หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง จรรยาบรรณ
เขียนโดย กพด

Rated: vote
by 78 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




จริยธรรมของหนังสือพิมพ์นั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นหลักแห่งความประพฤติและหลักของความคิดที่ดีที่นักหนังสือพิมพ์ได้ร่วมกันกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางให้แก่นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายได้ยึดถือปฏิบัติ ในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหลักดังกล่าวนั้นก็มีพื้นฐานมาจากหลักธรรมของศาสนา แต่ไม่ใช่ว่าจะนำเอาหลักธรรมทางศาสนามาใช้ปฏิบัติเสียทีเดียว แต่ได้นำเอาหลักธรรมนั้นมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับรูปแบบของกิจการหนังสือพิมพ์ที่มีเงื่อนไขทางสังคมและเงื่อนไขทางธุรกิจเฉพาะตัว ซึ่งนั่นก็เป็นตัวกำหนดให้นักหนังสือพิมพ์ทั้งหลายที่อยากจะก้าวมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ที่ดีต้องยึดถือเอาหลักจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ใช้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

จากที่เราทราบมาแล้วว่า กิจการหนังสือพิมพ์นั้น ก็เหมือนกับธุรกิจทั่วๆ ไป ที่ต้องผลิตสินค้าเพื่อแสวงหากำไร พร้อมกับทำหน้าที่เป็นสถาบันสาธารณะควบคู่กันไปด้วย แต่สินค้าที่หนังสือพิมพ์ผลิตออกไปนั้น ไม่ใช่สินค้าธรรมดาที่เหมือนกับสินค้าในทั่วไปในท้องตลาด แต่เป็นสินค้าที่มีอำนาจส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งการที่ต้องมีจริยธรรมเป็นตัวกำหนดก็เพื่อไม่ให้สินค้าที่ผลิตออกไปนั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำลายสังคม แต่ในทางกลับกันสินค้าดังกล่าวต้องเป็นช่วยเหนี่ยวรั้งและก่อให้เกิดการยกระดับและพัฒนาในสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า

ด้านตัวของนักหนังสือพิมพ์เอง หากนักหนังสือพิมพ์คนใดปฏิบัติตามหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ย่อมส่งผลให้เขาได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากแหล่งข่าวและผู้อ่าน นอกจากนั้นยังได้รับความเคารพ การยกย่องสรรเสริญจากเพื่อนนักข่าวด้วยกันเองและยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่จากนักข่าวรุ่นน้องให้ยึดถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างอีกด้วย และที่สำคัญที่สุด การปฏิบัติตามหลักจริยธรรมจะช่วยให้นักหนังสือพิมพ์คนนั้น สามารถยืนอยู่ในแวดวงอาชีพได้อย่างสง่างาม เพราะหากนักหนังสือพิมพ์คนใดไร้ซึ่งมีจริยธรรมแล้ว บุคคนคนนั้นก็จะต้องถูกกีดกันจากเพื่อนร่วมอาชีพหรือจากประชาชนให้ออกจากวิชาชีพไปในที่สุด ซึ่งถือเป็นบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับบุคคลในที่อยู่วงการวิชาชีพนี้เลยทีเดียว ซึ่งเราก็สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ ที่สำคัญๆ ของหลักจริยธรรมได้ 4 หลักดังนี้

หลักว่า ด้วย “ความจริงที่แท้จริง” (Objectivity)

เป็นหลักที่นักหนังสือพิมพ์ใช้ปฏิบัติเพื่อให้การรายงานข่าวนั้นได้เนื้อหาข่าวที่ครบถ้วน ไม่ลำเอียง ปราศจากการสอดแทรกความคิดเห็น อารมณ์ส่วนตัว ซึ่งมีหลักอยู่ 5 อย่าง คือ

1. ความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย (Impartiality)

กล่าวคือ หากต้องรายงานข่าวที่เกี่ยวกับข้อพิพากหรือความขัดแย้งของฝ่ายต่างๆ นักหนังสือพิมพ์ต้องนำความคิดเห็น ทรรศนะของทุกฝ่ายที่ตกเป็นข่าวมานำเสนอให้ครบ ในปริมาณที่สมดุลกันทุกฝ่าย แต่ในความเป็นจริงแล้วแนวทางดังกล่าวมักทำได้ยาก เพราะตัวนักหนังสือพิมพ์ผู้นั้นมักจะมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่งอยู่แล้ว

2. ความปราศจากข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือทางความสนใน (Absence of Conflict of Interest)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ไม่ควรที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าร่วม เข้าสังกัดหรือเป็นสมาชิกในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพราะจะทำให้ข่าวสารที่นำเสนอนั้น ขาดความน่าเชื่อถือหรือถูกตั้งข้อสงสัยจากประชาชนในทันที

3. โอกาสของการปฏิเสธ (Opportunity of Denial)

หลักการในข้อนี้จะสอดคล้องกับหลักการความไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย กล่าวคือ หากการนำเสนอข่าวสารใดๆ มีผู้ถูกล่าวหาปรากฏอยู่ในข่าว ไม่ว่าผู้ถูกกล่าวหาจะเป็นใคร จะเป็นคนชั่วช้าขนาดไหนก็ตาม นักหนังสือพิมพ์จำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านั้น แสดงความคิดเห็นของเขาต่อข้อกล่าวหานั้นๆ เพราะคำกล่าวหานั้นๆ ยังไม่ใช่คำพิพากษาของศาลยุติธรรม และการให้โอกาสแก่ผู้ถูกกล่าวหานี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้หนังสือพิมพ์ถูกฟ้องร้องว่า ได้ทำการหมิ่นประมาทต่อผู้ถูกกล่าวหานั้นๆ ในอนาคต

4. การละเว้นเสียจากความลำเอียงต่อผู้ใกล้ชิด (Avoidance of Cronyism)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องระวังอย่าให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างตนกับแหล่งข่าว เข้ามามีอิทธิพลครอบงำการรายงานข่าวของตนได้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีทางเลยว่า การรายงานข่าวจะมีความเที่ยงตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักข่าวอาชญากรรม ต้องเข้มงวดในกฎข้อนี้เป็นอย่างมาก เพราะนักข่าวสายนี้จะต้องอยู่ใกล้ชิด สนิทสนมกับแหล่งข่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

5. กาลละเว้นเสียจากความเคียดแค้นพยาบาท (Avoidance of Vengeance)

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์ที่เกิดจากความเคียดแค้น พยาบาท ความไม่พอใจของตน หรืออารมณ์อื่นใดของตน โดยตัวของนักหนังสือพิมพ์เองต้องคำนึกอยู่เสมอว่า ความจริงที่แท้จริงที่ต้องนำเสนอต่อสายตาผู้อ่าน จะต้องมาจากความคิดที่มีเหตุผลจากสมองที่แจ่มใส ซึ่งการที่คิดอย่างมีเหตุผลจะเกิดขึ้นได้นั้น นักหนังสือพิมพ์จะต้องรู้จักปล่อยวางอารมณ์ที่ขุ่มมัวที่อยู่เกาะอยู่ในจิตใจ หรือความลำเอียงที่เกิดจากทางอารมณ์ใดๆ นั่นเอง

หลักว่าด้วย “ความสัตย์ซื่อ” (Honesty) หรือ “ความสัตย์จริง” “การรักษาความสัตย์”

การนั่งเทียนเขียนข่าวเอง หรือการยกเมฆของนักข่าว หรือการแต่งเติมเสริมแต่งข้อเท็จจริงใดๆ ให้ดูน่าสนใจ คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวทางจริยธรรมในจิตใจของนักหนังสือพิมพ์ว่าด้วย “ความสัตย์ซื่อ” ต่อผู้อ่าน อย่างแท้จริง ซึ่งสามารถอธิบายให้เห็นด้วยหลัก 2 ประการ คือ

ประการที่ 1. การเสนอรายงานข่าวที่เป็นจริง, มิใช่เสนอนิยาย

กล่าวคือ นักหนังสือพิมพ์ต้องยึดถืออยู่ตลอดว่า การรายงานข่าวใดๆ ที่ปรากฏในหน้าหนังสือพิมพ์นั้น ต้องยึดอยู่กับความจริงที่เป็นจริงเท่านั้น โดยหลักทางวารสารศาสตร์ ถือว่า ข้อเท็จจริงหรือความเป็นจริงนั้นมันเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์และเต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้น น่าสนใจอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแต่งเติมให้ผิดเพี้ยนด้วยการกระทำใดๆ อีก ซึ่งการกระทำใดที่ใช้ความคิดของตนเองแต่งเติมเนื้อข่าวไม่ว่าจะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด ไม่สามารถคิดเห็นเป็นอย่างอื่นได้นอกเสียจาก นักหนังสือพิมพ์ผู้นั้นต้องให้ข้อเขียนนั้นๆ ดูมีชีวิตชีวา น่าสนุกมากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันมากก็คือ “การกล่าวอ้างพยานเท็จ” หรือนัยหนึ่งกล่าวอ้าง “ผู้รู้เห็น” ที่ไม่มีตัวตนในทำนอง “ผู้สันทันกรณี” ซึ่งทั้งหมดล้วนแต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการไร้ซึ่งความละลายต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไปของตัวผู้เขียนนั่นเอง

ประการที่ 2 การรักษาวาจาที่ให้คำมั่นหรือตกปากลงคำไว้

ในเงื่อนไขแรก หากนักหนังสือพิมพ์ได้ให้สัญญากับแหล่งข่าวใดว่า จะไม่เสนอรายงานข่าวสารเรื่องนั้นในหน้าหนังสือพิมพ์ ก็ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกการให้สัญญาแบบนี้ว่า off the record ข้อผูกมัดนี้ยังรวมไปถึง การห้ามนักหนังสือพิมพ์นำคำกล่าวอ้างของแหล่งข่าวที่ได้สัญญาไว้แล้ว ไปใช้เป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาข้อมูลจากแหล่งข่าวรายอื่นๆ ซึ่งนักหนังสือพิมพ์ไม่ควรจะให้สัญญากับแหล่งข่าวคนใดคนหนึ่ง แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ นักหนังสือพิมพ์ต้องตกลงกับแหล่งข่าวคนนั้นเสียก่อนที่จะให้ข้อมูลว่า ต้องการให้ข้อมูลส่วนใดเป็น off the record ซึ่งหากแหล่งข่าวรายใดได้ให้ข้อมูลแก่นักหนังสือพิมพ์ไปแล้ว โดยที่ไม่มีการตกลงกันว่าข้อมูลส่วนใดเป็น off the record แหล่งข่าวผู้นั้นจะมาขอให้นักหนังสือพิมพ์ปิดบังข้อมูลดังกล่าวในลักษณะ off the record ในภายหลังไม่ได้

เงื่อนไขที่สอง หากนักหนังสือพิมพ์ได้ให้สัญญากับแหล่งข่าวใด เกี่ยวกับกำหนดระยะเวลาที่จะเปิดเผยข่าวสารนั้นๆ ต่อสาธารณะ หรือสัญญาว่าจะไม่เปิดเผยถึงแหล่งที่มาของข่าว นักหนังสือพิมพ์ก็ต้องปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าผลที่เกิดตามมาต่อตัวนักหนังสือพิมพ์เองจะร้ายแรงเพียงใด ซึ่งในภาษาอังกฤษเรียกสัญญาแบบนี้ว่า not of attribution ซึ่งหนังสือพิมพ์จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และแน่ใจก่อนที่จะใช้เลือกวิธีนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งข่าวสารจากแหล่งข่าว เพราะผลกระทบที่ตามมาอาจจะไม่สามารถประเมินค่าความเสียหายได้

หลักว่าด้วย “ความบังควรและไม่บังควรซึ่งมนุษย์พีงปฏิบัติต่อมนุษย์” (Human Decency)

ในการรายงานข่าวที่ดีที่ของนักหนังสือพิมพ์ที่พึงปฏิบัตินั้น จะต้องปราศจากความมีอคติ ลำเอียงต่อคนที่ตกเป็นข่าว จากความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา อุดมการณ์ ภูมิลำเนา ซึ่งแบ่งปัญหาที่เกิดจากอคติได้ดังนี้

1. ปัญหาเกี่ยวกับความลำเอียงต่อคนต่างเชื้อชาติหรือคนต่างภาษา

นักหนังสือพิมพ์ห้ามใช้คำเรียกหรือคำอ้างถึงกลุ่มหรือผู้ใดในลักษณะที่อ่านฟังดูเป็นการโจมตี หยาบคาย ดูหมิ่นเหยียดหยาม ตำหนิ เสียดสี ตลก ดูหมิ่นดูแคลน เช่นคำที่เรียกคนลาวว่า “พวกลูกข้าวเหนียว” คำเรียกกรรมกรจีนว่า “เจ๊ก” ตำเรียกคนอิสลามว่า “แขก” เป็นต้น เพราะคำเหล่านี้มีแต่จะสร้างความแตกแยกเกิดขึ้น

2. ปัญหาเกี่ยวกับความลำเอียงต่อคนต่างศาสนา

นักหนังสือพิมพ์พึงระลึกอยู่เสมอว่า ความเชื่อทางศาสนานั้นเป็นความเชื่อส่วนตัวซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนอย่างมาก ดังนั้นหนังสือพิมพ์ต้องระมัดระวังอย่างมากเป็นพิเศษหากต้องตีพิมพ์ข่าวที่เกี่ยวข้องกับทางด้านศาสนา เพราะหากผิดพลาดไปอาจจะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาได้ เช่น อย่านำเสนอเรื่องราวของศาสนาในทางขบขัน เยาะเย้ย หรือนำเสนอข่าวจากการสรุปเอาอย่างผิดๆ ว่า พฤติกรรมของใครสักคนที่เขาแสดงออกมานั้น เป็นผลมาจากศาสนาที่เขานับถือ หรือคิดว่าคนในศาสนาใดๆ ก็ตาม จะต้องคิดหรือทำสิ่งต่างๆ เพื่อพวกพ้องในศาสนาของเขา แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า ศาสนาเป็นความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนเท่านั้น อย่าได้นำพฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลไปเกี่ยวข้องกับการศาสนา และสุดท้ายการเขียนตัวสะกดหรือเรียกชื่อ ตำแหน่ง สมณศักดิ์ของบุคคลที่เราจะเขียนถึงทางศาสนา ก็เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ต้องสะกดให้ถูกต้อง เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้น คนในศาสนานั้นก็จะรู้สึกไม่พอใจไม่มากก็น้อย ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความแตกร้าวได้ง่ายๆ

3.ปัญหาเกี่ยวกับความน่าชิงชังรังเกียจ

นักหนังสือพิมพ์ต้องจำไว้เสมอว่า หนังสือพิมพ์มีภาระหน้าที่อันสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารอันถูกถ้วนต่อสาธารณชนโดยทั่วไป ดังนั้น ถ้อยคำใดที่จะทำให้สาธารณชนเกิดความรู้สึกรังเกียจ หรือเป็นถ้อยคำที่หยาบคาบ ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความรุนแรง หรือทำให้เกิดข้อสงสัยในความหมาย นักหนังสือพิมพ์ไม่สมควรใช้อย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรวบรวมข้อมูลข่าวด้านอาชญากรรม ซึ่งนักหนังสือพิมพ์ต้องระลึกไว้เสมอว่า รายละเอียดบางอย่างเช่น ความโหดร้าย ความน่าสยดสยอง ความป่าเถื่อน เนื้อหาเหล่านี้เหมาะสมหรือเป็นประโยชน์ที่ผู้อ่านจำเป็นต้องรับรู้หรือไม่

หลักว่าด้วยการลอกคัดเรื่องของคนอื่นแล้วก็ทึกทักเอาเป็นของตัว (Plagiarism)

หากนักหนังสือพิมพ์คนใด คัดลอกเนื้อหาหรือข้อมูลของผู้อื่นชนิดคำต่อคำ ไม่ว่าจะลอกแต่เพียงเฉพาะส่วนสาระสำคัญหรือไม่ว่าจะลอกทั้งหมด แล้วก็ใส่ชื่อของตนเองลงไปทึกทักเอาว่าเป็นของตน การกระทำเช่นนี้ถือว่า ผิดจริยธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งผลจากการพฤติกรรมดังกล่าวทำให้ เกิดความเสื่อมเสียแก่ตนเอง และหนังสือพิมพ์ที่ลงพิมพ์เรื่องดังกล่าวก็จะเสียหายไปด้วย แต่ไม่รวมถึง หากนักหนังสือพิมพ์คนใดได้นำข้อเขียนหรือข่าวสารเดิมที่มีอยู่แล้ว นำมาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อพัฒนางานเขียนของนักหนังสือพิมพ์คนนั้น โดยได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อเขียนที่มีอยู่เดิมด้วยสำนวนภาษาการเขียนของตนเอง พร้อมกับใส่ข้อมูลใหม่ๆ ที่ตนเองหามาเพิ่มเติมเข้าไป จนกลายเป็นงานชิ้นใหม่ขึ้นมาได้ เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วก็ไม่ถือว่าผิดหลักจริยธรรมแต่อย่างใด เพราะว่า ข้อเท็จจริงหรือความจริงที่มีอยู่ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถจดทะเบียนลิขสิทธิ์ถือเอาเป็นเจ้าของได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็สามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

นอกจานนี้ยังมี จริยธรรมสำหรับบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ที่สามารถใช้เป็นข้อเตือนใจของนักหนังสือพิมพ์อีกด้งนี้

1.หน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญของหนังสือพิมพ์ คือต้องให้ข้อมูลที่ถูกถ้วน และให้ความคิดเห็นที่ซื่อสัตย์ต่อผู้อ่าน ด้วยวิธีการนำเสนอที่ให้ผู้อ่านรู้สึกเพลิดเพลิน ไม่ใช่มุ่งจะขายข่าวเพื่อรายได้แต่เพียงอย่างเดียว

2. หนังสือพิมพ์ต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อหรือเจตนาอันสกปรกจากกลุ่มบุคคลใด

3. หนังสือพิมพ์ต้องไม่ตกเป็นเครื่องมือข้ารับใช้ของรัฐบาล หรือหน่วยงานอำนาจใดๆ

4. หนังสือพิมพ์ต้องระลึกอยู่เสมอว่า คือผู้นำแสงสว่างมาสู่สังคม ไม่ใช่ผู้ทำลายสังคม

5. หนังสือพิมพ์ต้องช่วยขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของประชาชนออกไปอย่างไม่มีหยุดยั้ง

6. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่ช่วยพยายามลดความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่เป็นผู้ซ้ำเติม

7. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้ที่สะท้อนการทำงานของรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้รัฐบาลหาแนวทางแก้ไขข้อบกพร่องให้ดียิ่งขึ้น

8. หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องมือที่กระตุ้นและถ่ายทอดความคิดเห็นของสาธารณชนต่อข้อปัญหาต่างๆ ไปสู่ผู้มีอำนาจ

9. หนังสือพิมพ์ต้องสร้างความเข้าใจ ความปรองดองให้เกิดแก่คนในชาติและประชาชนระหว่างประเทศได้ ไม่ใช่ก่อให้เกิดความแตกแยก

10. หนังสือพิมพ์ต้องเป็นผู้จุดประเด็นปัญหาสาธารณะให้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ของสาธารณะเอง

11. หนังสือพิมพ์มีสิทธิและหน้าที่ต้องเปิดโปงข้อเท็จจริงสาธารณะที่หน่วยงานจากภาครัฐพยายามจะปิดบังข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้เป็นประโยชน์ของสาธารณชน

12. ด้านฝ่ายภาครัฐเองก็พยายามจะตำหนิหนังสือพิมพ์ที่มักจะคอยเปิดโปงสิ่งต่างๆ

13. จากการที่หนังสือพิมพ์พยายามปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงแก่สาธารณชน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่หนังสือพิมพ์จะสร้างศัตรูให้เกิดขึ้นพร้อมๆ ไปด้วย

14. หนังสือพิมพ์มีหน้าที่และบทบาทที่จะต้องเผยแพร่ข้อเท็จจริงไปสู่สาธารณะให้ทราบโดยทั่วกัน

15. อุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ คือการสร้างความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นในสายตาประชาชน และรักษาสิ่งนั้นให้หนักแน่นมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

ที่มา สุภา ศิริมานนท์. จริยธรรมของหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด, 2529.




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ระบบพื้นฐานคอมพิวเตอร์
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ต่างประเทศ มาเลเซีย หางาน ทำที่บ้าน the seaboard การตลาด พนักงานขาย บุคคล, สำนักงาน การโรง พพนักงานขับรถผู้บริหาร Sette หางานม.3 ในกทม บริษัท AR นักวิจัย ต่ำแหน่ง วุฒิ ป.6 จ.นนทบุรี โลตัส รังสิต วุฒิ ม6 ชายปากเกล็ด koean language คล้งสินค้า ผู้จัดการ วุฒิ ปวส. ิศกร ว lu TP&P ชลบุรี sulayman สระผม ชลบุรี รูป วิมลวรรณ บางนากฎหมาย ดู ไบ leader ชลบุรี ธุรการบัญชี สามโคก นานดี ธุระกิจกิ่งแก้ว หางาน กาญจนบุรี โรงแรมเกาะสมุยหาดละมัย r22wo62 ธุรการสิรินธร งานPRแถวสุขุมวิท เดี ย งานจิตวิทยา บริษัทPMS/รามคำแหง ใยแก้วนำแสง camara man เซ็ compu ทนายความและนิติกร นิคุนิ หูฟัง eoร่งรัดหนี้สิน เซเว่นนครปฐม สมุทรปราการ เขตพระประแดง รามคำแหง ธุรการ นักศึกษาฝึกงานเขียนแบบ