หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สิทธิที่เจ้าของบริษัทพึงได้จากลูกจ้าง
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 0 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




นอกจากผู้เป็นเจ้าของธุรกิจมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรับผิดชอบลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว คุณรู้รึไม่ว่าลูกจ้างก็มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติกับคุณตามข้อกฎหมายเช่นกัน
อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ต้องอาศัยกฎหมายมาช่วยเหมือนกัน

จากที่ได้เคยนำเสนอในเรื่องของ “กฎหมายแรงงานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้” กันไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้ ซึ่งบทความดังกล่าวโดยรวมทั้งหมดจะกล่าวถึงในแง่ของสิ่งที่เจ้าของบริษัทโดยเฉพาะเจ้าของกิจการรายใหม่จำเป็นต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด แต่ในบทความนี้จะมาขอกล่าวถึงในเรื่องของสิทธิที่นายจ้างนั่นหรือเจ้าของกิจการพึงจะได้รับจากลูกน้องหรือลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้             

กฎหมายแรงงานตามความเข้าใจของบุคคลส่วนใหญ่ในสังคมไทยนั้นจะคิดว่าเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อปกป้องสิทธิของแรงงานที่อาจจะถูกผู้เป็นนายจ้างละเมิดได้ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่มักจะถูกคนในสังคมมองข้ามไปอยู่เสมอ ซึ่งส่วนนั้นก็คือเรื่องของการปกป้องสิทธิของนายจ้าง อาจเป็นเพราะสังคมไทยส่วนใหญ่ประชากรจำนวนมากอยู่ในฐานะของลูกจ้าง สิทธิของนายจ้างจึงถูกละเลยและไม่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยเท่าที่ควรนัก โดยสิทธิของนายจ้างนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะถือเป็นรากฐานของระบบการดำเนินธุรกิจขั้นพื้นฐานที่จะช่วยให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจในระดับจุลภาคและมหภาคด้วย โดยสิทธิของเจ้าของบริษัทที่ต้องได้จากลูกจ้างที่สำคัญๆได้ถูกทำการรวบรวมเอาไว้โดยมีส่วนของเนื้อหาและสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ได้รับแรงงานจากการการทำงานของลูกจ้าง            

สิทธินี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างแรกที่สำคัญที่สุดที่นายจ้างจำเป็นต้องได้รับจากการจ้างงานลูกจ้าง โดยสิทธินี้คุณผู้เป็นนายจ้างต้องพิจารณาดูการทำงานของลูกจ้างด้วยว่าสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่แล้วหรือไม่ เพราะในกฎหมายได้เขียนและกำหนดไว้ว่าลูกจ้างต้องทำงานให้กับนายจ้างได้อย่างเต็มที่มิเช่นนั้นนายจ้างจะสามารถปฏิเสธการจ่ายค่าจ้างได้       

ณ จุดนี้คุณจึงต้องดูผลการทำงานของลูกจ้างว่าดีและมีประสิทธิภาพตามที่คุณต้องการจากงานที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ แล้วนำมาพิจารณาจากเงินเดือนค่าจ้างว่ามีความคุ้มค่าขนาดไหน บางที่ใช้เวลาการตรวจนับชั่วโมงการทำงานและผลงานที่ได้ออกมาในแต่ละวันว่าคุ้มค่าหรือไม่ด้วย เพื่อป้องกันการอู้งานที่เกิดจากตัวลูกจ้าง เช่น บริษัทหนึ่งให้พนักงานใหม่ทำการลงเวลาก่อนเริ่มงานและพอเสร็จงานในตอนเย็นก็ให้ลงเวลาออก จากนั้นจึงนำเวลาที่ได้ทำงานในแต่ละวันมาตรวจสอบดูว่าได้ทำงานไปทั้งหมดกี่ชั่วโมงแล้วนำมาพิจารณาประกอบควบคู่กับผลงานที่ได้ทำออกมาในวันนั้นว่ามีความคุ้มค่าในการจ้างงานขนาดไหน

ปกติตามกฎหมายพนักงานทั่วไปควรใช้เวลาการทำงานในแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง ถ้าพนักงานของคุณใช้เวลาทำงานน้อยกว่านี้ ประเภทที่เข้างานสายแต่กลับเลิกงานก่อนเวลาอีกทั้งผลงานที่ออกมาก็ไม่ดีไม่มีคุณภาพ คุณก็สามารถไล่พนักงานคนดังกล่าวออกได้ หรือทำการหักเงินเดือนโดยมีกฎหมายแรงงานที่รองรับและให้การสนับสนุนอยู่ ถ้าคุณมีหลักฐานมายืนยันถึงการกระทำของลูกจ้างของคุณ อีกทั้งถ้าลูกจ้างไม่มีฝีมือหรือไม่สามารถทำงานได้อย่างที่เคยตกลงไว้ก่อนหน้านี้ก็สามารถยกเลิกการจ้างงานได้เช่นกัน

2. สิทธิในการใช้อำนาจบังคับบัญชา            

สิทธิในการบังคับบัญชานี้เป็นสิทธิในลักษณะของการปกครองมากกว่าที่จะเป็นสิทธิในข้อเรียกร้องเหมือนดังข้ออื่นๆ ซึ่งนายจ้างสามารถออกคำสั่งหรือสั่งการให้ลูกจ้างกระทำตามที่คุณต้องการได้โดยคำสั่งที่ว่านั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และเป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานเท่านั้น

เช่น คุณสามารถสั่งให้ลูกน้องไปทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอาทิ ไปโทรนัดลูกค้า ไปนำเอกสารมาจากธนาคาร  ไปจัดทำบัญชีฯลฯ โดยที่งานนั้นต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องในหน้าที่ที่พนักงานคนดังกล่าวทำด้วย อีกทั้งยังมีสิทธิ์ในการว่ากล่าวตักเตือนเมื่อลูกน้องกระทำการที่ผิดพลาดในหน้าที่การงานหรือฝ่าฝืนกฎข้อบังคับของทางบริษัท และสามารถออกคำสั่งลงโทษทางวินัย เช่น คำสั่งลดหรือตัดเงินเดือน สั่งพักงาน หรือแม้กระทั่งไล่ออกก็ได้ ถ้าลูกจ้างกระทำผิดอันเป็นลักษณะที่ร้ายแรง 

3. สามารถโอนสภาพความเป็นนายจ้างไปยังบุคคลภายนอกได้            

พนักงานยังคงทำงานตามปกติถึงแม้บริษัทจะมีการเปลี่ยนเจ้าของก็ตาม 

สิทธินี้ในปัจจุบันถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากอย่างหนึ่งสำหรับนายจ้าง กล่าวคือ ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่บริษัทที่ประกอบกิจการอยู่มาวันหนึ่งจะถูกซื้อหรือเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมไปสู่เจ้าของใหม่ หรือในกรณีการเกิดการควบรวมกิจการของทางบริษัทเข้าด้วยกัน เช่น บริษัท A กับบริษัท B ทำการควบรวมบริษัทเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นบริษัท AB ขึ้นมา หรือในอีกกรณีคือบริษัท A และบริษัท B รวมบริษัทเข้าด้วยกันจนเกิดบริษัทใหม่คือบริษัท C ขึ้น

ไม่ว่าจะในกรณีไหนก็แล้วแต่สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงก็คือตัวเจ้าของกิจการเท่านั้นที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ตัวของพนักงานยังคงอยู่ตามปกติ เพียงแต่จะมีนายจ้างใหม่ที่เกิดจากการโอนสิทธิความเป็นนายจ้างขึ้นเท่านั้น ซึ่งกฎหมายแรงงานให้ความคุ้มครองสิทธิตรงนี้กับนายจ้างให้สามารถทำได้ อันจะช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็วให้แก่คุณในการขายบริษัท โดยส่วนหนึ่งนั้นลูกจ้างจะต้องยินยอมด้วยแต่ประเด็นปัญหานี้ก็ตกไป เพราะส่วนใหญ่ลูกจ้างจะมักไม่มีปัญหาเท่าไหร่นักเมื่อมีการเปลี่ยนเจ้าของ อีกทั้งยังต้องการรักษางานที่ทำอยู่ต่อไปนั่นเอง 

4. สิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้าง            

สิทธิข้อนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อในกรณีที่ลูกจ้างของคุณได้กระทำการอันสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับบริษัทของคุณทั้งในส่วนของทรัพย์สินและชื่อเสียงไม่ว่าจะในกรณีใดๆสามารถเรียกค่าเสียหายได้ กล่าวคือเมื่อลูกจ้างของคุณทำงานไม่ถูกต้องหรือบกพร่องต่อหน้าที่จนทำให้บริษัทของคุณได้รับความเสียหาย เช่น การทำงานที่ผิดพลาดของลูกจ้างจนไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามกำหนดของลูกค้าได้ หรือเจ้าหน้าที่ทางการเงินคำนวณเงินผิดทำให้บริษัทได้รับความเสียหายทางการเงิน สิ่งต่างๆเหล่านี้คุณสามารถนำมาใช้เรียกร้องค่าเสียหายได้  เพราะเกิดจากการทำงานอันผิดพลาดของลูกจ้างที่สะเพร่าในเวลาทำงานนั่นเอง

นอกจานี้ถ้าเกิดลูกน้องของคุณกระทำการเป็นตัวแทนของบริษัทคุณโดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางบริษัทจนทำให้เกิดความเสียหาย หรือลาออกจากงานโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าทั้งในส่วนที่เป็นวาจาและเอกสารคุณก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ด้วยเช่นกัน

5. สิทธิเรียกร้องให้ลูกจ้างใช้ค่าเสียหายเมื่อกระทำการเสียหายกับบุคคลภายนอก             

คุณผู้เป็นนายจ้างสามารถดำเนินการเรียกเก็บเงินค่าเสียหายย้อนหลังได้ ในกรณีที่ลูกจ้างที่อาจจะออกไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของบริษัทของคุณ หรือไปในนามส่วนตัวแล้วไปสร้างความเสียหายให้เกิดกับบุคคลหรือบริษัทที่เป็นองค์กรภายนอกขึ้น จนมีการเรียกเก็บเงินค่าเสียหายมายังบริษัทคุณ ซึ่งคุณได้ทำการสำรองจ่ายให้ไปก่อน กรณีเหล่านี้คุณสามารถนำมาไล่เก็บเงินกับลูกจ้างของคุณในภายหลังได้ทันที โดยมีหลักฐานความเสียหายที่เกิดขึ้นนำมาแสดงได้อย่างถูกต้อง

เช่น ในกรณีที่ลูกจ้างของคุณทำเงินที่ต้องส่งคืนลูกค้าหายและเพื่อไม่ให้เป็นการเสียชื่อบริษัทคุณจึงทำการสำรองเงินจ่ายให้ไปก่อน จากนั้นจึงตามมาเรียกเก็บเงินในภายหลังจากลูกจ้างคนดังกล่าวในกรณีที่กล่าวมานี้คุณสามารถทำได้ภายใต้กรอบและการรับรองจากทางกฎหมายแรงงาน

6. สามารถบอกเลิกจ้างแรงงานได้              

การเลิกจ้างควรมีแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยเสมอ 

คุณมีสิทธิ์ที่จะบอกเลิกจ้างพนักงานของคุณได้ ถ้าลูกจ้างของคุณไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่คุณได้มอบหมายให้ทำได้ อีกทั้งยังสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นต่อองค์กรในภาพรวม สิ่งต่างๆดังที่ได้กล่าวมานี้สามารถนำมาใช้เป็นเหตุผลประกอบในการบอกเลิกสัญญาการจ้างงานกับลูกจ้างหรือการไล่ออกได้ทันที แต่เหนือสิ่งอื่นใดการจะบอกเลิกจ้างของคุณต้องมีเหตุผลที่เพียงพอโดยการมีพยานแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนเหตุผลของคุณว่าลูกจ้างคนดังกล่าวกระทำความผิดจริงซึ่งเป็นความผิดที่ร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

นอกจากนี้ควรกระทำอย่างถูกวิธีด้วยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงตัวลูกจ้างเองโดยตรงพร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดและจะส่งผลดีต่อบริษัทของคุณในอนาคต ที่จะสามารถป้องกันการฟ้องร้องอันเกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากฝ่ายลูกจ้าง

7. สิทธิรวมตัวกันเป็นองค์กรฝ่ายนายจ้าง

คุณสามารถรวมตัวกันกับเจ้าของกิจการบริษัทรายอื่นๆก่อตั้งเป็นสหพันธ์นายจ้างหรือสภานายจ้างได้ตามความคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์เหมือนอย่างที่ฝ่ายลูกจ้างมีสหภาพแรงงานต่างๆเป็นของตัวเอง โดยจะต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย โดยหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนายจ้างที่ก่อตั้งขึ้นก็เพื่อสามารถเจรจาต่อรองกับฝ่ายลูกจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ความคุ้มครองกับฝ่ายนายจ้างในกรณีที่ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในทุกๆกรณี              

สิทธิที่เจ้าของบริษัทพึงจะได้จากลูกจ้างนี้ถูกร่างขึ้นมาเป็นกฎหมายก็เพื่อคุ้มครองตัวของนายจ้างและกิจการบริษัทของนายจ้างเอง เพื่อป้องกันการรวมตัวกันเอาเปรียบจากฝ่ายของลูกจ้างที่อาจจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีจำนวนคนที่เยอะกว่าฝ่ายนายจ้างมาก อีกทั้งยังเป็นตัวช่วยพัฒนาธุรกิจทำให้แรงงานมีความตื่นตัวและขยันจนทำให้เกิดระบบการแข่งขันของผู้มีความสามารถในตลาดแรงงานขึ้น ซึ่งจะมีส่วนช่วยทำให้ธุรกิจต่างๆมีความเจริญก้าวหน้าเพราะได้แรงงานที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานอย่างแท้จริงเข้ามาทำงานในบริษัท และสุดท้ายจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติในอนาคตด้วยนั่นเอง




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การควบคุมการหยิบจับสิ่งของ ของแขนกลด้วย PID
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : โรงแรม ถนนแจ้งวัฒนะทีเคพาเลค พนักงานบัญชี,ธุรการ สมัครงานร้านเน็ตในโคราช พนักงานขายเหล็ก พนักงานต่างชาติ บัญชีและการเงิน จ.นครราชสีมา งานบางใหญ่ เจ้าหน้าที่ กฎหมาย CMO group ทรัพยากรที่ดิน poepoyot ประจำแมนชั่น งานว่างสำโรงทาบ จักรวาลเคมี ปี2552 การจัดการโลจิสติก วุฒิม6ลำปาง วิงนิง พนักงานขายกาแฟ สาขาเชียงใหม่ สำนักงาน ชลบุรี ชงกาแฟ prosoft e mer บริษัทลาว บริษัททาโก บริการขาย สำโรง กรุงเทพ พนักงานขายจ.ตรัง มีนบุรี,รามคำแหง ธุรการ รามคำแหง2 LAW LABOUR งานพิษณุดลก ร ยครƒร—รจรยงรร—รรกยพยทร‚รฌ งานด้านกราฟฟิก งานร้านค้า ชลบุรี เจ้าหลาว หางานโรงงานวุฒิ ม.3 ใน กทม ในเกาะสมุย บิ๊กซี ลาดพร้าว แม่บ้าน+ธุรการ มสบตาพุด ยนร“ร ยขรฉร’รŠรจยงรรยก เมืยงจาวทงประเทศจีน งานเย็บ ชลบุรี กระ ทุ่ มแบ นค้าไม้ มิตซู ชลบุรี event - roadshow บริษัท คาทาลิค คันเซ งานฝ่ายบุคคล บางพลี บรรเลงเพลง ชลบุรี