หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง กลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่ 2)
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 29 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




กลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์ (ตอนที่ 2)

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครนทรวิโรฒ ประสานมิตร

หลังจากที่ได้รู้จักกับข้อกำหนดการซื้อขายล่วงหน้า ตลอดจนกลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์อย่างคร่าวๆ กันบ้างแล้ว สำหรับในบทความตอนนี้ผมจะอธิบายเพิ่มเติมถึง วิธีการส่งคำสั่งซื้อขาย ตลอดจนขั้นตอนการวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน และการปิดสถานะของคู่สัญญาครับ

เป็นที่ทราบกันดีว่า หากต้องการซื้อขายในตลาดล่วงหน้า ก็ต้องไปเปิดบัญชีซื้อขายกับบริษัทนายหน้าที่เป็นสมาชิกของตลาดนั้นเสียก่อน แล้วจึงทำการส่งคำสั่งซื้อขายที่ต้องการผ่านบริษัทนายหน้านั้นไปยังระบบคอมพิวเตอร์จับคู่คำสั่งซื้อขายของตลาด โดยวิธีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านบริษัทนายหน้าข้างต้น สามารถกระทำได้ดังนี้

1.        ส่งคำสั่งซื้อขายด้วยตนเอง ณ ห้องค้าของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้

2.        ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางโทรศัพท์ที่มีระบบบันทึกเสียง โดยเป็นการติดต่อกับเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้

3.        ส่งคำสั่งซื้อขายผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตของบริษัทนายหน้าที่ได้เปิดบัญชีไว้ โดยต้องได้รับรหัสส่วนตัว (Password) สำหรับใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายนั้นจากบริษัทนายหน้าก่อน

ทีนี้ลองมาดูประเภทของคำสั่งซื้อขายกันบ้างครับ สำหรับประเภทแรก เป็นคำสั่งซื้อขายที่ระบุราคา และจำนวนหน่วยที่ต้องการซื้อขายอย่างเจาะจงชัดเจน หรือที่เรียกกันว่า “Limit Order” โดยผมขอยกตัวอย่างจากกรณีฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ซึ่งซื้อขายกันในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือตลาด AFET ที่มีการส่งคำสั่งซื้อขายเข้ามาดังต่อไปนี้ครับ

 

ตารางแสดงราคาเสนอซื้อ และเสนอขายฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกัน

ราคาเสนอซื้อ (บาท/ กก.)

ราคาเสนอขาย (บาท/ กก.)

ราคาตกลงซื้อขาย (บาท/ กก.)

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

ราคา

จำนวนหน่วยการซื้อขาย

93.50

1

93.60

2

-

-

93.40

2

93.70

1

-

-

 

ทั้งนี้ ราคาซื้อขายของสินทรัพย์อ้างอิงชนิดเดียวกัน ที่มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกันจะถูกระบบทำการจัดเรียงคิวไว้ โดยหากเป็นคำสั่งซื้อก็จะเรียงราคาเริ่มต้นจากราคาเสนอซื้อซึ่งสูงที่สุดก่อน ในขณะเดียวกันหากเป็นคำสั่งขายก็จะเรียงราคาเริ่มจากราคาเสนอขายซึ่งต่ำที่สุดแทน ทั้งนี้ เมื่อมีการจับคู่ราคาซื้อ และราคาขายที่เป็นราคาเดียวกันได้แล้ว ระบบก็จะดำเนินการจับคู่ตามจำนวนหน่วยการซื้อขายที่สามารถจับคู่ได้ต่อไป ทีนี้ขอสมมติว่า นายเก็บออม ส่งคำสั่งซื้อแบบ Limit Order เฉพาะเจาะจงที่ราคา 93.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 1 สัญญาเข้ามาในระบบ สังเกตได้ว่า จากตารางข้างต้นไม่มีราคาเสนอขายที่เป็นราคาเดียวกันกับที่นายเก็บออมเสนอซื้อเข้ามา ดังนั้น จึงยังไม่มีการจับคู่คำสั่งซื้อขายเกิดขึ้นแต่อย่างใด โดยระบบจะทำการตั้งราคานี้ค้างไว้ในคิวจนกว่าจะจับคู่ได้ทั้งราคา และจำนวนสัญญาที่นายเก็บออมต้องการ

สำหรับคำสั่งซื้อขายประเภทที่สอง มีชื่อเรียกว่า “Market Order” เป็นคำสั่งที่เสนอราคาซื้อขาย ณ ราคาตลาด (Market Price) ที่ดีที่สุดในขณะนั้นทันที โดยจะทำการเสนอซื้อ ณ ราคาเสนอขายต่ำสุด หรือเสนอขาย ณ ราคาเสนอซื้อสูงสุด ยกตัวอย่างเช่น จากตารางข้างต้น หากนายเก็บออม ส่งคำสั่งซื้อแบบ Market Order เข้ามาจำนวน 2 สัญญา ก็จะซื้อได้ที่ 93.60 บาทต่อกิโลกรัม ในทางกลับกัน หากนายเก็บออม ส่งคำสั่งขายแบบ Market Order เข้ามาจำนวน 1 สัญญา ก็จะขายได้ที่ 93.50 บาทต่อกิโลกรัมนั่นเอง นอกเหนือจากคำสั่งซื้อขายสองประเภทข้างต้น ยังสามารถใส่เงื่อนไขลงไปบนคำสั่งซื้อขายเพิ่มเติมได้อีกด้วย โดยหากใส่เงื่อนไขที่เรียกว่า “Fill and Kill (FAK)” หมายถึง การส่งคำสั่งซื้อขายตามราคาที่ระบุ แต่หากสามารถซื้อ หรือขายสัญญาได้เพียงบางส่วน ก็จะยกเลิกส่วนที่เหลือทันที นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขที่เรียกว่า “Fill or Kill (FOK)” ซึ่งหมายถึง การส่งคำสั่งซื้อขายตามราคาที่ระบุ แต่หากไม่สามารถซื้อ หรือขายสัญญาได้ครบถ้วนตามจำนวนที่ต้องการ ก็จะยกเลิกคำสั่งทันที

หลังจากที่การจับคู่คำสั่งซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างต้องทำการส่งมอบเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin) ให้แก่บริษัทนายหน้าที่ตนได้เปิดบัญชีไว้ โดยจะมีการปรับมูลค่าวงเงินประกันตามราคาตลาดของสัญญาทุกสิ้นวันทำการ และหากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลงต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำ (Maintenance Margin) ที่กำหนดขึ้นเพื่อรักษาสภาพไว้ บริษัทนายหน้าก็จะทำการเรียกเก็บเงินเพิ่มในบัญชีวงเงินประกัน (Margin Call) เพื่อให้คุ้มกับมูลค่าที่ลดหายไปนั้น ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างกรณีของนายเก็บออมซึ่งได้ส่งคำสั่งเสนอซื้อฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่มีกำหนดส่งมอบในเดือนมีนาคม ณ ราคา 93.50 บาทต่อกิโลกรัม จำนวนทั้งสิ้น 1 สัญญา (1 สัญญาเท่ากับ 5,000 กิโลกรัม)  คิดเป็นมูลค่า 467,500 บาท หากมีการจับคู่คำสั่งซื้อขายเกิดขึ้นในระหว่างวัน (สมมติว่าเป็นวันที่ 1 กุมภาพันธ์) นายเก็บออมไม่จำเป็นต้องชำระเงินเต็มจำนวน แต่ต้องวางเงินประกันขั้นต้นจำนวนหนึ่งซึ่งเท่ากับ 21,600 บาทต่อสัญญา หรือ 4.32 บาทต่อกิโลกรัมในบัญชีวงเงินประกันของตนที่เปิดไว้กับบริษัทนายหน้า โดยจะได้รับแจ้งถึงระดับวงเงินประกันขั้นต่ำสำหรับรักษาสภาพ ซึ่งทางตลาด AFET ได้กำหนดไว้ที่ 16,200 บาทต่อสัญญา หรือ 3.24 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้หากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลงต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น นายเก็บออมก็จะถูกเรียกเก็บเงินเพิ่ม ในทางกลับกัน หากมูลค่าของสัญญาตามราคาตลาดลดลง แต่ยังมีมูลค่าสูงกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำ นายเก็บออมก็ไม่จำเป็นต้องทำการใดๆ

 

ตาราง แสดงขั้นตอนในการวางเงินประกันของฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3

วันที่

ราคาซื้อขาย

(บาทต่อกิโลกรัม)

การเปลี่ยนแปลงของราคา (+/ -)

เงินประกันเพิ่มขึ้น หรือลดลง (+/ -)

การเรียกเงินประกันเพิ่ม

บัญชีวงเงินประกัน

(บาทต่อกิโลกรัม)

ส่งคำสั่งซื้อ

93.50

0

0

0

4.32

1 กุมภาพันธ์

93.80

+ 0.30

+ 0.30

0

4.62

2 กุมภาพันธ์

92.50

- 1.30

- 1.30

0

3.32

3 กุมภาพันธ์

92.00

- 0.50

- 0.50

1.50

4.32

 

จากตารางข้างต้น หากราคาที่ซื้อขาย (Settlement Price) ฟิวเจอร์สยางแผ่นรมควันชั้น 3 เมื่อสิ้นสุดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ เท่ากับ 93.80 บาทต่อกิโลกรัม นายเก็บออมจะมีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 0.30 บาทต่อกิโลกรัม โดยกำไรส่วนเพิ่มนี้จะถูกนำไปบวกเข้าในบัญชีวงเงินประกันของนายเก็บออม ทำให้ยอดเงินประกันเพิ่มขึ้นเป็น 4.62 บาทต่อกิโลกรัม และเนื่องจากบัญชีวงเงินประกันมียอดสูงกว่าวงเงินประกันขั้นต้นที่กำหนดไว้ ดังนั้นนายเก็บออม จึงสามารถที่จะถอนเงินส่วนที่เกินจำนวน 0.30 บาทต่อกิโลกรัมนี้ออกไปใช้ได้

ขอสมมติต่อไปว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ราคาที่ตกลงซื้อขายเมื่อสิ้นวันทำการลดลงเหลือ 92.50 บาทต่อกิโลกรัม เกิดการขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 1.30 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งยอดขาดทุนนี้จะต้องนำไปหักออกจากบัญชีวงเงินประกัน ทำให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับ 3.32 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต้น แต่ก็ยังสูงกว่าระดับวงเงินประกันขั้นต่ำสำหรับรักษาสภาพตามที่กำหนดไว้ (3.24 บาทต่อกิโลกรัม) เมื่อเป็นดังนี้นายเก็บออมจึงไม่จำเป็นต้องนำเงินไปฝากเพิ่มแต่อย่างใด แต่หากวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ราคาซื้อขายเมื่อสิ้นวันทำการลดลงเป็น 92.00 บาทต่อกิโลกรัม นายเก็บออมจะขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดเท่ากับ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยยอดขาดทุนนี้จะถูกนำไปหักออกจากบัญชีวงเงินประกัน ส่งผลให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับ 2.82 บาทต่อกิโลกรัม ต่ำกว่าทั้งระดับวงเงินประกันขั้นต้น และขั้นต่ำที่ต้องรักษาสภาพไว้ เมื่อเป็นดังนี้ นายเก็บออมจึงจำเป็นต้องนำเงินฝากเพิ่มเข้าไปในบัญชีวงเงินประจำเพื่อให้มียอดเงินในบัญชีกลับมาเท่ากับเงินประกันขั้นต้น (4.32 บาทต่อกิโลกรัม) ดังนั้น ในกรณีนี้นายเก็บออม จึงต้องฝากเงินเพิ่มอีกจำนวน 1.50 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ หากนายเก็บออมถือครองสัญญาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ก็ต้องทำการปรับมูลค่ายอดเงินในบัญชีของตนเสมือนกับตัวอย่างข้างต้นทุกๆ วันทำการเช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากมีการถือครองจนถึงเดือนที่ครบกำหนดส่งมอบ ตลาด AFET ยังได้มีการกำหนดให้เปลี่ยนแปลงระดับของเงินประกันขั้นต้น และเงินประกันขั้นต่ำให้สูงขึ้นเป็น 141,400 บาท และ 106,300 บาทตามลำดับ

ถึงตรงนี้คงจะเห็นแล้วว่าคู่สัญญาของฟิวเจอร์สไม่เพียงแต่ได้รับการคุ้มครองจากสำนักหักบัญชีในการรับประกันการซื้อขาย แต่ยังสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการไม่ปฎิบัติตามสัญญาของคู่สัญญานั้นย่อมที่จะลดลง เพราะว่ามีการกำหนดบัญชีวงเงินประกันสำหรับคู่สัญญาไว้ด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ การกำหนดบัญชีวงเงินประกันดังกล่าวข้างต้นไม่เพียงแต่ผู้ซื้อเท่านั้นที่ต้องทำการปรับมูลค่าวงเงินประกันตามราคาตลาดของสัญญาทุกสิ้นวันทำการ ผู้ขายเองก็ต้องทำการปรับมูลค่าวงเงินประกันของตนด้วย โดยการปรับมูลค่าวงเงินประกันของผู้ขายจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการปรับมูลค่าวงเงินประกันของผู้ซื้อ

เมื่อเสร็จสิ้นจากกระบวนการส่งคำสั่งซื้อ หรือขายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีนี้ก็มาถึงกรณีที่คู่สัญญาถือครองฟิวเจอร์ส จนครบกำหนดอายุ จะสามารถดำเนินการได้โดยใช้วิธีการหักล้างราคาซื้อ และขายระหว่างกัน แล้วชำระเฉพาะกำไร หรือขาดทุนซึ่งเป็นส่วนต่างที่เกิดขึ้นด้วยเงินสดแทน หรือที่เรียกกันว่า “Cash Settlement” โดยสามารถแสดงเป็นสมการสำหรับคำนวณหากำไร หรือขาดทุนได้ดังนี้

กรณีซื้อสัญญาฟิวเจอร์ส:

กำไร/ ขาดทุน = (ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเมื่อครบกำหนดอายุ – ราคาซื้อที่ระบุไว้ในสัญญา) * จำนวนหน่วยการซื้อขาย

กรณีขายสัญญาฟิวเจอร์ส:

กำไร/ ขาดทุน = (ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเมื่อครบกำหนดอายุ – ราคาขายที่ระบุไว้ในสัญญา) * จำนวนหน่วยการซื้อขาย

อย่างไรก็ตามการส่งมอบด้วยส่วนต่างเงินสดข้างต้น คู่สัญญาต้องขออนุมัติจากทางตลาด AFET ก่อน นอกจากนี้คู่สัญญาอาจจะใช้วิธีรับชำระราคา และส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันจริงๆ ไปให้แก่ผู้ซื้อ หรือรับมอบสินทรัพย์อ้างอิง พร้อมทั้งชำระราคาให้แก่ผู้ขายตามที่ได้ระบุไว้ในสัญญานั้น หรือที่เรียกกันว่า “Physical Delivery” โดยที่วิธีนี้คู่สัญญาไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากทางตลาด หากแต่ทุกครั้งที่มีการส่งมอบรับมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันนั้น ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของสินทรัพย์อ้างอิง ตลอดจนปริมาณที่ส่งมอบรับมอบก่อนเสมอ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าผู้ที่เข้ามาซื้อขายในตลาด AFET ไม่ได้มีแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์อ้างอิงเท่านั้น หากยังมีนักลงทุนที่สนใจต้องการเข้ามาลงทุนด้วย สำหรับกรณีหลังนี้ นักลงทุนอาจไม่ต้องการที่จะรอเพื่อส่งมอบรับมอบสินทรัพย์อ้างอิงกันจริงๆ ก็ได้ ตลาดจึงมีกลไกที่สามารถให้นักลงทุนทำการปิดฐานะของตน (Offset Position) ลงก่อนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีพันธะผูกพันจนถึงวันครบกำหนดอายุตามสัญญาแต่อย่างใด ทั้งนี้ การปิดฐานะลง ก็คือ การทำสัญญาในทิศทางตรงกันข้ามกับสัญญาเดิมที่ตนได้ถือครองอยู่ของสินทรัพย์อ้างอิงชนิดเดียวกัน มีระยะเวลาส่งมอบเดียวกัน และในปริมาณที่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นายเก็บออมต้องการหักล้างสัญญาซื้อ (Offset Long Position) ที่ตนถือครองอยู่ ก็สามารถทำได้โดยขายคืนสัญญานั้นในตลาด ในทางกลับกัน หากมีนักลงทุนซึ่งถือครองสัญญาขายไว้อยู่ และต้องการหักล้างสัญญาขาย (Offset Short Position) ก็สามารถทำได้โดยซื้อคืนสัญญาในตลาดนั่นเอง

ถึงตรงนี้ คงพอเข้าใจในกลไกการทำงานของตลาดอนุพันธ์กันแล้วนะครับ แต่สิ่งสำคัญที่สุดก่อนที่จะเข้ามาซื้อขายในตลาดล่วงหน้ากันจริงๆ ก็คือ ต้องทำการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจนเข้าใจเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์อย่างถ่องแท้เสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจมีโอกาสพ่ายแพ้ หรือขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์อย่างมหาศาลได้นั่นเอง ท้ายนี้ ผมขอให้ทุกท่านโชคดีกับการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

หล่อหลอมความคิดเพื่อเตรียมเป็น
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ผู้จัเดการฝ่ายช่าง กุ๊ก โรงแรม หัวหิน พนักงา่นคลังสินค้า หางานโรงพยายบาลที่สมุทรสาคร c p งานservey วุฒิ ปวช จังหวัดชุมพร blackcanyon roouoywt ผับ พัทยา หางานด่วนๆๆ พี่เลี้ยงเด็กจังหวัดเชียงใหม่ tellter two talent ทำความเย็น โตโย้ต้าสุวรรณภูมิ x9m. กรุงเทพประกันภัย ตำแหน่งธุรการ ร่มเกล้า งานว่าง ถนนกิ่งแก้ว หางาน บางนา บริษัท ford ช่างปูพื้น สแหมน นครราชสีมา+ธนาคาร ผู้ช่วยสมุหบัญชี วุฒิ ม3 เขตบางพลี หางานนวดสปาต่างประเทศ ngo ผู้จัดการฝึกหัด ยาม รปภ. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง นวโลหะไทย ท่าลานฝ่ายผลิต บาริสต้า กรุงเทพริสต้า บุคคลธุรการ วุฒิปวส ไฟฟ้า สมุทรปราการ งานธุการทั่วไป หางส งานที่ไม่ใช้วุฒิ สมัครงานบริษัทไทยคมนนทบุรี ประเวศ ป.6 ผู้จัดการ+ร้าน การตลาด ขาย งานขาย เครดิตเงินสด เยาวราช pc เขตจังหวัดเพชรบุรี embed pc วิ่ง ชลบุรี เจ้าหน้าที่พัสดุ งานเหมา งานธุรการ งานโรงงาน