หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง สุนทรียภาพกับการสร้างแรงบันดาลใจในปัจเจกชน
เขียนโดย นายธนากรณ์ ใจสมานมิตร

Rated: vote
by 13 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




สุนทรียภาพกับการสร้างแรงบันดาลใจในปัจเจกชน

                                                          

                                                                   ธนากรณ์  ใจสมานมิตร[1]

         กล่าวนำ

          “สุนทรียภาพ”(Aesthetics) มาจากคำว่า สุนทรีย หมายถึง ความงาม ความงดงาม ภาพ หมายถึง ลักษณะที่บ่งชี้ หรือถ่ายทอด ความเป็นตัวตนของสรรพสิ่ง ให้บริบทรอบข้างได้รับรู้ เมื่รวมกันคำว่า “สุนทรียภาพ” จึงหมายถึง ลักษณะที่บ่งชี้ หรือถ่ายทอด ความงดงาม ในความเป็นตัวตนของสรรพสิ่งให้บริบทรอบข้างได้รับรู้ นักปราชญ์ชาวตะวันตกหลายท่านได้ให้ความหมายของความงามไว้ ดังนี้[2]

                        เพลโต(Plato ๔๒๗-๓๔๗ ปีก่อน ค.ศ.) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่สมบูรณ์ในอุดมคติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ที่แสดงออกมาในโลกที่เปลี่ยนแปลง”

                        อิมมานูเอิล ค้านท์(Immanuel Kant พ.ศ.๒๒๖๗-๒๓๔๗) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่ก่อให้เกิดความพอใจของผู้ที่ได้พบเห็น

                        แลงเฟลด์ กล่าวว่า “ความงามคือคุณค่าที่เกิดขึ้นระหว่างอินทรีย์ของมนุษย์เรา กับวัตถุ”

                        เซนต์โทมัส อควีนาส(St. Thomas Aquinas พ.ศ.๑๗๖๘-๑๘๑๗) กล่าวว่า “ความงามคือสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลิน เมื่อเราได้เห็นหรือรู้ ความงามจึงประกอบด้วยความสมบูรณ์ ความได้สัดส่วน และความแน่ชัด

            ในส่วนของทางซีกโลกตะวันออก มีผู้ให้ความหมายของความงามไว้เช่นกัน ดังนี้

                        ทวีเกียรติ  ไชยยงยศ กล่าวว่า “ปรัชญาแห่งความงามนั้น จะไม่พ้นไปจากจิตของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานเดิม การเกิดความงามก็ต้องเกิดจากอารมณ์ไปเกาะกับจิต โดยอารมณ์ที่ไปเกาะอยู่กับจิตนั้นทำให้จิตเกิดความพึงพอใจ หรืออาจจะสรุปได้ว่า ความงามก็คือสิ่งที่สร้างความพึงพอใจ ความชอบให้กับจิตนั่นเอง”

                        ป๋วย  อึ้งภากรณ์ กล่าวว่า “ความงาม หมายถึง สิ่งต่างๆที่ทำให้มนุษย์ มีวัฒนธรรมและความเพลิดเพลิน

                        ราชบัณฑิตยสภา บัญญัตินิยามความหมายไว้ว่า “ความงาม คือ ลักษณะที่เห็นแล้วชวนชื่นชมยินดี และพึงพอใจ”

                        พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้ว่า “งาม (ว.) ลักษณะที่เห็นแล้วชวนให้ชื่นชมหรือพึงใจ เช่น มารยาทงาม รูปงาม ; มีลักษณะสมบูรณ์ดี เช่น ต้นไม้งาม ปีนี้ฝนงาม ; ดี,มาก,ลักษณะเป็นไปตามต้องการ เช่น กำไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม” เป็นต้น

            ความสวยงาม คือ สถานภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเพลิดเพลิน และความชื่นชมผ่านการเข้าใจและรับรู้ถึงความสมดุลย์ สัดส่วน และแรงดึงดูด ของสิ่งๆนั้น ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สถานที่ ดนตรี ศิลปะ หรือความคิด  ตรงกันข้ามกับความน่าเกลียดน่าชัง ซึ่งมีผลกระทบอย่างตรงข้ามต่อผู้ที่รับรู้ แต่การที่จะเข้าใจถึงธรรมชาติและความหมายของความสวยงามนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงหลักปรัชญาของ “สุนทรียศาสตร์” ซึ่งเป็นวิชาที่ว่าด้วย ความดี ความงาม ซึ่งเป็นความงามที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือความงามในทางศิลปะก็ได้ นักปราชญ์ทางศิลปะกล่าวว่า “ความงามเป็นหน่วยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางความรู้สึกกับการสื่อสารความหมาย”สุนทรียศาสตร์ เป็นมาตรฐานความงามในเชิงทฤษฎี (Theory of Beauty) อยู่ในปรัชญาสาขา Axiology ซึ่งจะโน้มนำไปสู่ การสร้างสุนทรียภาพของบุคคล

            ส่วนคำว่า “แรงบันดาลใจ” [3] จะพิจารณาความหมายโดยแยกคำว่า “แรง” ออกมาอธิบายตามหลักทางวิทยาศาสตร์ด้วยเหตุและผล (ตรรกะ) จากนิยามที่กล่าวไว้ว่า งาน เป็นผลลัพธ์ที่ได้จาก แรง คูณกับ ระยะทาง ที่วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรง ดังนั้นหากย้ายข้างสมการก็จะพบว่า แรง ก็คือ ผลลัพธ์ของสัดส่วนระหว่าง งาน กับ ระยะทาง งานในที่นี้ หมายถึง การแสดงซึ่งบทบาทและหน้าที่ ที่มาจากความยินดีและเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตใจที่มุ่งมั่นในการกระทำ เป็นสิ่งที่ทำแล้วจะนำมาซึ่งความสุขสงบ ได้พัฒนาจิตใจของเรา และได้รับเกียรติ ชื่อเสียง วัตถุตามมาเป็นเพียงผลพลอยได้ เพื่อให้สามารถเลี้ยงชีพได้อย่างผู้มีปัญญาโดยแท้ ที่สำคัญคือจะทำให้เราเกิด แรงจูงใจในตนเองตลอดเวลา (การกระตุ้นให้เกิดแรงด้วยตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยภายนอกมากระตุ้น) ทำให้เราทุ่มเทความสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้สร้างสรรค์ความดี,ความงามได้มากที่สุด และเป็นการ สั่งสมประสบการณ์จากระยะทาง ที่เราได้ก้าวเดิน พร้อมรับมือและเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆซึ่งงานได้เรียกร้องจากเรา (เปรียบได้กับการเคลื่อนที่ของวัตถุให้ได้ระยะทางนั้นย่อมต้องมีแรงเสียดทานระหว่างพื้นผิวสัมผัสเป็นเรื่องธรรมดา) การยืนหยัดและฟันฝ่าอุปสรรค์ให้สามารถทำบทบาทหน้าที่ไปตามแนวแรงจูงใจในตนเองได้ จะเป็นสิ่งที่ดลบันดาลให้เราเป็นผู้มีใจที่รักและมีความปิติปราโมทย์ในงาน เป็นการได้ซาบซึ้งและดื่มดำกับคุณค่าภายใน (Intrinsic Value) ของการทำงานอย่างแท้จริง ดังคำกล่าวของท่านพุทธทาสที่กล่าวไว้ว่า “สุขแท้มีแต่ในงาน”

            ผู้ที่ทำแต่เพียงบทบาทหน้าที่ให้ผ่านไปวันๆโดยไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาจิตใจ หวังเพียงเพื่อชื่อเสียง วัตถุ สิ่งที่เป็นคุณค่าภายนอก (Extrinsic Value)  แนวโน้มในอนาคตสามารถพยากรณ์ได้ตามหลักตรรกะเมื่อแทนค่าเข้าไปจะพบว่า ค่าของงาน (สิ่งที่เราทำ) จะเท่ากับ ศูนย์ (๐) เหตุผลก็เพราะ แรง (แรงจูงใจในตนเอง) ไม่มี เท่ากับ ศูนย์ (๐) เมื่อมันไปคูณกับ ระยะทางถึงแม้เราจะทำงานมายาวนาน เดินทางในเส้นทางของชีวิตคนทำงานมามากเท่าใดก็ตาม ศูนย์ คูณอะไรก็ได้ ศูนย์ ตลอดชีวิตของเราจะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากช่วงชีวิตการทำงาน นอกจากการเลี้ยงชีวิตให้รอด เท่านั้น กว่าที่จะรู้ตัวอีกทีก็ก้าวเข้าสู่วัยที่จะต้องปลดระวางจากการทำงานเสียแล้ว ชีวิตลักษณะนี้จึงเป็นชีวิตที่ เสียศูนย์ ความเป็นตัวตน (เปรียบเสมือนรถที่ศูนย์ล้อผิดปกติทำให้การควบคุมทิศทางของรถนั้นยากลำบาก) และ สูญเสีย โอกาสที่ดีในการได้เกิดเป็นมนุษย์ในภพชาตินี้    

          สุนทรียภาพ : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพลังเหนี่ยวนำความงดงามในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมปัจเจกบุคคล

            คนทุกคนมีความแตกต่าง คนเหมือนคน แต่คนก็ไม่เหมือนกัน คำว่า “ปัจเจกบุคคล” จึงถูกบัญญัติขึ้น ทำไมคนแต่ละคนจึงมีบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน ลองมาวิเคราะห์ตามดูว่า เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น?

            เริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมมนุษย์ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดพฤติกรรมมนุษย์ นั่นคือ กรอบแนวคิดของบุคคล อันประกอบด้วย เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยมของบุคคล สิ่งที่ทำให้มนุษย์นำมาสร้างกรอบแนวคิด นั่นคือ การได้ลงมือทำและพิสูจน์แล้วเห็นผลจริงด้วยตนเอง หรือที่เราเรียกว่า ทักษะที่เกิดจากการฝึกฝน สิ่งที่เป็นเหตุให้มนุษย์สามารถสร้างทักษะฝึกฝนตนเองได้นั่นคือ องค์ความรู้เฉพาะบุคคล ที่ได้จากการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆมาพิจารณาและวินิจฉัยอย่างมีหลักการ สิ่งที่ทำให้มนุษย์สามารถเก็บกักและนำข้อมูล ข้อเท็จจริงเข้าสู่ตนเองได้ นั่นคือ การที่มนุษย์มีสมองเป็นอุปกรณ์ในการเก็บและประมวลผล โดยอาศัยอวัยวะรับสัมผัสทั้ง ๕+๑ ที่มีติดตัวมนุษย์มาทุกคนเป็นตัวส่งสัญญาณที่ได้รับรู้มา (การรับสัมผัส ๕ ทางได้แก่ การมองเห็น , การได้ยินเสียง , การได้กลิ่น , การได้รับรู้รสชาติ และการสัมผัส ส่วนการรับอีก ๑ ทางนั้นคือ ความรู้สึกของปัจเจกบุคคล นั่นคือ อารมณ์)

          ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เพราะการรับรู้นั่นเอง เป็นเหตุให้เกิดการศึกษาวินิจฉัยของบุคคลสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ส่วนตนซึ่งเป็นปัจจัยไปก่อให้เกิดการทดสอบองค์ความรู้นั้นด้วยการลงมือฝึกฝนและเป็นปัจจัยไปก่อให้เกิดการยึดติดเป็น เจตคติ ความเชื่อ และค่านิยมส่วนบุคคล (กรอบแนวคิดของบุคคล) ซึ่งเป็นปัจจัยต่อไปทำให้เกิด การแสดงออกอย่างซ้ำๆและถาวรจนเป็นพฤติกรรม ที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะสื่อให้คนทั่วไปได้รับรู้ โดยไม่ต้องบอกกล่าว เราอาจเคยได้ฟังในสิ่งที่พระท่านสั่งสอนเราอยู่เสมอว่า “คนเราคิดอย่างไร จะทำอย่างนั้น คนเราทำอย่างไร ก็จะเชื่ออยู่อย่างนั้น คนเราเชื่ออย่างไรพฤติกรรมก็จะเป็นเช่นนั้น ดังนั้นจงระวังความคิดของตนเองให้ดี และหมั่นฝึกฝนความคิดของตนให้ถึงพร้อมอยู่เสมอ”

            การรับรู้ทางความรู้สึกของปัจเจกบุคคล (อารมณ์) จะมีความไวและรวดเร็วมากต่อสิ่งเร้าที่มากระทบผ่าน เพราะมีการปรุงแต่งจากความต้องการหยาบๆของมนุษย์ (สันดานดิบ) จึงเป็นอารมณ์ที่ไม่บริสุทธิ์ และจะสร้างพลังเหนี่ยวนำให้เกิดการกระทำขึ้นอย่างมหาศาลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่หยาบนั้น เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการไตร่ตรอง ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา สังเคราะห์ (การใช้วิจารณญาณ)[4] ของบุคคลก่อนที่จะแสดงเป็นการกระทำออกมา ถ้าเราไม่มีความตระหนักและเข้าใจอย่างดีพอ การกระทำแบบนั้นก็จะกลายเป็นความเคยชิน และกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรของเราไปในที่สุด

สุนทรียภาพของบุคคล เป็นสภาพความซาบซึ้งในคุณค่าของสิ่งที่งดงาม ไพเราะ รื่นรมย์ ไม่ว่าจะเป็นธรรมชาติ หรือ ศิลปะ  ความซาบซึ้งในคุณค่าดังกล่าวจะเจริญเติบโตได้โดยประสบการณ์ การศึกษา อบรม ฝึกฝน จนเป็นอุปนิสัย และเกิดรสนิยม (Taste) ขึ้นตามตัวบุคคล ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล ในความรู้สึกที่ซาบซึ้งนั้นเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการรับรู้ที่บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งใดๆปรุงแต่งในห้วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นพฤติกรรมของผู้ที่มีสุนทรียภาพจะมองคุณค่าของสรรพสิ่งทุกอย่างจากภายใน (Intrinsic Value) มากกว่าภายนอก (Extrinsic Value) เปรียบได้กับเป็นตัวกรองที่จะสนองต่อความต้องการที่ละเอียดอ่อน สร้างพลังเหนี่ยวนำให้เกิดการกระทำที่ดีงาม งดงาม (แรงจูงใจจากภายในบุคคล) ผ่านกระบวนการไตร่ตรอง ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา สังเคราะห์ (การใช้วิจารณญาณ) แสดงเป็นการกระทำที่มีความงดงามเหมาะสม ชื่นชมต่อผู้พบเห็น จนติดตัวกลายเป็นพฤติกรรมถาวร เป็นเอกลักษณ์ที่สง่างามเฉพาะตัว น่าเคารพ นับถือ น่าเลื่อมใสและศรัทธา[5]

       แนวทางการเสริมสร้างสุนทรียภาพให้กับตนเอง

๑.       สำคัญที่สุดเราต้องเข้าใจตัวเองอย่างดีพอ เปิดใจพิจารณาตัวเอง ให้เข้าใจและรู้จริงอย่างถ่องแท้ ในประเด็นคำถาม ดังนี้

                              ๑.๑ เราใช้ชีวิตอย่างมีสุนทรียภาพมากน้อยเพียงใด ?

                              ๑.๒ ความสามารถในการรับรู้ข้อมูลเป็นอย่างไร ?

                              ๑.๓ กรอบแนวคิดของเราเป็นอย่างไร ?

                              ๑.๔ เราเป็นตัวของตัวเองมากน้อยแค่ไหน จุดยืนของเราคืออะไร ?

                              ๑.๕ เอกลักษณ์ของเราที่สามารถสื่อเป็นภาพลักษณ์ได้คืออะไร ?

๒.      หลังจากทำความเข้าใจตนเอง และปรับปรุงได้ในระดับหนึ่งแล้ว ลองนำองค์ความรู้ที่ได้มาทำความเข้าใจผู้อื่นดูบ้าง ในเรื่องของธรรมชาติของมนุษย์ต่อการตอบสนองสิ่งที่เป็นสันดานดิบ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความแตกต่างของบุคคล (กฎของปัจเจกบุคคล)

๓.      เข้าใจสัจจธรรม ความเป็นจริง โดยการพิสูจน์เห็น ไม่ใช่เชื่อตามคำบอกกล่าวที่บอกต่อๆกันมา ข้อมูล ข้อเท็จจริง องค์ความรู้ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิถีตะวันออก วิถีตะวันตก หรือจากมุมหนึ่งมุมใดบนโลกนี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงตามบริบทแวดล้อม และ กาลเวลา ดังนั้นหากนำมาใช้ภายใต้บริบทแวดล้อม และกาลเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมเป็นไปได้ว่าจะให้ผลที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นในการศึกษาข้อมูล ข้อเท็จจริงนั้นจะต้องตามด้วยการเรียนรู้ แบบผสมผสานระหว่างหลักธรรมชาติ (ตามพุทธปรัชญา) ของวิถีตะวันออกและหลักปฏิบัติของวิถีตะวันตกด้วยเสมอ เพื่อสังเคราะห์ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีความเหมาะสมกับบริบทแวดล้อม และกาลเวลา อันจะนำไปสู่การสร้างกรอบแนวคิดและจุดยืนของตัวเราเองอย่างเหมาะสม

๔.      ให้เวลากับตัวเองพิจารณาทบทวน และฝึกฝนกิจกรรมที่แยกแยะการใช้สมองซีกขวาเชื่อมโยงสู่สมองซีกซ้ายดูบ้าง เช่น การฟังเสียงดนตรีแล้วแยกแยะประเภทของเครื่องดนตรีออกเป็นกลุ่มๆ , การขยับมือ-เท้า ให้เข้ากับจังหวะดนตรี , การฝึกเล่นเครื่องดนตรี , ฝึกเต้นรำ , การฝึกเขียนภาพ , การแต่งบทร้อยแก้ว-ร้อยกรอง , การท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ , กิจกรรมการดูนก , การปลูกต้นไม้ , เลี้ยงสัตว์ที่เราชอบ , หางานอดิเรกที่ไม่ใช่งานประจำทำดูบ้าง , การทดสอบอวัยวะรับสัมผัสต่างๆอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปิดตาทายเสียง ปิดตายแล้วใช้มือสัมผัสสิ่งที่เราคุ้นเคยแล้วลองทายดู ลองสูดกลิ่นและแยกแยะประเภทของกลิ่นที่ได้รับ , ฝึกการควบคุมจิตให้เกิดสมาธิ , การอ่านหนังสือปรัชญา คำสอนต่างๆ ฯลฯ

กล่าวโดยสรุป

การศึกษาของเราทุกวันนี้มุ่งให้คน รับรู้  ในสิ่งที่เป็นผลมาจากบริบทอื่นๆ มากกว่า การฝึกฝนความคิด สู่แนวทางที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ในบริบทของเราเอง รวมถึงการพัฒนาคนในช่วงวัยทำงานที่ควรมุ่งให้คนสามารถปรับวิถีการดำเนินชีวิตของตนเอง ให้สอดคล้องกับวิถีองค์กร สอดคล้องกับขีดความสามารถในบทบาทหน้าที่อันจะนำไปสู่การดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้อย่างเหมาะสม  ไม่ใช่การยัดเยียดให้รู้อีกต่อไป เพราะจากประสบการณ์ในช่วงชีวิตการทำงานของผม ผมมองว่าคนช่วงวัยทำงานเป็นคนที่รู้เยอะ และรู้มากด้วยซ้ำไป ในลักษณะที่ได้รู้ในข้อเท็จจริงต่างๆมากมาย แต่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตีความ แปลความหมาย (Interpretation) และแยกแยะจำแนกข้อเท็จจริง (Classification) ที่มีอยู่โดยผ่านกระบวนการใช้ความคิดอย่างมีสุนทรียภาพบนพื้นฐานของปัญญาได้อย่างดีพอ สิ่งที่รับรู้ไว้มากมายนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแล้วยังไปปิดกั้นโอกาสที่จะนำศักยภาพที่มีอยู่ภายในตนเองออกมาใช้ ทำให้เสียโอกาสในการพัฒนาตนเอง ผลตามมาก็คือ การแสดงออกทางพฤติกรรมของบุคคลมักจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะคนส่วนใหญ่ไม่กล้าพอที่จะวินิจฉัยและยอมรับสิ่งที่เป็นปมด้อยว่าเป็นปมด้อยของตนเองได้ ทำให้หลงตนเอง (คิดเข้าข้างตนเองว่าเป็นปมเด่น) ไม่ยอมรับ หรืออาจจะเลือกที่จะไม่รับรู้ไปเลยก็ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่จะทำให้เกิดความไม่รู้จักตนเอง ไม่รู้ตัวตนควบคุมตนเองไม่ได้ พฤติกรรมการแสดงออกจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความอยากได้ใคร่มี (กิเลส-ตัณหา) ที่คนทุกคนมีเหมือนกัน แต่มากน้อยไม่เท่ากันเป็นที่ตั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อไปสู่ ความคาดหวัง การรับรู้ ความรู้สึก และแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงให้คนรอบข้างได้รับรู้ เมื่อได้มีการรับรู้แล้วมาทราบภายหลังว่าสิ่งที่แสดงออกไม่ใช่สิ่งที่เป็นตัวตนที่แท้จริง กรณีถ้ามีผลเสียหายกระทบกันโดยตรง ก็ย่อมก่อให้เกิดบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันต่อไปในอนาคตได้

แนวทางการแก้ไขสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญและใกล้ตัวที่สุดก่อน คือ การหาตนเองให้พบ เราต้องเปิดใจที่จะยอมรับในความเป็นจริงของตนเอง สร้างสิ่งยึดเหนี่ยวให้ตรงกับตัวตนที่แท้จริงของเรา กำหนดให้เป็นจุดยืนของชีวิต (บางคนอาจเรียกว่า ศักดิ์ศรี ความสง่างามในความเป็นมนุษย์ก็แล้วแต่) อย่าทำลายจุดยืนของตนเองอย่างเด็ดขาด จากนั้นให้ทำความเข้าใจในความปรารถนาทางจิตใจของตนเองและรู้หลักในการจัดการให้ได้ (ศึกษาจากข้อมูลที่เป็นภูมิหลังของแต่ละบุคคล) ในช่วงชีวิตต้องพัฒนาตนเองโดยใช้แรงขับภายในตนเองตลอดเวลา ต้องมองภาพในมโนทัศน์ตนเองจากข้อเท็จจริงที่ได้รับรู้และเชื่อมโยงสู่หลักความเป็นจริงที่เข้าใจได้ง่ายๆไม่จำเป็นต้องซับซ้อนให้ตนเองได้เข้าใจหลักแห่งความเป็นจริงเพื่อพัฒนาในส่วนที่เป็นวิถีแห่งปัจเจก อันได้แก่ ความคาดหวัง การรับรู้ และความรู้สึกของตนเองที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกอย่างสอดคล้องกับความเป็นตัวตนของเรานั่นเอง

พยายามถามคำถามนี้กับตนเองทุกวัน จนกว่าคุณจะลาจากโลกนี้ไป “คุณจะทิ้งสิ่งใดไว้เพื่อตอบแทนให้กับผืนแผ่นดินที่คุณเกิด ก่อนที่คุณจะจากไป?” คำถามนี้ยังไม่ต้องการคำตอบ ณ เวลานี้ แต่ขอให้คุณตอบกับตนเองในช่วงลมหายใจสุดท้ายของชีวิตคุณ แล้วคุณจะได้รับรู้อานิสงฆ์แห่งการกระทำ กรรม ของคุณทันที....[6]



[1] - ค.บ. (ช่างอุตสาหกรรม) , ค.ม. (เทคโนโลยีอุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

  - ครูผู้สอนหมวดวิชา เสริมสร้างจิตสำนึกของบุคลากร , การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร สถาบันซัมมิท (Summit Academy)

  - ครูผู้สอนระดับ Master Trainer โครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สาขา Mind Management รายวิชา TWI-JR

  - นักวิชาการปฏิบัติการ และนักเขียนอิสระ สาขา ปรัชญาและการใช้ชีวิตตามวิถีแห่งพุทธปรัชญา , จิตวิทยาเชิงประยุกต์ , มนุษย์และสังคมเชิงประยุกต์ , เทคโนโลยีเกี่ยวกับยานยนต์

[2] บุญมี   แท่นแก้ว . พุทธปรัชญาเถรวาท  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ , พิมพ์ครั้งที่๑. ๒๕๔๕ หน้า ๘๑

[3] ในความเข้าใจของผู้เขียน คำว่า “แรงบันดาลใจ” มีความหมายที่สอดคล้องกับ “แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์” และ “แรงจูงใจภายในของบุคคล”

[4] วิจารณญาณของบุคคล หมายถึง ความสามารถในการค้นหาต้นตอของสิ่งที่รับรู้ ซึ่งต้องพึ่งพาทั้งการมีสัญชาตญาณและความมีเหตุผลของบุคคล เพื่อตัดสินใจในการตอบสนองของบุคคลต่อสิ่งรับรู้นั้นๆ

[5] ธนากรณ์   ใจสมานมิตร . บทความ วิถีการทำงานร่วมกันอย่างมีสุนทรียภาพ : สถาบันซัมมิท, ๒๕๕๒ หน้า ๑-๓

[6] โปรดใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการรับรู้ข้อเท็จจริงนี้




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ควรระวังไว้ ใครที่ใช้บัตรเครดิต
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : พยาบาล nurse บางนา บางกะปิ -ลาดพร้า ผู้จัดการแผนกกฏหมาย งาน scg ัเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล งานบริการ โรงแรม ดราโก้ พีซีบี ธนาคารทหารไทย กรุงเทพ โลตัส เชียงใหม่คำเทียง งานรายวัน500บาท/วัน 3D ฟืรทฟะรนื navanakorn JRP P.R. vatana หางานวุฒิ ม.3จังหวัดชลบุรี ป.ต.ท top charoen สมัครงาน ปิ่นเกล้า สถาบันเทคโนโลยีไทย วัสดุคงคลังเซรามิกพิษณุโลก จปว เสมียนกรุงเทพ เค งานแถวรามคำแหงกรุงเทพ ตัวแทนประกัน งานไม่จำกัดวุฒ 242531 เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขโคราช บริษัทญี่ปุ่น+เคมี พับลิช หางานโรงงานย่าน แจ้งวัฒนะ บมจ.เสถียรเสตนเลสสตีล งานจิวเวลรีที่ต่างจังหวัด บางโฉลง บางกะปิ เขต ห้างเซ็นทรัลรัตนา เซ้็นทรัลพระราม3 ฝ่ายบุคคล เขตธนบุรี เลขา ประสานงาน ลาดพร้าว sale สารเคมีพืช วิศวกรฝ่่ายผลิต งานที่ไม่จำกัดวุฒิ สำนักงานราชการ บางเสร่ เซ็นทร็ลพิษณุโลก ควบคุม การผลิต cook ติ่มซำ เชียงใหม่ ธนาคาร สัตหีบ nsl