หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ปวดคอ....นวด หรือ ยังไงดี
เขียนโดย นุชนันท์ วรรณโกวิท

Rated: vote
by 2 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




                                             นวด หรือ  ออกกำลัง อย่างไร จึงจะช่วยลดอาการปวดคอ
 
มีผู้สอบถามเข้ามาบ่อยครั้งว่า การนวดช่วยลดปวดและทำให้หายเจ็บปวดได้ แต่ทำไมเวลาลองนวดคอเองแล้วไม่เห็นหายปวด ทำยังไงถึงจะหายปวด จึงขอยกคำตอบที่ตอบแก่ผู้ซักถามมาให้ท่านทั้งหลายที่อาจมีปัญหาเดียวกันได้ทราบด้วย แต่ในบทความนี้ จะบรรยายยืดยาว เท้าความกันให้เห็นภาพมากหน่อย สำหรับคนที่อาจกำลังมีปัญหาปวดคอ และยังตัดสินใจไม่ได้ว่า ควรไปพบผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยทำการรักษาได้เมื่อใด จะอ่านไว้เป็นแนวทาง หรือตัดสินใจเข้ารับการรักษาเสียแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะปล่อยไว้ให้เป็นมากกว่าเดิม
 
ผู้เขียนตอบไปว่า การนวดคอ ไม่ว่าด้วยเทคนิคใด ก็ไม่อาจช่วยแก้ปัญหาอาการปวดคอ ซึ่งเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อคอไม่แข็งแรง หรือเกิดภาวะที่ข้อต่อคอสูญเสียความมั่นคง (instability)ได้ ผู้ถามอาจจะงงว่า รู้ได้อย่างไรว่าอาการปวดที่ถามถึงนั้น มีสาเหตุจากภาวะ instability อันนี้ก็ต้องบอกว่า เป็นเรื่องของประสบการณ์ส่วนตัว ที่ทำให้รู้สึกเช่นนั้น
 
เมื่อผู้ป่วยบอกถึงอาการปวดมากเวลาเงยศรีษะ แม้ยังไม่ได้ซักประวัติโดยละเอียด ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า ข้อต่อกระดูกสันหลังระดับคอที่เกิดการเคลื่อนไหวในทิศก้ม-เงย อาจมีปัญหาเคลื่อนได้มากกว่าปกติ ในขณะที่ข้อต่อระดับอื่น ๆ อาจเกิดสภาวะยึดติด จากการศึกษากายวิภาคศาสตร์ ทำให้รู้ว่าข้อต่อระดับคอของมนุษย์เคลื่อนไหวในทิศทางการแหงนหน้า หรือเงยศรีษะไปด้านหลัง ได้มากกว่าการก้ม เนื่องจากการมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางสรีระที่ทำให้คนเราก้มได้น้อยกว่าเงย เพราะมีทั้งหลอดลม หลอดอาหาร ลูกกระเดือก และลักษณะการวางตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีความแตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทำให้พบว่าปัญหาอาการปวดคอสืบเนื่องจากสภาวะ instablity เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า เมื่อผู้ป่วยเล่าว่ามีอาการปวดเมื่อเงยหน้าเต็มที่ หรือเมื่อเงยสุดแล้วปวดมากขึ้น จึงอนุมานเอาเองว่ามีปัญหาจากภาวะ instability นั่นเอง
 
ทั้งนี้ทั้งนั้น การคิดรวบยอดเอาแบบนี้ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการตรวจประเมินผู้ป่วย แต่ในที่นี้ ถือว่าการอนุมานถึงสภาวะที่ควรให้ความระมัดระวังในระดับที่สูงกว่า ก่อนให้คำแนะนำในการปฎิบัติตัว ที่ไม่ได้เห็นหน้าตา ไม่ได้ตรวจร่างกายผู้ป่วย น่าจะเป็นการปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากกว่า เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ให้ จะค่อนข้างละมุนละม่อมมากกว่า โดยคำนึงถึงความผิดพลาดที่ผู้ป่วยอาจพลั้งเผลอทำขณะออกกำลังกายเองได้ อย่างไรก็ดี การแนะนำให้ปฎิบัติตัว ตามอาการสำคัญที่บอกเล่าผ่านอีเมล์ อาจไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะช่วยผู้ป่วยได้ หากทำไม่ถูกต้อง แต่ก็น่าจะช่วยได้บ้างในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ให้ความรู้ในการดูแลตนเอง เพิ่มความระแวดระวังให้ผู้ป่วยโดยการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่กำลังเผชิญ  ก่อนพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญในเวลาที่สามารถพาตัวเองไปโรงพยาบาล หรือคลินิกได้
 
ส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงความไม่มั่นคง ก็ทำให้คิดไปถึงความหลวม น่าจะเกิดการเคลื่อนไหวได้ง่าย หรือมีช่วงการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ เรียกภาวะนี้ด้วยศัพท์เฉพาะว่า hypermobility แต่ในทางกลับกัน ก็อาจพบได้ว่า ข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติ จนเรียกได้ว่ามีภาวะยึดติด (joint stiffness) ก็พบเป็นปัญหาในผู้ป่วยที่มีสภาวะข้อต่อเคลื่อนไหวมากกว่าปกติได้เช่นกัน แม้จะมีการเคลื่อนไหวได้มากแต่ก็ไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดร่วมด้วยเสมอไป ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย มีปัญหาปวดคอจากการยึดติดของข้อต่อ ในขณะที่ข้อต่อคอและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เคลื่อนไหวได้มากเกินช่วงปกติ แต่กลับไม่พบอาการปวดใด ๆ เลย
 
บ่อยครั้งที่เราพบว่า ข้อต่อกระดูกสันหลังบางช่วงมีการยึดติด แต่ส่วนที่ติดต่อกันมีสภาพหลวม ไม่ว่าจะอยู่เหนือ หรือ ใต้ต่อ ส่วนที่ยึดติด หรือทั้งสองอย่าง ภาวะยึดติดและภาวะหลวมส่งผลให้เกิดอาการปวดได้พอ ๆ กัน สองสภาวะนี้อาจเสริมปัญหาให้กัน หรือเกิดเป็นปัญหาเฉพาะส่วนที่ต้องแก้ไขทีละครั้งก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกัน เพราะลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายที่สอดสัมพันธ์กันอย่างมีระบบ มีรูปแบบที่ตายตัว มักขัดข้องเป็นลูกโซ่ เมื่อมีการยึดรั้งติดขัดในส่วนที่เกี่ยวเนื่องหรือต่อติดกัน ผู้อ่านอาจเคยได้ยินมาบ้างว่า ผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดคอ ร้าวไปถึงก้น ร้าวไปถึงเท้าก็มี ก่อนทำการรักษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงไม่อาจละเลยถือเอาคำบอกเล่า เป็นอาการแสดงของปัญหาทางจิต สรุปเอาว่าผู้ป่วยคิดไปเอง แต่ต้องตรวจสอบว่าสิ่งที่บอกเล่านั้น มีความสัมพันธ์กันจริงหรือไม่ ผู้ป่วยก็ควรบอกอาการตามจริง ไม่ต้องกลัวหมอจะว่าบ้า ได้แต่หวังว่าผู้ป่วยคงไม่ได้คิดเอาเองจริง ๆ ฮ่า ฮ่า ฮ่า...หมอขำไม่ออกนะจ๊ะ
 
เมื่อจะวกกลับมาพูดถึง การนวด หรือ การออกกำลัง กันแน่ที่จะช่วยให้อาการปวดคอทุเลาลงได้ เราก็ต้องถามกันอีกครั้งให้แน่ชัดว่า อะไรคือสาเหตุของอาการปวดคอ และกลไกที่ทำให้เกิดการปวดนั้นคืออะไร ทำท่าทางอย่างไรจึงปวด ลักษณะของอาการปวดเป็นอย่างไร ระดับความรุนแรงของอาการปวดอยู่ตรงไหน ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากน้อยเพียงไร ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องถามเพิ่มเติม ล้วนเป็นตัวชี้วัดระดับความรุนแรงของสภาวะอาการปวดของผู้ป่วย อีกทั้งยังช่วยเป็นตัวประเมิน เมื่อผู้ป่วยรับการรักษาแล้วดีขึ้นมากน้อยอย่างไร ผู้มีอาการปวดเรื้อรัง หรือเฉียบพลัน ควรทำความเข้าใจว่า ทำไมตัวเราเอง จึงต้องสังเกตุตัวเองให้มาก จดจำลักษณะอาการให้ดี คอยดูแลตัวเองว่า ทำอะไรอย่างไรแล้วอาการดีขึ้น ทำอะไรแล้วอาการแย่ลง ทั้งหมดทั้งปวง ย่อมส่งผลถึงการรักษา ที่จะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ไม่ได้ขึ้นกับผู้ทำการรักษาเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการความร่วมมือกันเป็นอย่างดี ระหว่างผู้รับการรักษาและผู้ทำการรักษา หรือร่วมด้วยช่วยกัน 50-50 นั่นเอง
 
ในขณะที่เราไม่ทราบคำตอบของคำถามมากมายข้างต้น หากจะประมวลเหตุการณ์ก่อนให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ก็ควรต้องเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดซึ่งเกิดจากภาวะการสูญเสียความมั่นคงของข้อต่อ และสภาวะดังกล่าวให้ดีเสียก่อน ผู้เขียนอยากให้นึกถึงอาการส่ายของรถที่ไม่ได้ตั้งศูนย์ อาการสั่นคลอนของเครื่องจักรที่ประกอบไม่แน่น ไม่ลงล๊อค เราแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยขันน๊อตให้แน่น เอารถไปตั้งศูนย์ เช็คความมั่นคงของเพลา ล้อ และโช๊ค  แต่กับข้อต่อของร่างกาย เราทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่มีน๊อต สิ่งเดียวที่ช่วยพยุงข้อต่อร่างกายของคนเราให้มั่นคง คือกล้ามเนื้อ ทั้งที่อยู่ตื้นและลึก ทั้งที่เกาะระหว่างข้อต่อสั้น ๆ และที่เกาะไปไกล เชื่อมหลาย ๆ ข้อต่อ การจะทำให้ข้อต่อเกิดความมั่นคง จึงต้องทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ทนทาน กระชับ มีคุณสมบัติของความยืดหยุ่นที่พอเหมาะพอดี หากเกิดสภาวะไม่มั่นคงขึ้น ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า สภาพกล้ามเนื้อไม่สมบูรณ์ตามปกติ
 
อาการเมื่อแรกมีปัญหา อาจเป็นเพียงความรู้สึกเมื่อยล้า ปวด ๆ ตึง ๆ บีบ ๆ นวด ๆ ก็ช่วยบรรเทาอาการได้มาก แต่เมื่อเป็นบ่อย ๆ อาจรู้สึกขัด ๆ ติด ๆ สะบัดคอ หรือ ทุบ ๆ บริเวณที่ปวดตึง ก็ช่วยได้นิดหน่อย ไปให้หมอนวดจับเส้น ดูเหมือนจะช่วยได้มาก  นานวันเข้า อาการปวดเหมือนจะไม่หนีหายไปไหน แต่มาบ่อยและอยู่นาน จนรำคาญ อยากหาคนจับเส้นเก่ง ๆ ดึงเส้นที่ปวด ๆ ออกเสียให้รู้แล้วรู้รอด  ในขณะกล้ามเนื้อที่ปวดยังคงถูกใช้งานตามปกติ โดยเจ้าของไม่อินังขังขอบที่จะปราณีปราศรัย ไม่ได้พักอู้งานกับเค้าบ้างเลย แม้ว่าเจ้านายจะไปกินเลี้ยง ไปเมา หรือ เข้างานกะดึกกะเช้า กล้ามเนื้อคอก็ต้องทำหน้าที่พยุงลำคอที่รองรับน้ำหนักศรีษะ ที่หนักถึง 4.5-5 กิโลกรัมโดยเฉลี่ย เมื่อตัดที่ระดับข้อต่อคอข้อที่ 3 ไม่รวมน้ำหนักผม หรือประมาณ 8 % ของน้ำหนักตัว ปวดเมื่อยบ่อย ๆ ก็เข้าสู่วัฎจักร ปวด-นวด-ดัด-สะบัด-กร๊อบ ทำประจำจนชิน เสียงสะบัดข้อต่อเริ่มดังกิ๊ก ๆ แก๊บ ๆ จนเจ้าตัวรู้แล้วว่าข้อหลุดเลื่อน แต่ไม่มีเสียงลั่นเหมือนก่อน จากเดิมที่กล้ามเนื้อเกร็งยึดเป็นบริเวณกว้างเพื่อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวมากเกิน เมื่อเกิดภาวะข้อต่ออักเสบ หรือเมื่อกล้ามเนื้อบางมัดทำงานมากเกิน ซึ่งเป็นไปตามกลไกการป้องกันตัวตามธรรมชาติของร่างกาย แต่เมื่อวัฎจักร ปวด-นวด-ดัด-สะบัด-แก๊ก เกิดซ้ำ ๆ กล้ามเนื้อที่เคยทนทรหด ก็เริ่มเข้าสู่สภาวะถดถอย ยกธงขาว ไม่แข็งขืนกันอีกต่อไป เป็นผลให้ข้อต่อที่เคยได้รับการพยุงเริ่มเคลื่อนคลอน ราวกับตึกไร้เสาเข็มก็ไม่ปาน เมื่อข้อต่อเคลื่อนมาก กล้ามเนื้อก็ถูกยืดมากไปด้วย ต่างก็พากันไปสู่สภาวะง่อนแง่น เมื่อมีการเคลื่อนไหวสุดช่วงมาก ๆ เยื่อหุ้มข้อต่อเริ่มถูกยืด อาการปวดคอเริ่มประชิดอีกครา คราวนี้เจ้านายก็ต้องร้องโอดโอย ไม่ว่าจะนวด ก็ไม่หาย ไม่ต้องดัด แค่ขยับไม่มากก็ปวดจะแย่แล้ว ทีนี้จะงัดเทคนิคไหนมารักษากันล่ะ
 
ที่ร่ายยาวมาข้างต้น เป็นการบรรยายถึงความเป็นมาของสภาวะการสูญเสียความมั่นคงของข้อต่อ ซึ่งมักจะกินเวลานานเป็นแรมปี ในกรณีที่เกิดเฉียบพลัน มักเป็นผลจากอุบัติเหตุ เช่น การสะบัดของคอไปทางด้านหลังอย่างแรงโดยไม่อาจควบคุมได้ เมื่อรถเบรคกระทันหัน หรือถูกชนทางด้านหลัง ทำให้ข้อต่อคอเคลื่อนเฉียบพลัน บางรายถึงกับกระดูกคอหัก เสียชีวิตก็มี หากไม่เสียชีวิต แต่ได้รับบาดเจ็บที่คอ ก็ต้องรับการบำบัดฟื้นฟู โดยเน้นเรื่องการฝึกกำลังกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธี การใส่เครื่องพยุงคอก็ช่วยได้มากในกรณีที่กล้ามเนื้อคอมีการบาดเจ็บ มีภาวะอักเสบเฉียบพลัน
 
กว่าจะเจอคำตอบเล่นเอาคนอ่านตาแฉะ ก่อนจบบทความนี้ ผู้เขียนขอเฉลยว่า ไม่มีเทคนิคการรักษาใดโดด ๆ จะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดคอ หลัง เข่า หรือ ส่วนอื่นใด ล้วนต้องได้รับการรักษาให้ตรงจุด และควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย การปฎิบัติตัวอย่างมีสุขอนามัยที่ดี การออกกำลังกายโดยการเล่นกีฬา หรือขยับเขยื้อนร่างกายต่อเนื่องในทิศทางต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ความทนทาน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อได้ เมื่อเลือกใช้เทคนิคต่าง ๆ ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ นอกจากจะช่วยพยุงข้อต่อส่วนต่าง ๆ แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจไปพร้อม ๆ กัน  การนวดแม้จะเป็นวิธีแรกเริ่มที่คนเราถนัดในการรักษาตัว แต่ก็ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากสภาวะปวดในระยะยาวได้ อย่างไรก็ดี การนวดที่ถูกวิธี ถูกเวลา และถูกสภาวะ จะทำให้เลือดไหลเวียนมาสู่จุดที่นวดมากขึ้น ช่วยลดอาการปวดได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเราติดการนวดในทุกกรณี ย่อมทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้รับการบำบัดฟื้นฟู เพราะการนวดจัดเป็นวิธีการรักษาที่ง่ายกว่าการออกกำลัง ทำให้เรายิ่งขี้เกียจ เว้นเสียแต่ผู้มีอาการปวดคอ ไม่สามารถขยับเขยื้อนข้อต่อได้เอง เนื่องจากมีภาวะข้อต่อยึดรั้ง กล้ามเนื้อเกร็งแข็ง การนวดคลึงเบา ๆ ร่วมกับการยืด จะช่วยลดอาการปวดได้ดี เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัว อ่อนนิ่มลง ก็ทำให้ข้อต่อคลายการยึดรั้งลง อาจถึงกับทำให้หายปวดได้ในทันที แม้ไม่ได้ดัดหรือสะบัดคอ เลยก็ตาม 
 
หากผู้อ่านยังไม่ได้แนวทาง เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่พูดถึง ก็เชิญติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับการออกกำลังกล้ามเนื้อคอ เมื่อเกิดอาการปวดคอได้ในบทความต่อ ๆ ไป



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

คุณรู้ไหมว่า....คนโบราณเจ๋งขนาดไหน
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : เสริฟ พระราม2 ธุรการฝ่ายผลิตบางพลี ดิลาวี่ stewardess รƒล ร‚ยตรƒยฏร‚ยฟร‚ยฝรƒยร‚ยก ธุรการ กรุงเทพ-สมุทรปราการ วุฒิ ปวส.จังหวัดเชียงใหม่ ล่ามแปลภาษษญี่ปุ่น พนักส่งสินค้า หางานวุฒม.3 ในโคราช take care plaster QA TQM นวนคร เจ้าที่บริการลูกค้า พนักงาน Karmart ผู้จัดการฝ่ายขายโรงแรม แลปจุลสารจุลชีววิทยา ร้านกาแฟ พัทยา ต่างประเทศแคนนดา พนักงานโสต งานขาย แม่ริม เชียงใหม่ คนขับรถมหาลัย วุฒิ ม.6 บริษัท ร่มเกล้า saleภาค ตกแต่งภาน madecal ผู้จัดการโรงรงาน กระทรวงสาธารณสุข หางานจิวเวลรี่ ชั่ง jewqelry ต่างประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลศิริารช เลขานุการบางนาราม2 ธุรการคลังสินค้า สมุทรปราการ ตลาด วุฒิ ม3จ.เชียงใหม่ พนักงานบัญชีFreelance พนักงานขายหาดใหญ่ ครีมบำรุงผม ทราบผลทันที เขตพยาไทช่างโรงแรม พนักงานทรีเม้น พนักงานขับรถภูเก็ต truetouh การขายการตลาด 28022538 เตชะตุงคะ พนักงานธุรการ รัชดา หางานพิษณุโลก