หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง จรรยาบรรณ
เขียนโดย กพด

Rated: vote
by 78 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




จริยธรรมของหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นหลักแห่งความประพฤติและหลักของความคิดที่ดีที่นักหนังสือพิมพ์ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางให้แก่นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายได้ยึดถือปฏิบัติ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหลักดังกล่าวนั้นก็มีพื้นฐานมาจากหลักธรรมของศาสนา แต่ไม่ใช่ว่าจะนำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ปฏิบัติเสียทีเดียว แต่ได้นำเอาหลักธรรมนั้นมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับรูปแบบของกิจการหนังสือพิมพ์ที่มีเงื่อนไขทางสังคมและเงื่อนไขทางธุรกิจเฉพาะตัว ซึ่งนั่นก็เป็นตัวกำหนดให้นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายที่อยากจะก้าวมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ดีต้องยึดถือเอาหลักจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ใช้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

จากที่เราทราบมาแล้วว่า กิจการหนังสือพิมพ์นั้น ก็เหมือนกับธุรกิจทั่วๆ ไป ที่ต้องผลิตสินค้าเพื่อแสวงหากำไร พร้อมกับทำหน้าที่เป็นสถาบันสาธารณะควบคู่กันไปด้วย แต่สินค้าที่หนังสือพิมพ์ผลิตออกไปนั้น ไม่ใช่สินค้าธรรมดาที่เหมือนกับสินค้าในทั่วไปในท้องตลาด แต่เป็นสินค้าที่มีอำนาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งการที่ต้องมีจริยธรรมเป็นตัวกำหนดก็เพื่อไม่ให้สินค้าที่ผลิตออกไปนั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำลายสังคม แต่ในทางกลับกันสินค้าดังกล่าวต้องเป็นช่วยเหนี่ยวรั้งและก่อให้เกิดการยกระดับและพัฒนาในสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า

ด้านตัวของนักหนังสือพิมพ์เอง หากนักหนังสือพิมพ์คนใดปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ย่อมส่งผลให้เขาได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากแหล่งข่าวและผู้อ่าน นอกจากนั้นยังได้รับความเคารพ การยกย่องสรรเสริญจากเพื่อนนักข่าวด้วยกันเองและยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่จากนักข่าวรุ่นน้องให้ยึดถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างอีกด้วย และที่สำคัญที่สุด การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมจะช่วยให้นักหนังสือพิมพ์คนนั้น สามารถยืนอยู่ในแวดวงอาชีพได้อย่างสง่างาม เพราะหากนักหนังสือพิมพ์คนใดไร้ซึ่งมีจริยธรรมแล้ว บุคคนคนนั้นก็จะต้องถูกกีดกันจากเพื่อนร่วมอาชีพหรือจากประชาชนให้ออกจากวิชาชีพไปในที่สุด ซึ่งถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับบุคคลในที่อยู่วงการวิชาชีพนี้เลยทีเดียว ซึ่งเราก็สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ ที่สำคัญๆ ของหลักจริยธรรมได้ 4 หลักดังนี้

หลักว่า ด้วย “ความจริงที่แท้จริง” (Objectivity)

เป็นหลักที่นักหนังสือพิมพ์ใช้ปฏิบัติเพื่อให้การรายงานข่าวนั้นได้เนื้อหาข่าวที่ครบถ้วน ไม่ลำเอียง ปราศจากการสอดแทรกความคิดเห็น อารมณ์ส่วนตัว ซึ่งมีหลักอยู่ 5 อย่าง คือ

1. ความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย (Impartiality)

กล่าวคือ หากต้องรายงานข่าวที่เกี่ยวกับข้อพิพากหรือความขัดแย้งของฝ่ายต่างๆ นักหนังสือพิมพ์ต้องนำความคิดเห็น ทรรศนะของทุกฝ่ายที่ตกเป็นข่าวมานำเสนอให้ครบ ในปริมาณที่สมดุลกันทุกฝ่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วแนวทางดังกล่าวมักทำได้ยาก เพราะตัวนักหนังสือพิมพ์ผู้นั้นมักจะมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งอยู่แล้ว

2. ความปราศจากข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือทางความสนใน (Absence of Conflict of Interest)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ไม่ควรที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าร่วม เข้าสังกัดหรือเป็นสมาชิกในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะจะทำให้ข่าวสารที่นำเสนอนั้น ขาดความน่าเชื่อถือหรือถูกตั้งข้อสงสัยจากประชาชนในทันที

3. โอกาสของการปฏิเสธ (Opportunity of Denial)

หลักการในข้อนี้จะสอดคล้องกับหลักการความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย กล่าวคือ หากการนำเสนอข่าวสารใดๆ มีผู้ถูกล่าวหาปรากฏอยู่ในข่าว ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นใคร จะเป็นคนชั่วช้าขนาดไหนก็ตาม นักหนังสือพิมพ์จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้น แสดงความคิดเห็นของเขาต่อข้อกล่าวหานั้นๆ เพราะคำกล่าวหานั้นๆ ยังไม่ใช่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม และการให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหานี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้หนังสือพิมพ์ถูกฟ้องร้องว่า ได้ทำการหมิ่นประมาทต่อผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ในอนาคต

4. การละเว้นเสียจากความลำเอียงต่อผู้ใกล้ชิด (Avoidance of Cronyism)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องระวังอย่าให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างตนกับแหล่งข่าว เข้ามามีอิทธิพลครอบงำการรายงานข่าวของตนได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีทางเลยว่า การรายงานข่าวจะมีความเที่ยงตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวอาชญากรรม ต้องเข้มงวดในกฎข้อนี้เป็นอย่างมาก เพราะนักข่าวสายนี้จะต้องอยู่ใกล้ชิด สนิทสนมกับแหล่งข่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

5. กาลละเว้นเสียจากความเคียดแค้นพยาบาท (Avoidance of Vengeance)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์ที่เกิดจากความเคียดแค้น พยาบาท ความไม่พอใจของตน หรืออารมณ์อื่นใดของตน โดยตัวของนักหนังสือพิมพ์เองต้องคำนึกอยู่เสมอว่า ความจริงที่แท้จริงที่ต้องนำเสนอต่อสายตาผู้อ่าน จะต้องมาจากความคิดที่มีเหตุผลจากสมองที่แจ่มใส ซึ่งการที่คิดอย่างมีเหตุผลจะเกิดขึ้นได้นั้น นักหนังสือพิมพ์จะต้องรู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่ขุ่มมัวที่อยู่เกาะอยู่ในจิตใจ หรือความลำเอียงที่เกิดจากทางอารมณ์ใดๆ นั่นเอง

หลักว่าด้วย “ความสัตย์ซื่อ” (Honesty) หรือ “ความสัตย์จริง” “การรักษาความสัตย์”

การนั่งเทียนเขียนข่าวเอง หรือการยกเมฆของนักข่าว หรือการแต่งเติมเสริมแต่งข้อเท็จจริงใดๆ ให้ดูน่าสนใจ คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวทางจริยธรรมในจิตใจของนักหนังสือพิมพ์ว่าด้วย “ความสัตย์ซื่อ” ต่อผู้อ่าน อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถอธิบายให้เห็นด้วยหลัก 2 ประการ คือ

ประการที่ 1. การเสนอรายงานข่าวที่เป็นจริง, มิใช่เสนอนิยาย

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องยึดถืออยู่ตลอดว่า การรายงานข่าวใดๆ ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์นั้น ต้องยึดอยู่กับความจริงที่เป็นจริงเท่านั้น โดยหลักทางวารสารศาสตร์ ถือว่า ข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริงนั้นมันเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์และเต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้น น่าสนใจอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแต่งเติมให้ผิดเพี้ยนด้วยการกระทำใดๆ อีก ซึ่งการกระทำใดที่ใช้ความคิดของตนเองแต่งเติมเนื้อข่าวไม่ว่าจะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ไม่สามารถคิดเห็นเป็นอย่างอื่นได้นอกเสียจาก นักหนังสือพิมพ์ผู้นั้นต้องให้ข้อเขียนนั้นๆ ดูมีชีวิตชีวา น่าสนุกมากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมากก็คือ “การกล่าวอ้างพยานเท็จ” หรือนัยหนึ่งกล่าวอ้าง “ผู้รู้เห็น” ที่ไม่มีตัวตนในทำนอง “ผู้สันทันกรณี” ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการไร้ซึ่งความละลายต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไปของตัวผู้เขียนนั่นเอง

ประการที่ 2 การรักษาวาจาที่ให้คำมั่นหรือตกปากลงคำไว้

ในเงื่อนไขแรก หากนักหนังสือพิมพ์ได้ให้สัญญากับแหล่งข่าวใดว่า จะไม่เสนอรายงานข่าวสารเรื่องนั้นในหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกการให้สัญญาแบบนี้ว่า off the record ข้อผูกมัดนี้ยังรวมไปถึง การห้ามนักหนังสือพิมพ์นำคำกล่าวอ้างของแหล่งข่าวที่ได้สัญญาไว้แล้ว ไปใช้เป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวรายอื่นๆ ซึ่งนักหนังสือพิมพ์ไม่ควรจะให้สัญญากับแหล่งข่าวคนใดคนหนึ่ง แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ นักหนังสือพิมพ์ต้องตกลงกับแหล่งข่าวคนนั้นเสียก่อนที่จะให้ข้อมูลว่า ต้องการให้ข้อมูลส่วนใดเป็น off the record ซึ่งหากแหล่งข่าวรายใดได้ให้ข้อมูลแก่นักหนังสือพิมพ์ไปแล้ว โดยที่ไม่มีการตกลงกันว่าข้อมูลส่วนใดเป็น off the record แหล่งข่าวผู้นั้นจะมาขอให้นักหนังสือพิมพ์ปิดบังข้อมูลดังกล่าวในลักษณะ off the record ในภายหลังไม่ได้

เงื่อนไขที่สอง หากนักหนังสือพิมพ์ได้ให้สัญญากับแหล่งข่าวใด เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาที่จะเปิดเผยข่าวสารนั้นๆ ต่อสาธารณะ หรือสัญญาว่าจะไม่เปิดเผยถึงแหล่งที่มาของข่าว นักหนังสือพิมพ์ก็ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าผลที่เกิดตามมาต่อตัวนักหนังสือพิมพ์เองจะร้ายแรงเพียงใด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกสัญญาแบบนี้ว่า not of attribution ซึ่งหนังสือพิมพ์จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และแน่ใจก่อนที่จะใช้เลือกวิธีนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารจากแหล่งข่าว เพราะผลกระทบที่ตามมาอาจจะไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้

หลักว่าด้วย “ความบังควรและไม่บังควรซึ่งมนุษย์พีงปฏิบัติต่อมนุษย์” (Human Decency)

ในการรายงานข่าวที่ดีที่ของนักหนังสือพิมพ์ที่พึงปฏิบัตินั้น จะต้องปราศจากความมีอคติ ลำเอียงต่อคนที่ตกเป็นข่าว จากความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา อุดมการณ์ ภูมิลำเนา ซึ่งแบ่งปัญหาที่เกิดจากอคติได้ดังนี้

1. ปัญหาเกี่ยวกับความลำเอียงต่อคนต่างเชื้อชาติหรือคนต่างภาษา

นักหนังสือพิมพ์ห้ามใช้คำเรียกหรือคำอ้างถึงกลุ่มหรือผู้ใดในลักษณะที่อ่านฟังดูเป็นการโจมตี หยาบคาย ดูหมิ่นเหยียดหยาม ตำหนิ เสียดสี ตลก ดูหมิ่นดูแคลน เช่นคำที่เรียกคนลาวว่า “พวกลูกข้าวเหนียว” คำเรียกกรรมกรจีนว่า “เจ๊ก” ตำเรียกคนอิสลามว่า “แขก” เป็นต้น เพราะคำเหล่านี้มีแต่จะสร้างความแตกแยกเกิดขึ้น

2. ปัญหาเกี่ยวกับความลำเอียงต่อคนต่างศาสนา

นักหนังสือพิมพ์พึงระลึกอยู่เสมอว่า ความเชื่อทางศาสนานั้นเป็นความเชื่อส่วนตัวซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก ดังนั้นหนังสือพิมพ์ต้องระมัดระวังอย่างมากเป็นพิเศษหากต้องตีพิมพ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับทางด้านศาสนา เพราะหากผิดพลาดไปอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาได้ เช่น อย่านำเสนอเรื่องราวของศาสนาในทางขบขัน เยาะเย้ย หรือนำเสนอข่าวจากการสรุปเอาอย่างผิดๆ ว่า พฤติกรรมของใครสักคนที่เขาแสดงออกมานั้น เป็นผลมาจากศาสนาที่เขานับถือ หรือคิดว่าคนในศาสนาใดๆ ก็ตาม จะต้องคิดหรือทำสิ่งต่างๆ เพื่อพวกพ้องในศาสนาของเขา แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า ศาสนาเป็นความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนเท่านั้น อย่าได้นำพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลไปเกี่ยวข้องกับการศาสนา และสุดท้ายการเขียนตัวสะกดหรือเรียกชื่อ ตำแหน่ง สมณศักดิ์ของบุคคลที่เราจะเขียนถึงทางศาสนา ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น คนในศาสนานั้นก็จะรู้สึกไม่พอใจไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความแตกร้าวได้ง่ายๆ

3.ปัญหาเกี่ยวกับความน่าชิงชังรังเกียจ

นักหนังสือพิมพ์ต้องจำไว้เสมอว่า หนังสือพิมพ์มีภาระหน้าที่อันสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารอันถูกถ้วนต่อสาธารณชนโดยทั่วไป ดังนั้น ถ้อยคำใดที่จะทำให้สาธารณชนเกิดความรู้สึกรังเกียจ หรือเป็นถ้อยคำที่หยาบคาบ ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความรุนแรง หรือทำให้เกิดข้อสงสัยในความหมาย นักหนังสือพิมพ์ไม่สมควรใช้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรวบรวมข้อมูลข่าวด้านอาชญากรรม ซึ่งนักหนังสือพิมพ์ต้องระลึกไว้เสมอว่า รายละเอียดบางอย่างเช่น ความโหดร้าย ความน่าสยดสยอง ความป่าเถื่อน เนื้อหาเหล่านี้เหมาะสมหรือเป็นประโยชน์ที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรับรู้หรือไม่

หลักว่าด้วยการลอกคัดเรื่องของคนอื่นแล้วก็ทึกทักเอาเป็นของตัว (Plagiarism)

หากนักหนังสือพิมพ์คนใด คัดลอกเนื้อหาหรือข้อมูลของผู้อื่นชนิดคำต่อคำ ไม่ว่าจะลอกแต่เพียงเฉพาะส่วนสาระสำคัญหรือไม่ว่าจะลอกทั้งหมด แล้วก็ใส่ชื่อของตนเองลงไปทึกทักเอาว่าเป็นของตน การกระทำเช่นนี้ถือว่า ผิดจริยธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งผลจากการพฤติกรรมดังกล่าวทำให้ เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเอง และหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์เรื่องดังกล่าวก็จะเสียหายไปด้วย แต่ไม่รวมถึง หากนักหนังสือพิมพ์คนใดได้นำข้อเขียนหรือข่าวสารเดิมที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนางานเขียนของนักหนังสือพิมพ์คนนั้น โดยได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อเขียนที่มีอยู่เดิมด้วยสำนวนภาษาการเขียนของตนเอง พร้อมกับใส่ข้อมูลใหม่ๆ ที่ตนเองหามาเพิ่มเติมเข้าไป จนกลายเป็นงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ไม่ถือว่าผิดหลักจริยธรรมแต่อย่างใด เพราะว่า ข้อเท็จจริงหรือความจริงที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ถือเอาเป็นเจ้าของได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

นอกจานนี้ยังมี จริยธรรมสำหรับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ที่สามารถใช้เป็นข้อเตือนใจของนักหนังสือพิมพ์อีกด้งนี้

1.หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ คือต้องให้ข้อมูลที่ถูกถ้วน และให้ความคิดเห็นที่ซื่อสัตย์ต่อผู้อ่าน ด้วยวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้อ่านรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่ใช่มุ่งจะขายข่าวเพื่อรายได้แต่เพียงอย่างเดียว

2. หนังสือพิมพ์ต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อหรือเจตนาอันสกปรกจากกลุ่มบุคคลใด

3. หนังสือพิมพ์ต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือข้ารับใช้ของรัฐบาล หรือหน่วยงานอำนาจใดๆ

4. หนังสือพิมพ์ต้องระลึกอยู่เสมอว่า คือผู้นำแสงสว่างมาสู่สังคม ไม่ใช่ผู้ทำลายสังคม

5. หนังสือพิมพ์ต้องช่วยขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของประชาชนออกไปอย่างไม่มีหยุดยั้ง

6. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่ช่วยพยายามลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่เป็นผู้ซ้ำเติม

7. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่สะท้อนการทำงานของรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รัฐบาลหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องให้ดียิ่งขึ้น

8. หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นและถ่ายทอดความคิดเห็นของสาธารณชนต่อข้อปัญหาต่างๆ ไปสู่ผู้มีอำนาจ

9. หนังสือพิมพ์ต้องสร้างความเข้าใจ ความปรองดองให้เกิดแก่คนในชาติและประชาชนระหว่างประเทศได้ ไม่ใช่ก่อให้เกิดความแตกแยก

10. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้จุดประเด็นปัญหาสาธารณะให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของสาธารณะเอง

11. หนังสือพิมพ์มีสิทธิและหน้าที่ต้องเปิดโปงข้อเท็จจริงสาธารณะที่หน่วยงานจากภาครัฐพยายามจะปิดบังข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้เป็นประโยชน์ของสาธารณชน

12. ด้านฝ่ายภาครัฐเองก็พยายามจะตำหนิหนังสือพิมพ์ที่มักจะคอยเปิดโปงสิ่งต่างๆ

13. จากการที่หนังสือพิมพ์พยายามปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงแก่สาธารณชน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่หนังสือพิมพ์จะสร้างศัตรูให้เกิดขึ้นพร้อมๆ ไปด้วย

14. หนังสือพิมพ์มีหน้าที่และบทบาทที่จะต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริงไปสู่สาธารณะให้ทราบโดยทั่วกัน

15. อุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ คือการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสายตาประชาชน และรักษาสิ่งนั้นให้หนักแน่นมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ที่มา สุภา ศิริมานนท์. จริยธรรมของหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด, 2529.




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

SWOT เครื่องมือพื้นฐานของการวางกลยุทธ์
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : โรงงานมาcoto mc กรุงเทพ ธุรการประสานงาน รับสมัครครู โคราช GSM เฝ้าร้าน Qc บ้านบึง ชลบุรี ร‡ร”รˆร‡ยกรƒรƒร กะกลางคืน งาน ลาดหลุมแก้ว QCบางพลี พนักงานเสริฟพัทยา วิศวกรสนาม เขตสมุทรปราการ ไทย เทคโนโลยี ผู้่จัดการ สาขาสยาม หางานวุฒิ ม.3เขตบางรัก god fo war แปลข่าว เจ้าหน้าที่การเงิน บางพูน dcomputer ม.ราม2 บางนา-ตราด มะเร็งปากมดลูก หัวหน้า สจ๊วต ฝ่ายผลิตพระราม2 ธุรการ ประสานงาน บางนา QC QA / ผู้ควบคุมงาน โลตัส เชียงใหม่ พนักงานธุรการ ห้วยขวาง ธุรการ วุฒิ ม.6 กทม ใบจาก ประชาสัมพันุธ ชลบุรี ระบบ ups งานชั่วคราว บาง พนักงานฝ่ายผลิตใน กรุงเทพ ยครƒร™รˆร”ร…ยปร จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด บ.den ม.6 หัวหมาก Product Manager จัดเรียงสินค้าตามห้างต่างๆ กลางคืน p แม็กโดนัส Bartender รัชดา PC พระโขนง เลขานุการ หาดใหญ่ หางาน18.00 ขาย/ส่งเสริมการขาย honda ฝ่ายขาย