หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง โรคพืชจากไวรัส
เขียนโดย ณัฐินี ปัญญาวงศ์พิทักษ์

Rated: vote
by 11 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




 

                  สิ่งมีชีวิตที่เป็นสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ ไวรัส (virus) ไมโคพลาสมา (mycoplasma or mycoplasmalike organism) แบคทีเรีย (bacteria) รา (fungi) ไส้เดือนฝอย (nematode) และพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต (higher plant parasites) ได้แก่ กาฝาก (mistletoes) และฝอยทอง (dodders

 

ไวรัส (viruses)

 
 

ภาพที่ 20 โครงสร้างของไวรัส
ที่มา : http://micro.magnet.fsu.edu/cells/virus.html

 

                  ไวรัสมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ

                  1. สามารถทำให้เกิดโรคและติดต่อได้ (transmissible)

                  2. สามารถเพิ่มจำนวนได้เฉพาะในพืชที่มีชีวิตเท่านั้น( reproduce only in vivo )

                  3. มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงธรรมดา( light microscope )

                  การจัดจำแนก( classification ) โดยใช้ธรรมชาติของเชื้อยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากความรู้และข้อมูลที่สำคัญในเรื่องธรรมชาติของเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคยังไม่สมบูรณ์พอ ดังนั้นการจัดจำแนกกลุ่มของไวรัสสาเหตุของโรคพืชจึงใช้ลักษณะอื่นๆ แทน

 

ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( symptoms of viral diseases in plant )

 

                  ลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสแบบทั่วไปทั้งต้นเรียกว่า systemic symptom เนื่องจากไวรัสแพร่กระจายไปทุกส่วนของพืช สำหรับลักษณะอาการแบบเฉพาะที่ เรียกว่า local symptom ลักษณะอาการทั่วไปของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสคือ การลดลงของขนาดพืช ส่วนยอดของพืชอาจไหม้และส่วนของใบอาจมีสีเหลืองซีดหรือเป็นจุดสีเหลืองซีดหรือจุดสีน้ำตาล หรือเป็นรอยจุดด่างเป็นดวงๆ( ring spot ) หรือเป็นรอยขีด( streak ) ใบพืชอาจจะเสียรูปร่างไปเพียงเล็กน้อย ใบเป็นคลื่น หรืออาจจะเสียรูปร่างไปจนไม่เหลือลักษณะเดิม

                  ความรุนแรงและลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งจะผันแปรไปได้ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดและอายุของพืช สภาพแวดล้อมก่อนเกิดการติดเชื้อ( infection ) และในระหว่างที่มีการพัฒนาของโรค และความผันแปรในตัวของเชื้อไวรัสเอง ความผันแปรในตัวเชื้อไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งสามารถตรวจสอบได้จากความแตกต่างในเรื่องของ ความสามารถในการก่อให้เกิดโรคกับพืชชนิดต่างๆ ลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นในต้นพืช และการถ่ายทอดเชื้อโรคโดยแมลงว่าเป็นแมลงชนิดใด ซึ่งความผันแปรนี้ก่อให้เกิดการแบ่งชนิดของไวรัสเป็น strain

 

การถ่ายทอดเชื้อไวรัส ( virus transmission )

 

                  การแพร่กระจายของเชื้อไวร้สเกิดได้ 4 ทางดังนี้

                  1. ทางเมล็ด แต่เกิดขึ้นได้ยากมาก อาจเป็นเพราะว่าขณะเกิดต้นอ่อนภายในเมล็ดนั้น เชื้อไวรัสไม่สามารถติดเข้าไปได้

                  2. ทางส่วนขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ( vegetative organ ) เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการแบบ systemic ทั้งหมด ถ่ายทอดเชื้อโรคได้ด้วยวิธีนี้

                  3. ทางการสัมผัส มักเกิดในกรณีที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณความเข้มข้นสูง อาจเกิดโดยการเสียดสีของกิ่งของต้นที่อยู่ใกล้กันขณะที่มีลมพัด หรือการที่รากของต้นไม้มาแตะกันแล้วเชื้อผ่านเข้าทางรอยแผล หรือเกิดการเชื่อมกันของราก ( root grafting )

                  4. ทางตัวพาหะ( vector ) เป็นวิธีการถ่ายทอดเชื้อที่สำคัญที่สุด ตัวพาหะนี้ได้แก่ รา ไส้เดือนฝอย นก สัตว์ขนาดใหญ่ และแมลง ซึ่งแมลงจัดว่าเป็นตัวพาหะที่สำคัญที่สุด

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสสาเหตุของโรคพืชและตัวพาหะที่เป็นสัตว์ขาปล้อง ( The relations of plant viruses to arthropod vectors )

 

                  ไวรัสเกือบทุกชนิด ยกเว้น TMV มีการแพร่กระจายและปลูกเชื้อโดยแมลง และแมลงที่เป็นพาหะที่สำคัญ คือ เพลี้ยอ่อน( aphid ) ซึ่งตามปกติเป็นตัวนำเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค mosaic และไวรัสชนิดที่ใกล้เคียงอื่นๆ

 
 

ภาพที่ 21 เพลี้ยอ่อน (aphids) ซึ่งเป็นแมลงพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัส
ที่มา : http://www.freshops.com/nutrient.html

 

                  แมลงที่เป็นพาหะสำคัญลำดับที่สองคือ เพลี้ยกระโดด ( leafhopper ) ซึ่งเป็นตัวการถ่ายทอดเชื้อ yellow virus นอกจากนี้ยังมีพาหะชนิดอื่นที่สำคัญ ได้แก่ เพลี้ยไฟ ( thrips) แมลงหวี่ขาว ( white fly ) เพลี้ยแป้ง ( mealy bug ) และไร( mite )

 
 

ภาพที่ 22 เพลี้ยกระโดด เป็นแมลพาหะของเชื้อไวรัสลำดับที่สอง
ที่มา : http://www.ent.iastate.edu/imagegal/homoptera/leafhopper/potato/0212.37potatoleafhopper.html

 

 

การจำแนกไวรัสสาเหตุของโรคพืชโดยใช้แมลงพาหะ

 

                  ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ถ่ายทอดโดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ จึงถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

                  1. stylet-borne virus หรือ nonpersistent virus จะสามารถถ่ายทอดโดยติดไปกับปากของแมลงและหายไปจากตัวแมลงอย่างรวดเร็ว เพียงแค่การไปดูดกินน้ำเลี้ยงพืชหนึ่งครั้งเท่านั้น ไวรัสกลุ่มนี้มีสมาชิกมากที่สุด

                  2. circulative virus หรือ persistent virus ไวรัสสาเหตุของโรคพืชเข้าไปอยู่ภายในตัวแมลงเป็นระยะเวลายาวนานหรือตลอดชั่วชีวิตของแมลง ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าไวรัสมีการเพิ่มจำนวนในตัวของเพลี้ยอ่อนหรือไม่ แต่ถ้าเป็นไวรัสที่ถ่ายทอดโดยเพลี้ยกระโดด มันจะผ่านต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลานได้ทางไข่

 

คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของไวรัสสาเหตุของโรคพืช ( physical and chemical properties of plant viruses )

 

                  คุณสมบัติที่ว่านี้ได้แก่ ความเจือจางต่ำสุดของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคกับพืช ( dilution end point ) อุณหภูมิในระดับที่สามารถหยุดปฏิกิริยาของเชื้อไวรัสได้( thermal inactivation point ) และความยาวนานในการดำรงชีวิตอยู่ได้นอกเซลล์สิ่งมีชีวิต ( longevity in vitro ) ซึ่งคุณสมบัตินี้สามารถช่วยในการวินิจฉัยชนิดของไวรัสที่ก่อให้เกิดลักษณะอาการของโรคที่คล้ายคลึงกันได้ แต่การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพนั้นบ่อยครั้งที่มีปัจจัยภายนอกอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

                  TMV มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีที่คงที่มากกว่าไวรัสชนิดอื่น ๆ มักถูกนำไปใช้ในการศึกษาเรื่องต่างๆ มากมาย จนทำให้ทราบว่าตัว particle ของไวรัสประกอบด้วย nucleic acid และ protein โดย protein เป็นตัวห่อหุ้ม nucleic acid ไวรัสสาเหตุของโรคพืชส่วนใหญ่ที่ก่อให้เกิดอาการด่าง ( mosaic ) มี nucleic acid ประเภท ribonucleic acid ( RNA ) และมีไวรัสสาเหตุของโรคพืชอย่างน้อยที่สุด 1 ชนิด คือ cauliflower-mosaic virus ที่ nucleic acid เป็น deoxy- ribonucleic acid ( DNA )

                  ไวรัสมีรูปร่าง 3 แบบ คือ แบบเป็นท่อนตรง ( rigid rod ) แบบเป็นท่อนคด ( flexuous rod ) และแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม ( polyhedral ) มีขนาดอยู่ระหว่าง 16 – 475 m? (1 m ? = 10 -6 mm ) ไวรัส TMV มีรูปร่างเป็นท่อนตรง มีขนาด 15 x 280 m?

 

วงจรของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( virus disease cycle )

 

                   เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์พืชโดยอาศัยตัวพาหะต่างๆแล้ว จะปล่อย RNA เข้าไปดึงเอาสารประกอบที่มีไนโตรเจนอยู่จาก cytoplasm และจาก nucleus ไปใช้ในการเพิ่มจำนวน nucleic acid ของตัวไวรัส และใช้ amino acid ของเซลล์พืชในการสร้าง protein ของตัวมันเอง หลังจากการสร้าง particle ใน vacuole ของเซลล์พืชหรือใน cytoplasm แล้ว อาจทำให้เห็นผลึกของเชื้อไวรัสเมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

 

ความสัมพันธ์ทางเซรุ่มวิทยา ( serological relationships )

 
                   ไวรัสเป็น antigen ที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้น antiserum ที่ได้จากการใช้ไวรัสชนิดหนึ่งฉีดเข้าไปในตัวสัตว์จึงทำปฏิกริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากพืชที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดนั้น โดยของเหลวที่สกัดมาจากพืชต้องมีปริมาณของเชื้อไวรัสมากพอ antiserum ที่ได้มานี้จะไม่ทำปฏิกิริยากับของเหลวที่สกัดออกมาจากต้นพืชที่ไม่เป็นโรคหรือที่เป็นโรคอันเนื่องมาจากไวรัสชนิดอื่น การทดสอบทางเซรุ่มวิทยาช่วยให้สามารถบอกความสัมพันธ์ในระหว่างไวรัสพืชต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

ปรากฏการณ์การเข้าไปรบกวนพืชของเชื้อไวรัส ( interference phenomena )

                   ต้นพืชที่ถูกเชื้อไวรัส strain หนึ่งเข้าไปทำลายแล้วนั้น ตามปกติจะไม่ถูกเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันแต่ต่าง strain เข้าไปก่อให้เกิดโรคได้อีก ถ้าเชื้อไวรัสเป็นชนิดอื่นจึงจะเกิดโรคขึ้นได้ ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้ได้ถูกนำมาใช้ทดสอบเชื้อไวรัสว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดได้เป็นอย่างดี คือ เมื่อมีโรคเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส strain หนึ่ง แล้วสามารถคุ้มกันตัวเองไม่ให้เป็รโรคจากเชื้อไวรัสอีก strain หนึ่งได้ เป็นการแสดงว่าไวรัสทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันแต่ต่าง strain

การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( control of virus diseases )

                   กระทำโดยการป้องกันไม่ให้พืชเป็นโรค อาจทำโดยการใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเพื่อลดจำนวนแมลงพาหะเมื่อทำการปลูกพืช อาจใช้ความร้อนเข้าช่วยในการกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากตอพันธุ์ หรือตัดเอา apical meristem จากยอดอ่อนพืชที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วไปทำการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ( tissue culture ) ซึ่งจะทำให้ได้ต้นพืชที่ปลอดเชื้อไวรัส




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

มาทำความรู้จักกับ ยีน และจี เอ็ม โอ กันเถอะ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : หางานบ.ซาวาเนีย ไทยร่วมสิน มีนบุรี คันนายาว u8re2pt ช่างcotto ร้านhobs หางานแถว นนทบุรี ส่งเสริม บางพลัก สมัครงานขับรถ แถวพระประแดง งานต่างจังหวัด บริษัทเขตสวนหลวง วุฒิ ปวช งานธนาคารกรุงเทพ งานราชการจ.ตรัง carcare คนพิการหางานเชียงใหม่ หจก.จเร ยา 409 คลัวสินค้า ชลบุรี สามา รถ บริษัท Smart หลังกระทรวง Tassana ชลบุรี ิเลขานุการ น้ำตาลสระบุรี 506912 เซล ขายรถ บริษัท ดีเซน Java Developer เจ้าหน้าที่คลังสินค้านนทบุรี เซ็นทรัลพัทยา adver โรงงานเหล็กเส้น ดูแลต้นไม้ที่ชลบุรี นนทบุรี market พนักงานทั่วไปย่านรังสิต ขับรภผูับริหาร tomax บางแค พาสทาม พนักงานขาย PC สงขลา เจ้าหน้าที่ส่่งเสริมการตลาด ภาษาญ๊ปุ่น ฟาสชีโน่ สาธารณสุข นักวิชาการ จ.นครราชสีมาห้างบิ๊กซี ปากเกร็ด นนทบุรี พนักงายขาย Asst F Pc ที่พัทยา ธุระการ-การเงิน