หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ทักษะ 6 อย่างของคนทำงานในยุคสังคมฐานความรู้
เขียนโดย ชัชวาลย์

Rated: vote
by 4 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




มีผู้รู้หลายท่านได้เสนอไว้ให้เห็นว่า สังคมในปัจจุบัน และในห้วงเวลาต่อไป ได้ก้าวเข้าสู้การเป็นสังคมที่อาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมหรือที่เรียกกันเป็นภาษาไทยทางเทคนิคและภาษาอังกฤษว่า “สังคมฐานความรู้ (knowledge-based society)” สังคมลักษณะนี้  มีเงื่อนไขความเป็นไปของการดำรงชีวิตที่แตกต่างจากสังคมในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมาหลายเรื่องหลายราว  บางอย่างถึงกับปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือ shift paradigm ของเราจากเดิมไปสู่แนวคิดใหม่ที่ท้าทายต่อความเชื่อเดิม ๆ ไปอย่างมากมาย

 

แน่นอนครับว่า สังคมแบบใหม่นี้ อาศัยสมาชิกที่มีกระบวนการคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม มากไปกว่านั้นก็คือ คุณลักษณะความเป็นตัวตนของคนที่ทำงานในสังคมดังกล่าวก็น่าสนใจไม่น้อย  หลายท่านบอกว่า สังคมมนุษย์ในห้วงเวลาเช่นนี้ จะมีการแข่งขันกันของมนุษย์เงินเดือนกันอย่างสูง แข่งขันกันทั้งในเรื่องคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะความสามารถ ซึ่งอาจเรียกกันรวม ๆ ว่า Individual Competency ในทำนองว่า ใครจะมีสิ่งเหล่านี้ match กับความต้องการขององค์การที่อยากไปทำงานด้วยแตกต่างกัน

 

และมันก็ก่อให้เกิดความเครียดและปิดช่องทางคนที่ไม่พัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าล้ำยุคอยู่เสมอ  ไม่ใช่ในเรื่องแฟชั่นการแต่งตัวหรือความรอบรู้ในบรรดาละควรหรือเพลงที่โหมโฆษณาในสื่อสารมวลชนต่าง ๆ หรอกครับ หากแต่เป็นความก้าวหน้าล้ำกว่าใครในศักยภาพความสามารถ

 

ผมคิดคาดเอาว่า สังคมยุคที่เรากำลังใช้ชีวิตการทำงานอยู่นี้ เริ่มปรากฏพนักงานในองค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ชั้นนำหรือองค์การขนาดใหญ่ อย่างน้อยก็ 2 ชนชั้น หนึ่งคือชนชั้นที่ทำงานเป็นพนักงานประจำ นั่งอยู่ในสายธุรกิจหลัก (core business) ขององค์การ และสองคือคนที่รับจ้างเหมาภายนอกหรือ outsource เข้ามาทำงานในส่วนที่ไม่ใช่งานหลัก    แต่ท่านจะเรียกว่าอย่างไรแตกต่างจากผมหรือไม่ ผมว่าอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เรื่องที่อยากจะบอกให้เห็นนั้นก็คือ ความแตกต่างกันในระดับหนึ่งของคนทำงานในองค์การ 2 กลุ่มนี้ ที่มีให้เห็นอย่างชัดเจน และสามารถพิสูจน์กันได้ไม่ยากด้วยค่างานที่แตกต่างกันนั่นเอง 

 

แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ว่า ชนชั้นที่ทำงานประจำในองค์การชั้นนำเหล่านี้ จะไม่แชร์ลักษณะบางอย่างของชนชั้นที่สองนั้นเสียเลย หากแต่เป็นไปได้มากนะครับที่ชนชั้นแรกนั้น มีโอกาสที่ดีมากกว่าเท่านั้น หากแต่วัตรปฏิบัติของชีวิตก็ยังคงติดละควรน้ำเน่า เข้าทำนองไม่แสวงหาความก้าวหน้าใส่ตัว ลืมไปเลยว่า ความก้าวหน้าและมั่นคงในหน้าที่การงานที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงสิ่งเดียวนั้นก็คือ การพัฒนาตัวอย่างเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง

 

เพื่อไม่ให้หลุดยุค ผมขอนำเสนอข้อคิดให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า ในยุคสังคมเศรษฐกิจแบบนี้ องค์การต่าง ๆ ที่ต้องต่อสู้แข่งขันดิ้นรนทำธุรกิจ ซึ่งต่างก็มุ่งหวังทั้งความอยู่รอดและความก้าวหน้าเติบโต ต่างต้องการคนทำงานที่มีคุณลักษณะจำเพาะเจาะจง ซึ่งอย่างน้อยก็คือเรื่องต่าง ๆ ซึ่งท่านผู้รู้หลายท่าน และผมขอสรุปนำเสนอท่านผู้อ่านรวม 6 ลักษณะของทักษะที่ต้องการและจำเป็นดังต่อไปนี้ ครับ

 

1. ทักษะการคิด (Thinking)

คนทำงานในสังคมยุคใหม่ที่ว่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักการสร้างความคิด คิดให้มากเข้าไว้ และพยายามคิดให้ได้คิดให้เป็นด้วยตัวเขาเอง พร้อมทั้งมีทักษะความสามารถในการคิดต่อยอดความรู้ที่ได้รับมา ทั้งจากการเรียน การอ่านหนังสือหรือจากประสบการณ์การทำงาน เพื่อสร้างความสามารถและโอกาสของความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

 

ทักษะของการคิดที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ว่านี้ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) การคิดนอกกรอบหรือแนวขวาง (Lateral Thinking) เพิ่มเติมจากการคิดเชิงเหตุผล (Rational Thinking)  ผมเองมองว่า ทักษะความคิดต่างๆ  เหล่านี้ เป็นพื้นฐานความจำเป็นเพื่อการสร้าง ต่อยอดและพัฒนาความรู้ในอนาคตของคนทำงาน

 

2. ทักษะการเขียน (Writing)

ตามธรรมดาเมื่อคิดได้ แล้วไม่แสดงออกอะไรมาสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากสิ่งที่คิด หรือการปฏิบัติในสิ่งที่คิดได้มันมักจะลืมเลือนไปในช่วงเวลาไม่นานนัก คนที่คิดได้คิดเก่งแต่ไม่มีวิธีหรือขาดทักษะการนำเสนอก็ไม่อาจจัดได้ว่ามีขีดความสามารถกว้างขวางเท่าใดนัก ผู้รู้ท่านว่า เมื่อคิดอะไรออกมาได้แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการทำงาน วิธีการปรับปรุงงานในหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรู้จักการเขียนสิ่งที่คิดออกมา

 

แต่บังเอิญและโชคร้ายเสียจริงว่า คนทำงานจำนวนไม่น้อย คิดเก่งและคิดได้สารพัด แต่ไม่ยักกะมีใครชอบที่จะนำเสนอมันออกมาด้วยการเขียน  ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า นิสัยดั้งเดิมของคนไทยนั้น ไม่ค่อยชอบขีดเขียน ซึ่งเรื่องนี้ สังเกตหรือเห็นได้จากเอกสารอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่บ้านเรามีน้อยมากเมื่อเทียบกับสังคมอารยะที่ก้าวหน้า  ด้วยข้อจำกัดแบบนี้  ก็เลยมีข้อเสนอแนะให้คนทำงานทั้งหลาย รู้จักเทคนิคการนำเสนอความคิดดีดีผ่าน “สุนทรียสนทนาหรือ dialoque”

 

แต่กระนั้น การฝึกทักษะในการเขียนก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นนะครับ คนที่เติบโตในสายงานก้าวไปเป็นผู้บริหารขององค์การ แม้จะไม่ได้เขียนอะไรออกมาโดยตรง หากแต่เหล่านั้นก็ถึงพร้อมด้วยทักษะความสามารถในการเขียน การฟังและการนำเสนอมาก่อน

 

โดยเนื้อแท้นั้น การเขียนก็คือ การถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งหลายไปสู่ผู้อื่นด้วยตัวอักษร หรืออาจจะเป็นภาพแต่ชะรอยว่า คนทำงานยุคใหม่จำนวนไม่น้อย ถนัดกับการแชทออนไลน์กันมาก หากแต่พอให้เขียนหรือนำเสนออะไรที่เป็นเรื่องเป็นเรา กลับทำไม่ค่อยได้

 

3. ทักษะการอ่าน (Reading)

การอ่านนั้น จัดได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมความรู้ให้แก้เราได้อย่างมหาศาล การอ่านนั้น นอกเหนือจากจะเติมเต็มในสิ่งที่เรายังไม่รู้แล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ที่จะรับฟังและยอมรับความคิดความเห็นของผู้อ่านที่บรรจงเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมา  อย่างไรก็ตาม การนิยมอ่านแต่เรื่องบันเทิงเข้าทำนองว่าเป็นเจ้าแม่ละครหรือรอบรู้เรื่องดาราสารพัด ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย เราก็เลยจำเป็นที่จะต้องรู้จักเลือกเรื่องที่จะอ่านด้วย และเมื่อด่านแล้วก็รู้จักวิเคราะห์ เพื่อเค้นเอาสารัตถะอะไรบางอย่างจากเรื่องที่อ่านออกมานำไปใช้ประโยชน์

 

4. ทักษะการพูด (Speaking)

ผมคิดว่า คนทำงานทั้งหลายรู้อยู่แล้วว่า การพูดนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญของการสื่อสาร คนทำงานยุคใหม่จำเป็นนะครับที่จะต้องเรียนรู้และรู้จักวิธีการพูดให้ถูกต้อง เหมาะสม  รู้จักวิธีการนำเสนอต่อผู้อื่น

 

การจะพูดให้ได้ให้ดีนั้น ผมคิดว่ามันอยู่บนพื้นฐานของการที่เรามีข้อมูลหรือรู้เรื่องที่เราจะพูดนั้นอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง  และโดยทั่วไปเราก็มักจะมั่นใจมากขึ้นเมื่อเรารู้ข้อมูลหรือเรื่องราวนั้น ๆ อย่างถ้วนถี่หรือมีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ การจะพูดจะสื่อสารให้ใครเข้าใจเจตนาที่จริงของสิ่งที่ต้องการสื่อนั้น มันก็ไม่ใช่สักแต่ว่าจะพูด คนทำงานก็เลยจะต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการพูดในหลากหลายสถานการณ์ เรียนรู้และทดลองปฏิบัติเพื่อลดจุดอ่อนของการพูด เพื่อให้ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

 

4. ทักษะการฟัง (Listening)

การฟังเป็นอีกทักษะที่เรามักจะลืมกันไปครับ ในงานเขียนตอนก่อนหน้า ผมได้นำเสนอท่านผู้อ่านไปว่า เราจะฟังกันอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะเรามักพบว่า คนเรานั้นไม่ชอบฟังใคร เอาแต่จะพูด สุดท้ายก็แย่งกันพูดและต่างคนต่างพูด จนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งแค้นเคืองกัน

 

การฟังนั้น หากจะว่าไปแล้วก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ของความคิด และเป็นการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่น้อยเช่นกัน เพราะการฟังนั้น โดยทั่วไปก่อให้เกิดการรับรู้ได้รวบเร็วกว่าการอ่านเป็นไหนไหน

 

6. ทักษะการปฏิบัติ (Doing)

จากทักษะทั้ง 5 อย่างที่ผมได้นำเสนอไปนั้น แม้จะฝึกฝนมาให้ได้เป็นอย่างดีแล้ว หากไม่อาศัยทักษะอย่างที่ 6 หรือทักษะของการนำไปปฏิบัติแล้ว ก็ไม่ค่อยจะเกิดผลเท่าใดครับ

 

ทักษะการปฏิบัตินั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ทักษะต่างๆ ที่เรามีเราจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการทำงานหรือกับการดำรงชีวิตได้จริง ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกว่า ไม่ใช่เก่งแต่พูด หรือเป็นจ้าวแห่งทฤษฎี แต่ยังสามารถ “ทำ” ได้ด้วย คนทำงานทั่วไป เรียกคนพวกที่เก่งแต่พูด แต่ทำไม่เป็นว่าพวกนักวิชาการ ซึ่งผมก็อยากแย้งนะว่าโลกทัศน์หรือความคิดแบบนั้นไม่ค่อยถูกต้องเท่าใดหรอก แต่มันก็จริงครับที่ว่า นักวิชาการจำนวนไม่น้อยก็หลุดลอยไปจากโลกของความเป็นจริง เพราะดีแต่คิด หรืออ่านจากความคิดของคนอื่น ๆ แล้วแต่เอาไปใช้ประโยชน์จริง ๆ ไม่ได้เพราะไม่เคยทำด้วยตัวเอง แต่กระนั้น นักวิชาการเก่ง ๆ ที่จัดเจนในการปฏิบัติก็มีไม่น้อยเลยนะครับ

 

เลาล่ะครับ ทักษะทั้ง 6 ด้านหรือ 6 อย่างที่ผมนำเสนอไปนี้  เชื่อว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่ไม่ได้ยากเกินไปหากเราท่านทั้งหลายจะได้ทดลองนำฝึกฝนและไปปฏิบัติจริงให้ได้ผล เพราะมันก็คือมูลค่าเพิ่มในตัวที่ท่านทั้งหลายจะสร้างให้กับตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงของชีวิตการทำงานนั้น ไม่ใช่ท่านฝ่ายเดียวที่อยากจะพัฒนาให้ทักษะเหล่านี้เกิดขึ้น หากแต่องค์การก็ยังต้องการด้วยเช่นกัน แต่หากเข็นไม่ไหว หรือสุดที่จะเคลียร์ ท่านก็อาจจะกลายเป็น “คนที่องค์การไม่ต้องการ” ก็ได้นะครับ

 

แต่ก็อย่าได้เผลอไผลไปเป็นเช่นนั้นเลย !!!! จะดีกว่าครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : งานวุฒิ ม.3- ม.6สมุทรปราการ GB+สงขลา ธุรการ ลงพื้นที่มหาสารคาม งานธนาคารสมุทรสงคราม คลั การตลาด นครปฐม ฟิตเนสในโรงแรม PC จัดบุธ พนักงานโตโยต้าล้านนา ชียงใหม่ TDC วุฒิม.3 สมุทรปราการ ธนาคารฃ ชลบุรี dr สมัคร สมาชิก 0877118051 ฝ่ายบุคคลค่าแรง พาท งานผู้ช่วย telesa โคราชช่าง งาฃนธนาคาร พระราม 4บัญชี หางานด่วนวุฒิ ม.3 นนทบุรี โรงงานชัยภูมิ ภูมินรา งานเชียงใหม่ ล่าสุด ไทยซัมซุง event staff แจ้งวัฒนะ หางานแถวสามย่านแกลง n2j ทรัพยสิน ช่างเขียนแบบ rack งานบุคคล จันเกษม รามคำแหงงานโรงงาน Starbuc coffee รับสมัครงานในเกาหลี พนักงาน ไป ทั่ โรงลาบยโส ครูสาขาวิชา วิศวกรรมวัสดุ ซูซุกิบางนา วุฒิ ปวส.ชลบุรี นวลจัน โรงพยาบาล ที่ปราณบุรี วุฒิมต้นเขตบางนา พระโขนง ขับรถผู้บริหาร จ.กาญจนบุรี สยามเคมีคัล ภูเก็ต ป.ตรี ดาราระคร ค่าจ่างพนักนักงานขับรถเครน พนักงานขาย,PC