หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง โครงสร้างของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 10 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




โครงสร้างของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

       อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาตร์

       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

     หากย้อนเวลากลับไปในอดีตเพื่อดูพัฒนาการของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทย จะพบว่า ในยุคแรกๆ นั้น ไม่ค่อยราบเรียบสวยหรูซะเท่าไหร่นัก เริ่มต้นในช่วงปีพ.ศ.2521 จากธุรกิจการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือที่เรียกกันว่า “คอมมอดิตี้ส (Commodities)” ซึ่งเน้นการลงทุนผ่านบริษัทคอมมอดิตี้สเพื่อเก็งกำไรเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเมื่อธุรกิจประเภทนี้เป็นที่นิยมมากขึ้น ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นธุรกิจนายหน้า (Broker) ที่ไม่เพียงแต่เน้นการเก็งกำไรจากการซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรเท่านั้น หากแต่ยังขยายขอบเขตไปถึงโลหะ และเงินตราต่างประเทศอีกด้วย โดยมีลักษณะเป็นการส่งคำสั่งซื้อขายต่อไปยังประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น และสิงค์โปร์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในยุคนั้นยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนกฎหมายควบคุมธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าโดยตรง ทำให้เกิดปัญหาการไม่ปฏิบัติตามสัญญาขึ้นมากมาย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจนายหน้าที่เข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดรัฐบาลจึงได้เข้ามาควบคุม และประกาศห้ามดำเนินงานธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้าทั้งหมด ถือเป็นการปิดฉากในยุคแรกของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยครับ หลังจากนั้น ก็ใช้เวลาในการพัฒนาอีกค่อนข้างนานพอสมควรในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดขึ้นเป็น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (The Agricultural Futures Exchange of Thailand หรือเรียกย่อๆ ว่า “AFET”) และบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (Thailand Futures Exchange Public Company Limited หรือเรียกย่อๆ ว่า “TFEX”) ซึ่งถือว่าเป็นตลาดการซื้อขายอนุพันธ์ที่เป็นทางการ (Organized Exchange) ของประเทศไทยในที่สุด

 

     สำหรับ AFET นั้น มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 ถือว่าเป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่เป็นทางการเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย ทั้งนี้โครงสร้างของ AFET จะประกอบด้วยบุคคล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนดังต่อไปนี้ครับ

·        คณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (The Board of Directors of the Agricultural Futures Exchange ) หรือคณะกรรมการ ต.ส.ล. ทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ AFET ให้เป็นไปอย่างถูกต้องชัดเจน ตลอดจนสร้างความเป็นธรรมให้แก่ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการคัดเลือกสินค้าเกษตรที่จะนำเข้ามาซื้อขายล่วงหน้าใน AFET อีกด้วย

·        สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Agricultural Futures Trading Commission: AFTC) หรือสำนักงาน ก.ส.ล. เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าทั้งหมด ตลอดจนวางนโยบายส่งเสริม และพัฒนาAFET ให้มีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

·        สมาชิกของตลาด AFET เป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าจากสำนักงาน ก.ส.ล. และมีสิทธิในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้โดยตรงใน AFET โดยสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

o       นายหน้า (Broker) หมายถึง บริษัทสมาชิกที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปยัง AFET ได้ด้วยตัวเอง และยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับคำสั่งซื้อขายให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย แต่จะได้รับสิทธิในการชำระราคาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าได้สมัครเป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้ว นายหน้าส่วนใหญ่มักจะทำหน้าที่ส่งคำสั่งซื้อขายแทนลูกค้าของบริษัทตน จึงไม่ค่อยมีการซื้อขายเพื่อตัวเองเท่าไรนัก

o       ผู้ค้าล่วงหน้า (Trader) หมายถึง บริษัทสมาชิกที่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปยัง AFET ได้ในกรณีที่มีความต้องการที่จะซื้อขายเพื่อตัวเองเท่านั้น

·        สำนักหักบัญชี (Clearing House) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับสายงานกำกับตลาดของ AFET จะทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการรับประกันการส่งมอบ และชำระราคาของสัญญาสินค้าเกษตรล่วงหน้าทุกรายการที่เกิดขึ้นใน AFET โดยหลังจากที่ได้มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายแล้ว สำนักหักบัญชีจะเข้าแทนที่เป็นคู่สัญญาให้กับทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายในทุกรายการ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ สำนักหักบัญชีจะเป็นผู้ซื้อให้กับผู้ขายทุกราย และเป็นผู้ขายให้กับผู้ซื้อทุกรายนั่นเอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการปรับสถานะทางบัญชีระหว่างวันของผู้ซื้อ และผู้ขายอีกด้วย

·        สมาชิกของสำนักหักบัญชี เป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิในการชำระราคากับสำนักหักบัญชี แต่จะไม่มีสิทธิในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้โดยตรงเหมือนอย่างกับสมาชิกของตลาด โดยปกติแล้ว สมาชิกของตลาดมักจะเป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชีด้วยเสมอ

·        ผู้ที่สนใจเข้ามาซื้อขายในตลาด AFET สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

o       Hedger เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อขาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความเสี่ยงของตนเอง

o       Speculator เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อขาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้าเกษตร

o       Arbitrager เป็นผู้ที่เข้ามาซื้อขาย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำกำไรจากความแตกต่างของราคาสินค้าเกษตรในแต่ละตลาด

     สำหรับ TFEX นั้น แม้ว่าจะไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระเหมือนเช่นกับ AFET แต่ก็เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และถือว่าเป็นตลาดซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงินที่เป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย โดยสินทรัพย์อ้างอิงนั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือแม้แต่ตัวแปรอ้างอิง อย่างเช่น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ สำหรับโครงสร้างของ TFEX จะประกอบด้วยบุคคล และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนดังต่อไปนี้ครับ

·        คณะกรรมการ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ จะทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ TFEX ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส และยุติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ทางการเงินที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ

·        สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (The Securities and Exchange Commission: SEC) หรือสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่พัฒนา และกำกับดูแลให้การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุน จึงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. ด้วยนั่นเอง

·        สมาชิกของตลาด TFEX อาจเป็นบุคคล หรือบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าก็ได้ โดยสามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

o        นายหน้า ซึ่งเป็นบริษัทที่สามารถทำการส่งคำสั่งซื้อขายไปยัง TFEX ได้ด้วยตัวเอง อีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับคำสั่งซื้อขายให้กับผู้อื่นซึ่งเป็นลูกค้าของตนเองได้ แต่จะได้รับสิทธิในการชำระราคาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าได้สมัครเป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชีหรือไม่

o       ผู้ค้า ซึ่งเป็นบริษัทที่สามารถซื้อขายสัญญาล่วงหน้าได้โดยตรง แต่เพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น

o       สมาชิกประเภทบุคคลธรรมดา (Individual Member) สามารถส่งคำสั่งซื้อขายไปยัง TFEX ได้โดยตรง แต่ต้องเป็นการซื้อขายเพื่อตนเองเท่านั้น นอกจากนี้ ยังไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสำนักหักบัญชีได้

·        บริษัท สำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด (Thailand Clearing House Company Limited: TCH) เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากตลาด TFEX จะทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการรับประกันการส่งมอบ และชำระราคาของสัญญาล่วงหน้าทุกรายการที่เกิดขึ้น รวมถึงการปรับสถานะทางบัญชีระหว่างวันของผู้ซื้อ และผู้ขาย โดยการดำเนินงานของบริษัท สำนักหักบัญชีนี้จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.

·        สมาชิกของสำนักหักบัญชี เป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิในการชำระราคา แต่จะไม่มีสิทธิในการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ได้โดยตรงเหมือนอย่างกับสมาชิกของตลาด

·        ผู้ที่สนใจเข้ามาซื้อขายในตลาด TFEX จะประกอบด้วย Hedger, Speculator และ Arbitrager เช่นเดียวกัน

            สังเกตได้ว่า ทั้งตลาด AFET และ TFEX จะมีลักษณะหลายๆ ประการที่คล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันก็เพียงแต่สินทรัพย์ที่นำมาใช้อ้างอิงซื้อขายกันเท่านั้น โดยตลาด AFET จะเน้นไปที่สินค้าเกษตร ในขณะที่ตลาด TFEX จะเน้นสินทรัพย์ทางการเงิน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจาก การพัฒนาตลาดอนุพันธ์ที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีการพัฒนาตราสารอนุพันธ์อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปในตลาดที่ไม่เป็นทางการ หรือที่เราเรียกกันว่า “ตลาด Over the Counter (OTC)” ด้วย โดยสัญญาส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ ฟอร์เวิร์ด (Forward Contract) และสัญญาสวอป (Swap) ที่อ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีผู้เล่นหลัก คือ สถาบันการเงิน และบริษัทเอกชนต่างๆ นั่นเอง

            ถึงตรงนี้เราคงพอเข้าใจถึงโครงสร้างของตลาดอนุพันธ์ทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ  ตลอดจนพัฒนาการของตลาดอนุพันธ์ในประเทศไทยกันแล้ว สำหรับในตอนต่อไป ผมจะอธิบายให้เห็นถึงประโยชน์ของการนำตราสารอนุพันธ์มาใช้กันครับ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม: เวปไซด์ของตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย http://www.afet.or.th/

                     เวปไซด์ของสำนักงาน ก.ส.ล. http://www.aftc.or.th/

                     เวปไซด์ของบริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) http://www.tfex.co.th/

                     เวปไซด์ของสำนักงานหักบัญชี TCH http://www.thaiclearing.com/

                     เวปไซด์ของสำนักงาน ก.ล.ต. http://www.sec.or.th/

 

 

 



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การปฏิบัติตัว เมื่อเป็นโรคริดสีดวงทวารหนัก
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : พน้กงานขาย บัญชีเจ้าหนี้+วุฒ ปวส. บุคคล สวัสดิการ ขับรถ fedex ประสานงาน วุฒิปวช. NA PCไวไว งานF&B นักศึกษา ศรีราชา โพธารา solo บัญฃี ที่ทำงาน เขตประเวศ uuewttrt นครศรีธรรมราช บัญชี coyoty งานขับรถเล็ก ประจำสาขา ติ่น ไท ฟง กายดิ่ง โรงพยาบาลพญาไท2 บุคคล ลาดพร้าว ผู้หญิงขับรถ lathe mono ธุรการบางแก้ว เจ้าหน้าที่ประจำฟิตเนส กฎหมาย พระราม 2 ซังกิว ผู้ช่วยผู้จัดการสงขลา เจริญนคร ลาดหญ้า netbay รพ.กรุงเทพ-พัทยา ground staff การบิน งานพ่นสี MESSENGER ม.6+นวนคร พนักงานขับรถโคราช งานด้านธุรการ ชลบุรี งานแถวกรุงเทพ วุฒิ3 กรุงเทพ รัก ลูก บุลคคลธุรการ พนักงานบัญชี พุทธมลฑล สาย5 งานโรงพยาบาลวุฒิ ม.6 สยามโปรตีน วิศวกรไฟฟ้า โรจนะ หนัง ลิลลี่ โทเบก้า ประสานงานลาดพร้าว122 029192081