หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ตราสารอนุพันธ์ เครื่องมือทางการเงินที่ควรรู้จัก
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 112 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ตราสารอนุพันธ์ เครื่องมือทางการเงินที่ควรรู้จัก

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

       อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาตร์

       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

เมื่อพูดถึงคำว่า “อนุพันธ์” หลายๆ คนมักนึกถึง วิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ใช้สำหรับหาค่าความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรอีกตัวหนึ่ง บางคนคิดไกลไปถึงอนุพันธ์ซึ่งเป็นสารทางเคมีนั่นเลยทีเดียวก็มี อย่างไรก็ตาม หากเราลองพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 จะพบว่า อนุพันธ์ หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวเนื่อง โดยอาจไปเกี่ยวเนื่องกับตัวแปร หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ สำหรับ “ตราสารอนุพันธ์ (Derivative)” ที่จะกล่าวถึงในบทความตอนต่อไปนี้ ก็เช่นเดียวกัน คือ เป็นตราสารทางการเงินประเภทหนึ่งที่มีมูลค่าเกี่ยวเนื่องกับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขาย หรือที่เราเรียกกันว่า“สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)” นั่นเอง โดยมูลค่าของตราสารอนุพันธ์จะได้รับอิทธิพลโดยตรงจากมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ และอุปทานของสินค้าอ้างอิงในอนาคต มูลค่าของตราสารอนุพันธ์ก็จะปรับตัวตามทันที

ผมขอเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้น ก็เหมือนกับการที่เราไปจองซื้อรถยนต์ในงานมหกรรมรถยนต์ ซึ่งย่อมได้รับข้อเสนอในราคาพิเศษสุดๆ แต่เนื่องจากรถที่จองรุ่นนี้เป็นที่ต้องการของตลาดมากๆ จึงทำให้ขาดตลาดในขณะนั้น และยังไม่มีรถสำหรับส่งมอบภายในงานได้ทันที ดังนั้น เพื่อเป็นการประกันว่า หากจองซื้อรถภายในงาน ผู้จองจะได้รับการส่งมอบรถยนต์ในอนาคตอันใกล้ บริษัทรถยนต์ ก็จะทำการออกใบจองซึ่งระบุรายละเอียดทั้งรุ่นรถ จำนวนที่จองซื้อ ราคาที่จองซื้อ และระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับรถให้แก่เราเป็นการล่วงหน้า สำหรับเป็นหลักฐานว่า เมื่อมีรถยนต์รุ่นนี้วางจำหน่าย ทางบริษัทจะดำเนินการส่งมอบให้แก่เราผู้ถือใบจองก่อนตามรายละเอียดที่ได้ระบุไว้ข้างต้น ซึ่งใบจองที่บริษัทออกให้นี้เปรียบเสมือนกับตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่งนั่นเองครับ นอกจากนี้ ทางบริษัทก็จะขอเรียกเก็บเงินมัดจำจำนวนหนึ่งจากเราในฐานะผู้ซื้อเพื่อแลกกับใบจองนั้น เกิดเป็นข้อตกลง หรือภาระผูกพันซึ่งคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องปฎิบัติตามขึ้นในอนาคต โดยเมื่อมีรถ บริษัทก็ต้องดำเนินการส่งมอบรถยนต์ให้แก่เรา ในทางกลับกัน เมื่อได้รับรถ เราก็ต้องจ่ายเงินสำหรับชำระราคาค่ารถยนต์รุ่นที่เราได้จองซื้อไว้นั้น

            อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสินทรัพย์ทุกชนิดมีราคาผันผวนเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากสมมติว่า ภายหลังจากงานมหกรรมรถยนต์ ความต้องการรถยนต์รุ่นนี้ในตลาดยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาของรถรุ่นนี้ในตลาดสูงกว่าราคาจองซื้อในงาน ใบจองที่เราถือครองอยู่ก็ย่อมที่จะมีมูลค่าสูงขึ้นตามเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพราะ เราสามารถซื้อรถได้ในราคาพิเศษ (ตามที่ระบุไว้ในใบจอง) ถูกกว่าราคาตลาดนั่นเอง ในทางกลับกัน หากรถยนต์รุ่นนี้ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป และราคาในตลาดลดต่ำลงกว่าราคาที่จองซื้อในงาน ใบจองซึ่งเราถือครองอยู่นั้นก็จะมีมูลค่าลดลงตามไปด้วย

จากตัวอย่างข้างต้น จึงพอสรุปลักษณะที่สำคัญของตราสารอนุพันธ์ที่เราควรทราบได้ดังต่อไปนี้

1.        เป็นการตกลงทำธุรกรรมซื้อขายกันล่วงหน้าระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ซึ่งได้แก่ ผู้ซื้อล่วงหน้า และผู้ขายล่วงหน้า โดยมีการตกลงรายละเอียดกัน ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคากันจริงในอนาคต กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การซื้อขายยังไม่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน แต่จะไปเกิดขึ้นจริงในอนาคตแทนนั่นเอง

2.        มีค่าเกี่ยวเนื่อง หรือขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายนั้น ซึ่งอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนจับต้องได้ (Physical Asset) เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง หรืออาจเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน (Financial Asset) เช่น พันธบัตร หุ้นสามัญ ก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถมีค่าเกี่ยวเนื่องกับตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ใดๆ ที่ถูกกำหนดขึ้นมา เช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ และอัตราดอกเบี้ยได้เช่นเดียวกัน

3.        มีการกำหนดระยะเวลาในการปฎิบัติตามภาระผูกพัน หรือใช้สิทธิของคู่สัญญา กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ตราสารอนุพันธ์มีอายุจำกัดนั่นเอง

4.        มีการกำหนดพันธะผูกพัน (Obligation) หรือให้สิทธิ (Right) แก่คู่สัญญาในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต โดยมีการระบุทั้งคุณภาพ จำนวน ราคาซื้อขาย รวมถึงวิธีการส่งมอบไว้เป็นการล่วงหน้า      

            อย่างไรก็ตาม ลักษณะของตราสารอนุพันธ์ที่กล่าวถึงข้างต้น เป็นเพียงพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญเท่านั้น ตราสารอนุพันธ์ยังมีความสลับซับซ้อนไม่น้อยไปกว่าเครื่องมือทางการเงินประเภทอื่นๆ ดังนั้น เพื่อให้รู้จักกับตราสารอนุพันธ์มากยิ่งขึ้น เราลองมาทำความเข้าใจกับตราสารอนุพันธ์ประเภทต่างๆ กันบ้างดีกว่าครับ โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถแบ่งตราสารอนุพันธ์ออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้

1.        สัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงที่จัดทำขึ้น ณ เวลาปัจจุบันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่จะมีการส่งมอบ และชำระราคาจริงในอนาคต ทั้งนี้ เมื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญากันแล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีพันธะผูกพันต้องปฎิบัติตามข้อตกลงที่ได้กำหนดขึ้น ไม่สามารถบิดพริ้วได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระราคา หรือการส่งมอบสินทรัพย์ โดยผู้ซื้อต้องรับมอบสินทรัพย์ และชำระราคาเมื่อถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลง ในขณะที่ผู้ขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบ และรับชำระราคาสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ซึ่งเราสามารถแบ่งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออกได้อีกเป็น 2 ประเภท คือ

§        ฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงล่วงหน้าระหว่างผู้ซื้อ และ ผู้ขายเองเป็นการส่วนตัว หรืออาจดำเนินการผ่านสถาบันการเงินก็ได้ โดยผู้ซื้อตกลงที่จะซื้อสินทรัพย์อ้างอิงในราคาที่กำหนดขึ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต หรือที่เรียกกันว่า “Forward Price” ในขณะที่ผู้ขายตกลงที่จะขายสินทรัพย์ให้ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้กับผู้ซื้อ และมีการส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง ตลอดจนการชำระราคาให้แก่กันจริงตามที่ตกลงในสัญญานั้นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟอร์เวิร์ดเกิดขึ้นจากการทำสัญญาส่วนตัวระหว่างคู่สัญญากันเอง เปรียบเสมือนดั่งเป็นสัญญาลูกผู้ชาย (Gentleman Agreement) ระหว่างกัน จึงไม่จำเป็นต้องมีการวางเงินประกัน หรือนำสินทรัพย์ใดๆ มาใช้ในการค้ำประกันสัญญาที่ได้จัดทำขึ้น การที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะไม่ปฎิบัติตามสัญญาย่อมมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะในกรณีที่ราคาสินทรัพย์อ้างอิงมีความผันผวนอย่างมากภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว ดังนั้นก่อนที่จะตกลงทำสัญญาขึ้น ต้องพิจารณาถึงความสามารถ และความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาในการปฎิบัติตามสัญญาที่ได้ทำขึ้นนั้นด้วย นอกจากนี้ การที่รายละเอียดของสัญญามีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ วันครบกำหนดชำระราคา และกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆ ส่งผลให้การนำฟอร์เวิร์ดไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดเป็นไปได้ค่อนข้างยาก เรียกได้ว่า มีสภาพคล่องต่ำมาก หรือแทบไม่มีเลยก็ได้ ทั้งนี้ ฟอร์เวิร์ดมักถูกนิยมนำไปใช้กับการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ข้าวเจ้า ข้าวโพด ถั่ว ล่วงหน้า นอกจากนี้ ยังถูกสถาบันการเงินนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคตให้แก่ลูกค้าของตนด้วยครับ

§        ฟิวเจอร์ส (Futures Contract) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ล่วงหน้าที่มีลักษณะลม้ายคล้ายคลึงกับฟอร์เวิร์ด แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประการแรก ตัวสัญญาฟิวเจอร์สจะมีความเป็นมาตรฐาน โดยมีการกำหนดรายละเอียด และเงื่อนไขไว้อย่างแน่นอน ทั้งในด้านคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ขนาดของสัญญา สถานที่ส่งมอบ และวันครบกำหนดชำระราคา ประการที่สอง การซื้อขายฟิวเจอร์สจะทำในตลาดล่วงหน้า (Futures Market) ที่มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (Organized Exchange) เท่านั้น โดยต้องซื้อขายผ่านนายหน้า (Broker) ที่เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดล่วงหน้าแห่งนั้น และจากการที่เป็นสัญญามาตรฐาน และมีสถานที่ซื้อขายอย่างเป็นทางการนี้เอง จึงทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายสามารถนำฟิวเจอร์สไปซื้อขายแลกเปลี่ยนมือในท้องตลาดได้ง่าย ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่าฟอร์เวิร์ด ประการที่สาม ราคาที่ใช้สำหรับซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Futures Price” ประการที่สี่ มีการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน (Margin Account) ของทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย รวมถึงมีการปรับมูลค่าทุกสิ้นวันทำการ (Daily Settlement) ทำให้สามารถรับรู้กำไร หรือขาดทุนได้ตลอดเวลาจนกว่าจะถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อกตกลง ประการที่ห้า มีสำนักหักบัญชี (Clearing House) ดูแลในเรื่องการรับประกันการซื้อขายตามสัญญาที่ระบุไว้ โดยจะทำหน้าที่เป็นคู่สัญญาแทน (Central Counterparty)ให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายด้วยครับ ประการที่หก มีองค์กรกำกับดูแลควบคุมให้การซื้อขายเป็นไปอย่างเป็นธรรม และโปร่งใส ทั้งนี้ สังเกตได้ว่า จากการที่ฟิวเจอร์สมีทั้งการกำหนดบัญชีวงเงินประกัน และมีสำนักหักบัญชี ตลอดจนองค์กรกำกับดูแลนี้เอง ที่ส่งผลให้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำสัญญาฟิวเจอร์สมีน้อยกว่าฟอร์เวิร์ด และประการสุดท้าย การซื้อขายฟิวเจอร์สส่วนใหญ่จะไม่มีการส่งมอบสินทรัพย์จริงๆ เกิดขึ้นเหมือนกับกรณีของฟอร์เวิร์ด โดยคู่สัญญาสามารถล้าง หรือปิดฐานะ (Offset) ของตนเองลงได้ ไม่จำเป็นต้องมีพันธะผูกพันกันจนถึงวันครบกำหนดตามข้อตกลงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากมีการถือครองจนถึงวันที่ครบกำหนดตามข้อตกลง ก็อาจใช้วิธีส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง และชำระราคาจริง (Physical Delivery) หรือจะใช้วิธีหักล้างกันด้วยเงินสด (Cash Settlement) แทนก็ได้ครับ

2.        สัญญาสิทธิ หรือ ออปชัน (Option) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือครองในการซื้อ หรือขายสินทรัพย์อ้างอิงที่ได้กำหนดไว้ตามจำนวน ราคา และระยะเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า สัญญาประเภทนี้จะแตกต่างจากสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตรงที่ ประการแรก เป็นสัญญาที่ให้สิทธิที่แก่ผู้ซื้อ หรือผู้ถือครอง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น สิทธิในการซื้อสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกว่า “Call Option” และสิทธิในการขายสินทรัพย์อ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า “Put Option” ประการที่สอง เนื่องจากเป็นเพียงการได้รับสิทธิ ดังนั้น ผู้ถือครองอาจเลือกที่จะใช้ หรือไม่ใช้สิทธินั้นก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นภาระผูกพันที่ต้องซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงดังที่ระบุไว้ในข้อตกลงแต่อย่างใด ประการที่สาม เฉพาะในกรณีที่ผู้ถือครองเลือกใช้สิทธิตามสัญญาเท่านั้นที่ผู้ขายสัญญาจะมีภาระผูกพันต้องปฎิบัติตามสัญญาที่ตนเองเป็นผู้ออก ประการที่สี่ ราคาที่ใช้สำหรับซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามสิทธิที่กำหนดไว้ในสัญญา มีชื่อเรียกว่า “Exercise Price หรือ Strike Price” และประการสุดท้าย นอกเหนือจากราคาที่กำหนดให้ใช้สิทธิข้างต้น ผู้ถือครองยังต้องจ่ายค่าธรรมเนียม (Premium) ให้แก่ผู้ขายสัญญา เพื่อให้ได้สิทธิในการซื้อ หรือ ขายสินทรัพย์อ้างอิงตามที่สัญญานั้นได้กำหนดไว้

3.        สัญญาสวอป (Swap) หมายถึง ข้อตกลง หรือสัญญาที่จัดทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย ที่มีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนสินทรัพย์อ้างอิง หรือตัวแปรอ้างอิงระหว่างกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในอนาคต เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะของการดำเนินธุรกิจของตน โดยอาจมีสถาบันการเงินทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หรือเป็นคู่สัญญาอีกด้านหนึ่งให้แทนก็ได้

            นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ในแต่ละประเภทหลักที่กล่าวถึงข้างต้น ยังสามารถแบ่งย่อยออกตามประเภทของสินทรัพย์ หรือตัวแปรที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการซื้อขายได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Agricultural Futures) สัญญาซื้อขายดัชนี SET50 ล่วงหน้า (SET50 Index Futures) เป็นต้น ถึงตอนนี้คิดว่าหลายๆ คนคงจะเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า “ตราสารอนุพันธ์” กันบ้างแล้วนะครับ สำหรับในตอนต่อไป ผมจะอธิบายให้เห็นถึงโครงสร้างของตลาดอนุพันธ์กันครับ

 




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

3 คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : สินธุ bell boy hotel ชลบุรีมีที่พักให้ ควบคุณภาพโรงงาน ศรีสะเกษ บัญชี นักศึกษาจบใหม่ กทม. ธนาคารแห่งโตเกียว ขาย ปวส ซินเจนทา งานโรงงานที่พัทยา 3D MAX ภูเก็ต งานในเขตสายไหม ผู้ช่่วยเภสัช บางพลัด บัญชี ลาดพร้าว 71 งานธุรการสุขุมวิท ภาษาญี่ปุ่น บางนา สุขุมวิท 71 ฉัตรตราวุฒิ พนง.ขายกาแฟสด บุคคลโรงแรม เวสติน วุฒิ ม.6ในภูเก็ต ผู้ช่วยเซพ สมัครงานแถวรามคำแหง Pc หาดใหญ่ โนโวเทล สุวรรณภูมิ ตัเสียง Mc petty บำรุงรักษา บิ๊กซีสุพรรณบุรี งานสปาในต่างประเทศ ภาษาจีน โคราช ธุรการศรีราชา ชลบุรี บริษัท สยาม เค็นเซทสุ วุฒิปสว. วุฒิม6 กรุงเทพมหานครแถวมีนบุรี ธนาคาร สาขาแม่ริม หางาน ม.6 ลาดพร้าว งานชราง นักแสดงโฆษณา นำจิ้มสเต็ก มูลนิธิคริสเตียน หัวหน้าการผลิต Tokyo MBK ภาษาญี่ปุ่น ครู สมัครงาน แถวบางครุ แม่บ้าบสำนักงาน yopttrrw เสมียน เวลโก สถาบันการเงินชั้นนำ