หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 8 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรา 85 ผู้ประกอบการซึ่งจะเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการให้มีสิทธิ์ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนวันเริ่มประกอบกิจการ

คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

ถ้าผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่งให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่

การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด และให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) หน้า 617, (ฉบับที่ 57) หน้า 613)

(ดูหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค. 0802/พ. 21434 หน้า 440)

มาตรา 85/1 ผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้

(1) สำหรับผู้ประกอบการซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการและมีมูลค่าของฐานภาษีในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกาที่ออกตามมาตรา 81/1 ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสามสิบวันนับแต่

(ก) วันที่มูลค่าของฐานภาษ๊ในการประกอบกิจการเกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมสำหรับกรณีที่มีพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้ว หรือ

(ข) วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ สำหรับกรณีที่มีการตราพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมขึ้นใหม่ หรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมน้อยกว่าที่กำหนดไว้ก่อน

(2) สำหรับผู้ประกอบการที่ได้แจ้งต่ออธิบดีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/3 ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้แจ้งต่ออธิบดี

ให้นำมาตรา 85 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับ

(ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 เป็นต้นไป)

มาตรา 85/2 ให้ตัวแทนตามมาตรา 82/1 (1) เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรด้วย

มาตรา 85/3 ให้ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

(2) ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

(3) ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

อธิบดีจะผ่อนผันให้ผู้ประกอบการตาม (1) หรือ (3) ซึ่งการประกอบกิจการของผู้ประกอบการดังกล่าวมีลักษณะและวิธีการตามที่อธิบดีกำหนด มีสิทธิ์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวก็ได้

การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราว และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะพิจารณากำหนดว่าการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรอย่างใด เป็นการเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว

(ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. 2534 เป็นต้นไป)

(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) หน้า 601)

มาตรา 85/4 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ณ ที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้งานในสถานที่ประกอบการเป็นรายสถานประกอบการ

มาตรา 85/5 ในกรณีที่ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด

การยื่นคำขอและการออกใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

ใบแทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถือเป็นใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) หน้า 617)

มาตรา 85/6 ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานประกอบการ ประเภทกิจการ ประเภทสินค้าหรือบริการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

การแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการตามวรรคหนึ่ง และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงรายการแล้ว ให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 65) หน้า 642)

มาตรา 85/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดประสงค์จะเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการนั้น

ในการปิดสถานประกอบการบางแห่งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันปิดสถานประกอบการ

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ปิดสถานประกอบการคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ พร้อมกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ให้นำมาตรา 85/6 วรรคสองมาใช้บังคับ

มาตรา 85/8 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดประสงค์จะย้ายสถานประกอบการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ย้ายสถานประกอบการแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม

ให้นำมาตรา 85/6 วรรคสองมาใช้บังคับ

มาตรา 85/9 ให้อธิบดีมีอำนาจกำหนดลักษณะและเงื่อนไขของสถานประกอบการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวเป็นสถานประกอบการเฉพาะกิจได้

สถานประกอบการชั่วคราวที่มีลักษณะและเงื่อนไขเป็นสถานประกอบการเฉพาะกิจตามที่อธิบดีกำหนดไม่ให้ถือว่าเป็นสถานประกอบการที่อยู่ในบังคับของมาตรา 85/6 มาตรา 85/7 และมาตรา 85/8 แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งจัดตั้งสถานประกอบการเฉพาะกิจจะต้องทำรายงานและปฏิบัติตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 43) หน้า 601)

มาตรา 85/10 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้ มีสิทธิ์ขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

(1) ในกรณีที่มีพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมไว้แล้ว ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งกิจการของตนมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปีก่อนการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ดูหนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802/พ. 20365 หน้า 448)

(2) ในกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมให้สูงขึ้นกว่าที่กำหนดไว้ก่อน ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งกิจการของตนมีมูลค่าของฐานภาษีก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฏีกา ต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสามปี

(3) ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แจ้งต่ออธิบดีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81/3 ได้แก่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กำหนดในกฏกระทรวง โดยนับแต่วันที่ผู้นั้นเริ่มเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน และต้องมีมูลค่าของฐานภาษีของกิจการต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกาตลอดระยะเวลาดังกล่าว

(4) ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีตามมาตรา 82/16 ซึ่งกิจการของตนมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกาเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าระยะเวลาตามที่กำหนดในกฏกระทรวงก่อนการขอถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

การใช้สิทธิขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

กฎกระทรวงตาม (3) จะกำหนดระยะเวลาให้แตกต่างกันในกิจการแต่ละประเภทก็ได้ แต่ระยะเวลาที่กำหนดจะต้องไม่น้อยกว่าสองปี

มาตรา 85/11 กิจการใดที่ผู้ประกอบการได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว และมีมูลค่าของฐานภาษีสูงกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกาที่ออกตามมาตรา 81/1 แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฏีกากำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมสูงกว่าที่กำหนดไว้ก่อน ซึ่งมีผลทำให้มูลค่าของฐานภาษีของกิจการดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมที่กำหนดขึ้นใหม่ ให้การจดทะเบียนของผู้ประกอบการนั้นยังคงมีผลต่อไป เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะได้สิทธิตามมาตรา 85/10 (2) และ (4) ขอให้อธิบดีสั่งถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

มาตรา 85/12 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดประสงค์จะหยุดประกอบกิจการชั่วคราวเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว

มาตรา 85/13 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดประสงค์จะโอนกิจการบางส่วนหรือทั้งหมดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี หรือแจ้งการโอนและแจ้งการเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 แล้วแต่กรณี ตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

ในกรณีที่ผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถ้ามี ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ และในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ และเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วให้ผู้รับโอนประกอบกิจการดังกล่าวต่อเนื่องไปพลางก่อนได้

ให้นำมาตรา 85/15 วรรคสองมาใช้บังคับในกรณีที่เป็นการโอนกิจการทั้งหมด

มาตรา 85/14 ผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 ตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่

มาตรา 85/15 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการเลิกกิจการตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เลิกกิจการคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ พร้อมกับแจ้งเลิกประกอบกิจการ

(ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.66/2539 หน้า 786)

มาตรา 85/16 ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย ให้ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสิ้นสุดลง และให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายมีสิทธิ์ประกอบกิจการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย แต่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทราบถึงความตายของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเร็วที่สุด

ในกรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายใช้สิทธิดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวมีสิทธ์และความรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียน และในกรณีที่มีเหตุอันสมควรผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้นอาจขอให้อธิบดีสั่งขยายเวลาตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งได้โดยแสดงเหตุผลความจำเป็นต่ออธิบดี ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งขยายเวลาได้ตามที่เห็นสมควรโดยจะกำหนดเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้

ในกรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายไม่ใช่สิทธิ์ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ครองครองทรัพย์มรดกดังกล่าวคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย

หากผู้จัดการหรือทายาทประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถีงแก่ความตายต่อไป ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทนั้นมีสิทธิ์ขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ตามแบบหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดและให้นำมาตรา 85/13 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม และเมื่ออธิบดีสั่งให้โอนกิจการแล้ว ให้สิทธิของผู้ครอบครองทรัพย์มรดกตามมาตรานี้สิ้นสุดลง

ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่รับโอนกิจการคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการแจ้งเปลี่ยนรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วแต่กรณี และในกรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายได้ใช้สิทธิดำเนินกิจการตามวรรคหนึ่ง แต่เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือระยะเวลาที่อธิบดีได้ขยายให้ตามวรรคสองแล้วไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาทขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคสี่ ให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายคืนใบทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าว

มาตรา 85/17 ผู้ประกอบการจดทะเบียนใดกระทำผิดบทบัญญัติในหมวดนี้ อธิบดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นได้ และไห้แจ้งการเพิกถอนดังกล่าวให้ผู้ประกอบการทราบเป็นหนังสือ

ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับแจ้งตามวรรคหนึ่ง คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอน

(คำวินิจฉัยฯ ที่ 34/ 2540 หน้า 856)

มาตรา 85/18 ในกรณีที่อธิบดีสั่งถอนทะเบียนตามมาตรา 85/10 หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15 หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตายและผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายได้ใช้สิทธิ์ดำเนินกิจการ แต่ต่อมาสิทธิดำเนินกิจการสิ้นสุดลงโดยไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาทขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายตามมาตรา 85/16 หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผืครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายดังกล่าว แล้วแต่กรณี ยังคงต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไป จนกว่าอธิบดีจะสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85/19

มาตรา 85/19 ในกรณีดังต่อไปนี้ให้อธิบดีสั่งขีดชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) เมื่ออธิบดีสั่งถอนทะเบียนตามมาตรา 85/10

(2) เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการตามมาตรา 85/15

(3) เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนตายและไม่มีผู้จัดการมรดกหรือทายาทยื่นขอโอนกิจการของประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายตามมาตรา 85/16

(4) เมื่ออธิบดีสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17

ให้อธิบดีแจ้งคำสั่งขีดชื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ผู้จัดการมรดก ทายาท หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก ทราบเป็นหนังสือโดยชักช้า

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายและได้ใช้สิทธิดำเนินกิจการตามมาตรา 85/16 พ้นความรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนในวันที่อธิบดีมีคำสั่งให้ขีดชื่อออกจากทะเบียน

ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้อธิบดีแจ้งการขีดชื่อออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นต่อนายทะเบียนนิติบุคคลตามกฏหมายนั้นๆ ภายในสามสิบวัน และให้นายทะเบียนดังกล่าวจดแจ้งการเพิกถอนการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในทะเบียนโดยไม่ชักช้า

(ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.62/2539 หน้า 692)

ที่มา :http://www.acthai.com




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

Benz, NEC, Siemens, SingTel ร่วมโชว์ 3G ในรถยนต์
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : แปลภาษา ครูลาดพร้าว พนักงานเร่งรัดหนี้ นครยายก ปรึกษาการเงิน เม็ดพลาสติก ขายครีมทาหน้า takuma PC ประจำห้างพัทยา รับเหมางานไฟฟ้า the งานด้านภาษา Spa jobs หาจังหวัดโคราช ทานเทค Central rama2 หางานตามผับ แถวพระประแดง มีนบุรี เสรีไทย วุฒิม.6 homepor p.cโลตัสท่ายางเพชรบุรี ธุรการ จ.นนทบุรี กุ๊กในกรุงเทพ metro cat ไทเทนเครน pttt สมุหบัญชี ,บัญชี econ ร™ยน สิ่ง งาน วุฒิม.6 กทม ขายพนักงา soundman งานทางเกษตร ปลูกพืช ชลบุรี คลินิกรักษาโรคทั่วไป หางานวุฒิ ม3 นครนายก ขายประกันภัยรถ ยบรƒร”ร‰ร‘ยทยทร‘ร‡รƒรฌ งานธุรการเขตตลิ่งชัน พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง roommate พนักงานธุรการพระรามเก้า สาธารณสุข ชลบุรีปี2555 ผู้จัดการร้านนวดแผนไทย วิศวะกร usa การตลาดห้วยขวาง ประมาณราคา QS งานดิน พนักงานการขนส่งทางบก