หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สุนทรียภาพกับการสร้างแรงบันดาลใจในปัจเจกชน
เขียนโดย นายธนากรณ์ ใจสมานมิตร

Rated: vote
by 13 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




สุนทรียภาพกับการสร้างแรงบันดาลใจในปัจเจกชน

                                                          

                                                                   ธนากรณ์  ใจสมานมิตร[1]

         กล่าวนำ

          “สุนทรียภาพ”(Aesthetics) มาจากคำว่า สุนทรีย หมายถึง ความงาม ความงดงาม ภาพ หมายถึง ลักษณะที่บ่งชี้ หรือถ่ายทอด ความเป็นตัวตนของสรรพสิ่ง ให้บริบทรอบข้างได้รับรู้ เมื่รวมกันคำว่า “สุนทรียภาพ” จึงหมายถึง ลักษณะที่บ่งชี้ หรือถ่ายทอด ความงดงาม ในความเป็นตัวตนของสรรพสิ่งให้บริบทรอบข้างได้รับรู้ นักปราชญ์ชาวตะวันตกหลายท่านได้ให้ความหมายของความงามไว้ ดังนี้[2]

                        เพลโต(Plato ๔๒๗-๓๔๗ ปีก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่สมบูรณ์ในอุดมคติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่แสดงออกมาในโลกที่เปลี่ยนแปลง”

                        อิมมานูเอิล ค้านท์(Immanuel Kant พ.ศ.๒๒๖๗-๒๓๔๗) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความพอใจของผู้ที่ได้พบเห็น

                        แลงเฟลด์ กล่าวว่า “ความงามคือคุณค่าที่เกิดขึ้นระหว่างอินทรีย์ของมนุษย์เรา กับวัตถุ”

                        เซนต์โทมัส อควีนาส(St. Thomas Aquinas พ.ศ.๑๗๖๘-๑๘๑๗) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน เมื่อเราได้เห็นหรือรู้ ความงามจึงประกอบด้วยความสมบูรณ์ ความได้สัดส่วน และความแน่ชัด

            ในส่วนของทางซีกโลกตะวันออก มีผู้ให้ความหมายของความงามไว้เช่นกัน ดังนี้

                        ทวีเกียรติ  ไชยยงยศ กล่าวว่า “ปรัชญาแห่งความงามนั้น จะไม่พ้นไปจากจิตของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานเดิม การเกิดความงามก็ต้องเกิดจากอารมณ์ไปเกาะกับจิต โดยอารมณ์ที่ไปเกาะอยู่กับจิตนั้นทำให้จิตเกิดความพึงพอใจ หรืออาจจะสรุปได้ว่า ความงามก็คือสิ่งที่สร้างความพึงพอใจ ความชอบให้กับจิตนั่นเอง”

                        ป๋วย  อึ้งภากรณ์ กล่าวว่า “ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆที่ทำให้มนุษย์ มีวัฒนธรรมและความเพลิดเพลิน

                        ราชบัณฑิตยสภา บัญญัตินิยามความหมายไว้ว่า “ความงาม คือ ลักษณะที่เห็นแล้วชวนชื่นชมยินดี และพึงพอใจ”

                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า “งาม (ว.) ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม ; มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม ; ดี,มาก,ลักษณะเป็นไปตามต้องการ เช่น กำไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม” เป็นต้น

            ความสวยงาม คือ สถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุลย์ สัดส่วน และแรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือความคิด  ตรงกันข้ามกับความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงข้ามต่อผู้ที่รับรู้ แต่การที่จะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความสวยงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของ “สุนทรียศาสตร์” ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วย ความดี ความงาม ซึ่งเป็นความงามที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือความงามในทางศิลปะก็ได้ นักปราชญ์ทางศิลปะกล่าวว่า “ความงามเป็นหน่วยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางความรู้สึกกับการสื่อสารความหมาย”สุนทรียศาสตร์ เป็นมาตรฐานความงามในเชิงทฤษฎี (Theory of Beauty) อยู่ในปรัชญาสาขา Axiology ซึ่งจะโน้มนำไปสู่ การสร้างสุนทรียภาพของบุคคล

            ส่วนคำว่า “แรงบันดาลใจ” [3] จะพิจารณาความหมายโดยแยกคำว่า “แรง” ออกมาอธิบายตามหลักทางวิทยาศาสตร์ด้วยเหตุและผล (ตรรกะ) จากนิยามที่กล่าวไว้ว่า งาน เป็นผลลัพธ์ที่ได้จาก แรง คูณกับ ระยะทาง ที่วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรง ดังนั้นหากย้ายข้างสมการก็จะพบว่า แรง ก็คือ ผลลัพธ์ของสัดส่วนระหว่าง งาน กับ ระยะทาง งานในที่นี้ หมายถึง การแสดงซึ่งบทบาทและหน้าที่ ที่มาจากความยินดีและเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นในการกระทำ เป็นสิ่งที่ทำแล้วจะนำมาซึ่งความสุขสงบ ได้พัฒนาจิตใจของเรา และได้รับเกียรติ ชื่อเสียง วัตถุตามมาเป็นเพียงผลพลอยได้ เพื่อให้สามารถเลี้ยงชีพได้อย่างผู้มีปัญญาโดยแท้ ที่สำคัญคือจะทำให้เราเกิด แรงจูงใจในตนเองตลอดเวลา (การกระตุ้นให้เกิดแรงด้วยตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากระตุ้น) ทำให้เราทุ่มเทความสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้สร้างสรรค์ความดี,ความงามได้มากที่สุด และเป็นการ สั่งสมประสบการณ์จากระยะทาง ที่เราได้ก้าวเดิน พร้อมรับมือและเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆซึ่งงานได้เรียกร้องจากเรา (เปรียบได้กับการเคลื่อนที่ของวัตถุให้ได้ระยะทางนั้นย่อมต้องมีแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวสัมผัสเป็นเรื่องธรรมดา) การยืนหยัดและฟันฝ่าอุปสรรค์ให้สามารถทำบทบาทหน้าที่ไปตามแนวแรงจูงใจในตนเองได้ จะเป็นสิ่งที่ดลบันดาลให้เราเป็นผู้มีใจที่รักและมีความปิติปราโมทย์ในงาน เป็นการได้ซาบซึ้งและดื่มดำกับคุณค่าภายใน (Intrinsic Value) ของการทำงานอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า “สุขแท้มีแต่ในงาน”

            ผู้ที่ทำแต่เพียงบทบาทหน้าที่ให้ผ่านไปวันๆโดยไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาจิตใจ หวังเพียงเพื่อชื่อเสียง วัตถุ สิ่งที่เป็นคุณค่าภายนอก (Extrinsic Value)  แนวโน้มในอนาคตสามารถพยากรณ์ได้ตามหลักตรรกะเมื่อแทนค่าเข้าไปจะพบว่า ค่าของงาน (สิ่งที่เราทำ) จะเท่ากับ ศูนย์ (๐) เหตุผลก็เพราะ แรง (แรงจูงใจในตนเอง) ไม่มี เท่ากับ ศูนย์ (๐) เมื่อมันไปคูณกับ ระยะทางถึงแม้เราจะทำงานมายาวนาน เดินทางในเส้นทางของชีวิตคนทำงานมามากเท่าใดก็ตาม ศูนย์ คูณอะไรก็ได้ ศูนย์ ตลอดชีวิตของเราจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากช่วงชีวิตการทำงาน นอกจากการเลี้ยงชีวิตให้รอด เท่านั้น กว่าที่จะรู้ตัวอีกทีก็ก้าวเข้าสู่วัยที่จะต้องปลดระวางจากการทำงานเสียแล้ว ชีวิตลักษณะนี้จึงเป็นชีวิตที่ เสียศูนย์ ความเป็นตัวตน (เปรียบเสมือนรถที่ศูนย์ล้อผิดปกติทำให้การควบคุมทิศทางของรถนั้นยากลำบาก) และ สูญเสีย โอกาสที่ดีในการได้เกิดเป็นมนุษย์ในภพชาตินี้    

          สุนทรียภาพ : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังเหนี่ยวนำความงดงามในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมปัจเจกบุคคล

            คนทุกคนมีความแตกต่าง คนเหมือนคน แต่คนก็ไม่เหมือนกัน คำว่า “ปัจเจกบุคคล” จึงถูกบัญญัติขึ้น ทำไมคนแต่ละคนจึงมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน ลองมาวิเคราะห์ตามดูว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

            เริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมมนุษย์ นั่นคือ กรอบแนวคิดของบุคคล อันประกอบด้วย เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยมของบุคคล สิ่งที่ทำให้มนุษย์นำมาสร้างกรอบแนวคิด นั่นคือ การได้ลงมือทำและพิสูจน์แล้วเห็นผลจริงด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกว่า ทักษะที่เกิดจากการฝึกฝน สิ่งที่เป็นเหตุให้มนุษย์สามารถสร้างทักษะฝึกฝนตนเองได้นั่นคือ องค์ความรู้เฉพาะบุคคล ที่ได้จากการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆมาพิจารณาและวินิจฉัยอย่างมีหลักการ สิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถเก็บกักและนำข้อมูล ข้อเท็จจริงเข้าสู่ตนเองได้ นั่นคือ การที่มนุษย์มีสมองเป็นอุปกรณ์ในการเก็บและประมวลผล โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง ๕+๑ ที่มีติดตัวมนุษย์มาทุกคนเป็นตัวส่งสัญญาณที่ได้รับรู้มา (การรับสัมผัส ๕ ทางได้แก่ การมองเห็น , การได้ยินเสียง , การได้กลิ่น , การได้รับรู้รสชาติ และการสัมผัส ส่วนการรับอีก ๑ ทางนั้นคือ ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล นั่นคือ อารมณ์)

          ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เพราะการรับรู้นั่นเอง เป็นเหตุให้เกิดการศึกษาวินิจฉัยของบุคคลสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ส่วนตนซึ่งเป็นปัจจัยไปก่อให้เกิดการทดสอบองค์ความรู้นั้นด้วยการลงมือฝึกฝนและเป็นปัจจัยไปก่อให้เกิดการยึดติดเป็น เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยมส่วนบุคคล (กรอบแนวคิดของบุคคล) ซึ่งเป็นปัจจัยต่อไปทำให้เกิด การแสดงออกอย่างซ้ำๆและถาวรจนเป็นพฤติกรรม ที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะสื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้ โดยไม่ต้องบอกกล่าว เราอาจเคยได้ฟังในสิ่งที่พระท่านสั่งสอนเราอยู่เสมอว่า “คนเราคิดอย่างไร จะทำอย่างนั้น คนเราทำอย่างไร ก็จะเชื่ออยู่อย่างนั้น คนเราเชื่ออย่างไรพฤติกรรมก็จะเป็นเช่นนั้น ดังนั้นจงระวังความคิดของตนเองให้ดี และหมั่นฝึกฝนความคิดของตนให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ”

            การรับรู้ทางความรู้สึกของปัจเจกบุคคล (อารมณ์) จะมีความไวและรวดเร็วมากต่อสิ่งเร้าที่มากระทบผ่าน เพราะมีการปรุงแต่งจากความต้องการหยาบๆของมนุษย์ (สันดานดิบ) จึงเป็นอารมณ์ที่ไม่บริสุทธิ์ และจะสร้างพลังเหนี่ยวนำให้เกิดการกระทำขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หยาบนั้น เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการไตร่ตรอง ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา สังเคราะห์ (การใช้วิจารณญาณ)[4] ของบุคคลก่อนที่จะแสดงเป็นการกระทำออกมา ถ้าเราไม่มีความตระหนักและเข้าใจอย่างดีพอ การกระทำแบบนั้นก็จะกลายเป็นความเคยชิน และกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรของเราไปในที่สุด

สุนทรียภาพของบุคคล เป็นสภาพความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งดงาม ไพเราะ รื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือ ศิลปะ  ความซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์ การศึกษา อบรม ฝึกฝน จนเป็นอุปนิสัย และเกิดรสนิยม (Taste) ขึ้นตามตัวบุคคล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ในความรู้สึกที่ซาบซึ้งนั้นเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ที่บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งใดๆปรุงแต่งในห้วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นพฤติกรรมของผู้ที่มีสุนทรียภาพจะมองคุณค่าของสรรพสิ่งทุกอย่างจากภายใน (Intrinsic Value) มากกว่าภายนอก (Extrinsic Value) เปรียบได้กับเป็นตัวกรองที่จะสนองต่อความต้องการที่ละเอียดอ่อน สร้างพลังเหนี่ยวนำให้เกิดการกระทำที่ดีงาม งดงาม (แรงจูงใจจากภายในบุคคล) ผ่านกระบวนการไตร่ตรอง ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา สังเคราะห์ (การใช้วิจารณญาณ) แสดงเป็นการกระทำที่มีความงดงามเหมาะสม ชื่นชมต่อผู้พบเห็น จนติดตัวกลายเป็นพฤติกรรมถาวร เป็นเอกลักษณ์ที่สง่างามเฉพาะตัว น่าเคารพ นับถือ น่าเลื่อมใสและศรัทธา[5]

       แนวทางการเสริมสร้างสุนทรียภาพให้กับตนเอง

๑.       สำคัญที่สุดเราต้องเข้าใจตัวเองอย่างดีพอ เปิดใจพิจารณาตัวเอง ให้เข้าใจและรู้จริงอย่างถ่องแท้ ในประเด็นคำถาม ดังนี้

                              ๑.๑ เราใช้ชีวิตอย่างมีสุนทรียภาพมากน้อยเพียงใด ?

                              ๑.๒ ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างไร ?

                              ๑.๓ กรอบแนวคิดของเราเป็นอย่างไร ?

                              ๑.๔ เราเป็นตัวของตัวเองมากน้อยแค่ไหน จุดยืนของเราคืออะไร ?

                              ๑.๕ เอกลักษณ์ของเราที่สามารถสื่อเป็นภาพลักษณ์ได้คืออะไร ?

๒.      หลังจากทำความเข้าใจตนเอง และปรับปรุงได้ในระดับหนึ่งแล้ว ลองนำองค์ความรู้ที่ได้มาทำความเข้าใจผู้อื่นดูบ้าง ในเรื่องของธรรมชาติของมนุษย์ต่อการตอบสนองสิ่งที่เป็นสันดานดิบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแตกต่างของบุคคล (กฎของปัจเจกบุคคล)

๓.      เข้าใจสัจจธรรม ความเป็นจริง โดยการพิสูจน์เห็น ไม่ใช่เชื่อตามคำบอกกล่าวที่บอกต่อๆกันมา ข้อมูล ข้อเท็จจริง องค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิถีตะวันออก วิถีตะวันตก หรือจากมุมหนึ่งมุมใดบนโลกนี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงตามบริบทแวดล้อม และ กาลเวลา ดังนั้นหากนำมาใช้ภายใต้บริบทแวดล้อม และกาลเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นไปได้ว่าจะให้ผลที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นในการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงนั้นจะต้องตามด้วยการเรียนรู้ แบบผสมผสานระหว่างหลักธรรมชาติ (ตามพุทธปรัชญา) ของวิถีตะวันออกและหลักปฏิบัติของวิถีตะวันตกด้วยเสมอ เพื่อสังเคราะห์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับบริบทแวดล้อม และกาลเวลา อันจะนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดและจุดยืนของตัวเราเองอย่างเหมาะสม

๔.      ให้เวลากับตัวเองพิจารณาทบทวน และฝึกฝนกิจกรรมที่แยกแยะการใช้สมองซีกขวาเชื่อมโยงสู่สมองซีกซ้ายดูบ้าง เช่น การฟังเสียงดนตรีแล้วแยกแยะประเภทของเครื่องดนตรีออกเป็นกลุ่มๆ , การขยับมือ-เท้า ให้เข้ากับจังหวะดนตรี , การฝึกเล่นเครื่องดนตรี , ฝึกเต้นรำ , การฝึกเขียนภาพ , การแต่งบทร้อยแก้ว-ร้อยกรอง , การท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ , กิจกรรมการดูนก , การปลูกต้นไม้ , เลี้ยงสัตว์ที่เราชอบ , หางานอดิเรกที่ไม่ใช่งานประจำทำดูบ้าง , การทดสอบอวัยวะรับสัมผัสต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปิดตาทายเสียง ปิดตายแล้วใช้มือสัมผัสสิ่งที่เราคุ้นเคยแล้วลองทายดู ลองสูดกลิ่นและแยกแยะประเภทของกลิ่นที่ได้รับ , ฝึกการควบคุมจิตให้เกิดสมาธิ , การอ่านหนังสือปรัชญา คำสอนต่างๆ ฯลฯ

กล่าวโดยสรุป

การศึกษาของเราทุกวันนี้มุ่งให้คน รับรู้  ในสิ่งที่เป็นผลมาจากบริบทอื่นๆ มากกว่า การฝึกฝนความคิด สู่แนวทางที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ในบริบทของเราเอง รวมถึงการพัฒนาคนในช่วงวัยทำงานที่ควรมุ่งให้คนสามารถปรับวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง ให้สอดคล้องกับวิถีองค์กร สอดคล้องกับขีดความสามารถในบทบาทหน้าที่อันจะนำไปสู่การดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้อย่างเหมาะสม  ไม่ใช่การยัดเยียดให้รู้อีกต่อไป เพราะจากประสบการณ์ในช่วงชีวิตการทำงานของผม ผมมองว่าคนช่วงวัยทำงานเป็นคนที่รู้เยอะ และรู้มากด้วยซ้ำไป ในลักษณะที่ได้รู้ในข้อเท็จจริงต่างๆมากมาย แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตีความ แปลความหมาย (Interpretation) และแยกแยะจำแนกข้อเท็จจริง (Classification) ที่มีอยู่โดยผ่านกระบวนการใช้ความคิดอย่างมีสุนทรียภาพบนพื้นฐานของปัญญาได้อย่างดีพอ สิ่งที่รับรู้ไว้มากมายนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแล้วยังไปปิดกั้นโอกาสที่จะนำศักยภาพที่มีอยู่ภายในตนเองออกมาใช้ ทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง ผลตามมาก็คือ การแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลมักจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่กล้าพอที่จะวินิจฉัยและยอมรับสิ่งที่เป็นปมด้อยว่าเป็นปมด้อยของตนเองได้ ทำให้หลงตนเอง (คิดเข้าข้างตนเองว่าเป็นปมเด่น) ไม่ยอมรับ หรืออาจจะเลือกที่จะไม่รับรู้ไปเลยก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้เกิดความไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้ตัวตนควบคุมตนเองไม่ได้ พฤติกรรมการแสดงออกจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความอยากได้ใคร่มี (กิเลส-ตัณหา) ที่คนทุกคนมีเหมือนกัน แต่มากน้อยไม่เท่ากันเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อไปสู่ ความคาดหวัง การรับรู้ ความรู้สึก และแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงให้คนรอบข้างได้รับรู้ เมื่อได้มีการรับรู้แล้วมาทราบภายหลังว่าสิ่งที่แสดงออกไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวตนที่แท้จริง กรณีถ้ามีผลเสียหายกระทบกันโดยตรง ก็ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคตได้

แนวทางการแก้ไขสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญและใกล้ตัวที่สุดก่อน คือ การหาตนเองให้พบ เราต้องเปิดใจที่จะยอมรับในความเป็นจริงของตนเอง สร้างสิ่งยึดเหนี่ยวให้ตรงกับตัวตนที่แท้จริงของเรา กำหนดให้เป็นจุดยืนของชีวิต (บางคนอาจเรียกว่า ศักดิ์ศรี ความสง่างามในความเป็นมนุษย์ก็แล้วแต่) อย่าทำลายจุดยืนของตนเองอย่างเด็ดขาด จากนั้นให้ทำความเข้าใจในความปรารถนาทางจิตใจของตนเองและรู้หลักในการจัดการให้ได้ (ศึกษาจากข้อมูลที่เป็นภูมิหลังของแต่ละบุคคล) ในช่วงชีวิตต้องพัฒนาตนเองโดยใช้แรงขับภายในตนเองตลอดเวลา ต้องมองภาพในมโนทัศน์ตนเองจากข้อเท็จจริงที่ได้รับรู้และเชื่อมโยงสู่หลักความเป็นจริงที่เข้าใจได้ง่ายๆไม่จำเป็นต้องซับซ้อนให้ตนเองได้เข้าใจหลักแห่งความเป็นจริงเพื่อพัฒนาในส่วนที่เป็นวิถีแห่งปัจเจก อันได้แก่ ความคาดหวัง การรับรู้ และความรู้สึกของตนเองที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างสอดคล้องกับความเป็นตัวตนของเรานั่นเอง

พยายามถามคำถามนี้กับตนเองทุกวัน จนกว่าคุณจะลาจากโลกนี้ไป “คุณจะทิ้งสิ่งใดไว้เพื่อตอบแทนให้กับผืนแผ่นดินที่คุณเกิด ก่อนที่คุณจะจากไป?” คำถามนี้ยังไม่ต้องการคำตอบ ณ เวลานี้ แต่ขอให้คุณตอบกับตนเองในช่วงลมหายใจสุดท้ายของชีวิตคุณ แล้วคุณจะได้รับรู้อานิสงฆ์แห่งการกระทำ กรรม ของคุณทันที....[6]



[1] - ค.บ. (ช่างอุตสาหกรรม) , ค.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

  - ครูผู้สอนหมวดวิชา เสริมสร้างจิตสำนึกของบุคลากร , การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร สถาบันซัมมิท (Summit Academy)

  - ครูผู้สอนระดับ Master Trainer โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สาขา Mind Management รายวิชา TWI-JR

  - นักวิชาการปฏิบัติการ และนักเขียนอิสระ สาขา ปรัชญาและการใช้ชีวิตตามวิถีแห่งพุทธปรัชญา , จิตวิทยาเชิงประยุกต์ , มนุษย์และสังคมเชิงประยุกต์ , เทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์

[2] บุญมี   แท่นแก้ว . พุทธปรัชญาเถรวาท  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ , พิมพ์ครั้งที่๑. ๒๕๔๕ หน้า ๘๑

[3] ในความเข้าใจของผู้เขียน คำว่า “แรงบันดาลใจ” มีความหมายที่สอดคล้องกับ “แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์” และ “แรงจูงใจภายในของบุคคล”

[4] วิจารณญาณของบุคคล หมายถึง ความสามารถในการค้นหาต้นตอของสิ่งที่รับรู้ ซึ่งต้องพึ่งพาทั้งการมีสัญชาตญาณและความมีเหตุผลของบุคคล เพื่อตัดสินใจในการตอบสนองของบุคคลต่อสิ่งรับรู้นั้นๆ

[5] ธนากรณ์   ใจสมานมิตร . บทความ วิถีการทำงานร่วมกันอย่างมีสุนทรียภาพ : สถาบันซัมมิท, ๒๕๕๒ หน้า ๑-๓

[6] โปรดใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการรับรู้ข้อเท็จจริงนี้




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

อย่าวัดรอยเท้านาย
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ผู้จัดการร้าน พระราม2 งานบ้าน เกาะสมุย วุฒิ ม.3ชลบุรีบ้านบึง รถรับ-ส่ง ลาดพร้าว เซ็น ทรั ล procurement manager bestech delta บางปู ฝ่ายผลิต ตลาดขวัญ ธุรการ สัตหีบ ปวสหาดใหญ่ ผู้แทนยา โรงพยาบาล Energy Mamager ปวส พระราม 3 งานขายรายได้ดี ASP.net Programer ผลิตบทเรียน พนักงานรถ จ.สมุสาคร ซิตี้โลน ซีเนท บุคคล ธุระการ Zeavola. เน+ี่ สมุทรสาคร/ เจ้าหน้าที่ธุรการ สมัครงานจังหวัดปราจีนบุรี เจ้าหน้าที่ธุรการ พณิชยการ งานเกี่ยวกับงานแบบผลิต ฝ่ายบุคคล โคราช ขายตัวไห้แม่ม้าย โดนัด สระน้ำ รัตนาธิเบธ รฏยฟยฝรฏยฟยฝรฏยฟยฝรฏยฟยฝร‘ยด ภูเก็ต วิศวกร กลางคืน ทำงาน นครชัยศรี ห้วยพลู หางาน เกาะสมุยเมษายน2555 หางานโรงงานนนทบุรี ใบลาน วิศวกร มิตซูบิชิ ธุรการ+บัญชี+การเงิน 0843017678 ]jk, ผู้ช่วยนักกายภาพ ขายที่ดิน กำไร ไดคัท งานการพัฒนาชุมชน เลขาการ งานโรงแรมสุขุมวิท