หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง จริยศาสตร์กับสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร
เขียนโดย นายธนากรณ์ ใจสมานมิตร

Rated: vote
by 2 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




จริยศาสตร์กับสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร

  

            คำว่า จริยศาสตร์ มาจากรากศัพท์ภาษากรีกว่า Ethos แปลว่า อุปนิสัยหรือความประพฤติของมนุษย์ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ethics แปลว่า การศึกษาถึงมาตรการความประพฤติและการตัดสินใจทางศีลธรรม

            คำว่า จริยศาสตร์ เป็นคำสมาสจากรากศัพท์ระหว่างคำว่า จริยะ แปลว่าความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ กับคำว่า ศาสตร์ ที่แปลว่า วิชา วิทยาการ หรือศาสตร์ความหมายของคำว่า จริยศาสตร์ตามวิถีไทย จึงหมายถึง วิทยาการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของความประพฤติ หรือกิริยาที่ควรประพฤติ โดยเน้นที่พฤติกรรมของมนุษย์ เพื่อให้ทราบว่ามาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ที่ว่าถูกหรือควรนั้นเป็นอย่างไร และยึดอะไรเป็นมาตรฐานว่าประพฤติดีหรือควร

            พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕[๑] ให้ความหมายของคำว่า จริยศาสตร์ ไว้ว่า จริยศาสตร์ เป็นคำนาม ได้แก่ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติและการครองชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรือ อะไรควร อะไรไม่ควร ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ethics จริยศาสตร์เป็นเนื้อหาความรู้ทางปรัชญา เป็นพื้นฐานหรือแนวความคิดเบื้องต้นที่นำไปสู่การกำหนดหัวข้อจริยธรรมเพื่อการปฏิบัติ

            บุญมี  แท่นแก้ว[๒] ได้ให้ความหมายของ จริยศาสตร์ ไว้ว่า จริยศาสตร์ เป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติของมนุษย์ อันจะต้องหาคำตอบเกี่ยวกับความประพฤติของมนุษย์โดยเฉพาะว่าการกระทำในลักษณะใดที่วัดว่ามีคุณค่า หรือที่เรียกว่าประพฤติแล้วควรค่าแก่การยกย่องสรรเสริญ หรือเป็นการกระทำที่ดี ที่ถูกต้อง ที่ควร รวมทั้งหาคำตอบเกี่ยวกับอุดมคติ หรือจุดมุ่งหมายของชีวิตว่าคืออะไร เป็นอย่างไร และพยายามค้นหากฎเกณฑ์ในการตัดสินการกระทำของมนุษย์นั้นว่ากระทำอยู่ในลักษณะเช่นไรเป็นการกระทำที่ดี จัดว่าดี ว่าถูกต้อง ว่าควรค่าแก่การยกย่องสรรเสริญ และอื่นๆ

            ผลที่ได้จากการตัดสินแล้วว่าดี ถูกต้อง เหมาะสม ก็คือหลักการ หรือข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เป็นคุณธรรมที่ต้องประพฤติ และคุณลักษณะที่จะต้องละเว้น หากไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติผิดไปจากแนวทางที่ตัดสิน อาจมีบทลงโทษที่กำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน เราเรียกว่า จริยธรรม  จุดมุ่งหมายก็คือการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ต้องการให้มนุษย์เป็นตัวของตัวเอง มีความสุขความเจริญทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และทางสังคม โดยมุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับสมัชชภาพ หรือสังคม ในบางอาชีพก็มีการกำหนดการกระทำที่ดีงาม ส่งเสริมคุณค่าในการประกอบอาชีพ เป็นเหตุให้ผู้ที่ได้พบเห็นชื่นชม สรรเสริญ และยกย่องเป็นภาพลักษณ์ที่ดีกับผู้ประกอบอาชีพนั้นๆ ที่เราเรียกว่า จรรยาบรรณ , จรรยาในอาชีพ หรือ มารยาทแห่งวิชาชีพ ซึ่งก็มีความที่สอดคล้องกับคำว่า จริยธรรม เช่นกัน

            จริยธรรม เป็นมูลเหตุให้มนุษย์เกิด ศีลธรรม ส่งเสริมให้เกิด คุณธรรม ในตัวบุคคลได้ ซึ่งศีลธรรมนั้นก็คือ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของแต่ละศาสนาที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติของศาสนิกชนในศาสนานั้น เช่น บัญญัติ ๑๐ ประการของศาสนาคริสตร์ , หลักสำคัญที่ชาวมุสลิมจะต้องปฏิบัติ ๕ ประการ , การยึดถือศีล ๕ ในการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนเป็นต้น การล่วงละเมิดในศีลธรรมอาจจะมีบทลงโทษที่กำหนดกฎเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจน และไม่เสริมสร้างและส่งเสริมคุณธรรมในตัวบุคคลอีกด้วย ความเป็นมนุษย์ก็จะถดถอยลงไป ดังนั้นเมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว ศีลธรรม นั้นจะเป็นเรื่องที่ไปเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับหลักของศาสนาเน้นความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับปัจเจกชน จนไปถึงสังคมโลก โดยไม่จำกัดขอบเขตอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผลสากลทุกสังคมยอมรับได้ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของวิชาศีลธรรมก็คือ ความต้องการให้มนุษย์มีจิตใจสูงสมนามว่าเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีสัญชาตญาณดิบในการใฝ่หาอำนาจและเสรีภาพติดตัวมา เพื่อสนองความอยากของตนเอง ดังนั้นจำมีความจำเป็นต้องอาศัยศีลธรรมเป็นกฎ ระเบียบ บรรทัดฐาน เป็นแนวทางความประพฤติ ความพอเหมาะพอดีจึงจะเกิดขึ้น เป็นผลให้เกิดความสงบสุขขึ้นได้ในสังคม

            ส่วน คุณธรรม เป็นเรื่องของสภาพคุณงามความดีโดยธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนยอมรับได้ วิญญูชนพึงสำนึกในจิตใจของตนในด้านความจริง ความดีและความงาม นำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต อาจเป็นผลจากการที่ได้ปฏิบัติตามหลัก ศีลธรรม และทำให้เกิดการรับรู้ได้ด้วยวิจารณญาณเทียบเคียงกับประสบการณ์ตรงของบุคคล เกิดเป็นความเชื่อ ความศรัทธา และเลื่อมใสในการประพฤติปฏิบัติตามหลักการนั้นจนเกิดเป็นนิสัยที่ถาวรของบุคคล เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต , ความกตัญญูกตเวที , ความเสียสละ , ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นต้น คุณธรรมในตัวบุคคลเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยเวลาในการประเมินและตัดสิน จะต้องดูจากการกระทำที่เป็นนิสัยโดยถาวร ไม่ใช่แค่การแสดงออกเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น และสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณธรรมเป็นเรื่องของจิตสำนึกในตัวบุคคลเท่านั้น การที่บุคคลไม่ปฏิบัติในหลักการก็ถือว่าไม่ผิด ไม่มีใครต่อว่า ไม่มีบทลงโทษกำหนดไว้ แต่ผลจากการไม่ปฏิบัติสิ่งที่บุคคลจะได้รับก็คือ เมื่อเขาเกิดสำนึกได้ขึ้นมาเมื่อใดและถ้าเขายังจดจำข้อเท็จจริงต่างๆได้ ความทุกข์ทางใจจะเกิดขึ้นกับเขาทันที เกิดการสำนึกผิดด้วยตนเองได้ นั่นคือผลกรรมที่บุคคลได้รับ

            ที่ได้กล่าวนำตั้งแต่ต้นในเรื่องของ จริยศาสตร์ , จริยธรรม , ศีลธรรม , คุณธรรม ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับ ความคิด , การกระทำ , พฤติกรรม , นิสัย เพื่อปรับและพัฒนาอุปนิสัยของมนุษย์ (คำว่า นิสัย กับ อุปนิสัย มีความหมายที่แตกต่างกัน)[๓] บนพื้นฐานความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนล้วนใผ่ดีตั้งแต่เกิด ไม่มีใครต้องการเป็นคนชั่วร้ายเลวทราม แต่เนื่องจากความแตกต่างของบุคคล (ปัจเจกบุคคล) มีเกิดขึ้นจึงเป็นผลให้เกิดความคิด ,การกระทำ , พฤติกรรม และ นิสัยของมนุษย์แตกต่างกันออกไป ทุกคนต่างก็คิดว่าสิ่งที่ตนกระทำไปนั้นดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว โดยไม่ได้พิจารณาถึงเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการวัดมาตรฐานคำว่า ดีและเหมาะสมในการกระทำนั้นเป็นอย่างไร การมาอยู่ร่วมกันของมนุษย์ย่อมเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในแต่ละสังคมจึงจำเป็นต้องมีการกำหนดสิ่งที่สมาชิกทุกคนพึงรับรู้เพื่อสร้างความตระหนัก และปฏิบัติให้เป็นการกระทำพื้นฐานของคนในสังคม ถ้าคนในสังคมนั้นมีการประพฤติปฏิบัติในทางที่ได้กำหนดไว้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม และในการประพฤติและปฏิบัติของบุคคลนี้เอง จะก่อให้เกิดหน้าที่ความรับผิดชอบแก่อีกฝ่ายหนึ่ง ความรับผิดชอบบางอย่างอาจเป็นไปตามกฎหมายหรือสัญญา ในขณะที่ความรับผิดชอบบางอย่างเป็นเรื่องของ จริยธรรม สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมาเราเรียกว่า สิทธิ (Right) ของบุคคล

            ความสัมพันธ์ของคนในองค์กรเป็นสิทธิและหน้าที่ของกลุ่มบุคคลสองฝ่าย กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายพนักงาน นั่นหมายความว่า สิทธิของพนักงานก็คือหน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้าง ในทางกลับกัน สิทธิของนายจ้างก็คือหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน ดังข้อเท็จจริงที่จะกล่าวต่อไปนี้

สิทธิของพนักงาน : หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้าง[๔]

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิในการจัดการและเจรจาต่อรอง  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องเปิดโอกาสในการให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรอง

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิทำงานในสถานที่ที่มีความปลอดภัย  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องจัดการ , จัดเตรียม , สนับสนุนเรื่องความปลอดภัยในสถานที่ทำงานอย่างเหมาะสม

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิส่วนบุคคล  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องเคารพในสิทธิส่วนบุคคล

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องเปิดรับฟังความคิดเห็น ทุกความคิดเห็นอย่างเปิดใจยอมรับ โดยถือว่าสิ่งที่ได้นั้นคือข้อมูล ข้อเท็จจริง

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิในการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และแสดงออกอย่างเหมาะสม  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องกำหนดกฎ ระเบียบ ที่มีความเป็นธรรมมาใช้และปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิในการจ้างงานอย่างเท่าเทียมกัน  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องปฏิบัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจ้างงานอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยไม่มีอคติ

·       พนักงานทุกคนมีสิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม  หน้าที่ความรับผิดชอบของนายจ้างต้องปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเป็นธรรม

สิทธิของนายจ้าง : หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน

·       นายจ้างมีสิทธิที่จะกระทำทุกวิถีทางเพื่อหาทางป้องกันไม่ให้พนักงานใช้ยาหรือสารเสพติดทุกประเภท  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกประเภทไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้เสพ หรือ ผู้ขายก็ตาม

·       นายจ้างมีสิทธิที่จะปกป้องคุ้มครอง พนักงานทุกคนให้ปราศจากอันตรายใดๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องไม่กระทำการใดๆที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นในขณะปฏิบัติงาน

·       นายจ้างมีสิทธิที่จะปกป้อง ตรวจสอบ ข้อมูลต่างๆที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ และเปิดเผยในสิ่งที่เหมาะสม

·       นายจ้างมีสิทธิที่จะปกป้องพนักงานทุกคนจากภัยคุกคาม และการประพฤติที่แสดงถึงการไม่เคารพความเป็นมนุษย์  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องประพฤติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพในความเป็นมนุษย์ ปราศจากการคุกคามผู้อื่น

·       นายจ้างมีสิทธิที่จะนำเสนอข้อเท็จจริงต่างๆขององค์กร เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้พนักงานทุกคนเกิดความตระหนักในคุณค่าความดีงามขององค์กร  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

·       นายจ้างมีสิทธิปกป้อง จัดสรรปันส่วน จัดการกับทรัพย์สินและเงินทุนอย่างเหมาะสม  หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานจะต้องเคารพในสิทธิการจัดการทรัพสินและเงินทุนของนายจ้าง และนำไปใช้อย่างคุ้มค่าโดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆแอบแฝง

ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน

          เรื่องของสิทธิส่วนบุคคล หรือ ความเป็นส่วนตัว หมายถึง การที่บุคคลได้รับการปกป้องในเรื่องชีวิตส่วนตัวจากการบุกรุก โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากนายจ้าง รวมไปถึงแนวคิดด้านศาสนา , การเมือง , ปัญหาด้านสุขภาพ , ประวัติทางด้านเครดิต ตลอดจนสิ่งที่ทำและพูดนอกสถานที่ทำงานถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะไปละลาบละล้วงได้ ยกเว้นแต่ว่า เมื่อสิทธิส่วนบุคคลนั้นไปส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง ดังประเด็นต่างๆต่อไปนี้

๑.          การตรวจสอบข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การใช้จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ , การค้นหาข้อมูลโดยผ่านเครือข่าย Internet , การใช้ Voice Mail , VDO Presentation ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกยุคปัจจุบัน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางด้านจริยธรรมหลายประการ บางสิ่งบางอย่างจำเป็นต้องมองในมุมมองของจริยธรรมด้วย ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่พนักงานบอกว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่นายจ้างเองมองว่ามีความจำเป็นต้องรักษาประสิทธิภาพในการทำงาน และจำเป็นต้องป้องกันการกระทำที่ไม่มีจรรยาบรรณอันจะส่งผลเสียหายมาสู่องค์กรได้ เป็นต้น

                        เกี่ยวกับประเด็นนี้เองในกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องการติดต่อสื่อสารข้อมูลส่วนบุคคลโดยผ่านสื่ออิเล็คทรอนิกส์ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มีข้อยกเว้นสำหรับนายจ้าง กล่าวไว้ว่า สิทธิส่วนบุคคลมิได้หมายรวมถึงการใช้สิทธิในทางธุรกิจ นายจ้างมีสิทธิที่จะตรวจสอบการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับงาน ดังนั้นในการป้องกันข้อพิพากษ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับพนักงานในประเด็นนี้นายจ้างควรปฏิบัติดังนี้

                          ๑.๑  แจ้งให้พนักงานทุกคนได้รับทราบก่อนว่าในองค์กรมีการตรวจสอบข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

                          ๑.๒  นายจ้างควรอธิบายนโยบายของการตรวจสอบให้เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน

                          ๑.๓  นายจ้างควรแจ้งพฤติกรรมที่คาดหวัง และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับพนักงานทราบ

                          ๑.๔  แจ้งให้พนักงานทราบว่านายจ้างใช้วิธีการใดในการตรวจสอบข้อมูล

๒.          เรื่องความสัมพันธ์ในสถานที่ทำงาน  รายงานการวิจัยฉบับหนึ่ง[๕]ชี้ให้เห็นว่า ๑ ใน ๓ ของความสัมพันธ์ระยะยาวของมนุษย์เกิดขึ้นจากที่ทำงาน และร้อยละ ๓๐ เป็นความสัมพันธ์กันแบบชู้สาว เรื่องความสัมพันธ์นี้พนักงานมองว่าเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล แต่ในบางธุรกิจก็เป็นเรื่องที่เข้มงวดมาก เช่น กฎของธนาคารแห่งประเทศไทย ห้ามมิให้สามี-ภรรยา ทำงานในสาขาเดียวกัน บางองค์กรก็ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนว่า หากความสัมพันธ์มีการพัฒนาต้องมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดลาออก บางองค์กรก็ให้พนักงานลงนามรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสาร “ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเป็นสิ่งที่ยอมรับได้”เพื่อเป็นการป้องกันการฟ้องร้องเรื่องคดีความ แต่ในขณะที่บางองค์กรนั้นก็ไม่ได้เข้มงวดเรื่องความสัมพันธ์(ที่ไม่ผิดศีลธรรม)หากไม่กระทบกับงาน

๓.          เรื่องการใช้ยาและสารเสพติด  ประเด็นนี้อาจจะเป็นส่วนน้อย แต่เป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับนายจ้างเนื่องจากเป็นเหตุให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ปัญหาคุณภาพของคน , ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ , ปัญหาการลักขโมย , ปัญหาการรบกวนและคุกคามผู้อื่น เป็นต้น นายจ้างมีความจำเป็นต้องหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามาใช้ มาตรการหนึ่งก็คือการทดสอบการใช้สารเสพติด ซึ่งพนักงานอาจมองว่าเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล แต่ในทางกฎหมายก็ได้เปิดช่องไว้ให้สำหรับนายจ้างสามารถใช้มาตรการนี้ได้โดยการศึกษาข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเหตุผลชี้แจ้งให้กับพนักงานได้รับทราบ ในการทดสอบการใช้ยาและสารเสพติดนั้นสามารถกระทำได้ ๓ กรณี ดังนี้

๓.๑  ตรวจสอบก่อนการจ้างงาน โดยการตรวจร่างกายและตรวจประวัติเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดของผู้สมัครงาน

                     ๓.๒  การสุ่มตรวจพนักงานทุกระดับตั้งแต่ผู้บริหารจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ ในแต่ละปี

                     ๓.๓  การสอบจากเหตุ เป็นการทดสอบเมื่อนายจ้างมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าพนักงานมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเนื่องจากการใช้สารเสพติด เช่น เกิดอุบัติเหตุขึ้น , เกิดความเสียหายกับงานที่ผิดปกติวิสัย

                        ในการใช้มาตรการอาจมีมุมมองที่เป็นทั้งบวกและลบได้ดังนี้

                                    มุมมองทางบวก

-                   เป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐ

-                   เพิ่มผลผลิตของแรงงาน

-                   ส่งเสริมมาตรการความปลอดภัยในที่ทำงาน

-                   ลดอัตราการขาดงาน และการเกิดอาชญากรรม

-                   ลดต้นทุนในการประกันสุขภาพของพนักงาน

 

มุมมองทางลบ

-                   เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

-                   อาจนำไปสู่การแบ่งแยกของพนักงาน

-                   ไม่ส่งเสริมบรรยากาศในการสร้างจริยธรรม

-                   ทำลายความไว้วางใจของพนักงานที่มีต่อองค์กร

-                   ผลการตรวจอาจมีความผิดพลาด และเกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกันได้

๔.      การดื่มสุราในที่ทำงาน     รายงานการวิจัยของอเมริกาฉบับหนึ่งชี้ให้เห็นว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม ร้อยละ ๔๐ มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอออล์ ร้อยละ ๙๐ ของบริษัทจำนวน ๕๐๐ บริษัท มีการจัดโครงการช่วยเหลือพนักงานที่ติดแอลกออล์ (Employee Assistance Program : EAPs) ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือพนักงาน สำหรับการบำบัดและพื้นฟูสภาพจิตใจสำหรับผู้ที่ติดแอลกออล์ ซึ่งมีข้อมูลจากบริษัท General Motors ได้เคยเปิดเผยไว้ว่า สามารถช่วยลดต้นทุนได้ถึง ๓,๗๐๐ ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อพนักงานหนึ่งคนที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวนี้

                        จะเห็นได้ว่าประเด็นนี้เป็นกฎที่ทุกๆองค์กรได้กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และเป็นสิ่งที่พนักงานก็ไม่สมควรประพฤติและปฏิบัติเมื่อยู่ในสถานที่ทำงาน แต่ที่ยกประเด็นนี้มาก็เพื่อจะชี้ให้เห็นถึง การใช้จริยธรรมขององค์กรในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีการช่วยเหลือกันโดยใช้หลักมนุษยธรรม โดยที่ไม่ได้ผลักภาระความรับผิดชอบให้กับภาครัฐเพียงอย่างเดียว

                        ๕.        การลักขโมย และทดสอบความซื่อสัตย์  การลักขโมยเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม โดยในอเมริกาเปิดเผยข้อมูลคาดการณ์ชี้ให้เห็นว่า มีพนักงานที่ขโมยเงินสด สินค้า และทรัพย์สินของบริษัทแล้วไปก่อให้เกิดต้นทุนถึง ๔-๕ หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในแคนนาดามีข้อมูลพบว่า การขโมยก่อให้เกิดต้นทุนถึง ๒ หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ในส่วนนี้นายจ้างมีสิทธิที่จะสอบสวนพนักงานที่ตกเป็นผู้ต้องสงสัยได้ แต่ห้ามใช้เครื่องจับเท็จกับพนักงาน[๖] องค์กรต่างๆจึงได้เปลี่ยนมาใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาแทน ในประเทศอังกฤษเคยมีข้อมูลการทดลองใช้แบบทดสอบความซื่อสัตย์กับผู้ที่เข้ามาสมัครทำงานใหม่กว่า ๔,๐๐๐ คน ผลจากการทดลองประเด็นหนึ่งพบว่า การลักขโมยลดลงจากร้อยละ ๔ เป็นร้อยละ ๒.๕ ส่งผลให้ต้นทุนการสูญเสียลดลงจาก ๓.๗๕ ล้านปอนด์ เหลือ ๒.๖๒ ล้านปอนด์         

ความจำเป็นในการสร้างและพัฒนาจริยธรรมให้กับบุคลากร

          ด้วยความสัมพันธ์ในสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างนายจ้างและพนักงานนี้เอง การกระทำบางอย่าง บางเรื่อง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้หลักจริยธรรม , ศีลธรรม เข้ามาเป็นเกณฑ์ช่วยในการตัดสินใจ ดังนั้นบุคลากรจำเป็นต้องรู้จริงในเรื่องของจริยธรรม ไม่ใช่เพียงแค่รู้จัก หรือ เคยได้ยินอย่างผิวเผินเท่านั้น และที่สำคัญจะต้องปลูกฝังให้เข้าไปอยู่ในจิตใจจนแสดงออกเป็นนิสัยที่ถาวรของบุคลากรให้ได้ ซึ่งอาจมีการกำหนดเป็นแผนงานได้ดังนี้

๑.           แผนงานด้านการปลูกฝังจริยธรรมในองค์กร

๑.๑      การกำหนดจรรยาบรรณในหน้าที่ หรือวินัยในการทำงาน

๑.๒     จัดฝึกอบรมสัมมนาด้านจริยธรรมให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

๑.๓     ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่าง และมีความใส่ใจในเรื่องของการใช้จริยธรรมในหน้าที่

๑.๔     สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการปลูกฝังจริยธรรม

๒.          แผนงานด้านการส่งเสริมจริยธรรมในองค์กร

๒.๑     การบรรจุ , แต่งตั้ง , การเลื่อนตำแหน่ง , การปรับเงินเดือน ต้องมีการพิจารณาเรื่องของจริยธรรมในตัวบุคคลด้วย

๒.๒     การจัดตั้งชมรมส่งเสริมจริยธรรมในการใช้ชีวิต

๒.๓     จัดพิธีการทางศาสนาที่ส่งเสริมจริยธรรมในตัวบุคคลเป็นครั้งคราว

๓.          แผนงานควบคุม

๓.๑     เมื่อมีการละเลย หรือประพฤติผิดทางจริยธรรมต้องมีการลงโทษ

๓.๒     ยกย่องให้เกียรติผู้ที่มีจริยธรรม

๓.๓     ประเมินระดับจริยธรรมระดับองค์กรและบุคคลอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะๆ

 

บทสรุป

          การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นเหตุให้เกิดปัญหาทางด้านจริยธรรมมากมายและหลากหลาย  ถึงเวลาแล้วที่องค์กรในบ้านเรา ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดขึ้นในระดับองค์กร โดยเริ่มต้นจากการปูพื้นฐานความรู้ตามหลักจริยศาสตร์ให้กับพนักงานทุกระดับตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับบริหาร เพื่อให้ข้าใจอย่างถ่องแท้และไม่สับสนในเรื่อง จริยธรรม , ศีลธรรม , คุณธรรม , มนุษยธรรม จากนั้นต้องสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการสร้างพฤติกรรมทางจริยธรรมให้เกิดขึ้นกับพนักงานอย่างยั่งยืน โดยการส่งเสริมและมีการควบคุมเป็นระยะ ทั้งนี้เพื่อลดรากเหงาของปัญหาต่างๆที่เกือบทุกองค์กรในบ้านเราเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรในอนาคตด้วย

 


[๑] อ้างใน ศาสตราจารย์นายแพทย์ ทองจันทร์  หงศ์ลดารมภ์ . บทความ จริยธรรมแห่งวิชาชีพและจริยศาสตร์ , มปป : -

[๒] ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญมี  แท่นแก้ว . พุทธปรัชญาเถรวาท , ๒๕๔๕ : ๔๓

[๓] นิสัย หมายถึง พฤติกรรมที่มาจากการกระทำอย่างซ้ำๆชัดเจน โดยเกิดจากการปรับเปลี่ยนที่เริ่มต้นจากกระบวนการรับรู้ของมนุษย์

    อุปนิสัย หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกจากการกระทำอย่างซ้ำๆชัดเจน อันเนื่องมาจากคุณลักษณะที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่กำเนิด

[๔] อภิรัฐ  ตั้งกระจ่าง และคณะ . จริยธรรมทางธุรกิจ , ๒๕๔๖ : มปน.

[๕] อ้างใน http://www.bc.msu.ac.th . เนื้อหาการบรรยาย “จริยธรรมทางธุรกิจ”. มปป : มปน.

[๖] เนื่องจากรัฐบาลได้มีข้อห้ามในการใช้เครื่องจับเท็จกับพนักงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมา




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การปฏิบัติตัว เมื่อเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ธุรการรัชดา-ลาดพร้าว ชลบุรี วุฒิ ม.6 rakmeaw จัดหาานี การบัญชี ธุร โตโยต้าสุพรรณ หัวหน้าวิศวกรไฟฟ้า ชลบุรี งานแถวนิคมบางชัน ตำแหน่งบุคคล บางปู ช่างพ่นสี รังสิต ล่ามเกาหลี ชลบุรี เขตสนามเป้า เขียนงานศิลปะ ผู้ช่วยววิจัย ร้านขนม บางนา ทรัพยากรบุคคล+ผู้จัดการ เสมียน วุฒิ 3 24ชม. ดีเจ ผู้ประกาศข่าว ซียู ตามหนี บริหารโครงการ ชิ้ปปิ้ง ธุรการ ธนบุรี พนักงานขับรถ พัฒนาการ 20 ธุรการ, การขาย, การตลาด จักรวรรดิ ขับรถให้กับผู้บริหาร ครูพบศึกษา กรุงเทพมหานคร ม.6 pay rool ผู้ช่วยผู้จัดการโลตัส พิษณุโลก บุคคล รัชดา19 aact ผู้จัดการโงงาน มิซซูบิชิ ProsperSof สันติภาพ french job cr n สรรหาว่า นนทบุรี สาขาบิ๊กซี แพ็คกิ้ง ยบร’รƒรฌยนรฉร“ ธนาคาร จังหวัดสงขลา honda ฝ่ายขาย พนักงานชงกาแฟ สตาบัค งานด้าวงการบันเทิงลาดพร้าว ธนาคารกรุงไทยมหาสารคาม โลตัสสุขาภิบาล1