หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ประหยัดภาษีกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 49 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ประหยัดภาษีกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

       อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์

       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า RMF ได้รับการพูดถึงค่อนข้างมากว่า หากลงทุนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากกว่าการลงทุนในกองทุนรวมโดยทั่วไป สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า RMF เป็นการลงทุนในระยะยาว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมเงินสำหรับใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุเป็นหลัก นอกจากนี้การลงทุนใน RMF ยังมีความเสี่ยงมากกว่าการฝากเงิน ดังนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจสำหรับการลงทุนใน RMF ทางภาครัฐจึงพิจารณาให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมแก่นักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยมีรายละเอียดดังนี้

·        ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain)

·        ได้รับการลดหย่อนภาษีโดยไม่ต้องนำเงินลงทุนใน RMF ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในปีภาษีนั้น โดยเมื่อนำเงินลงทุนใน RMF นี้ไปนับรวมเข้ากับเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่นักลงทุนมีอยู่เดิม ต้องไม่เกิน 300,000 บาทในปีภาษีนั้น

·        สามารถลดหย่อนภาษีได้ถึง 600,000 บาทในแต่ละปีภาษี หากเลือกลงทุนทั้งใน RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF)

อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวข้างต้น นักลงทุนต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนของ RMF ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.     เงินลงทุนใน RMF ต้องมาจากการประกอบอาชีพ และเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร

2.     ต้องลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ หรือไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี แล้วแต่ว่าจำนวนเงินใดจะต่ำกว่า

3.     เงินลงทุนใน RMF ขั้นสูงสุดต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมเข้ากับเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ที่นักลงทุนมีอยู่เดิมต้องไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ทั้งนี้หากมีการลงทุนเกินกว่าที่กำหนดข้างต้น และมีการขายคืนหน่วยลงทุน นักลงทุนต้องนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่เกินกว่าที่กำหนด ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

4.     ห้ามนำหน่วยลงทุนของกองทุน RMF ไปจำหน่าย โอน จำนำ หรือใช้เป็นหลักประกันใดๆ

5.     ต้องลงทุนสะสมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยไม่มีการระงับการลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน ซึ่งหากมีความจำเป็นก็สามารถระงับการลงทุนได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปีติดต่อกัน ยกเว้นเสียแต่ว่านักลงทุนผู้นั้นไม่มีเงินได้จากการประกอบอาชีพแต่อย่างใด ก็สามารถว่างเว้นจากการลงทุนได้จนกว่านักลงทุนผู้นั้นจะมีเงินได้กลับมาลงทุนต่อไป ซึ่งในกรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขการลงทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ให้นับอายุการลงทุนแบบวันชนวันตั้งแต่วันแรกที่เริ่มลงทุน ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุนซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 สามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุนครบ 1 ปี ในวันที่ 31 ธันวาคมปีถัดไปนั่นเอง

6.     การขายคืนหน่วยลงทุนกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือหน่วยลงทุนมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และต้องถือหน่วยลงทุนนั้นไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเริ่มลงทุนตอนอายุ 51 ปีอย่างสะสม และต่อเนื่องในกองทุน RMF ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ไปในอนาคต จวบจนเมื่อนักลงทุนมีอายุครบ 56 ปี จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 นับเวลา 5 ปีพอดี

7.     หากขายคืนหน่วยลงทุนก่อนเงื่อนไขการลงทุนที่กำหนดไว้ข้างต้น นักลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไป อีกทั้งต้องคืนเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับในช่วง 5 ปีล่าสุดให้แก่กรมสรรพากร นอกจากนี้เงินที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนยังต้องนำไปคำนวณรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ในปีที่มีการขายคืนหน่วยลงทุนนั้นด้วย

8.     กรณีที่นักลงทุนขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนก่อนกำหนดในปีใดปีหนึ่ง และได้คืนเงินสิทธิประโยชน์ทางภาษีในช่วง 5 ปีย้อนหลังแล้ว (นักลงทุนยังคงถือครองหน่วยลงทุน RMF ในส่วนที่เหลืออยู่) หากนักลงทุนผู้นั้นประสงค์ที่จะลงทุนต่อก็สามารถลงทุนต่อเนื่องได้ทันที โดยสามารถนับระยะเวลาการถือครองหน่วยลงทุนใหม่ต่อเนื่องจากระยะเวลาการลงทุนเดิมได้

9.     เฉพาะกรณีที่นักลงทุนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพเท่านั้น จึงจะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักลงทุนต้องทำการศึกษาเงื่อนไขการลงทุนข้างต้น เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนการลงทุนใน RMF เสมอ โดยกองทุนรวมประเภทนี้ยังเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีอาชีพอิสระ หรือลูกจ้างที่ไม่มีระบบบำเหน็จบำนาญรองรับ หรือลูกจ้างที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญอยู่แล้ว แต่ต้องการที่จะลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มวงเงิน 300,000 บาทต่อปีด้วย

  



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ชนะใจเจ้านาย ได้ไม่ยาก
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ฟีัแลน nawa เลขานุการ กรุงเทพ งานสินสาคร ดาร บ.นานดี พาสทาม รัชดา MK สุกี้ สาขาเชียงใหม่ ohlsvccbzwapbub หะฟด รับวุฒิ ปวส 108 วาไรตี้ ติดรถ ฝ่ายผลิตเซรามิก นักดข่าว งานบริษัทแถวพระราม2 ยูซี เทรดดิ้ง ubuntu ธุรการ เขตลาดพร้าว ลาดพร้าว 98 วุฒิม6 วงเวียนใหญ่ ้สมุย ยู ช่างเทคนิค นิสสัน วุฒิม.6แถวบางนาและสมุทรปราการ จนท.ประสานงาน ปุ๋ยยารา โรงเรียนดาราจรัส น้ำใต้ดิน ภสัชกร แคราย ธุรการ/ชลบุรี หางานวุฒิม.6 บีทีซี พนักงานขับรถด้านบันเทิง วงจรปิ วุฒิ ม.6 ธนาคาร พนักงานร้านค้า พนักงานฝ่ายผลิตที่สมุทรปราการ exzon 150000 ทนสก ธุรกิจรามคำแหง ทันตกรม งานบัญชีแถวพระราม9 ่ภาษาญี่ปุ่น เเสดง งานธรการ ซิตี้โลน จังหวัดชลบุรีฃ