หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สีสันแห่งท้องทะเล
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 0 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ส่วนนี้จัดแสดงนิทรรศการสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ป่าชายเลน หาดทราย หาดหิน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ด้วยระบบแสงสีเสียง และจัดแสดงพันธุ์ปลานานาชนิด เช่น สัตว์น้ำในระบบนิเวศป่าชายเลน สัตว์น้ำในระบบนิเวศหาดทราย - หาดหิน สัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล และสัตว์น้ำในแนวปะการังฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

ระบบนิเวศป่าชายเลน
ป่าชายเลนเป็นกลุ่มของสังคมพืชใบกว้างที่มีใบเขียวตลอดปี ขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว จัดเป็นเขตน้ำกร่อย ดินเป็นเลนหรือโคลน ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนานาชนิด และเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ บริเวณปากแม่น้ำขนาดใหญ่ช่วงใกล้จะออกทะเลจะมีสภาพคล้ายบึงต้นโกงกาง เป็นแหล่งอาหาร ที่หลบภัย ตลอดจนที่ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำนานาชนิด ในธรรมชาติท้องน้ำในบริเวณนี้จะเป็นโคลนตม ยากต่อการทรงตัวของต้นไม้ทั่วไป ด้วยเหตุนี้ธรรมชาติของต้นโกงกางจึงต้องออกรากแตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นเพื่อใช้ค้ำยันไม่ให้ลำต้นหลุดลอยไปกับกระแสน้ำ ทัศนียภาพใต้น้ำของป่าโกงกางจึงดูแปลกตาไปอีกแบบ
เป็นระบบนิเวศป่าชายเลน หาดทรายและหาดหินซึ่งเป็นบริเวณที่เชื่อมต่อกัน บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากน้ำจืด น้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนที่ไหลมารวมกันบริเวณปากแม่น้ำและป่าชายเลน จึงเป็นแหล่งรวบรวมทั้งตะกอนดิน แร่ธาตุ สารพิษและสารอาหารต่าง ๆ ที่จำเป็น ทำให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง พรรณไม้ที่ขึ้นในพื้นที่นี้ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โกงกางหัวสุม แสม ลำพู ลำแพน เป็นต้น
สัตว์ที่พบในบริเวณนี้ มีความหลากหลายมาก ทั้งจำนวนชนิดและความหนาแน่นของประชากร เนื่องจากบริเวณนี้มีแหล่งที่อยู่อาศัยมากมาย เช่น
- พวกที่อาศัยอยู่ตามพื้นผิวดิน ได้แก่ ปลาตีน ปูเสฉวน หอยทะเลบางชนิด- พวกที่อยู่ตามใต้ผิวดิน ได้แก่ ไส้เดือนทะเล ปูแสม ปูก้ามดาบ กุ้งดีดขัน- พวกที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากะพงขาว ปลาเก๋า เป็นต้น- พวกที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ใบไม้ รากโกงกาง ได้แก่ หอยนางรม ทากทะเล หอยขี้นก ปูแสม เพรียงหิน แมลง นกชนิดต่าง ๆ ตลอดจนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ ลิงแสม ค่าง เป็นต้น
ตัวอย่าง สัตว์น้ำในระบบนิเวศป่าชายเลน
สัตว์น้ำในระบบนิเวศป่าชายเลน
ปลานวลจันทร์ทะเล MILKFISH : Chanos chanosรูปร่างคล้ายกระสวย ตากลมใสมีเยื่อไขมันคลุม ครีบหลังเป็นก้านครีบอ่อนทั้งหมด เกล็ดเล็ก ลำตัวด้านบนเป็นสีเขียวอมน้ำเงินและค่อย ๆ จางลงมาด้านท้องเป็นสีเงิน อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลทั่วไป วัยอ่อนอยู่ในบริเวณน้ำกร่อย เมื่อโตขึ้นจึงจะออกไปอาศัยอยู่ในทะเล ขนาดใหญ่สุด 150 เซนติเมตร น้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร
ปลาตะกรับเสือดาว, กระทะ, แปบลาย, เสือดาว, ตะกรับ SPOTTED SCAT, GREEN SCAT : Scatophagus argusลำตัวกว้างและแบนข้างมาก ตัวสีเขียวปนเหลืองเป็นมันแวววาว ใต้ท้องสีเงินยวงมีจุดกลมสีดำประกระจายอยู่ทั่วไป อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ พบตามชายฝั่งของทวีปเอเชีย แอฟริกาฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลียจนถึงชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะแปซิฟิค ขนาดใหญ่สุด 35 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดินและพืช เป็นปลาสวยงาม
ปลาเฉี่ยว ผีเสื้อเงิน หรือสะโหร่งแขก MALAYAN ANGEL, SILVER BATFISH : Monodactylus argenteusลำตัวป้อมสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ครีบหลังและครีบก้นยื่นยาว ตัวสีเงินเหลือบเป็นประกาย ครีบหลังสีเหลืองมีลายคาดตามขวางผ่านตา และบริเวณขอบแผ่นปิดเหงือก พบบริเวณปากแม่น้ำ ป่าชายเลน และแนวปะการัง มีขนาด 8 - 12 เซนติเมตร กินพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาสวยงาม
ปลากะบอก GREEN BACKED : Liza tadeลำตัวกลมเรียว แนวสันหลังเกือบเป็นเส้นตรง ตาโต เกล็ดใหญ่ ครีบหลังแยกเป็นสองตอน ลำตัวด้านหลังสีเทาอมดำ ด้านท้องสีขาวบริเวณปลายหางมีสีดำเรื่อ มักอยู่รวมกันเป็นฝูง อาศัยอยู่ตามริมชายฝั่งที่เป็นพื้นโคลนและบริเวณปากแม่น้ำ ป่าชายเลน มีขนาด 20 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอนและตะไคร่น้ำ เป็นอาหาร

ระบบนิเวศหาดทราย - หาดหิน
หาดหิน เป็นบริเวณที่ทะเลและแผ่นดินบรรจบกัน คลื่นที่เกิดจากพายุสามารถกัดเซาะชายฝั่งที่มีความลาดเอียงจนกระทั่งส่วนบนของมันพังลงมา และถูกคลื่นชะลงมาจากหน้าผาริมทะเลกลายเป็นหาดหิน หาดหินถูกคลื่นที่เกิดจากพายุปะทะ และเมื่อน้ำขึ้นจะจมอยู่ใต้น้ำ บริเวณหาดหินยังมีแอ่งน้ำเล็ก ๆ เป็นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัยให้กับสัตว์นานาชนิด เช่น กุ้ง ปู ดาวทะเล และปลาขนาดเล็ก หาดทราย มีลักษณะเป็นชายทะเลที่มีชั้นบาง ๆ ของก้อนกรวดและหิน ซึ่งแตกมาจากชายฝั่งที่เป็นหินและถูกคลื่นซัด ขีดสีจนเรียบ คลื่นที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง จะพัดพาเม็ดกรวดและทรายไปตามชายฝั่ง มีการคัดขนาดและตกลงมาในบริเวณที่คลื่นและทะเลเงียบสงบ กรวดและทรายเหล่านี้จะสะสมจนเกิดเป็นหาด และมีรูปร่างแตกต่างกันไป ตามสภาพภูมิประเทศ
หาดหินและหาดทรายเป็นบริเวณที่ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลทั่วไปนัก เพราะโดยทั่วไปจะมีสภาพแวดล้อมรุนแรง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม การที่มีคลื่นซัดอยู่ตลอดเวลาและความร้อนจากแสงแดด ก็เป็นตัวการจำกัดที่สำคัญของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ จึงเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตน้อยชนิดที่สามารถอาศัยอยู่ได้
ตัวอย่าง สัตว์น้ำในระบบนิเวศหาดทราย - หาดหิน
สัตว์น้ำในระบบนิเวศหาดทราย - หาดหิน
ปูหนุมาน (ปูลาย) BEACH CRAB : Matuta planipesกระดองเป็นรูปโค้งกลมและมีหนามยื่นออกไปทางด้านข้าง ขาเดินคู่แรกและคู่สุดท้ายเป็นกรรเชียง พื้นผิวกระดองทางด้านบนมีสีเหลืองอ่อน และมีจุดสีแดงเล็ก ๆ เรียงตัวกันเป็นวงและลายเส้นกระจายอยู่ทั่วไป ด้านล่างของลำตัวค่อนข้างแบนและมีพื้นสีขาว ก้ามหนีบแข็งแรง อยู่ตามชายหาดทรายใต้ระดับน้ำลงต่ำสุด มีขนาด 5 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดินและซากสัตว์
เหรียญทะเล หรือ อีแปะทะเล SAND DOLLAR : Arachoides placenta ลำตัวมีเปลือกแบนคล้ายเหรียญ เปลือกแข็ง ด้านบนซึ่งอยู่ตรงข้ามปากนูนเล็กน้อย บริเวณที่มีเท้าท่อเป็นรูปกลีบดอกไม้ที่ไม่บรรจบกันเหมือนเม่นหัวใจ ด้านล่างซึ่งเป็นปากมีร่องของบริเวณเท้าท่อชัดเจน ปากเล็กและยุบลง ทวารหนักอยู่ทางด้านตรงข้ามกับปาก และมีร่องทอดออกไปทางขอบเปลือก ตัวสีน้ำตาลเข้ม อาศัยตามพื้นทะเลที่เป็นดินทรายหรือทรายปนโคลน พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีขนาด 4 เซนติเมตร กินอินทรียสารในทราย ใช้ทำเครื่องประดับ
แมงดาทะเล HORSE SHOE CRAB / KING CRABส่วนหัวและอกเชื่อมรวมกันเป็นรูปเกือกม้า ส่วนท้องกว้างไม่แบ่งเป็นปล้อง และมีระยางค์ 6 คู่ เป็นแผ่นแบน โดยมีส่วนเชื่อมต่อกันตรงกลาง คู่แรกเป็นแผ่นปิดเหงือก ส่วนอีก 5 คู่หลังเป็นเหงือก ด้านบนกระดองมีตารวมและตาเดี่ยวอย่างละคู่ ในน่านน้ำไทยมี 2 ชนิดคือ แมงดาถ้วยและแมงดาจาน แมงดาถ้วยอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นทรายปนโคลน ส่วนแมงดาจานอยู่ตามพื้นทราย มีขนาด 20 - 30 เซนติเมตร กินหนอนทะเล สัตว์หน้าดิน เป็นอาหาร
ปลากระบอกหูดำ, กระบอกท่อนใต้ SQUARETAIL MULLET : Ellodclon vaigiensisรูปร่างกลมเรียวยาว หัวกว้างใหญ่และแบน ตาเล็กไม่มีเยื่อไขมันปิด เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลปนเทา ครีบทุกครีบมีสีน้ำตาลอมดำ หรือสีน้ำตาลไหม้ ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณชายฝั่งทะเลและปากแม่น้ำ มีขนาด 19 - 40 เซนติเมตร กินอินทรียสาร และสัตว์ขนาดเล็ก เป็นปลาเศรษฐกิจ
ปลาทะเลเศรษฐกิจของไทย
ปลากะพงข้างปาน, ปลากระพงปานข้างลาย RUSSELL’S SNAPPER : Lutjanus russelli ลำตัวแบนข้าง ครีบหางเกือบตัดตรง ตัวสีเหลืองอมน้ำตาล และมีจุดสีดำอยู่บริเวณสีข้างเหนือเส้นข้างลำตัว 1 จุดชัดเจนในปลาขนาดเล็ก แต่จุดนี้จะค่อย ๆ จางลงในปลาที่โตเต็มวัย อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งและบริเวณปากแม่น้ำ พบทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีขนาด 30 เซนติเมตร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก ใช้เป็นอาหาร
ปลาสร้อยนกเขาทะเล, ข้างตะเภา, ขี้นก PAINTED SWEETLIP : Diagramma pictumลำตัวแบนข้าง ปากเล็กริมปากหนา ใต้คางมีรูพรุน 6 รู เกล็ดเล็ก ปลาขนาดเล็กลำตัวมีสีขาว ส่วนหัวด้านบนสีเหลือง และมีแถบสีน้ำตาลเข้ม 5 แถบพาดไปตามความยาวลำตัว เมื่อมีโตขึ้นแถบสีจะจางหายไป และมีจุดสีน้ำตาลปนดำปรากฏขึ้นมาแทน อาศัยอยู่ตามหน้าดินหรือแนวปะการัง พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบทั่วไป 35 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุด 60 เซนติเมตร กินปลาและสัตว์หน้าดิน ใช้เป็นอาหาร
ปลาริวกิว GIANT CATFISH : Netuma thalasinusรูปร่างคล้ายกับพวกปลาสวาย แต่มีครีบก้นเล็กกว่า ลำตัวเพรียวและค่อนข้างกลม ผิวด้านบนหัวเป็นกระดูกแข็ง มีหนวด 3 คู่ ครีบหางเว้าลึก ตัวสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ ครีบไขมันสีดำ อาศัยอยู่ตามหน้าดิน บางครั้งพบในบริเวณปากแม่น้ำ พบในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีขนาด 30 - 40 เซนติเมตร กินปลาและสัตว์หน้าดิน ใช้เป็นอาหาร
ปลาดุกทะเล STRIPED CATFISH : Plotosus lineatusรูปร่างเรียวยาวแบนข้าง มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ครีบหลังตอนท้าย ครีบก้นและครีบหางติดต่อกัน มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ คือ dendritic organ อยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสีดำปนน้ำตาล ด้านท้องสีขาว อาศัยอยู่ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืด แพร่กระจายทั่วน่านน้ำไทย มีขนาดใหญ่สุดถึง 1.2 เมตร กินทั้งพืชและสัตว์ ใช้เป็นอาหาร
ปลาทะเลที่มีพิษ
ปลาสิงโตปีกเข็ม WHITE-LINED LIONFISH : Pterois radiataลำตัวแบนข้าง หัวใหญ่ ปากกว้าง บนหัวมีหนวดยาว 1 คู่ ครีบหลังมีก้านครีบแข็งยาวมาก ครีบอกแผ่กว้างมากมีก้านครีบแข็งยื่นยาวออกไป และมีเยื่อยึดระหว่างก้านครีบ ครีบหางโค้งกลม ตัวสีน้ำตาลอ่อนและมีลวดลายสีน้ำตาลแดง โดยมีเส้นหนึ่งพาดผ่านตาพอดี มีจุดสีดำแต้มบนเยื่อยึดระหว่างก้านของครีบอก อาศัยอยู่ตามซอกหินและแนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามัน มีขนาด 25 เซนติเมตร กินกุ้งและปลา เป็นปลาสวยงามที่ก้านครีบแข็งมีพิษ หากถูกตำจะได้รับความเจ็บปวดมาก
ปลาปักเป้าหนามทุเรียน PORCUPINE FISH : Diodon nithemerusหัวใหญ่ลำตัวเรียวเล็กลงไปทางหาง มีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบอกใหญ่คล้ายพัด ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ ตัวสีเทา มีลายด่างสีดำเป็นปื้นใต้ตา ใต้คาง บนหัวข้างแก้มและบนหลัง อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งทั่วไปในอ่าวไทย มีขนาด 30 เซนติเมตร กินกุ้ง หอย ปู สัตว์น้ำเล็ก ๆ นิยมสตัฟฟ์เป็นเครื่องประดับ ทำโคมไฟ เนื้อและเครื่องในมีสาร Tetraodotoxin ที่บริโภคแล้วเกิดพิษถึงชีวิต
ปลากะรังหัวโขน STONE FISH : Synanceja horrida ส่วนหัวใหญ่และเรียวเล็กลงไปทางหาง ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านแข็งแหลมคมและสั้น ครีบอกเป็นแผ่นหนา ตัวสีน้ำตาลแดง และมีรอยด่างแต้มเป็นจุดบริเวณหัว อาศัยในแนวปะการังในภาคใต้และตะวันออก มีขนาด 25 เซนติเมตร กินปลา กุ้ง และปูนำมาเป็นอาหารได้ แต่มีก้านครีบแข็งที่มีพิษร้ายแรง นับเป็นปลาที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง การรักษาคือ แช่บริเวณที่ถูกตำลงในน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงเท่าที่จะทนได้(ไม่เกิน 50 ?C) ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง และควรไปพบแพทย์ทันที
ปลาสลิดทะเลจุดขาว WHITE – SPOTTED SPINEFOOT : Siganus canaliculatusลำตัวแบนข้างเป็นรูปไข่ หัวเล็ก ตาโต ครีบหลังและครีบก้นมีก้านครีบแข็ง ตัวสีเหลืองอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง และมีจุดสีขาวแต้มประทั่วตัว อาศัยตามพื้นทะเลทั่วไป ที่เป็นพื้นทราย พบทั่วไปในน่านน้ำไทย มีขนาด 20 เซนติเมตร กินสาหร่ายและหญ้าทะเล เนื้อใช้เป็นอาหารได้ แต่มีก้านครีบแข็งที่มีพิษแรงปานกลาง
สัตว์ทะเลที่เป็นอันตราย
ปลาไหลมอเรย์ลายหินอ่อน LACED MORAY : Gymnothorak favagineusลำตัวเรียวยาวคล้ายงู ไม่มีเกล็ด ไม่มีครีบอก ครีบหลังเชื่อมต่อกับครีบก้นและครีบหาง มีฟันแหลมคม มีลวดลายสีน้ำตาลจาง ๆ บริเวณลำตัว ชอบซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง มีขนาด 1 – 1.5 เมตร กินปลา กุ้ง และหมึกสาย เป็นปลาสวยงามที่เป็นอันตรายอาจกัดคนที่จับตัวมัน หรือเอามือล้วงไปในโพรงที่ปลานี้อาศัยอยู่
ปลาไหลมอเร่ย์ยักษ์ GIANT MOREY : Gymnothorax javanicusลำตัวเรียว พื้นสีเหลืองอมน้ำตาลแต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัด 1 แห่ง ชอบซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในแนวปะการัง ตามปกติไม่ดุร้าย มีขนาด 1.5 เมตร กินปลา กุ้ง และหมึกสาย เป็นปลาสวยงามที่เป็นอันตรายอาจกัดคนที่จับตัวมัน หรือเอามือล้วงไปในโพรงที่ปลานี้อาศัยอยู่
เม่นทะเลหนามยาว DIADEMA URCHIN : Diadema setosumหนามมีสีดำมีลายสีขาวยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ทวารเปิดล้อมรอบด้วยวงแหวนสีแดงหรือสีส้ม อาศัยตามพื้นทรายในแนวปะการัง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร กินอินทรียสาร ไข่เม่นปรุงเป็นอาหารได้ มีหนามแหลมคมและมีพิษ
ดาวมงกุฎหนาม CROWN – OF – THORNS SEA STAR : Acanthaster planci จำนวนแขนมีแตกต่างกันตั้งแต่ 15 - 23 แขน ลำตัวมีหนามยาวคล้ายหนามเม่นยื่นออกมาจำนวนมาก สีของลำตัวและหนามมีความผันแปรแตกต่างกัน บางตัวมีหนามสีเทาหรือสีส้ม บางตัวมีหนามสีม่วง เท้าท่อยื่นยาวได้มาก ตรงปลายมีปุ่มดูดที่แข็งแรง เป็นสัตว์ที่ทำลายแนวปะการังเพราะชอบกินโพลิปปะการังเป็นอาหาร พบอยู่ตามแนวปะการังทั่วไปในน่านน้ำไทย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร มีหนามแหลมคมและมีพิษทำให้เกิดแผลเรื้อรัง
ปลาที่อาศัยอยู่บริเวณกองหิน
ปลากะรังส้ม BLACKTIP GROUPER : Epinephelus fasciatusมีสีส้มแดงออกซีด บางทีพบสีเหลืองส้มหรือทอง มีจุดสีแดงหรือเหลืองที่ส่วนหัว ขอบด้านหลังของครีบหางมีสีน้ำเงินซีดและเส้นสีดำจาง ๆ ส่วนหลังและครีบก้นมีขอบสีน้ำเงินซีดอยู่ด้วย อาศัยอยู่ตามกลุ่มปะการังและโขดหินระดับความลึก 20 – 250 เมตร พบในแถบอินโดแปซิฟิก มีขนาดใหญ่สุด 60 เซนติเมตร กินปลาเล็ก ๆ และสัตว์หน้าดิน เป็นสัตว์เศรษฐกิจ
ปลากะรังหางซ้อน, กะรังจุดฟ้า DUSKYTAIL GROUPER: Plectropomus maculatusลำตัวค่อนข้างกลม ตัวสีน้ำตาล มีจุดสีฟ้ากระจายอยู่ทั่วตัว ครีบหลังตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางตัดเว้าเล็กน้อย ครีบทุกครีบมีสีคล้ำบริเวณปลายครีบ ยกเว้นครีบอกมีสีจาง มีฟันแหลมคม อาศัยอยู่ทั่วไปในแนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามัน มีขนาด 80 – 100 เซนติเมตร กินปลา ใช้เป็นอาหาร
ปลาฉลามกบ หรือปลาฉลามหิน BROWNBANDED BAMBOO SHARK : Chiloscyllium punctatum ลำตัวเรียวยาว ตาเล็ก หัวมน ริมฝีปากล่างหนา ใต้คางมีหนวด ครีบอกกว้าง ครีบหางเรียว ตัวสีน้ำตาล ท้องขาว แต่ในระยะอายุน้อยมีลายคาดสีดำคล้ายตุ๊กแก อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลทั่วไป มีขนาด 1 เซนติเมตร กินกุ้ง ปู และหอย เป็นอาหาร
ปลากระเบนทองจุดฟ้า BLUE SPOTTED FANTAIL RAY : Taeniura lymma แผ่นลำตัวค่อนข้างกลม ปากเว้าโค้ง ที่ใต้ขอบตามีช่องอากาศกว้างใหญ่และโตกว่าตา หางทู่และยาวกว่าแผ่นลำตัว ด้านบนของหางมีหนามแหลมยาว 1 อัน ตรงใต้หนามมีแผ่นหนังคล้ายใบกล้วย ยาวตลอดไปถึงปลายสุดทาง ตัวสีเหลืองอ่อน มีจุดสีน้ำเงินประบนแผ่นลำตัว หางมีแถบสีน้ำเงินพาดตลอดข้างละแถบ ปลายสุดของหางมีสีขาว อาศัยตามแนวปะการังทั่วน่านน้ำไทย ขนาดกว้าง 15 – 25 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงามและเป็นอาหาร

ระบบนิเวศแหล่งหญ้าทะเล
แหล่งหญ้าทะเลทำหน้าที่เสมือนระบบนิเวศที่เชื่อมโยงระหว่างระบบนิเวศป่าชายเลนและแนวปะการัง และแหล่งหญ้าทะเลยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ลูกปลาเก๋า ปลิงทะเล ปูม้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพะยูนที่เป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกด้วย นอกจากนี้หญ้าทะเลยังช่วยลดมลพิษในทะเล และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น และช่วยป้องกันการพังทลายของชายฝั่งได้เป็นอย่างดี
หญ้าทะเล เป็นพืชชั้นสูงที่มีดอกขึ้นอยู่ในทะเล เป็นตัวทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเล ผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงจะเป็นทั้งอาหารและให้ออกซิเจนแก่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในทะเล เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นที่รวมของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งแต่วัยอ่อนจนถึงโตเต็มวัย ครบวงจรของห่วงโซ่อาหาร หญ้าทะเลที่พบบริเวณชายฝั่งในจังหวัดประจวบฯ คือ Halodule pinifolia มีชื่อภาษาไทยว่า "หญ้าผมนาง" และชื่อสามัญว่า fiber-strand grass ลักษณะต้นตั้งตรงเกิดจากเหง้า ผอมบาง มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 มิลลิเมตร ช่วงระหว่างเหง้ายาว 1.2 - 3.6 เซนติเมตร รากไม่แตกแขนงเกิดจากข้อ มี 2 - 4 เส้น ต่อข้อ แต่ละต้น มีใบ 2 - 3 ใบ ใบเรียวเล็กผอมยาว ส่วนล่างเป็นกาบใบมีความยาว 1.2 - 2.8 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 5.6 - 23.0 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.6 มิลลิเมตร ปลายใบมนแบบ obtuse มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย (serration) ขอบใบเรียบ เห็นเส้นกลางใบได้อย่างชัดเจนบริเวณปลาย ใบไม่พบดอกและผลในช่วงที่ทำการสำรวจ พบแพร่กระจายบริเวณหาดทุ่งนางดำ และเกาะลูกกำตก ที่ระดับความลึก 1-3 เมตร ที่หาดทุ่งนางดำ หญ้าทะเลชนิดนี้จะขึ้นปะปนกับหญ้าทะเลชนิด Halophila ovalis
แหล่งที่มา : ข้อมูลและภาพหญ้าทะเลโดย ชัชรี สุพันธุ์วณิช(http://www.ku.ac.th/e-magazine/november44/agri/seagrasses.html)
พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีความใกล้ชิดกับช้าง มีขนาดยาวประมาณ 2 - 3 เมตร น้ำหนักประมาณ 300 กิโลกรัม ใบหน้าคล้ายหมู แต่ไม่มีหู ขาคู่หน้าสั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นแบน ๆ คล้ายใบพายไม่มีนิ้ว ลำตัวอ้วนกลม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ กินหญ้าทะเลเป็นอาหาร ชนิดที่พบในประเทศไทยมีอยู่ชนิดเดียวคือ Dugong dugon ขนาดโตเต็มวัยประมาณ 4 เมตร น้ำหนัก 900 กิโลกรัม มีอายุ 50 - 55 ปี ปัจจุบันที่พบอยู่เป็นฝูงอยู่ที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และเกาะลิบง จังหวัดตรัง
ตัวอย่าง สัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล เช่น
สัตว์น้ำในแหล่งหญ้าทะเล
ปลาปิ่นแก้ว, ปลาดุกทะเล, เป็ดแก้ว STRIPED SEA CATFISH : Plotosus lineatusลำตัวเรียวยาวแบนข้าง มีหนวด 4 คู่ ครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังอันที่สอง ครีบก้นและครีบหางเชื่อมติดกัน มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ คือ Dendritic Organ อยู่ที่รูก้น ด้านหลังลำตัวมีสีดำปนน้ำตาล ด้านท้องสีขาว ปลาขนาดเล็กจะมีแถบสีขาวปนเหลือง 3 แถบพาดไปตามยาวลำตัว อาศัยในน้ำกร่อยและทะเลถึงแนวปะการัง พบทั่วน่านน้ำไทย มีขนาด 30 - 50 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน ใช้เป็นอาหาร
หอยสังข์ตาล, หอยตาล, หอยลำโพง BLOTCHED MELON SHELL : Melo meloเป็นหอยฝาเดี่ยวมีเปลือกรูปไข่ เปลือกค่อนข้างบางสีน้ำตาลแดงแต้มด้วยรอยปื้นสีน้ำตาลไหม้ เนื้อหอยมีสีดำอมม่วง เท้ามีลายสีขาวอมเหลืองเป็นเส้น ไม่มีแผ่นปิด อาศัยตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน หรือทรายปนโคลน ในภาคตะวันออกและภาคใต้ มีขนาด 30 เซนติเมตร กินหอยที่ตัวเล็กกว่า เนื้อใช้บริโภคได้และเปลือกใช้ทำเครื่องประดับ
ดาวหนามแดง LINCK'S SEA STAR : Protoreaster linckiลำตัวเป็นรูปห้าแฉก ด้านบนเป็นสันและมีหนามขนาดใหญ่สีแดงตรงกลางลำตัว ด้านบนของแต่ละแขนมีหนามสีแดง 7 - 8 อัน เรียงเป็นแถวออกไปยังปลายแขน และมีเส้นสีแดงลากขนานไปทางด้านข้างด้วย อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง บริเวณพื้นทะเลทางฝั่งมหาสมุทรอินเดียและไม่พบในอ่าวไทย มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร กินอินทรียสาร และหอย 2 ฝาขนาดเล็ก นิยมใช้ประดับบ้าน
ปูเสฉวนยักษ์ GIANT HERMIT CRAB : Dardanus megistosลำตัวมีสีแดงแต้มด้วยจุดขาวขอบสีช็อกโกแลตกระจายทั่วไป ก้านตาสีแดง โคนหนวดคู่ที่สองสีขาวยาวมากและมีขนแข็งกระจายอยู่ทั่วตัว ก้ามสองข้างขนาดไม่เท่ากัน ปล้องสุดท้ายของขาเดินสองคู่แรกเรียวยาว เป็นปูเสฉวนขนาดใหญ่สุดที่พบในน่านน้ำไทย อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่ห่างฝั่ง มักพบอยู่ในเปลือกหอยสังข์จุกพราหมณ์ มีขนาด 20 เซนติเมตร กินพวกหนอนทะเล และสัตว์ทะเลขนาดเล็ก ซากสัตว์ต่าง ๆ นำมาสตัฟฟ์ประดับตกแต่ง
ระบบนิเวศแนวปะการัง
แนวปะการังปกคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 15 ของชายฝั่งทั่วโลก พบอยู่ในทะเลที่ตื้นและอบอุ่น ทำให้สามารถมองเห็นได้จากอากาศ เกิดจากกลุ่มหินรูปถ้วยขนาดเล็กกว่านิ้วหัวแม่มือ จำนวนหลายพันล้านกลุ่ม ถ้วยเล็ก ๆ เหล่านี้ เป็นที่อยู่ของตัวสร้างปะการัง (polyp) ขนาดจิ๋ว ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายดอกไม้ทะเลและแมงกะพรุน เมื่อตัวสร้างปะการังตาย จะเหลือส่วนโครงร่างแข็งภายนอก ซึ่งเป็นที่ที่ตัวสร้างปะการังตัวใหม่เริ่มเจริญเติบโต
ปะการังมีชีวิตอยู่ได้ในทะเลที่สะอาด ตื้นพอที่แสงอาทิตย์ส่องถึง พบอยู่ทั้งในทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีแนวปะการังที่เกาะพาง เกาะลูก เกาะรัฐ เกาะช้าง เกาะแหลม เกาะผิว เกาะอีแอ่น เกาะเหลื่อม เกาะหลัก เกาะแรด และเกาะจาน เป็นแนวปะการังแบบหย่อมทั้งหมด เป็นแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารที่สมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตในทะเลหลายชนิด
ปะการังเหล่านี้ส่วนใหญ่ส่วนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งจะมีสภาพเสื่อมโทรม ส่วนที่อยู่ห่างชายฝั่งจะมีสภาพค่อนข้างดี อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการตื่นตัวในการอนุรักษ์ปะการังกันมาก และมีการคุ้มครองแนวปะการังที่ได้ผลดี
ตัวอย่าง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ในแนวปะการังฝั่งอ่าวไทย และ สัตว์น้ำขนาดเล็กในแนวปะการังฝั่งอ่าวไทย เช่น
พันธุ์ปลาขนาดใหญ่ในแนวปะการังฝั่งอ่าวไทย เช่น
ปลาสินสมุทรลายบั้ง SIX - BANDED ANGELFISH : Pomacanthus sexstriatusริมฝีปากหนา ครีบหลังทั้งสองตอนเชื่อมติดกัน ครีบอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ตัวสีไพลอ่อน ด้านหลังตามีคาดสีขาวจากด้านหลังลงมากลางแก้ม กลางตัวมีคาดสีดำ 6 แถบสีเข้มจางต่างกัน ปลายครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีจุดสีฟ้ากระจัดกระจาย อาศัยตามกองหินใต้น้ำ เกาะแก่ง แนวปะการังในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 30 เซนติเมตร กินกุ้ง หอย และฟองน้ำ เป็นปลาสวยงาม
ปลานกแก้ว RIVULATED PARROT FISH : Scarus fasciatus ลำตัวแบนข้าง ปากเล็ก ฟันใหญ่ ครีบหางปลายตัด ตัวสีเขียวอมฟ้า ส่วนหัวมีสีชมพูมีลายสีเขียวสลับ ครีบอกและครีบท้องสีฟ้าและเหลือง อาศัยในกองหินใต้น้ำและแนวปะการัง พบทั่วไป ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 30 เซนติเมตร กินปะการังและสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงามและเป็นอาหาร
ปลานกขุนทองสองตอน, ปลานกขุนทองสองสี BLACKFIN WRASSE : Hemigymnus melapterusรูปร่างยาวแบนข้าง ริมฝีปากหนาฟันด้านหน้าเป็นฟันเขี้ยวอยู่ข้างละ 2 ซี่ สีลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหน้าสีจางกว่าส่วนท้ายซึ่งมีสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแต้มสีน้ำเงินอมดำอยู่ด้านหลังตา 1 รอย ขอบตาเป็นวงสีขาว อาศัยตามหินกองและแนวปะการังทั่วไป ขนาด 23 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน กุ้ง ปู และหอย เป็นปลาสวยงาม
ปลาเขียวพระอินทร์ MOON WRASSE : Thalassoma lunareลำตัวแบนเรียวยาว ครีบหางเว้าเป็นรูปโค้งวงพระจันทร์ ตัวสีเขียว ด้านหน้ามีลายสีชมพู ครีบอกสีชมพูขอบฟ้า ขอบครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีชมพูอมน้ำเงิน ปลายหางมีสีเหลืองรูปพระจันทร์เสี้ยว อาศัยอยู่ตามแนวปะการังริมชายฝั่งทั่วไปในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 20 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงาม
พันธุ์ปลาขนาดเล็กในแนวปะการังฝั่งอ่าวไทย เช่น
ปลาม้าลาย HUMBUG DASCYLLUS : Dascyllus aruanusลำตัวแบนข้างค่อนข้างกลม ครีบหางเว้าตื้นมีปลายเรียว ตัวมีลายดำเข้มบนพื้นขาว ครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้องดำ ครีบหางขาว อาศัยในแนวปะการัง พบมากในทะเลอันดามัน พบทั่วไป 5 - 6 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุด 10 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอน และสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงาม
ปลาสลิดหินฟ้า YELLOW - TAILED DAMSELFISH : Chrysiptera parasemaลำตัวสีน้ำเงิน ครีบหางสีเหลือง สีทั้งสองจะตัดกันน้อยลงเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น แต่เมื่อถูกจับอาจเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินอมม่วง อยู่รวมกันเป็นฝูง พบได้ตามน่านน้ำไทย ขนาด 4 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก เป็นปลาสวยงาม
ปลาสลิดหินเขียว GREEN PULLER : Chromis viridisเกล็ดใหญ่ ปากเล็ก ครีบหางเว้าลึก ตัวผู้ครีบหางจะยื่นยาวเป็นเส้นยาว และสีบนลำตัวเข้ม อาศัยอยู่ตามหินกองใต้น้ำและบริเวณหน้าดิน ขนาด 10 - 15 เซนติเมตร กินสาหร่าย สัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงาม
ปลาโดมิโน หรือ ปลาสลิดหินสามจุด THREE - SPOTTED DAMSELFISH, DOMINO : Dascyllus trimaculatusลำตัวป้อมสั้นรูปไข่ ครีบหางเว้าตื้น ตัวสีดำมีจุดสีขาวอยู่เหนือตา 1 จุด กลางหลังเหนือเส้นข้างลำตัวข้างละ 1 จุด จุดสีขาวเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่จะเลือนหายไป พบอยู่ตามแนวปะการังทั่วไปในน่านน้ำไทย ขนาด 6 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงาม

ระบบนิเวศทะเลฝั่งอันดามัน
ลักษณะทางกายภาพของทะเลฝั่งอันดามัน เป็นท้องทะเลสีเขียวมรกตที่มีน้ำทะเลใสกระจ่างแลเห็นพื้นน้ำ ซึ่งโอบล้อมไว้ด้วยเกาะและหมู่เกาะจำนวนมาก มากด้วยพันธุ์ปลาขนาดใหญ่สีสันสวยงาม ทะเลอันดามันเป็นทะเลสีฟ้าครามสดใสด้วยแสงอาทิตย์ที่ทอประกายบนผิวคลื่น เป็นทะเลที่เต็มไปด้วยสรรพธรรมชาติอันมหัศจรรย์
ทะเลอันดามันตอนเหนือ เป็นสถานที่ที่สวยงามเหมาะสำหรับการดำน้ำ ชายหาดสีขาวทอดยาว อุดมด้วยธรรมชาติอันเงียบสงบ ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ ได้แก่ เกาะสิมิลัน เกาะราชา เกาะลันตา เกาะภูเก็ต เกาะไหง และเกาะลิบง บรรดาเกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้สุดของทะเลอันดามัน มีธรรมชาติที่เงียบสงบผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวเกาะคือเสน่ห์แห่งธรรมชาติอันรื่นรมย์ แนวปะการังน้ำตื้นสงบและสมบูรณ์ที่สุดของเมืองไทย เป็นหนึ่งในทะเลแห่งสุดท้ายที่ธรรมชาติยังคงความงดงาม บริเวณป่าดงดิบเขตร้อนชื้น มีระบบนิเวศหลากหลายที่สุดบนผืนดิน และบรรจบกับระบบนิเวศหลากหลายที่สุดของท้องทะเล คือ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา
ตัวอย่าง สัตว์น้ำขนาดเล็กในแนวปะการังฝั่งอันดามัน และ สัตว์น้ำขนาดใหญ่ในแนวปะการังฝั่งอันดามัน เช่น
พันธุ์ปลาขนาดเล็กในแนวปะการังฝั่งอันดามัน เช่น
ปลาโนรีเกล็ด, ปลาโนรี , ผีเสื้อครีบยาว PENNANT BUTTERFLY FISH : Heniochus acuminatusครีบหลังยื่นยาวเป็นเส้นเดียวออกไป ครีบหางตัดตรง ตัวสีขาวเหลือง มีแถบสีดำหรือม่วง 2 แถบ พาดขวางลำตัวและครีบ ครีบหลัง ครีบอกและครีบหางสีเหลืองอ่อน อาศัยในเขตชายฝั่งตื้น ๆ หินกอง และแนวปะการัง พบทั่วไป 15 - 25 เซนติเมตร ขนาดใหญ่สุด 46 เซนติเมตร กินแพลงก์ตอนสัตว์ แมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล เป็นปลาสวยงาม
ปลาสลิดหินสามจุด, โดมิโน THREE - SPOTTED DAMSELFISH, DOMINO : Dascyllus trimaculatusลำตัวป้อมสั้นรูปไข่ ครีบหางเว้าตื้น ตัวสีดำมีจุดสีขาวอยู่เหนือตา 1 จุด กลางหลังเหนือเส้นข้างลำตัวข้างละ 1 จุด จุดสีขาวเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่จะเลือนหายไป พบอยู่ตามแนวปะการังทั่วไปในน่านน้ำไทย ขนาด 6 เซนติเมตร กินสัตว์หน้าดิน เป็นปลาสวยงาม
ปลามุกประดิษฐ์ RETICULATE DASCYLLUS : Dascyllus reticulatusรูปร่างค่อนข้างกลม ตัวสีขาวอมเหลือง มีแถบสีดำพาดผ่านครีบอกเป็นแนวยาวจรดครีบท้อง และผ่านตลอดถึงครีบหลังตอนบน อาศัยในทะเลตามแนวปะการังฝั่งอันดามัน ขนาด 9 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เป็นปลาสวยงาม
ปลากัดทะเล COMET : Calloplesiops altivelisลำตัวแบนข้างสีน้ำเงินเข้มเกือบดำ ครีบหลังและครีบท้องแผ่กว้าง มีจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วตัว และจุดสีดำขนาดใหญ่อยู่กึ่งกลางลำตัวบริเวณครีบหลัง ชอบหลบซ่อนตัวตามซอกหลืบ และออกหากินตอนกลางคืน โอกาสพบเห็นจึงมีน้อย อาศัยในแนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามัน ขนาด 8 - 12 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาสวยงาม
พันธุ์ปลาขนาดใหญ่ในแนวปะการังฝั่งอันดามัน เช่น
ปลานกแก้วเขียว RIVULATED PARROT FISH : Callyodon fasciatusรูปร่างค่อนข้างป้อม ปากเล็กมีฟันเรียงกันเป็นแผ่น เกล็ดใหญ่ ตัวสีเขียว ฐานของเกล็ดสีแดง จะงอยปากและบริเวณแก้มมีสีแดงปนส้มและมีเส้นสีเขียว ครีบหางมีจุดสีเขียวประอยู่ทั่วไป อาศัยในหินกองและปะการังทั่วไปทั้งสองฝั่งทะเลไทย ขนาด 40 - 50 เซนติเมตร กินปะการัง สัตว์หน้าดิน ใช้เป็นอาหาร
ปลาขี้ตังเบ็ดฟ้า POWDERBLUE SURGEONFISH : Acanthurus leucosternon รูปร่างแบนข้าง ปากเล็ก ตัวสีฟ้า ครีบหลังและโคนหางสีเหลือง มีเงี่ยงที่โคนหาง เมื่อตายสีจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอย่างรวดเร็ว อาศัยในทะเลอันดามัน ไม่พบในอ่าวไทย พบมากที่สิมิลัน ขนาด 30 เซนติเมตร กินสัตว์และพืช เป็นปลาสวยงาม
ปลาขี้ตังเบ็ดเหลือง YELLOW SAILFIN TANG : Zebrosoma flavescensลำตัวแบนข้าง รูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตัวสีเหลืองตลอด ครีบหางมีเงี่ยง ครีบหลังและครีบก้นค่อนข้างใหญ่ อาศัยในแนวปะการังในทะเลอันดามัน ขนาด 20 - 25 เซนติเมตร กินสัตว์น้ำขนาดเล็กและสาหร่ายทะเล เป็นปลาสวยงาม
ปลาวัวดำ BLACK TRIGGERFISH : Odonus nigerลำตัวแบนข้างรูปไข่ ครีบหางเว้าลึกเป็นรูปจันทร์เสี้ยวมีปลายเรียว ตัวสีน้ำเงินอมเทา ปากมีลายคาดสีน้ำเงินถึงครีบอกและตา ขอบเกล็ดเป็นตารางเห็นได้ชัด ครีบหลังและครีบก้นมีขอบสีน้ำเงิน ขนาดใหญ่สุด 40 เซนติเมตร อาศัยในแนวปะการังของทะเลอันดามัน กินกุ้ง หอย ปู และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ ใช้บริโภคได้แต่เป็นปลาที่พบน้อยมาก



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

มารู้จัก อะมีบา กันเถอะ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : แทนยา เภสัชกรแผนไทย บีทาเก้น วิศวกรพระราม2 2 พฤษภาคม 2551 โรงเรียนสกลวิทยา สมัครงาน ฝ่ายผลิต ต่างประเทศ แคนาดา สมัครงานวุฒิม.6 นครปฐม Booth แลกเปลี่ยนเงิน สนามบิน คลีนิคทันตกรรม ห้วยขวางว กู๊ก งานช่างเทคนิคต่างประเทศ วุฒิม6 สุขุมวิท101/1 สมัครงานบริษัทวุฒิปวช พนักงานขับรถ กทม สรรหาบุคลากรปทุม ที่ปรึกษาทางการเงิน straff ช่างภาพนิตยสาร งานแถวมักกะสัน บริษัทTmT เช็คนับ สันติชัย ฟุ้ง ธุรการบางพลีใหญ่ ทั้งหมดโฟแมน ธุรการ บางกรวย งานราชการ-สงขลา บิ๊กซีนครวรรคื มะขามคู่ ความงาม สถานเสริม ังหิน เสนา -ว o/pชลบุรี สมัครงานร้านขายกาแฟ เลขานุกากร ปิดระบบการสืบค้น พนักงานขับรถ Express facory manager วุฒิ ม.3ในสัตหีบ แก้ไขประวัติ ตรวจเช็คสินต้า ล่าม ภาษา จีนกลาง ตัวแทน ประกัน เกษตร ภาคใต้ บิ๊กซี-รัชดา งานfxพัทยา 7-11 กาญจนบุรี เจ้าหน้าที่โลจิกติก oeyrtrro