หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ตัวอย่างการวิเคราะห์ธุรกิจ SME ด้วยหลัก Five Force
เขียนโดย Naruemanat

Rated: vote
by 202 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




โมเดล Five Force ของ Michael Porter เป็น Model ที่นิยมกันมากในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมของธุรกิจของเรากับสิ่งรอบข้างที่มีผลต่อการทำธุรกิจของเรา โดยเป็นการวิเคราะห์ในเชิงบวกที่ไม่ใช่เพียงการเอาชัยเหนือคู่แข่งแต่ยังพูดถึงการร่วมมือกันเป็นพันธมิตร อย่างไรก็ตาม มักมีความเข้าใจกันว่า การวิเคราะห์ธุรกิจโดยนำหลัก Five Force มาใช้นั้นควรใช้สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการแข่งขันสูงส่วนธุรกิจขนาดเล็กนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำเป็นเรื่องเป็นราวขนาดนั้น หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็สามารถใช้ Model ธุรกิจแบบ Five Force มาใช้ได้เพื่อเสริมให้ธุรกิจของเรานั้นมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

 

 

Five Force:

1. Rivalry Among Current Competitors: การแข่งขันกันระหว่างคู่แข่งภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน

2. Bargaining Power of Suppliers: อำนาจต่อรองของ Supplier

3. Bargaining Power of Customers: อำนาจต่อรองของลูกค้า

4. Threat of Substitute Products or Services: ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

5. Threat of New Entrance: ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่

 

สิ่งที่ควรคำนึงถึง

  1. ทำยังไงให้ อำนาจต่อรองของ Supplier และของลูกค้า  ต่ำลง

-              อาจทำได้โดย ผู้ผลิต(หมายถึงเรา) อาจรวมกลุ่มกันขึ้นมาต่อรองราคากับ Supplier เช่น สมมติว่า ถ้าเราเป็นเจ้าของร้านคอมในพันทิพย์ เราอาจรวมตัวกัน 100 ร้าน สั่งคอมมาทีเดียว ให้ Supplier ลดราคาให้เป็นพิเศษ

-              สำหรับลูกค้า เราอาจรวมตัวกันทุกร้านขายราคาเดียวกันหมด ลูกค้าก็กดราคาเราไม่ได้

  1. ทำยังไงที่จะทำให้ภัยคุกคามไม่เกิด เช่น ตั้งชมรมผู้ขายคอม แล้วบอกเจ้าของตึกว่า ไม่ให้รับร้านค้าเพิ่มแล้ว

 

ตัวอย่างกรณีสมมติ-การวิเคราะห์ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามหลัก Five Force

****** ตัวอย่างนี้นำเสนอเพื่อวิเคราะห์ Model ทางการตลาดแบบ Five Force เท่านั้น มิได้อ้างอิงเหตุการณ์และสถานที่ที่มีอยู่จริงแต่อย่างใด*****

 

ธุรกิจ : ร้านขายของชำร่วยในสวนจตุจักร

 

ธุรกิจนี้เป็นการเปิดร้านขายของชำร่วยในตลาดนัดสวนจตุจักร  ซึ่งของชำร่วยที่ขายอาจเป็นได้ทั้งของขวัญ  ของที่ระลึก  หรือของสมนาคุณที่นิยมแจกตามงานต่างๆ  เช่น  เครื่องเคลือบเซรามิค  เครื่องปั้นดินเผา  ช้อนส้อม  พวงกุญแจ  ไฟฉายขนาดพกพา  เป็นต้น  โดยจะนำมาวิเคราะห์กลไกทางการตลาดด้วยหลัก Five Force Analysis ของ Michael Port ดังนี้

 

1.       Rivalry Among Current Competitors (การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม)

จากการสำรวจในตลาดนัดสวนจตุจักรพบว่าธุรกิจขายของชำร่วยมีผู้ประกอบการอยู่ประมาณ 15 รายโดยจำแนกเป็น 2 กลุ่ม  คือ  กลุ่มโซนขายของชำร่วย (10 ราย)  และกลุ่มที่กระจายอยู่ทั่วไป (5ราย)

ในกลุ่มโซนที่ขายของชำร่วยด้วยกันเองนั้นก็มิได้ตั้งอยู่ติดกัน  การแข่งขันแย่งชิงลูกค้าไม่เข้มข้นเท่ากับกรณีที่ร้านอยู่ติดกัน เช่น  ในย่านพาหุรัด  เป็นต้น  เนื่องจากไม่มีการเปรียบเทียบสินค้าให้เห็นได้ง่ายเพราะว่าร้านอยู่ห่างกันพอสมควร(ประมาณ 3-4 ห้อง)  และผู้ค้าเองก็สามารถที่จะนำเสนอสินค้าได้ง่ายขึ้น

ส่วนในกลุ่มที่อยู่กระจายอยู่ทั่วไปนั้นอาจเรียกได้ว่าไม่มีผลมากนักต่อการแข่งขัน  เนื่องจากสินค้าชนิดนี้เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม  และทางสวนจตุจักรเองก็จัดโซนให้ร้านค้าที่ขายของชำร่วยนี้อยู่เป็นกลุ่มเดียวกัน  ตามปกติแล้วลูกค้าที่ต้องการเข้ามาหาซื้อของมักจะตรงเข้าไปหาแหล่งอยู่แล้ว  ส่วนลูกค้าที่ใช้บริการร้านค้าในกลุ่มนี้มักจะเป็นพวกที่ได้รับคำแนะนำบอกต่อมาอีกที  ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเป็นคนละกลุ่มกัน

อย่างไรก็ตามก็มิควรตัดร้านค้าที่อยู่นอกกลุ่มออกจากคู่แข่งขัน  เพราะว่าร้านพวกนี้อาจจะคิดกลยุทธ์ใหม่ๆ  ในการขายสินค้าเพื่อแข่งขันกับกลุ่มที่อยู่รวมกัน  ดังนั้นผู้ค้าจึงควรพัฒนาสินค้าและบริการของร้านอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้ข้อได้เปรียบเรื่องฐานลูกค้านี้ถูกแย่งชิงไปโดยคู่แข่งขัน

 

2.       Bargaining Power of Suppliers (อำนาจการต่อรองของ Suppliers)

สินค้าของชำร่วยส่วนใหญ่จะมีแหล่งผลิตมาจากที่เดียวกัน  เช่น  เครื่องเซรามิคจะมีโรงงานผลิตโดยเฉพาะคือโรงงงานย่านดอนเมือง  หรือช้อนส้อมแสตนเลสก็จะมีโรงงานที่ผลิตจากแหล่งเดียวกัน(ย่านลาดกระบัง)  เป็นต้น  ดังนั้น Suppliers จะมีอำนาจต่อรองมากกว่าเพราะว่าแหล่งผลิตสินค้าประเภทนี้มีไม่มากนัก  แต่ก็ยังมีวิธีการที่สามารถนำมาใช้เพื่อลดอำนาจการต่อรองของ Suppliers ได้หลายวิธี

วิธีการที่จะลดอำนาจของ Suppliers วิธีหนึ่ง  ก็คือ  ผู้ค้าขายของชำร่วยจะต้องรวมกลุ่มกันไปต่อรองราคา  ในกรณีที่สวนจตุจักรนี้ผู้ค้าทั้ง 10 รายที่อยู่ในโซนเดียวกัน  ต้องรวมกลุ่มกันสั่งซื้อสินค้าคราวเดียวกันครั้งละมากๆ โดยเข้าไปต่อรองกับ Suppliers ว่าต้องการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากและให้ลดราคาขายส่งให้กับกลุ่มสวนจตุจักรนี้  จะทำให้ต้นทุนราคาของลดลง  ผู้ค้าก็สามารถทำกำไรได้มากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเพิ่มราคาสินค้าหรือหาโปรโมชั่นอื่นๆ มาเป็นจุดดึงดูดลูกค้า

ประโยชน์ที่จะได้อีกประการหนึ่งก็คือ  กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นอาจจะกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่  ลูกค้าชั้นดี  ของโรงงาน  อำนาจการต่อรองต่างๆ เช่น การขอลดราคา  การขอเครดิต  ก็ทำได้ง่ายขึ้น  หากรวมกลุ่มได้ใหญ่มากเท่าไรก็เป็นการลดอำนาจการต่อรองของ Suppliers ได้มากเท่านั้น  โอกาสที่จะทำกำไรจากการขายสินค้าโดยที่มิต้องไปเพิ่มโปรโมชั่นหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็เกิดขึ้นได้ง่าย

 

3.       Bargaining Power of Customer (อำนาจการต่อรองของลูกค้า)

การรวมกลุ่มกันของผู้ขายของชำร่วยไม่เพียงแต่จะได้ประโยชน์จากการซื้อสินค้าได้ถูก (ในกรณีข้อ 2) แล้ว  ยังทำให้อำนาจการต่อรองของลูกค้าลดลงอีกด้วย  วิธีนี้ใช้การกำหนดราคากลางของสินค้าขึ้นมาภายในกลุ่มเป็นราคาเหมือนกันหมด  ซึ่งสามารถทำได้ง่ายมากเนื่องจากว่าสินค้ามีแหล่งผลิตและต้นทุนเดียวกัน  ลูกค้าจะไม่สามารถต่อรองผู้ค้าได้เพราะราคาแต่ละร้านเท่ากันหมด  หากไม่พอใจในราคาสินค้าก็จำเป็นต้องซื้อเพราะว่าร้านอื่นก็ขายราคาเท่ากัน

ส่วนการทำกำไรด้านอื่นๆ นั้นเป็นเรื่องของเทคนิคแต่ละร้านว่าจะทำได้จากทางไหนบ้าง  โดยไม่กระทบต่อราคากลางที่ตกลงกันไว้  ตัวอย่างเช่น  ถ้วยเซรามิค  ซึ่งกำหนดราคากลางไว้ที่ 10 บาทต่อ 1 ถ้วย  ร้านหนึ่งอาจจะทำ Package ให้สวยโดยการนำไปห่อด้วยพลาสติกสีสวยสดใสแล้วพิมพ์รายละเอียดตามที่ลูกค้าต้องการลงไป  ซึ่งอาจเพิ่มราคาเป็น 12-15 บาทได้  แล้วแต่กรณี

 

4.       Threat of Substitute Products or Services (ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน)

สินค้าประเภทของชำร่วยนี้เป็นสินค้าที่มีจุดประสงค์เพื่อนำไปเป็นที่ระลึกในวาระต่างๆ เช่น  งานแต่งงาน  งานศพ  งานวันเกิด  งานเปิดตัวสินค้าหรือร้านค้า  เป็นต้น  โดยของที่ระลึกที่จะนำมาขายนี้จะต้องเป็นของที่ทำเองได้ยาก เพื่อเป็นการลดอำนาจจากสินค้าทดแทน  เพราะว่าหากลูกค้าสามารถทำเองได้แล้วก็คงไม่มาซื้อสินค้าจากร้านค้าไปใช้

สินค้าที่จะนำมาเป็นของชำร่วยนั้นมีหลายชนิดและความหมายกว้างมาก  อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งสามารถนำมาใช้เป็นของชำร่วยได้ทั้งนั้น  แต่ที่นิยมนำมาใช้กันมาก  เช่น  การ์ด  ช้อนส้อม  พวงกุญแจ  นั้นจะเห็นได้ว่าเป็นสินค้าที่ลูกค้าไม่สามารถผลิตได้เอง  จะต้องไปสั่งทำจากโรงงานซึ่งก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง  เพราะต้องสั่งทีละจำนวนมากๆ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับบุคคลทั่วไปก็ไม่เท่ากับความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานกับผู้ค้าโดยตรง  ดังนั้น  ลูกค้าจึงไม่ค่อยนิยมที่จะผลิตหรือไปซื้อเองตามแหล่งผลิต

ภัยที่เกิดจากสินค้าทดแทนไม่ค่อยเห็นเด่นชัดนักในเวลานี้  เพราะว่าคนทั่วไปก็ยังนิยมให้ของที่ระลึก  หรือให้ของชำร่วยกันในโอกาสต่างๆ  เพื่อเป็นการแสดงน้ำใจที่ดีต่อกัน  สิ่งที่ผู้ค้าควรกระทำก็คือพยายามหาสินค้าที่ใหม่ๆ ดูแล้วดี  เพื่อแสดงถึงเจตนาของผู้ให้ของที่ระลึกว่าให้เพื่อเป็นการตอบแทนกัน

 

5.       Threat of New Entrants (ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่)

ธุรกิจขายของชำร่วยเป็นธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ไม่ยากนัก  เนื่องจากว่าคนไทยนิยมให้ของที่ระลึกกันในงานเทศกาลหรือโอกาสต่างๆ  ดังนั้นธุรกิจนี้จึงมีความน่าสนใจในด้านการลงทุน  และอาจเป็นการยากที่จะกันผู้ค้ารายใหม่ที่เข้ามาลงทุน

วิธีการป้องกันภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่  สำหรับร้านขายของชำร่วยในสวนจตุจักรที่มีอยู่ประมาณ 10 ร้านนั้น (เฉพาะในแหล่งกลุ่มเดียวกัน) จะต้องรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อสร้าง Brand ขึ้นมา  ตัวอย่างเช่น  กลุ่มของชำร่วยจตุจักรซอย 19  หรือ  กลุ่มของชำร่วยจตุจักร  เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักและติดกับ Brand นั้น  อาจจะทำ Brochure แสดงสินค้าแจกตามหน้าตลาดหรือตามป้ายรถเมล์  เพื่อบอกให้รู้ว่าร้านขายของชำร่วยที่ตลาดนัดสวนจตุจักรนี้มีอยู่ที่เดียว  คือ ซอย 19  นอกเหนือจากนี้ก็เป็นร้านที่ไม่ใช่กลุ่ม  โดยปกติลูกค้าต้องการดูและเปรียบเทียบสินค้าที่มีจำนวนมาก  เพื่อเลือกสรรสิ่งที่ดีที่สุด  เมื่อรวมตัวกันได้แล้วก็จะทำให้ลูกค้าติด  และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป  ผู้ค้าหน้าใหม่ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจก็ต้องเข้ามาร่วมกลุ่มด้วย  หากว่าตั้งอยู่โดดเดี่ยวหรือไม่ใช่กลุ่มแล้ว  โอกาสที่จะขายสินค้าได้นั้นจะมีน้อยกว่า  เพราะว่า Brand ที่กลุ่มได้สร้างขึ้นมานั้นแข็งพอที่จะดึงลูกค้าให้เข้ามาอุดหนุนได้

อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การแตก Brand  คือการที่เจ้าของร้านต้องขยายร้านเอง  โดยการตั้งร้านใหม่ ชื่อใหม่  แต่เป็นเจ้าของเดิม  และจัดเป็นกลุ่มขึ้น  เพื่อเป็นการสกัดกั้นมิให้ผู้ค้ารายอื่นเข้ามาเปิดกิจการแข่ง  เพราะว่ามีร้านขายอยู่เยอะแล้ว  จะเป็นการแย่งลูกค้าและลดรายได้กันเอง

 




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ผู้นำในภาวะวิกฤต
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : wpteeetu พนักงานธกส. คลังสินค้าสนามบินสุวรรณภมูิ พนักงานนวด-สปา บัญชี ลาดพร้าว 101 เสริมสวย ชลบุรี ผู้จัดการฝ่ายบัญชี วิศวปิโตเคมี โรงงานในตำบลสวนส้มสมุทรสาคร ล่าม จีน บางนา บางพลี ห้าง ชลบุรี pattaya Secon bangkae QA TQM ต่างจังหวัด เทคโก้ โลตัส เซ็นทรัลเชียงใหม่ เปิดใหม่ คนขับรถหัวหิน เขตสัตหีบ รับสมัครงานต.บางน้ำจืด เสมียน ธุรการ งานแถวลาดพร้าว1 บุคคลบางนา งานช่างเสริมสวย วุฒิม.3 เซเว่น wuweowyw ฝ่ายบุคคลบงแค เกาะสมุยงานดับเบิ้ลยูโรงแรม pc,pg สมัครงาน จัดเลี้ยง ิbroker MK สุกี้เซ็นพรัทพระราม2 process เซ็นทารา ธุรการ ลาดพร้าว 49 เซรามิก เชียงใหม่ ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษ ght48 sympho room sho w กุ๊ก ผู้ช่วยกุ๊ก พัทยา ชลบุรี ปวช พระราม3 กราฟฟิค หาดใหญ่ บัญชี ,การเงิน วุฒิ ม.3จังหวัดนครปฐม clean room รับวุฒ ม.3 หางานวุฒิ ม3ร้านแว่นตา ผู้จัดการโรงงาน ชลบุรี ครูนครศรีธรรมราช