หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การปลูกพืชไร้ดิน การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 23 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




::การปลูกพืชไร้ดิน(Hydroponics)
การปลูกพืชไร้ดิน(Hydroponics)
: ความเป็นมา

การปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช
โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน
ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
ความเป็นมา
นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนใน น้ำ ซึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำเล้ว




ประวัติ
ตัวอย่างของความพยายามในช่วงแรกๆ ที่จะปลูกพืชไร้ดิน ก็คือ สวนลอยแห่งบาบิโลน เมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล และสวยลอยแห่งอัสเต็กซ์ ในช่วงคริสตศวรรษที่ 11นักวิจัยการปลูกพืชไร้ดินคนแรกๆ ก็คือ จอห์น วูดเวิด (John Woodward) ชาวอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2242 เขาได้ปลูกพืชในน้ำ โดยได้เติมดินลงไปหลายชนิด การปลูกพืชครั้งนั้นเป็นการสาธิตว่า นอกจากน้ำแล้วในโลกเรานั้นมีสสารหลายขนิดที่พืชต้องการ ครั้นเมื่อกลางคริสตศตวรรษที่ 19 นักสรีรวิทยาพืช (plant physiologists) ชาวเยอรมัน ชื่อซาคส์ (Sachs) และคนอพ (Knop) ได้ปลูกพืชในสารละลายอย่างง่ายของเกลืออนินทรีย์เมื่อ พ.ศ. 2472 ศาสตราจารย์ Gericke แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เมืองเดวิส ได้สาธิตว่าพืชจะเติบโตโดยไม่ใช้ดิน สามารถเติบโตไปได้จนโตเต็มที่ ครั้งนั้นเขาได้ปลูกมะเขือเทศในน้ำ จนได้ผลขนาดใหญ่อย่างน่าแปลกใจ และเขาได้เทียบคำศัพท์ในภาษากรีก ที่มีความหมายว่า การเกษตร คือ geoponics ซึ่งหมายถึง ศาสตร์แห่งการปลูกพืชโดยใช้ดิน ด้วยเหตุนี้เขาจึง คิดคำใหม่ว่า "ไฮโดรโปนิกส์" (hydroponics) ซึ่งหมายถึง การปลูกพืชในน้ำ จากภาษากรีก hydros (น้ำ) และ ponos (แรงงาน)
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
พืชจะเจริญเติบโตได้ดี จะต้องประกอบด้วย ปัจจัยที่จำเป็นต้องม ีในการเจริญเติบโต อันได้แก่ แสง น้ำ ธาตุอาหารพืช อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง ออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งที่ราก และส่วนเหนือดิน ในการปลูกพืชโดยทั่วไป จะมีดินและอากาศ เป็นส่วนที่จะให้ปัจจัยเหล่านี้ แต่ข้อเสียของดิน คือ ดินจะมีคุณสมบัติที่ไม่แน่นอน ในแต่ละท้องที่ ถ้าดินมีคุณสมบัติ ที่ไม่เหมาะสมต่อพืช ก็จะเจริญไม่ดี การปรับปรุง และแก้ไขดิน อาจจะสามารถทำได้ แต่ในบางกรณี อาจจะมีความยุ่งยากมาก หรือต้องใช้ค่าใช้จ่าย ที่สูงมาก ส่วนการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะใช้วัสดุอื่นมาแทนดิน โดยจะเลือกวัสดุ ที่มีความเหมาะสม ต่อการเจริญเติบโตของพืช
โดยปรกติ จะเป็นวัสดุ ที่ไม่เกิดปฎิกริยาทางเคมี และไม่มีการปล่อยสารต่างๆ ให้แก่พืช และในระบบนี้ จะมีการให้สารละลาย ธาตุอาหารแก่พืช ซึ่งสารละลายนี้ จะประกอบด้วยธาตุอาหาร ที่จำเป็นต่อพืชทุกตัว และอยู่ในรูปที่พืช สามารถนำไปใช้ได้ทันที และมีการปรับค่า ความเป็นกรดด่าง ให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมด้วย โดยระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะคำนึงถึง การจัดการให้ปัจจัยที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโตของพืช อยู่ในระดับ ที่เหมาะสมที่สุด ต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของพืช
ประโยชน์
ไฮโดรโปนิกส์นั้นมีประโยชน์หลักๆ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก ประการที่สองก็คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรได้มากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และไม่ต้องจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ ด้วเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิม ขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะหรือระบบวนน้ำแบบปิด เพื่อหมุนเวียนน้ำ เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้น้ำเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น
ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ไฮโดรโปนิกส์มีประโยชน์กับการปลูกพืชที่ไม้ใช่วิธีการแบบเดิมๆ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ได้เสนอมานานแล้วว่า ไฮโดรโปนิกส์จขะทำให้สถานีอวกาศ หรือ ยานอวกาศ สามารถปลูกพืชไร้ดินได้เอง และคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ไฮโดรโปนิกส์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้อง การปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และมีความหนาแน่นสูงสุด
ข้อดี
1. สามารถทำการเพาะปลูกพืชในบริเวณพื้นที่ที่ดินไม่ดี หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก
2. ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเตรียมดิน และการกำจัดวัชพืช ทำให้สามารถปลูกพืชอย่างกันต่อเนื่องได้ตลอดปี ในพื้นที่เดียว
3. สามารถตัดปัญหาเกี่ยวกับศัตรูพืชที่เกิดจากดิน ทำให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่เดียวกันได้ตลอดปี ถึงแม้จะเป็นพืชชนิดเดียวกัน
4. เป็นระบบที่มีการใช้น้ำ และธาตุอาหารพืชอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. เพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้แรงงาน
6. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชได้อย่างถูกต้องแน่นอน และรวดเร็ว โดยเฉพาะในระดับรากพืช ได้แก่ การควบคุมปริมาณธาตุอาหาร ความเป็นกรด - ด่าง อุณหภูมิ ความเข้มข้นของออกซิเจน ฯลฯ ซึ่งการปลูกพืชทั่วไปทำได้ยาก
ข้อเสีย
1.ข้อเสียที่สำคัญที่สุด คือ เป็นระบบที่มีราคาแพงมาก เนื่องจากประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆมากมาย และมีราคาแพง
2.จะต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ และประสบการณ์มากพอสมควร ในการควบคุมดูแล

:: เทคนิคการปลูกพืชไร้ดิน

เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จะแบ่งเทคนิคเหล่านี้ตามชนิดของวัสดุที่ใช้ปลูก
1.การปลูกในวัสดุปลูกที่เป็นของแข็ง โดยทั่วไป จะใช้วัสดุปลูกต่างๆ ใส่ลงในภาชนะปลูก ซึ่งจะมีแบบต่างๆ ได้แก่ การปลูกในถุง (Sack culture) ซึ่งปรกติ จะปลูกในแนวระนาบ แต่ถ้าปลูกในแนวตั้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ ในการปลูกในเรือนกระจก จะเป็นการปลูก ในภาชนะปลูกแนวตั้ง (Column culture) ภาชนะที่ใช้ใส่วัสดุปลูก อาจทำเป็นกระบะขนาดใหญ่ หรือเป็นกระถางก็ได้ ซึ่งพอสรุป วิธีปลูกต่างๆได้ดังนี้ การปลูกในทราย (Sand culture) การปลูกในกรวด (Gravel Culture) การปลูกในขี้เลื่อย(Sawdust culture) การปลูกในแผ่นฟองน้ำฯลฯ รูปการปลูกในวัสดุปลูกแบบต่างๆ.(Substrate culture)
2. การปลูกในสารละลาย คือการปลูกในน้ำ (Water culture หรือ Hydroponic) การปลูกแบบนี้ รากพืชจะเจริญอยู่ในสารละลาย ธาตุอาหารพืชโดยตรง ได้แก่ วิธีปลูกแบบ
ก.การปลูกในสารละลายไม่มีการไหลวน (Water culture) โดยรากพืช จะแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหาร ที่อยู่นิ่ง แต่จะมีการให้อากาศในน้ำ โดยเครื่องพ่นอากาศ
ข.การปลูกแบบ N.F.T.(Nutrient Film Technique)
ค.การปลูกในอากาศ (Aeroponic)เป็นระบบปลูกที่รากพืช ลอยอยู่ในอากาศ และมีการฉีดสารละลายธาตุอาหาร เป็นฝอยไปที่รากพืชโดยตรง
ง.การปลูกแบบ DFT.(Deep Flow Technique)
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งต่างๆดังนี้
-วัสดุต่างๆที่สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก ในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รวมถึงข้อดีข้อเสีย ของวัสดุแต่ละชนิด
-ภาชนะที่ใช้ในการปลูกพืช ทั้งเพื่อปลูกเป็นการค้าจำนวนมาก และเพื่อปลูกเป็นไม้ประดับ
-หลักและวิธีการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช
-อุปกรณ์และวิธีการติดตั้งระบบการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารแก่พืช
-ระบบควบคุมการให้น้ำ และสารละลายธาตุอาหารพืช โดยอัตโนมัติ
-การตรวจสอบและควบคุมส่วนต่างๆ ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
-เทคนิคการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแบบต่างๆ ข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบ

::: การปลูกพืชในวัสดุปลูก

การปลูกในวัสดุปลูกเป็นการปลูกพืชในลักษณะที่คล้ายกับการปลูกในดินมากที่สุด ดังนั้นการดูแลพืชที่ปลูกจะคล้ายกับการปลูกพืชในกระถาง ปัญหาที่ต้องคอยระวังคือการปลูกในวัสดุปลูกปริมาณของวัสดุปลูกจะน้อยกว่าการ ปลูกในดินมาก กล่าวคือรากพืชจะมีพื้นที่ในการหาน้ำและอาหารแต่ละต้นไม่เกินต้นละ 5 ลิตร ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับน้ำและธาตุอาหารจะต้องมีการจัดการเป็นพิเศษ

การปลูกพืชในวัสดุปลูกจะมีองค์ประกอบหลักดังนี้

1.วัสดุปลูกและภาชนะที่ใส่วัสดุปลูก

2.ระบบการให้สารละลายธาตุอาหารพืช

2.1ส่วนควบคุม

2.2ส่วนระบบท่อต่างๆ

3.การติดตั้ง

4.การดูแลและควบคุมพืชและอุปกรณ์ระหว่างปลูก

หน้าที่ของวัสดุปลูก คือ เป็นที่อยู่ของรากพืช ซึ่งจะอยู่รวมกับสารละลายธาตุอาหาร และอากาศ วัสดุปลูกต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช

หลักการเลือกใช้วัสดุปลูก

ในการพิจารณาเลือกใช้วัสดุปลูกในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจำเป็นจะต้องพิจราณาในแง่ต่างๆ ดังนี้

1. ข้อจำกัดด้านเทคนิค

วัสดุปลูกที่เหมาะสมที่สุดทางทฤษฎีต้องมีคุณสมบัติดังนี้

-เป็นวัสดุปลูกที่เมื่อนำมาใช้จะมีคุณสมบัติรักษาอัตราส่วนของน้ำ และอากาศให้เหมาะสมตลอดการปลูก อัตราส่วนของ น้ำ :อากาศ ที่เหมาะสมจะอยู่ประมาณ = 50 : 50

- เป็นวัสดุที่ต้องไม่มีการอัดตัวหรือยุบตัวเมื่อเปียกน้ำหรือเมื่อใช้ไปนานๆ

- เป็นวัสดุที่ไม่สลายตัวทั้งทางเคมีและทางชีวภาพ

- เป็นวัสดุที่รากพืชสามารถแพร่กระจายได้สะดวกทั่วทุกส่วนของวัสดุปลูก

- เป็นวัสดุที่ไม่มีสารที่เป็นพิษต่อพืชเจือปนอยู่

- เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติเฉื่อยทางเคมี คือไม่ทำปฎิกริยากับสารละลายธาตุอาหารและกับภาชนะที่ใช้บรรจุ

- เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุ (C.E.C.) ต่ำหรือไม่มีเลย เพื่อจะได้ไม่มีผลต่อองค์ประกอบของสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในวัสดุปลูก

- เป็นวัสดุที่ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง

-เป็นวัสดุที่สามารถกำจัดโรคและแมลงได้ง่าย ซึ่งทำให้สามารถนำวัสดุปลูกกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย

จากคุณสมบัติเหล่านี้ยังไม่มีวัสดุปลูกชนิดใดที่มีคุณสมบัติครบดังที่กล่าว มานี้ บางคนอาจใช้วิธีการนำวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดีแต่ละอย่างมาผสมกัน เพื่อให้วัสดุปลูกมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น แต่บางคนก็นิยมใช้วัสดุเดี่ยวๆ ที่มีความคุ้นเคย รู้จักและมีความชำนาญในการใช้อยู่แล้ว คือ รู้ถึงคุณสมบัติและข้อจำกัดในการใช้วัสดุนั้นๆ และสามารถปรับปรุงเทคนิคต่างๆให้เหมาะสมกับวัสดุปลูกนั้นๆดีอยู่แล้ว

2. ข้อจำกัดด้านราคา

- ราคาของวัสดุปลูกที่นำมาใช้ ราคานี้รวมถึงค่าขนส่งหรือบางครั้งรวมถึงค่าบรรจุใส่ถุงด้วย

- ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ เช่น วัสดุปลูกบางชนิดต้องการที่เก็บที่ดีเป็นพิเศษ ต้องรวมถึงค่าโรงเรือนในการเก็บรักษา ต้องพิจารณาถึงอายุการใช้งาน ค่าใช้จ่ายในการกำจัดโรคและแมลงเมื่อจะนำวัสดุนั้นๆ มาใช้ใหม่ เช่น วัสดุบางอย่างมีอายุการใช้งานยาวนานมาก เช่น กรวด หินภูเขาไฟ แต่บางอย่างมีอายุการใช้งานเพียง 1-2 ครั้งของการปลูกเท่านั้น

ดังนั้นในการเลือกใช้วัสดุปลูกจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ และนำมาพิจารณาร่วมกันและหาข้อสรุปในการเลือกใช้

:::: คุณสมบัติวัสดุปลูกชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปลูกพืชหรือใช้เป็นวัสดุเพาะชำได้

I. วัสดุปลูกที่พบในธรรมชาติเป็นอนินทรีย์สาร
1.1 หินภูเขาไฟ

1. แหล่งกำเนิด : หินภูเขาไฟ

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- pH 6.5

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ 19 %โดยน้ำหนัก

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุ ไม่มี

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 0.7-1.0

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 3-15 มม.

- ความพรุน 73%

- ความคงทนของโครงสร้าง ดีมาก

3. ลักษณะการนำไปใช้ : ใช้เป็นวัสดุเพาะกล้า ใช้เป็นวัสดุปลูกเดี่ยว ๆ หรือผสมกับวัสดุอื่น

4. อายุการใช้งาน : หลายปี

5. ราคา : ถูกถ้าอยู่ใกล้แหล่ง

6. ข้อดี

- มีการระบายอากาศดีมาก

- ราคาถูก ถ้าอยู่ใกล้แหล่งผลิต

- ไม่ทำปฎิกริยากับสารละลายธาตุอาหาร

- ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง

- ทำการฆ่าเชื้อโรคและแมลงได้ง่าย

- อายุการใช้งานนาน

7. ข้อเสีย

- อุ้มน้ำได้น้อย

- มีน้ำหนักมาก


1.2 ทรายหยาบ

1. แหล่งกำเนิด : จากชายทะเลหรือแม่น้ำ

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำค่อนข้างดี

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุไม่มี

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 1.5-1.8

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 0.5-2 มม.

- ความพรุนต่ำ

- ความคงทนของโครงสร้างดี

3. ลักษณะการนำไปใช้ : วัสดุเพาะชำ วัสดุปลูก วัสดุปรับปรุงดิน

4. อายุการใช้งาน : หลายปี

5. ราคาถูก : ถ้าอยู่ใกล้แหล่งผลิต

6. ข้อดี

- ความสามารถอุ้มน้ำดีกว่ากรวด

- เป็นสารเฉื่อยไม่ทำปฎิกริยาเคมี

- อายุการใช้งานนาน

- วัสดุที่ผ่านขบวนการโดยใช้ความร้อน

7. ข้อเสีย

- จะมีการอัดตัวแน่นอาจมีปัญหาการระบายน้ำ และอากาศ

- มีน้ำหนักมาก

- มีความพรุนต่ำ

II. วัสดุปลูกที่ผ่านขบวนการทางความร้อน

2.1 เม็ดดินเผา (expanded clay)

1. แหล่งกำเนิด : โดยการเผาเม็ดดินเหนียวที่อุณหภูมิสูง (1,100 ๐C)

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- pH 5-7

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ 14.7-16.5 %โดยน้ำหนัก

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุไม่มี

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 0.3-0.6

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 8-16 มม.

- ความพรุนดี

- ความคงทนของโครงสร้างดีมาก

3. ลักษณะการนำไปใช้ จะใช้เป็นวัสดุปลูก

4. อายุการใช้งานหลายปี

5. ราคาแพงกว่า Pozzolane

6. ข้อดี

- มีการระบายอากาศดีมาก

- ราคาถูกถ้าอยู่ใกล้แหล่งผลิต

- ไม่ทำปฎิกริยากับสารละลายธาตุอาหาร

- ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง

- ทำการฆ่าเชื้อโรคและแมลงได้ง่าย

- อายุการใช้งานนาน

7. ข้อเสีย

- อุ้มน้ำได้น้อย

- มีน้ำหนักมาก

หมายเหตุ ยังไม่มีการผลิตเป็นการค้าในประเทศไทย แต่น่าที่จะสามารถผลิตได้ในประเทศเป็นวัสดุที่มีการใช้เป็นจำนวนมากอันหนึ่ง ในต่างประเทศ โดยเฉพาะกับไม้�ประดับในกระถาง

2.2 ใยหิน Rock wool

1. แหล่งกำเนิด : เป็นวัสดุที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยการหลอมหินภูเขาไฟและทำให้เป็นเส้นใยและผสมด้วยสารเรซิน 4-5 % โดยน้ำหนัก เพื่อทำให้อ่อนตัวและผสมด้วยน้ำมันชนิดพิเศษเพื่อให้มีคุณสมบัติเกาะน้ำได้ ใยหินขณะใช้เป็นวัสดุปลูกจะปล่อย Ca ออกมาในสารละลายได้เล็กน้อย

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- pH 7-9.5

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ โดยเฉลี่ย 70-80% โดยปริมาตร ขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากผิวน้ำ (94% ที่ระดับผิวน้ำ และ 82 % ที่ระดับความสูงจากผิวน้ำ 5 ซม.)

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุไม่มี

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 0.08

- ความพรุน 95 %

- ความคงทนของโครงสร้างไม่ดี

- ปริมาณอากาศหลังจากทำให้ชุ่มน้ำและปล่อยให้น้ำส่วนเกินไหลออก 6 %

3. ลักษณะการนำไปใช้ : แผ่นใยหินที่ขายจะมีหลายขนาดขึ้นกับชนิดพืชที่จะปลูก โดยทั่วไปจะมีขนาด กว้างxยาวxสูง 20x100x7.5 ซม. และจะหุ้มด้วยพลาสติกสองหน้า (ดำและขาว โดยหุ้มให้ด้านขาวอยู่ข้างนอก) นอกจากนี้ยังทำเป็นแท่งสี่เหลียมขนาดเล็กเพื่อใช้เพาะกล้า เช่น ขนาด 5x5x5 ซม.

4. อายุการใช้งาน : สามารถปลูกได้เพียง 2-6 ครั้ง

5. ราคาแพง

6. ข้อดี

- เป็นวัสดุที่มีการระบายน้ำและอากาศดีที่สุด

- การใช้งานง่ายน้ำหนักเบา

- ฆ่าเชื้อโรคและแมลงได้ง่าย

7. ข้อเสีย

- ราคาแพง

- แผ่นใยหินมีราคาแพงและมีปริมาตรน้อย ดังนั้นจึงมีที่สำหรับเก็บกักสารละลายธาตุอาหารและรากพืชมีน้อย

หมายเหตุ เป็นวัสดุที่มีราคาแพงต้องสั่งเข้าจากต่างประเทศ ในประเทศไทยสั่งเข้ามาเพื่อใช้เป็นฉนวนกันความร้อน จากการทดลองปลูกพืชผักสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปลูกได้แต่มีราคาแพง

2.3 เพอไลท์ Perlite

1. แหล่งกำเนิด : เป็นวัสดุที่ผ่านขบวนการในโรงงานอุตสาหกรรม โดยการเผา Perlite ที่มีต้นกำเนิดจากูเขาไฟที่อุณหภูมิ 1,200 ๐C

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- pH 7-7.2

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ 250-300 ลิตรน้ำต่อเพอไลท์ 1 ลูกบาศก์เมตร

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุไม่มี

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 0.075-0.08

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 1.5-6 มม.

- ความพรุน 97 %

- ปริมาณอากาศหลังจากทำให้ชุ่มน้ำและปล่อยให้น้ำส่วนเกินไหลออก 56.8 %

- ความคงทนของโครงสร้างดี

3. ลักษณะการนำไปใช้ : ใช้เป็นวัสดุเพาะชำและวัสดุปลูก

4. อายุการใช้งาน 1 ครั้ง

5. ราคาค่อนข้างแพง

6. ข้อดี

- น้ำหนักเบา

- ไม่เป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลง

- สามารถอุ้มน้ำได้ดี

7. ข้อเสีย

- สามารถสลายตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กและเกิดการอัดตัวกันแน่น

2.4 เวอมิคูไลท์ Vermiculite

1. แหล่งกำเนิด : เกิดจากการเผาแร่ไมก้า ที่อุณหภูมิประมาณ 850 ๐C

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- pH 7-7.2

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ 350-375 ลิตร/ลูกบาศก์เมตร

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุ 65-140 me/100 gm

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง 0.9-0.14 (ความหนาแน่นอนุภาค 2.6)

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 95 % ใหญ่กว่า 3 มม. (1-6 มม.)

- ความพรุน 96 %

- ความคงทนของโครงสร้างไม่ดี

- ปริมาณอากาศหลังจากทำให้ชุ่มน้ำและปล่อยให้น้ำส่วนเกินไหลออก 40 %

3. ลักษณะการนำไปใช้ : ใช้เป็นวัสดุเพาะชำและใช้เป็นวัสดุปลูก

4. อายุการใช้งาน 1-2 ครั้ง

5. ราคา : ราคาต่างประเทศ ประมาณ 1,200 บาท/1 ลูกบาศก์เมตร

6. ข้อดี

- น้ำหนักเบา

- ไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง

- มีความสามารถอุ้มน้ำดีมาก

7. ข้อเสีย

- สลายตัวเป็นอนุภาคขนาดเล็กได้เร็ว และเกิดการอัดตัว

- ราคาแพง

- ฆ่าเชื้อโรคและแมลงได้ยากเมื่อจะนำกลับมาใช้ใหม่

- มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุได้

2.5 เศษอิฐมอญหัก

1. แหล่งกำเนิด : จากการนำอิฐมอญทุบให้ได้ขนาดตามต้องการ

2. คุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์

- คุณสมบัติในการอุ้มน้ำ

- คุณสมบัติในการแลกเปลี่ยนประจุ

- ความหนาแน่นรวมเมื่อแห้ง

- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใช้ 2-15 มม.

- ความพรุน

- ความคงทนของโครงสร้างดี

3. ลักษณะการนำไปใช้ : ใช้เป็นวัสดุปลูก

4. อายุการใช้งานหลายครั้ง

5. ราคาถูกสามารถหาได้ภายในประเทศ

6. ข้อดี

7. ข้อเสีย

หมายเหตุ เป็นวัสดุที่น่าให้ความสนใจศึกษาทดลอง ค้นคว้าเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ และวิธีการนำมาใช้เป็นวัสดุปลูก

เนื่องจากเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ภายในประเทศ คุณสมบัติต่างๆ ควรอยู่ระหว่างเม็ดดินเหนียวเผาและหินภูเขาไฟ



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

การใช้งานคำสั่ง unix เบื้องต้น
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : เจ้าหน้าที่ธุรการบัญชี ประสานงานขาย เสมียนธุรการสมุทรปราการ หางานช่างวุฒิ ม3 วุฒิ ม.6กรุงเทพสายไหม ปวส. กำแพงแสน Event booth ไม่จำกัดวุฒิเขตบางพลี-บางปลา งานราชการ จ.สกลนคร บริษัทยา+ผู้แทนยา กระทิงแดง ตำแหน่งงาน ฝ่ายบัญชี ไม่จำกัดวุฒิ รัชดา ห้วยขวาง ช่างเทคนิค จ.ชลบุรี พนักงานแผนกบุคคล รกรรƒรฌรขรŽรŠร ยตรŠ ru55129 นักเคมีในภาคใต้ งานพิธีกร ชลบุรี ryh วุฒิม.6 กรุงเทพมหานคร ราม วุฒิปวช ช่างกลชลบุรี ช่วยขับรถ โรงงานสันติธรรมเชียงใหม่ หางานวุฒิ ม.3พะเยา การขาย การตลาด เชียงใหม่ messenger จ้างด่วน รัชดา ลาดพร้าว มะกะสัน ผู้จัดการเขต starbucks CFT เจเทค เด็กไทย ขับรถ,ส่งสินค้า ถนนข้วสาน sales manager khonkaen งานกะเย็นพัทยา ร ยซร…รŠรฌ เขตรามคำแหง 2 ไม่จำกัดวุฒิแถวปริมณฑล เจ้าหน้าที่บุคคล ตลิ่งชัน ยพร…ร” แพทเทริืน งานลาดพร้าว รัชดา ห้วยขวาง ท่าแหลมฉบัง ประเทศไต้หวัน kcq งานในชุมพร moldด กิจเสรี สมัครไปเกาหลี ช่างสนามบิน