชวิกอยู่ตลอดเวลา และดำเนินงานควบคุมสหภาพการค้า สหกรณ์ หนังสือพิมพ์ และทำการรณรงค์ต่อต้านสงครามอย่างไม่ยอมเลิก ในทัศนะของทางเยอรมันจึงเห็นว่าเลนินคือคนที่สามารถทำให้ความพยายามทำสงครามของรัสเซียนั้นยุติลงได้ ดังนั้นในเดือนเมษายน ค.ศ.1917 เยอรมันจึงส่งเลนินจากสวิตเซอร์แลนด์ข้ามเยอรมันเข้าไปยังกรุงปีโตรกราด ที่เมืองนี้คนงานมาร์กซีสต์ต้องการมีส่วนร่วมในคณะรัฐบาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ดีเลนินได้พบว่าพวกบอลเชวิกยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้และเมื่อทางรัฐบาลขณะนั้นประกาศว่าพวกบอลเชวิกคือพวกทรยศประเทศชาติ เลนินจึงปลอมตัวหนีไปยังฟินแลนด์ที่นั่นเขาจะพบกับพวกสนับสนุนบอลเชวิก สถานการณ์ในรัสเซียยังคงเลวร้ายมากขึ้น สงครามเพิ่มความเลวร้าย ทำให้ทหารชาวนาหนีทัพกลับบ้านจำนวนหลายพันคน เมื่อพวกก่อกวนประกาศว่าการสู้รบในสงครามเป็นผลประโยชน์ต่อชนชั้นปกครองเท่านั้น ประชาชนยากจน การจลาจลแย่งขนมปังได้ระเบิดออกมาในหลายๆเมือง และในเขตต่างๆทั่วประเทศ ชาวนาเริ่มยึดท้องที่นาจากเจ้าของที่ดิน เมื่อนายพลคอร์นิลอฟดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพคนใหม่ของรัสเซียเดินทัพเข้ามายังกรุงปีโตรกราดเพื่อที่จะล้มรัฐบาลเฉพาะกาลแล้วจัดตั้งรัฐบาลทหารแทน แต่นายเคเรนสกี้ต้องการที่จะรักษาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนไว้ให้ได้ จึงได้จัดส่งอาวุธไปให้พวกบอลเชวิกหรือพวกเรดการ์ด พวกบอลเชวิกได้ทำการต่อสู้กับกองกำลังของนายพลคอร์นิลอฟและขับไล่ทหารของนายพลผู้นี้แล้วจึงเข้ายึดเมืองปีโตรการ์ดไว้ เลนินเดือนทางมาจากฟินแลนด์ เลนินกับเพื่อนของเขาผู้ปราดเปรื่องของเขาที่ชื่อนายทรอดสกี้ได้ร่วมมือกันโค่นล้มรัฐบาลเคเรนสกี้ และแล้วในฐานะที่เป็นประธานสภาคอมมิซซาร์ประชาชนเลนินก็มีอำนาจโดยสมบูรณ์ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆยังสับสนหรือตื่นเต้นกับสถานการณ์ที่วุ่นวายในขณะนั้น เลนินก็รู้แล้วอย่างแน่ชัดว่าควรที่จะต้องทำอะไรบ้าง งานครั้งแรกของเลนินนั้นก็คือการกำจัดพวหเมนเชวิกและการปฏิวัติสังคมเพราะเลนินตัดสินใจแล้วว่าไม่ต้องการที่จะแบ่งอำนาจให้กับกลุ่มใด งานชิ้นต่อไปเลนินประกาศเอาที่ดินเป็นของรัฐและยุติสงครามทันที เยอรมันฉกฉวยโอกาสเต็มที่จากการประกาศเลิกสงครามของทางเลนิน โดยการเรียกร้องอย่างหนักจากทางรัสเซีย จนกระทั่งแม้แต่ทรอดสกี้ในครั้งแรกก็ไม่ยอมตามคำเรียกร้องของเยอรมัน แต่เลนินยอมจ่ายเพื่ออำนาจของตน ข้อเรียกร้องของทางเยอรมันคือผืนแผ่นดินที่กว้างใหญ่ของทางรัสเซียตะวันตกซึ่งรวมถึงดินแดนเพาะปลูกของแคว้นยูเครน เหมืองถ่านหินทั้งหมด และจำนวนประชากรชาวรัสเซีย 1 ใน 3 สนธิสัญญาเบรสท์-ลิทอฟส์ ระหว่างเยอรมัน-รัสเซีย ยุติสงครามในแนวรบด้านตะวันออกและทำให้เยอรมันทุ่มเทเต็มที่เอากำลังที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดมาต่อสู้กับศัตรูในแนวรบด้านตะวันตก ขณะนั้นผู้นำทางทหารของเยอรมันได้ทราบแล้วว่ากำลังของทางตุรกีนั้นเกือบหมดแล้ว อาหารและวัสดุในเยอรมันกลายเป็นปัญหาที่ร้ายแรง อังกฤษยังไม่อดอาหารจนต้องยอมแพ้ และเมื่อเวลาล่วงเลยไปอีกปีทหารอเมริกันจำนวนมากจะเดินทางมาถึงภาคเหนือของทางฝรั่ง-เศส แต่ก็มีโอกาสสุดท้ายในการที่จะเอาชนะสงคราม ถ้าหากว่าเยอรมันจะรีบเอาชนะอย่างรวดเร็ว การที่รัสเซียออกจากสงครามทำให้เยอรมันเคลื่อนย้ายทหารนับล้านคน ปืนใหญ่อีกนับพันกระบอกมายังแนวรบด้านตะวันตก สำหรับโจมตีอังกฤษอย่างรุนแรง การบุกครั้งใหญ่ของเยอรมันปี ค.ศ.1918 กองทัพเยอรมันบุกทะลวงผ่านแนวทหารของฝ่ายพันธมิตรและบีบให้อังกฤษต้องหันหลังกลับ เป็นการถอยทัพเต็มอัตราของทางอังกฤษ ทางใต้ลงไปการบุกอย่างรวดเร็วและรุนแรงอย่างต่อเนื่องของทางเยอรมันทำให้กองทัพของเยอรมันเดินทางมาเกือบถึงกรุงปารีส สถานการณ์ของทางฝ่ายพันธมิตรกำลังคับขันอย่างหนัก จนคำสั่งจากกองบัญชาการสูงสุดของพันธมิตรมาถึง นายพลฟอคผู้บัญชาการทหารของฝรั่งเศส ซึ่งส่งกำลังทุกหน่วยรบมาสกัดกั้นเยอรมันมาถึงช้าเกินไป เมื่อการบุกคืบหน้าครั้งใหญ่ของเยอรมันหยุดลง แนวรบของทหารเยอรมันเรียงตัวเป็นแนวโปร่งสองแนวรบใหญ่ ในช่วงนี้กองทัพทหารของอเมริกันเดินทางมาถึงฝรั่งเศสและเริ่มทำการรบ ในเดือนกรกฎาคมนายพลฟอคมีความรู้สึกว่ากองทหารของฝ่ายตนมีความเข้มแข็งมากพอที่จะโจมตีแนวโป่งของทหารเยอรมันในแนวแม่น้ำมาน (River marne) จอมพลเปแตง แห่งฝรั่งเศส วีรบุรุษแห่งเวเดิงได้ร่วมมือกับนายพลฟอคและได้เกิดความเชื่อมั่นว่าปาฏิหารย์ของชัยชนะนั้นอยู่แค่เอื้อม จอมพลเปแตงจึงมีคำสั่งให้โจมตีแนวรบที่สองของเยอรมัน คือแนวทหารของเยอรมันเป็นแนวโป่งตัวที่อาเมียนส์อย่างหนัก ยุทธภูมิอาเมียนส์ มีกองทัพทหารของอังกฤษและฝรั่งเศสสนับสนุนโดยรถถังรุกหนักทำให้เยอรมันต้องถอยร่นไปอย่างอลหม่าน ทันทีทันใดนั้นแนวรบด้านตะวันตก ซึ่งเกือบไม่มีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาถึงสี่ปี นับตั้งแต่สงครามได้เริ่มต้นก็เริ่มเคลื่อนไหวกันอย่างช้าๆอุ้ยอ้าย เหมือนหิมะถล่มเพราะมีแรงกดดันมหาศาลอยู่ทางข้างหลัง เยอรมันไม่สามารถที่จะหยุดยั้งมันได้ เยอรมันยังคงต่อสู้อย่างเข้มแข็งแต่ค่อยๆขยับเข้าไปสู่แนวพรมแดนประเทศของตน เมื่อบรรดาผู้นำของเยอรมันรู้ว่าจะต้องปราชัยก็พยายามที่จะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว เหมือนอย่างการเริ่มต้นทำสงคราม ในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1918 เยอรมันส่งคำเรียกร้องไปยัง วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีของสหรัฐเพื่อที่จะขอสงบศึก ประธานาธิบดีตอบกับเยอรมันว่าเยอรมันจะต้องยอมรับเงื่อนไข 14 ข้อ ซึ่งวูดโรว์ วิลสันเป็นผู้กำหนดขึ้นสำหรับประกาศให้โลกทราบในเดือนมกราคม ปี ค.ศ.11918 โดยมิได้มีการปรึกษากับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งทำการสู้รบอย่างขมขื่นมานานกว่าสามปี หลักการ 14 ข้อของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐกล่าวโดยสรุปมีดังนี้ 1. ไม่มีการจัดทำสนธิสัญญาลับระหว่างประเทศอีก 2. ความมีเสรีภาพทางท้องทะเลแม้ในยามสงคราม 3. การค้าเสรีระหว่างประเทศ 4. การลดอาวุธ 5. แก้ไขเรื่องการอ้างสิทธิอาณานิคม 6. จะต้องถอนตัวออกจากดินแดนของรัสเซีย 7. เบลเยี่ยมจะต้องมีอิสรภาพ 8. จะต้องคืนแคว้นอัลซัค-ลอร์เรนให้ฝรั่งเศส 9. จะต้องปรับพรมแดนของอิตาลี 10. ประชาชนในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจะต้องมีโอกาสในการปกครองตนเอง 11. จะต้องฟื้นฟูรัฐในบอลข่าน และเซอร์เบียจะต้องมีทางออกทางทะเล 12. ประชากรไม่ใช่ชาวเติร์ก ในจักรวรรดิตุรกีจะต้องเป็นอิสระ 13. จะต้องสร้างโปแลนด์ขึ้นมาใหม่ 14. จะต้องจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ ในหลักการ 14 ข้อของวิลสัน มองเห็นได้ชัดเจนถึงเจตนารมณ์ของวิลสันในเรื่องสันติภาพและความยุติธรรม และยังมองเห็นได้ชัดเจนอีด้วยว่า วิลสันเชื่อว่าสงครามนั้นเกิดจากความละโมบของรัฐบาลที่เสาะแสวงหาดินแดนและอำนาจ และประชากรกลุ่มน้อยจะต้องมีสิทธิในการจัดตั้งรัฐอิสรภาพของตนเอง เพราะวิลสันได้แสดงความเห็นใจต่อชาวเชค โปล เซิร์บ สโลวัคและประชากร กลุ่มอื่นๆซึ่งเข้ามาขอร้องเรื่องนี้ในสหรัฐ ในขณะที่การเจรจาสงบศึกกำลังดำเนินอยู่นั้น มิตรของทางเยอรมันก็ได้แพ้สงคราม ซึ่งมีดังนี้ บัลแกเรียยอมแพ้สงครามเมื่อวันที่ 30 กันยายน ตุรกีวันที่ 31 ตุลาคม และ ออสเตรียในวันที่ 3 พฤศจิกายน ในขณะเดียวกันบรรดานายพลของเยอรมันก็เรียกร้องให้รัฐบาลของตนเร่งทำสัญญาสันติภาพ ก่อนที่กองทัพของเยอรมันจะถูกตีถอยร่นกลับเข้าสู่ดินแดนเยอรมัน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่ากองทัพของเยอรมันมิได้พ่ายแพ้ในสมรภูมิ แต่เพราะมิตรซึ่งเข้าร่วมสงครามฝ่ายเดียวกันและพลเรือนภายในประเทศหักหลัง ความจริงประชาชนชาวเยอรมันยืนหยัดอดทนต่อความกดดันของสงครามได้อย่างน่าพิศวงเฉพาะเมื่อกองทัพต้องถอยร่นเท่านั้น ที่ประชาชนชาวเยอรมันก่อจลาจลขึ้นในหลายแห่งของประเทศและคนงานชาวเยอรมันจัดตั้งสภาคนงาน “โซเวียต” ในลักษณะสภา- โซเวียตของรัสเซีย จุดจบของสงครามมาถึงอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 ผู้แทนเจรจาสงบศึกของทางเยอรมันได้รับเงื่อนไขของการสงบศึก ซึ่งมีรายการสังเขปดังนี้ กองทัพของเยอรมันจะถอนตัวไปอยู่หลังแม่น้ำไรน์ อาวุธอุปกรณ์ เรือดำน้ำและเรือรบจะต้องยอมจำนน สนธิสัญญาเบรสท์ - ลิทอฟส์ ระหว่างเยอรมัน-รัสเซียต้องยกเลิก ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 และมกุฎราชกุมารของเยอรมันเสด็จหนีไปประทัพอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เรื่องนี้ทำให้ประชาชนชาวเยอรมันโกรธแค้นที่ไกเซอร์ทอดทิ้งกองทัพในชั่วโมงของความพ่ายแพ้จึงพอใจให้พระองค์เสด็จหนีไปในวันนั้นเองในกรุงเบอร์ลิน เยอรมันก็ประกาศเป็น สาธารณรัฐ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ.1918 สัญญาสงบศึกมีผลบังคับใช้ เสียงปืนในแนวรบด้านตะวันตกเงียบสนิทแล้วสงครามโลกครั้งแรกก็ได้ผ่านพ้นไป ทิ้งความทรงจำไว้บนหน้าประวัติศาสตร์โลก




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

วิธีการยืดอายุการใช้แบตฯมือถือ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ม.6เขตปากเกร็ด system analyst แจ้งวัฒนะ จ.นครราชสีมา หัวหน้ากราฟฟิค หางานวุฒิ ม3เขตวัฒนา การขาย และการตลาด ธนาคารนครศรี บัญชีลำธัญญะบุรี ตำแหน่งงานว่าง เขตบางนา ตำแหน่งพนักงานขับรถ แดลี่พลัส producton manager boardband thema ll บุคคล ศรีราชา พนักงานขับรถ,จังหวัดปทุมะนี วีที หางานวุฒิ ม.3 ยานพระราม3 เขต บางรัก ผููููููู้้้้้้้้แทนขาย วุฒิ ปวส.ปูเจ้า เซนทรัล พระราม 2 นามีบุ๊ค เจ้าหน้าที่ธุรการบุคคลฝึกงาน วิศซกรขาย ธนาคารกสิกร จ.นครปฐม ACCPAC งานในบรา แถวรัชดา บัญชีการเงินบางแค พริสตี้ แถวสีลม ทหารพราน ผู้ช่วยพยาบาลชลบุรี t tv ธุรการ ี- บัญช โรงปูนสระบุรี ขาย/หน่วยรถ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายพัทยา ช่งไม้ ครู จันทบุรี ชิณวัตร3 情色 เงินด่วน ตึกสินสาทร telesale สาทร พระขโหนง กะกลางคืน เสริฟ กรุงเทพ มากี้ สวทช คลินิคเวชกรรม MNG สุขุมวิท64/1