หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ภารกิจของเราตอบสนองต่อสิ่งใด?
เขียนโดย นายธนากรณ์ ใจสมานมิตร

Rated: vote
by 8 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ภารกิจของเราตอบสนองต่อสิ่งใด?

         

           หากคุณพ่อ-คุณแม่มีความประสงค์ให้คุณลูกเป็นเด็กที่เรียนดี แน่นอนที่สุดบทบาทหน้าที่ของคุณพ่อ-คุณแม่และคุณลูกก็จะต้องถูกกำหนดตามมาเป็นภารกิจ คุณพ่อ-คุณแม่มีภารกิจต้องคอยส่งเสริมสนับสนุน คุณลูกมีภารกิจต้องทบทวนฝึกฝนสิ่งที่เรียนรู้ โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือ คุณพ่อ-คุณแม่มีความปลาบปลื้มสมตามสิ่งที่หวัง โดยที่คุณลูกก็เป็นเด็กที่เรียนดีอย่างมีความสุขด้วย

           ถามว่า “หากลูกเรียนได้เก่งสมตามความปรารถนาของคุณพ่อ-คุณแม่ แต่ลูกมีความกดดันอยู่ภายในมากมาย ทำให้ไม่มีความสุขตามวัยที่สมควร อย่างนี้เราจะเรียกว่า บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่?” ทุกวันนี้เรายังเข้าใจ คำว่า “วัตถุประสงค์”  กับ “เป้าหมาย” กันอย่างไรและใช้รวมกันอยู่หรือไม่ ลองพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่อไปนี้ครับ

            วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่อยากให้ทำ อยากให้เป็น

            ภารกิจ คือ สิ่งที่ต้องทำด้วยความรับผิดชอบ , หน้าที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และความต้องการ

            เป้าหมาย คือ การทำในสิ่งที่ต้องทำให้ได้ในสิ่งที่อยากได้อย่างมีความสุข (ทั้งตัวเราและผู้อื่น)

           ทุกวันนี้เราทำภารกิจกันเพื่อสนอง วัตถุประสงค์ หรือ เป้าหมาย กันแน่ครับ? หากพิจารณาภายในองค์กร สิ่งที่บุคลากรภายในองค์กรถูกกำหนดให้เป็นภารกิจนั้นล้วนต้องถูกเชื่อมโยงมาจากสิ่งที่เรียกว่า “นโยบาย” แล้วนโยบายจัดอยู่ใน “วัตถุประสงค์” หรือ “เป้าหมาย” ละครับ?

             บุคลากรระดับปฏิบัติการส่วนใหญ่ก็จะรับรู้กันเพียงว่า นโยบาย คือคำสั่งของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่สั่งการลงมาแล้วพวกเขาก็จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนอาจถูกพิจารณาตามบทลงโทษได้ ดังนั้นอย่าไปรู้อะไรมากเลย ก้มหน้าก้มตาทำๆกันไปขอให้ชีวิตรอดไปวันๆก็พอแล้ว ในความเป็นจริงของชีวิตคนทำงานก็เป็นอย่างนี้จริงๆครับพวกเขามีหน้าที่ลงมือกระทำ ลงมือปฏิบัติให้ได้ผลงานที่ดีมีคุณภาพออกไปสู่สังคม

            บุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งคือผู้ที่มีภารกิจโดยตรงในการแปลงนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูง มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับบุคลากรระดับปฏิบัติการ บุคลากรกลุ่มนี้มีความสำคัญขนาดที่เรียกว่าทำให้ นโยบาย มีคุณค่าและมีความหมาย หรือเป็นเพียงแค่ “คำสั่ง” ที่ต้องทำตามเท่านั้น!!!

            ผมจะใช้วิจารณญาณแบบให้เข้าใจกันง่ายๆ สมมติว่าหากเราเป็นเจ้าขององค์กร ถามว่าความปราถนาสูงสุดที่เราอยากเห็นคือสิ่งใด? (ตอบกันเองในใจนะครับ) ความปรารถนานั้นก็จะถูกใส่เข้าไปในนโยบาย ใส่เข้าไปในสิ่งต่างๆที่มันจะเอื้อและบอกให้บุคลากรทุกคนที่ทำงานในองค์กรของเราได้รับรู้ในสิ่งนั้นใช่ไหมครับ? แล้วเราจะเลือกใช้ “คำสั่ง” หรือ “การบอกกล่าว” ที่มันจะให้ผลดีกว่ากันครับ? ผมเชื่อว่าเจ้าขององค์กรส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในคุณค่าของบุคลากรทุกคน แต่อาจเป็นไปได้ยากนะครับที่จะมานั่งอธิบายสิ่งเหล่านี้ให้บุคลากรฟังได้หมดทุกคนทุกระดับ

การมอบหมายนโยบายผ่านตัวกลางจึงเกิดขึ้น จริงอยู่ครับว่า ความกลัว อาจทำให้คนเราจำเป็นต้องทำเพื่อจะได้ไม่ถูกลงโทษ เราจึงได้ในสิ่งที่อยากให้ทำ อยากให้เป็น (วัตถุประสงค์) แต่ขณะที่คนลงมือทำมีแต่ความทุกข์ทุกขณะจิตที่ทำงาน แล้วเราคิดไปเองว่าบรรลุตามเป้าหมายแล้ว มันใช่หรือครับ? ดูกรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงนี้แล้วลองค่อยๆใช้วิจารณญาณตามนะครับ

             วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๖ ยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย เที่ยวบิน STS-๑๐๗ ถูกส่งขึ้นจากฐานส่ง ๓๙A ด้วยภารกิจต่างๆตามวัตถุประสงค์ที่องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (NASA) กำหนดไว้คือ การทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายสิบรายการในวงโคจรของโลกเป็นเวลา ๑๖ วัน   นักบินอวกาศบนยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียประกอบด้วย ผู้บังคับการริค ฮัสแบนด์ นักบินนำร่องวิลเลียม แม็คคูล ผู้เชี่ยวชาญภารกิจ เดฟ บราวน์ คาลพานา ชอว์ลา ลอเรล คลาร์ค ผู้บังคับการสัมภาระ ไมค์ แอนเดอร์สัน และผู้เชี่ยวชาญสัมภาระ อิลาน รามอน ชาวอิสราเอล หลังจากการปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์แล้วทุกประการ ยานโคลัมเบียก็ปรับทิศทางของตัวยานเพื่อเตรียมร่อนเข้าสู่บรรยากาศและลงสู่พื้นผิวโลก

             เช้าวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๐๙.๐๐น.ตามเวลาตะวันออกของสหรัฐฯ ยานขนส่งอวกาศโคลัมเบีย ต้องพบกับอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงที่สุดอย่างไม่คาดคิด เกิดการระเบิดเป็นลูกไฟพวยพุ่งเหนือท้องฟ้าของสหรัฐฯ ขณะกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก ๑๖ นาทีก่อนที่จะได้ร่อนลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคเนดีในฟลอริดาตามกำหนดการ อุบัติเหตุครั้งนี้คร่าชีวิตนักบินอวกาศทั้งหมด

            สามวันหลังจากหายนะของยานขนส่งอวกาศโคลัมเบียและความตายของนักบินอวกาศทั้งเจ็ด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และนักการเมืองกำลังตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น? ทำไมไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้น? เราสามารถป้องกันได้หรือไม่? ขณะที่ประชาชนบางส่วนอาจตั้งคำถามอีกแบบหนึ่งว่า พวกเขาขึ้นไปทำอะไรในอวกาศ? อเมริกาใช้งบประมาณมหาศาลในการส่งนักบินอวกาศไปยังที่ๆ ไม่คุ้นเคยและเสี่ยงต่ออันตราย นักวิทยาศาสต์อธิบายว่าพวกเขาออกไปเพื่อขยายองค์ความรู้ของพวกเรา ขณะที่นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า ในยุคที่มีดาวเทียมโคจรอยู่รอบโลกจำนวนมาก และเราสามารถส่งหุ่นยนต์ไปยังดาวอังคารได้แล้ว เหตุใดจึงต้องนำมนุษย์ออกไปเสี่ยงในอวกาศอีก อย่างไรก็ดี มีชาวอเมริกันเพียงส่วนน้อยที่ตั้งคำถามนี้ เพราะผลการสำรวจความเห็นของชาวอเมริกันหลังจากเกิดอุบัติเหตุกับยานโคลัมเบียพบว่า ร้อยละ ๘๒ เห็นด้วยที่อเมริกาควรจะส่งมนุษย์ออกไปในอวกาศ ซึ่งใกล้เคียงกับผลสำรวจหลังจากการระเบิดของยานชาลเลนเจอร์เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ความจริงก็คือ ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ การสำรวจและการผจญภัยไปยังที่ๆ เราไม่เคยพบเห็นนั้นเป็นสิ่งที่เราทำเสมอมา นอกจากนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าสหรัฐฯ ใช้ความก้าวหน้าทางด้านอวกาศ เพื่อแสดงศักยภาพและความยิ่งใหญ่ทางการเมือง รวมทั้งนโยบายระหว่างประเทศ นีล อาร์มสตรองและเอ็ดวิน อัลดรินบนยานอะพอลโล ๑๑ ไม่ได้ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่เพื่อแสดงถึงชัยชนะในสงครามเย็นระหว่างสหรัฐฯ กับอดีตสหภาพโซเวียต[๑]

           กรณีศึกษาจากเหตุการณ์จริงนี้ถามว่า NASA บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่? นักบินอวกาศได้ปฏิบัติภารกิจอย่างสมบูรณ์หรือไม่? และภารกิจของเที่ยวบินนี้บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่? ไม่มีใครต้องการพบจุดจบแบบนี้ ถึงแม้จะได้รับการยกย่องให้เป็นวีระบุรุษของมนุษยชาติ การปฏิบัติภารกิจเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการทดลองของ NASA คือสิ่งที่ท้าทายผู้ทำหน้าที่เป็นนักบินอวกาศ ถึงแม้พวกเขาจะรับรู้ได้บ้างว่ามันมีความเสี่ยง แต่เขาก็มีความเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัย ระบบป้องกันต่างๆที่มีอยู่ ทุกคนก็หวังว่าเมื่อภารกิจเสร็จสิ้นเขาจะต้องได้กลับมาเหยียบพื้นโลกได้กลับมาใช้ชีวิตบนโลกอีกเช่นเดิม ผมเชื่อว่านี่คือเป้าหมายสูงสุด ของนักบินอวกาศทุกเที่ยวบิน

            หวังเป็นอย่างยิ่งว่าองค์กรของพวกเราคงไม่มีสภาพเหมือนกับเหตุการณ์ในเที่ยวบินนี้นะครับ?



[๑] วรเชษฐ์  บุญปลอด อ้างใน thaiastro.nectec.or.th




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

แนวทางในการเลือกระบบ ERP มาใช้ในองค์กร
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : จังหวัดชุมพร รายวัน นครราชสีมา งานมูลนิธิ ตำแหน่งงาน ม3 แถววังหิน บัญชี นวนคร2555 ยชรจ_ยงรค_รฉ เซเว่น16ปี ธุรการย่านพระราม3 assembly manager โลตัสสำนักงานใหญ่ สุขาภิบาล1 callcenter รามคำแหง งานฝ่ายทะเบียนโรงเรียน Narong Seafood ธิติยา จัดส่ง แหลมฉบัง ชลบุรี บุคคลลาดพร้าว พนักงานขับรถให้นาย ธุรการ เฃตบางแค นิคมเคหะบางพลี งานไม่จำกัดวุฒิ ลาดหญ้า โรงหนังภิญญาลพบุรี jj mall ey o2y43 โซว่า ชลบุรี ปวส บัญชี ชลบุรี ห้วยขวาง วางแผน จัดส่ง ชลบุรี ธันวดี วุฒิม.6ย่านถนนสุขาภิบาล 3 ฝ่ายผลิต โกเด็น งานวุฒิ ปวส บรษัทวีก้า ฝาง เชียงใหม่ นิคมเขมราฐ 0813677461 advan dk งานสาว PR พัทยากลาง ม.3 จ.สมุทรปราการ แถวสำโรงสมุทรปราการ โรงเรียนมหาวชิราวุธ วุฒิม.3 พัทยารายวัน nanny , Lotus พระราม 1 พนักงานเติมสินค้าแมคโคร call centerฝั่งธนบุรี ภูมิทัศนื ปวสรังสิต ผู้ช่วยเภสัชรพ.หาดใหญ่ ร่มเกล้า มีนบุรี สาธร-สีลม