หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ลำปางเมืองรถม้า
เขียนโดย พิมลพรรณ บุณยรัตน์เสวี

Rated: vote
by 10 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




สวัสดีค่ะ สมาชิกทุกคน
 
    วันนี้ก็จะมาอัพเรื่องราวการท่องเที่ยวของจังหวัดลำปางกันนะคะ ก่อนอื่นก็มาเริ่มที่ประวัติของจังหวัดลำปางกันก่อนเลยนะคะ
ประวัติศาสตร์นครลำปาง
       จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดที่มีความเก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1,300 ปี ตั้งแต่สมัยหริภุญชัย (พระนางจามเทวี) เป็นต้นมา คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชื่อของเมืองเขลางค์อันเป็นเมืองในยุคแรก ๆ และเมืองนครลำปาง ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายแห่ง ทั้งจากตำนานศิลาจารึกพงศาวดาร และจากคำที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปอย่างแพร่หลาย ได้แก่ตำนานจามเทวี ชินกาลบาลีปกรณ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเจ้าเจ็ดตน พงศาวดารโยนก
       คำว่า '"ละกอน" หรือ "ละคร" (นคร) เป็นชื่อสามัญของเมืองเขลางค์ที่นิยมเรียกกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในตำนานและภาษาพูดโดยทั่วไป แม้แต่จังหวัดใกล้เคียงเช่น แพร่ น่าน เชียงราย ลำพูน เชียงใหม่ มักจะเรียกชาวลำปางว่า "จาวละกอน" ซึ่งหมายถึง ชาวนคร คำว่าละกอนมีชื่อทางภาษาบาลีว่า เรียกว่า "เขลางค์ "เช่นเดียวกับ ละพูรหรือลำพูน ซึ่งทางภาษาบาลีเรียกว่า "หริภุญชัย"และเรียกลำปางว่า "ลัมภกัปปะ" ดังนั้น เมืองละกอนจึงหมายถึง บริเวณอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์ คือเมืองโบราณรูปหอยสังข์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง อยู่ในตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
       ส่วนคำว่า"ลำปาง" เป็นชื่อที่ปรากฎหลักฐานอย่างชัดแจ้งในตำนานพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า "ลัมภกัปปนคร" ตั้งอยู่บริเวณลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศใต้ตามแม่น้ำวังประมาณ 16 กิโลเมตร อันเป็นที่ตั้งของวัดพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน ตัวเมืองลัมภกัปปนครมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่
       ลักษณะของเมือง ศึกษาดูจากภาพถ่ายทางอากาศและการเดินสำรวจทางภาคพื้นดิน พบว่ามีคันคูล้อมรอบ 3 ชั้น (แต่ปัจจุบันเหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น) นอกจากนี้พบเศษกระเบื้อง ภาชนะดินเผา เศียรพระพุทธรูปดินเผาสมัยหริภุญชัยและสถูปแบบสมัยหริภุญชัย สันนิษบานว่าเมืองลัมภกัปปะนี้น่าจะเป็นเมืองกัลปนาสงฆ์ (เมืองทางศาสนา) มากกว่าจะเป็นเมืองทางอาณาจักรที่มีอำนาจทางการปกครองบ้านเมืองอย่างเป็นระเบียบแบบแผน
       ตามตำนาน วัดพระธาตุลำปางหลาง (ฉบับสาขาสมาคม เพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำจังหวัดลำปาง) ได้กล่าวถึงเรื่องราวของเมืองลำปางไว้ว่า
       "พระพุทธเจ้าได้เสด็จด้วยลำดับบ้านใหญ่เมืองน้อย ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าไปรอดบ้านอันหนึ่งชื่อ ลัมพการีวัน พระพุทธเจ้านั่งอยู่เหนือดอยม่อนน้อย สูงสะหน่อย ยังมีลัวะ ชื่ออ้ายคอน มันหันพระพุทธเจ้า เอาน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้ป้างมาหื้อทานแก่พระพุทธเจ้า กับหมากพ้าว 4 ลูก พระพุทธเจ้ายื่นบอกน้ำเผิ้งหื้อแก่มหาอานนท์ถอกตกปากบาตร พระพุทธเจ้าฉันแล้ว ชัดบอกไม้ไปตกหนเหนือ แล้วพระพุทธเจ้าทำนายว่า สถานที่นี้จักเป็นเมืองอันหนึ่งชื่อ "ลัมภางค์"
       ดังนั้นนามเมืองลำปาง จึงหมายถึงชื่อของเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุลำปางหลวงในปัจจุบัน
       จังหวัดลำปางเดิมชื่อ "เมืองนครลำปาง" จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึก เลขทะเบียน ลป.1 จารึกเจ้าหมื่นคำเพชรเมื่อ พ.ศ.2019 และศิลาจารึกเลขทะเบียน ลป.2 จารึกเจ้าหาญสีทัต ได้จารึกชื่อเมืองนี้ว่า "ลคอร" ส่วนตำนานชินกาลมารีปกรณ์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานเมืองเชียงแสน ตลอดจนพงศาวดารของทางฝ่ายเหนือ ก็ล้วนแล้วแต่เรียกชื่อว่า เมืองนครลำปาง แม้แต่เอกสารทางราชการสมัยรัตนโกสินตอนต้น ก็เรียกเจ้าเมืองว่า พระยานครลำปาง นอกจากนี้จารึกประตูพระอุโบสถวัดบุญวาทย์วิหาร ก็ยังมีข้อความตอนหนึ่งจารึกว่า เมืองนครลำปาง แต่เมื่อมีการปฏิรูปบ้านเมืองจากมณฑลเทศาภิบาลเป็นจังหวัด ตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ปรากฏว่า ชื่อของเมืองนครลำปาง ได้กลายมาเป็นจังหวัดลำปาง มาจนกระทั่งทุกวันนี้


ประวัติความเป็นมาของเมืองนครลำปาง

       เรื่องราวของเมืองนครลำปางในยุคแรกๆ หรือยุคเมืองเขลางค์นั้น ส่วนใหญ่ทราบหลักฐานในตำนาน ชินกาลบาลีปกรณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงประวัติการสร้างเขลางค์ ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ว่า
       ในราว พ.ศ.1200 พระสุเทวฤษี ซึ่งอาศัยอยู่ที่ดอยสุเทพได้เชิญชวนให้พระสุกทันตฤษีแห่งละโว้ มาช่วยกันสร้างเมืองนครหริภุญชัย เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงไปทูลขอผู้ปกครองจากพระเจ้านพราชกษัตริย์แห่งละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งได้ประทานพระนางจามเทวี ราชธิดาให้มาเป็นผู้ปกครอง พร้อมกับนำพระภิกษุสงฆ์ผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎก พรามณ์โหรา นักปราชญ์ราชบัณฑิต แพทย์ ช่างฝีมือ เศรษฐี คหบดีอย่างละ 500 คนมาด้วย ขณะนั้นพระนางทรงครรภ์ เมื่อมาถึงได้ราว 3 เดือน ก็ประสูติพระโอรสฝาแฝด ผู้พี่ทรงพระนามว่า "เจ้ามหันตยศกุมาร" ส่วนผู้น้องทรงพระนามว่า "เจ้าอนันตยศกุมาร" เมื่อพระโอรสทั้ง 2 ทรงเจริญวัยขึ้น ประกอบกับพระนางชราภาพมากแล้ว จึงได้ทำพิธีราชาภิเษกให้ เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองหริภุญชัย ส่วนเจ้าอนันตยศกุมารทรงดำรงตำแหน่ง อุปราช
       ตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีได้ราชาภิเษก ให้เจ้ามหันตยศกุมารขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองหริภุญชัยแล้ว ฝ่ายเจ้าอนันตยศกุมารก็ปรารถนาอยากไปครองเมืองแห่งใหม่ จึงนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมารดาได้ทรงทราบ พระนางทรงแนะนำให้ไปหา ฤษีวาสุเทพ เพื่อขอให้สร้างเมืองถวาย แต่ฤษีวาสุเทพได้แนะนำให้ไปหาพรานเขลางค์ซึ่งอยู่ที่ภูเขาบรรพต ดังนั้นพระเจ้าอนันตยศจึงพาข้าราชบริพารเสด็จออกจากหริภุญชัยไปยังเขลางค์บรรพต ครั้นเมื่อพบพรานเขลางค์แล้ว ก็ทรงขอให้นำไปพบพระสุพรหมฤษีบนดอยงามหรือภูเขาสองยอด แล้วขออาราธนาช่วยสร้างบ้านเมืองให้ พระสุพรหมฤษีจึงขึ้นไปยังเขลางค์บรรพตเพื่อมองหาชัยภูมิสร้างเมือง เมื่อมองไปทางยังทิศตะวันตกของแม่น้ำวังกนที ก็เห็นสถานที่แห่งหนึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสม จึงได้สร้างเมืองขึ้นที่นั่น โดยกำหนดให้กว้างยาวด้านละ 500 วาแล้วเอาศิลาบาตรก้อนหนึ่งมาตั้งเป็นหลักเมืองเรียกว่า "ผาบ่อง" เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามตามชื่อ ของนายพระหมผู้นำทางและมีส่วนร่วมในการช่วยสร้างเมืองว่า "เขลางค์นคร" และยังมีชื่อเรียกในตำนานกุกุตนครว่า"ศิรินครชัย" อีกนามหนึ่ง
       ภายหลังสร้างเมืองแล้วเสร็จ พระเจ้าอนันตยศได้ทรงราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า "พระเจ้าอินทรเกิงการ" พระองค์ครองเมืองเขลางค์อยู่ได้ไม่นาน ก็ทรงมีความรำลึกถึงมารดา จึงได้ทูลเชิญเสด็จพระนางจามเทวี พร้อมทั้งสมณชีพราหมณ์ มายังเมืองเขลางค์นคร ทรงสร้างเมืองให้พระราชมารดาประทับอยู่เบื้องปัจฉิมทิศแห่งเขลางค์นคร ให้ชื่อว่า "อาลัมพางค์นคร"

เรื่องราวเกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองเขลางค์นคร

       เมื่อสำรวจผังเมือง จากภาพถ่ายทางอากาศและการสำรวจภาคพื้นดิน รวมทั้งการศึกษาเรื่องราวในตำนานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเมืองเขลางค์พบว่า ผังเมืองอันเป็นที่ตั้งของเมืองเขลางค์แบ่งออกเป็น 3 ยุคได้แก่

ยุคแรกยุคสมัยจามเทวี

       ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงเหนือ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1223 โดยพระสุพรหมฤษีสร้างถวายพระเจ้าอนันตยศกุมารหรือ อินทรเกิงการ โอรสของพระนางจามเทวี เป็นเมืองคู่แฝดของเมืองหริภุญชัย ผังเมืองมีลักษณะคล้ายรูปหอยสังข์ (สมุทรสังขปัตตสัณฐาน) กำแพงเมืองชั้นบนเป็นอิฐ ชั้นล่างเป็นคันดิน 3 ชั้น สันนิษฐานว่ากำแพงอิฐที่สร้างบนกำแพงดินเป็นการต่อเติมในสมัยหลัง มีความยาววัดโดยรอบ 4,400 เมตร สร้างในพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ มีประตูเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ ประตูม้า ประตูผาป่อง ประตูท่านาง ประตูต้นผึ้ง ประตูป่อง ประตูนกกดและประตูตาล
       ปูชนียสถานที่สำคัญได้แก่ วัดพระแก้วดอนเต้า ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ระหว่าง พ.ศ. 1979 - 2011 นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานสำคัญอีกหลายแห่งได้แก่ วัดอุโมงค์ซึ่งเป็นวัดร้าง อยู่บริเวณประตูตาล ส่วนวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองได้แก่ วัดป่าพร้าว อยู่ทางด้านเหนือ วัดพันเชิง วัดกู่ขาวหรือเสตกุฎาราม ซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิกขีปฏิมากร ในสมัยพระนางจามเทวี วัดกู่แดง วัดกู่คำ อยู่ทางทิศตะวันตก ในปัจจุบันนี้บริเวณวัดพันเชิงและวัดกู่แดง ถูกทำลายจนไม่เหลือสภาพของโบราณอยู่อีกต่อไป ระหว่างวัดกู่ขาวมายังเมืองเขลางค์มีแนวถนนโบราณ ทอดเข้าสู่ตัวเมืองทางประตูตาล สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ขณะมาประทับอยู่ในเขลางค์นคร แนวถนนโบราณนี้ยังใช้เป็นคันกั้นน้ำป่าเพื่อทดน้ำเข้าสู่คูเมืองและแบ่งเข้าไปใช้ในตัวเมืองด้วย ระดับคูน้ำจะสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ เมืองในยุคนี้มีการเก็บน้ำไว้ในคอรอบทิศ โดยให้มีระดับสูงกว่าแม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเป็นแบบเฉพาะเมืองรูปหอยสังข์ยุคนี้เท่านั้น
       เมืองเขลางค์เป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหริภุญชัย มีชื่อในตำนานว่า เมืองละกอน หรือลคร ภายหลังจากสมัยพระเจ้าอนันตยศแล้ว สภาพของเมืองฝาแฝดกับหริภุญชัยก็หมดไป สันนิษฐานว่า เขลางค์นครมีเจ้าผู้ครองต่อมาอีกประมาณ 500 ปีแต่ไม่ปรากฏพระนามในหลักฐานหรือเอกสารใดๆ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1755 ได้ปรากฏชื่อของเจ้านายเมืองเขลางค์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่า เจ้าไทยอำมาตย์แห่งเขลางค์ ได้แย่งชิงอำนาจจากพระยาพิณไทย เจ้าเมืองลำพูนแล้วสถาปนาพระองค์ปกครองหริภุญชัยสืบต่อกันมาถึง 10 รัชกาล จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบา ก็สูญเสียอำนาจให้แก่พระยามังราย ใน พ.ศ. 1844

ยุคที่สองสมัยลานนาไทย

       เมืองเขลางค์ยุคที่ 2 เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยลานนาไทย มีเนื้อที่ประมาณ 180 ไร่ กำแพงยาว 1,100 เมตร ตั้งอยู่ในตำบลเวียงเหนือ อยู่ถัดจากเมืองเขลางค์ยุคแรกลงมาทางใต้ เป็นเมืองที่ก่อกำแพงด้วยอิฐ ประตูเมืองที่มีชื่อปรากฏคือ ประตูเชียงใหม่ ประตูนาสร้อย ประตูปลายนาอันเป็นประตูที่อยู่ร่วมกับประตูนกกต ตอนท่อนหัวสังข์ของตัวเมืองเก่าและประตูป่อง ที่ประตูป่องยังคงมีซากหอรบรุ่นสมัยเจ้าคำโสมครองเมืองลำปาง ซึ่งได้ใช้เป็นปราการต่อสู้กับพม่าครั้งสำคัญ ในปี พ.ศ. 2330 พม่าล้อมเมืองอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพทางกรุงเทพฯ ยกขึ้นมาช่วยขับไล่พม่าแตกพ่ายไป
       โบราณสถานสำคัญในเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 ได้แก่วัดปลายนาซึ่งเป็นวัดร้างและวัดเชียงภูมิ หรือวัดปงสนุกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อลิ้นก่านที่ดำน้ำชิงเมืองแข่งกับเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว (บิดาของเจ้า 7 ตน) แต่เจ้าลิ้นก่านแพ้จึงถูกพม่าประหารชีวิต สันนิษฐานว่าพระเจ้าลิ้นก่านคงจะเป็นเจ้าสกุลล้านนาไทยองค์สุดท้ายที่อยู่ในเมืองเขลางค์
เมืองเขลางค์สมัยลานนาไทย ได้รวมเอาเมืองเขลางค์ยุคแรก (เมืองรูปหอยสังข์) กับเมืองเขลางค์ยุคใหม่เช้าด้วยกัน ตั้งอยู่เขตฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ซึ่งเรียกกันอย่างแพร่หลายในตำนานต่าง ๆ ของทางเหนือว่า"เมืองละกอน"


ความสำคัญของเมืองละกอนในสมัยราชวงศ์เม็งราย (พ.ศ.1839 - 2101)

       เมื่อพระเจ้าเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานี ในปี พ.ศ.1839 แล้ว ได้แผ่ขยายอิทธิพลมาครอบครองลำพูนและเมืองลคร (เขลางค์) กล่าวคือในพ.ศ. 1844 พระเจ้าเม็งรายโปรดให้ขุนคราม โอรส ยกกองทัพไปตีเมืองลำพูน พระยายีบาสู้ไม่ได้ จึงอพยพหนีมาพึ่งพระยาเบิกพระอนุชาที่เมืองลคร (เขลางค์) กองทัพของพระเจ้าเม็งรายซึ่งมีขุนครามเป็นแม่ทัพ ได้ยกติดตามมาประทะกับกองทัพของพระยาเบิกที่ริมน้ำแม่ตาล ปรากฏว่าพระยาเบิกเสียชีวิตในการสู้รบ ส่วนพระยายีบาเจ้าเมืองลำพูน ได้พาครอบครัวหนีไปพึ่งเจ้าเมืองสองแคว (พิษณุโลก ) ประทับอยู่ที่นั่นจนสิ้นพระชนม์ จึงสิ้นวงศ์เจ้าผู้ครองเขลางค์ยุคแรก
       ส่วนเรื่องราวในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า ภายหลังจากที่พระเจ้าเม็งรายได้รับชัยชนะต่อพระยาเบิกแล้ว ได้แต่งตั้งชาวมิลักขะเป็นเจ้าเมืองแทน เจ้าเมืองคนใหม่พยายามชักชวนชาวเมืองเขลางค์สร้างเมืองใหม่ ซึ่งกลายเป็นเมืองเขลางค์ยุค 2 หลังจากนี้ก็มีเจ้าผู้ครองนครซึ่งมียศเป็นหมื่นปกครองสืบต่อกันมา เป็นเวลานาน จนกระทั่งสิ้นราชวงศ์เม็งราย พม่าก็แผ่อิทธิพลเข้ามาแทนที่ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง
       เมืองนครลำปางเป็นหัวเมืองสำคัญของลานนาไทยมาจนกระทั่งถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กษัตริย์พม่าแห่งหงสาวดีได้แผ่อำนาจเข้าครอบครองลานนาไทยใน พ.ศ. 2101 ซึ่งสัญลักษณ์แห่งอำนาจของบุเรงนองยังปรากฏอยู่ทั่วไป ได้แก่ไม้แกะสลักรูปหงส์ประจำวัดต่าง ๆ (หมายถึงหงสาวดี) นับตั้งแต่นั้นมา นครลำปางตกอยู่ภายใต้อำนาจของพม่าเป็นเวลานานร่วม ๆ 200 ปีเศษ (พ.ศ.2101 - 2317) และบางครั้งก็อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยาบ้างเช่น สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น

และก็ตามด้วยประวัติของอำเภอต่างๆในจังหวัดลำปางค่ะ

อำเภองาว อำเภองาวเดิมชื่อ เมืองเงิน มีเจ้าผู้ครองนครที่เข้มแข็งในการสงครามและชำนาญในการใช้ง้าวเป็นอาวุธ ได้อาสาปราบปรามข้าศึกจนถึงเขตเมืองเงี้ยว เมืองลื้อ เมืองเขิน ได้รับชัยชนะและเจ้าเมืองนครเขลางค์ได้ประทานง้าวด้ามเงินเป็นบำเหน็จ ชาวเมืองจึงเรียกพระยาผู้นั้นว่า พระยาง้าวเงิน และเรียกเมืองนั้นว่า เมืองงาวเงิน ซึ่งได้เพี้ยนมาจนเป็น เมืองงาว

อำเภอแจัห่ม มีตำนานเล่าว่า มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า อาฬาวี อาศัยอยู่ที่ดอยอักโขคีรี มีใจหยาบช้า ชอบจับมนุษย์และสัตว์กินเป็นอาหารอยู่เสมอ ต่อมาพระพุทธองค์ได้เสด็จมาโปรดสั่งสอนยักษ์อาฬาวี จนมีดวงจิตสงบพระพุทธองค์พยากรณ์ไว้ว่าต่อไปที่นี่จะกลายเป็นเมืองที่มีชื่อว่า แจ้ห่ม บริเวณเชิงดอยอักโขคีรี มีหนองน้ำใหญ่เล่ากันว่า หนองน้ำนี้เกิดขึ้นเพราะชาวเมืองกินไข่เงือกทอด จึงเกิดวิกฤติการณ์ร้าย ทำให้เกิดลมพายุพัดบ้านเมืองถล่ม เป็นหนองน้ำใหญ่อยู่หน้าวัดอักโขคีรีชัย มีคนที่รอดมาได้ คือ หญิงหม้ายผู้หนึ่ง ซึ่งไม่ได้กินไข่เงือกทอดนั้น

อำเภอเถิน เดิมเป็นเมืองเก่าแก่ชื่อว่า "อิงคปถรัฐ" เป็นเมืองหน้าด่านของล้านนา และเป็นเส้นทางผ่านของกองทัพ บางคราวก็ตกอยู่ในอำนาจของเชียงใหม่ บางคราวก็ขึ้นอยู่กับพม่า บางคราวก็ต้องยอมให้ทัพอยุธยาเดินผ่าน ชาวเมืองเถินได้รับความเดือดร้อนกับกองทัพที่ผ่าน จึงเป็นเมืองร้างเป็นระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินได้ขับไล่พม่าออกไป และเวลาทำสงครามก็ยกทัพไปทางอื่น ไม่ผ่านเถินอีก จึงทำให้เถินสงบ มีคนมากขึ้น

อำเภอวังเหนือ เดิมชื่อว่า "เมืองวัง"หรือ "เวียงวัง" เป็นเมืองเล็กๆอยู่เหนือสุดต่อกับแจ้ห่ม และอยู่ในการปกครองของพวกลอมหรือขอมดำ เจ้าผู้ครองนครมีตำแหน่งเป็นพระยาวัง บางครั้งก็เป็นเมืองร้าง บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับพะเยา เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นอยู่กับอำเภอแจ้ห่ม ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ.2501

อำเภอห้างฉัตร มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระนางจามเทวีเสด็จมาสร้างพระธาตุลำปางหลวง ได้ใช้เส้นทางห้างฉัตรเป็นทางติดต่อ เมื่อเดินทางถึงห้วยแม่ตาลได้หยุดพักพลที่นี้ บรรดาชาวเมืองจึงตกแต่งที่ประดับด้วยราชวัตรฉัตรอันงดงาม ภายหลังที่แห่งนั้นเป็นเมืองขึ้นมา จึงเรียกว่า เมืองห้างฉัตร แต่ชาวบ้านออกเสียงเพี้ยนเป็น หางสัตว์ เมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงประกาศนามอำเภอนี้ว่าห้างฉัตรให้ถูกต้องตามความหมายเดิม

อำเภอเกาะคา เดิมชื่อว่า อำเภอสบยาว พ.ศ. 2459 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเกาะคา มีผู้สันนิษฐานว่า เหตุที่ชื่อเกาะคา ก็เพราะชื่อเดิมที่ตั้งหมู่บ้านมีแม่น้ำยาวไหลผ่าน ต่อมาแม่น้ำเปลี่ยนเส้นทางเดินบริเวณที่เป็นร่องน้ำ จึงกลายสภาพเป็นเกาะ และมีหญ้าคาขึ้นเต็ม ต่อมามีคนมาอาศัยอยู่ จึงเรียกบริเวณนั้นว่าบ้านเกาะคา อำเภอนี้มีปูชนียะสถานคู่เมืองลำปาง คือ เจดีย์พระธาตุลำปางหลวง พระธาตุจอมปิง

อำเภอแม่ทะ ห่างจากเมืองไปทางทิศใต้ 25 กิโลเมตร เดิมที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านป่าตัน ตำบลป่าตัน แต่ทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดไม่สะดวก เมื่อมีการสร้างทางรถไฟ สายเหนือแล้ว จึงย้ายที่ว่าการอำเภอไปตั้งที่บ้านแม่ทะ ตำบลแม่ทะ แต่ไม่เป็นศูนย์กลางอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2497 จึงย้ายมาอยู่ที่ตำบลนาครัว มีปูชนียะสถานที่น่าสนใจ คือ วัดดอยม่วงคำ

อำเภอแม่พริก เป็นอำเภอที่เล็กที่สุด มีพลเมืองน้อยที่สุด และอยู่ใต้สุดของจังหวัดลำปาง เดิมแม่พริกมีฐานะเป็นด่านขึ้นอยู่กับจังหวัดตาก พ.ศ. 2445 ได้รับฐานะเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเถิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2501 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ

อำเภอสบปราบ เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอยู่กับอำเภอเกาะคา ต่อมาได้รับฐานะเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2496

อำเภอเสริมงาม อยู่ทางทิศตระวันตกของอำเภอเกาะคา เดิมเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเกาะคา ต่อมาได้ยกฐานะเป็นอำเภอ

อำเภอแม่เมาะ มีประวัติเบื้องต้นเป็นตำนานเล่าว่า มีพระภิกษุรูปหนึ่ง ธุดงค์โปรดสัตว์ผ่านมาในเขตนี้ได้พบแต่ความกันดารแห้งแล้งมาตลอดทาง วันหนึ่งได้ภิกษาจารมาพบแม่น้ำสายหนึ่งสะอาด มีต้นไม้ให้ความร่มรื่นชุ่มชื่นดี จึงได้กล่าวกับราษฎรแถบนี้ว่า แม่น้ำสายนี้เหมาะที่จะพักอาศัยเพราะมีแต่ความร่มเย็น และนับแต่นั้นมา ราษฎรแถบนี้จึงเรียกขานแม่น้ำสายนั้นว่า "แม่น้ำเหมาะ" แล้วจึงเรียกเพี้ยนเป็น "แม่น้ำเมาะ" มาจนถึงปัจจุบัน รวมตัวกันเป็นหมู่บ้านเก่าแก่เป็นเวลานับร้อยปี ดังนั้นราษฎรที่อำเภอแม่เมาะนี้ จึงมีคนหลายเชื้อสาย ทั้งคนพื้นเมือง (คนเมือง) คนพื้นเมืองผสมพม่า คนพื้นเมืองผสมเงี้ยว(ไทยใหญ่) แต่โดยสภาพแล้วจะเป็นคนพื้นเมืองเสียส่วนมาก
เดิมอำเภอแม่เมาะขึ้นการปกครองกับอำเภอเมืองลำปาง และเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2519 ได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ และต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2527 ได้รับการยกฐานะอีกเป็นอำเภอ

อำเภอเมืองปาน มีตำนานเล่าขานกันว่า มีนายบ้านคนหนึ่งไม่ปรากฏชื่อแต่เป็นผู้มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง อดทนเด็ดเดี่ยวและเสียสละ ได้รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าต่อสู้กับข้าศึกที่เข้ามารุกราน ได้รับชัยชนะหลายครั้งจนข้าศึกศัตรูไม่กล้ามารบกวนอีก ต่อมานายบ้านผู้นี้ได้สร้างเครื่องส่งสัญญาณในการแจ้งเหตุแก่ลูกบ้านและเป็นสัญญาณนัดหมายเพื่อร่วมมือกันต่อสู้ข้าศึกศัตรูโดยร่วมกันใช้ทองคำมาหลอมทำเป็น "ปาน" (ลักษณะคล้ายฆ้องใหญ่แต่โหนกที่ตีเล็กกว่า) ชาวบ้านเรียกว่า "ปานคำ" นายบ้านผู้นี้เป็นผู้ทำ ปานเป็นเครื่องมือสัญญาณแจ้งเหตุต่างๆ แก่ลูกบ้านจนได้รับการขนานนามจากชาวเมืองปานว่า "เจ้าพ่อขุนจเรปาน" และเมืองแห่งนี้ได้ชื่อว่า "เมืองเจ้าพ่อจเรปาน" ซึ่งต่อมาได้เพี้ยนและเหลือเพียง "เมืองปาน" อำเภอเมืองปานแต่เดิมรวมอยู่ในเขตท้องที่อำเภอแจ้ห่ม ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอเมืองปาน เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2524 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมืองปาน ตามพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2535

อำเภอเมืองลำปาง เนื่องจากอำเภอนี้เป็นที่ตั้งจังหวัด จึงมีประวัติความเป็นมาเช่นเดียวกับประวัติลำปาง

ตามด้วยสถานที่ท่องเที่ยวปิดท้าย เผื่อเพื่อนๆท่านใดสนใจจะไปนะคะ หากข้อมูลมีการผิดพลาดหรือตกหล่น ณ ส่วนใดในบทความนี้ ขออภัยพี่น้องและชาวจังหวัดลำปางมานะที่นี่ด้วย

วันพระธาตุลำปาง

        วัดพระธาตุลำปางหลวง : เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองลำปางเป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นสถานที่ ที่เจ้าพระยาสุลวลือไชยสงคราม (หนานทิพย์ช้าง) ได้ประกอบวีรกรรมกู้อิสรภาพจากท้าวมหายศแม่ทัพลำพูน สมัยล้านช้างมีอำนาจ ได้ยึดวัดนี้เป็นฐานทัพตั้งมั่นวัดพระธาตุลำปางหลวง : ยังเป็นวัดสำคัญทางศาสนา
เป็นวัดที่มีตำนานอันยาวนาน สมัยพุทธกาล และมีเจดีย์ที่สวยงามซึ่งตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระเจดีย์นี้ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตของพระพุทธเจ้าไว้ และวัดนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปางอีกด้วยวัดพระธาตุลำปางหลวง : ตั้งอยู่ที่อำเภอเกาะคา ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 18 กิโลเมตร บนถนนสายลำปาง - กรุงเทพฯ

วัดพระแก้วดอนเต้า

        วัดพระแก้วดอนเต้า : เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำวัง จุดเด่นของวัดนี้ คือมีฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่เจดีย์จะมีลักษณะกลมแหลมยอดเจดีย์ปิดด้วยทองสัมฤทธิ์เป็นแผ่นๆ สวยงามมาก ข้างๆ พระเจดีย์มีมณฑป หรือพระยาธาตุที่มีศิลปแบบพม่า จำลองมาจากมัณฑเลย์แบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปบัวเข็ม พระพุทธรูปแบบพม่า ซึ่งสร้างขึ้นในราวศตวรรษที่ 18 ลักษณะสวยงาม ทำให้วัดพระแก้วดอนเต้า เป็นวัดที่สวยงามอีกวัดหนึ่งของจังหวัดลำปาง

วัดเจดีย์เซ้า

        วัดเจดีย์ซาว : คำว่า "ซาว" เป็นภาษาพื้นบ้านแปลว่า"ยี่สิบ" เจดีย์ซาวหมายถึงเจดีย์ยี่สิบองค์ ความสวยงามของวัดนี้อยู่ที่องค์พระเจดีย์สีขาว สวยสะดุดตาแต่ไกล มีคำกล่าวว่าหากใครมาถึงวัดนี้แล้ว และสามารถนับองค์พระเจดีย์ได้ครบ 20 องค์ ถือว่าผู้นั้นมีบุญ หากใครนับไมีครบหรือเกิน ก็ถือว่าผู้นั้นไม่มีบุญ เมื่อท่านนมัสการองค์พระเจดีย์แล้ว ก็ไปนมัสการพระแสนแซ่ทองคำ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ น้ำหนักรวม 95.5 บาท วัดเจดีย์ซาวนี้มีศิลปวัฒนธรรม และวัตถุโบราณให้ชมมากมาย อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร บนถนนสายลำปาง - แจ้ห่ม

วัดศรีรองเมือง

        วัดศรีรองเมือง : เป็นวัดศิลปพม่าในจังหวัดลำปางวัดหนึ่ง ที่มีความสวยงาม ซึ่งศิลปพม่า แสดงถึงความปราณีตอ่อนช้อยในจังหวัดลำปางจะสามารถ หาชมได้ศิลปแบบนี้ได้หลายวัดด้วยกัน เช่น วัดป่าฝาง, วัดไชยมงคล, วัดม่อนสัญฐาน ฯลฯ

วัดพระธาตุเสด็จ

        จากอำเภอเมืองฯ มาตามเส้นทางสาย ลำปาง – งาว แยกซ้าย กม. ที่ 17 เข้าไปอีก 2 กิโลเมตร เป็นโบราณสถานอีกแห่งของลำปาง ตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี หรือเมื่อ 500 ปีมาแล้ว อุโบสถและวิหารซึ่งเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ได้รับการ บูรณะขึ้นใหม่ทั้งหมด แต่ยังคงสภาพความงามทางศิลปะ โบราณให้เห็น ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ

วัดป่าฝาง

        อยู่ถนนสนามบิน ตำบลหัวเวียง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชาวพม่าที่มาทำไม้ในลำปาง งดงามด้วยพระเจดีย์ใหญ่สีทองสุกปลั่ง ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากพม่า เมื่อ พ.ศ. 2449 ศาลาการเปรียญเป็นเรือนไม้ขนาดใหญ่ทั้งหลัง หลังคาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แบบพม่า พระอุโบสถขนาดเล็กหลังคาเครื่องไม้แบบพม่างดงามด้วยลวดลายเครือเถาปูนปั้นเหนือประตู วัดนี้มีพระสงฆ์พม่าจากเมืองมัณฑะเลมาเป็นเจ้าอาวาสเสมอ

วัดพระธาตุม่อนพญาแช่

        ตำบลพิชัย บนเส้นทางสายลำปาง – งาว ถึง กม. ที่ 605 แยกขวาเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขา ด้านบนมองเห็นทิวทัศน์ของตัวเมืองลำปางได้อย่างชัดเจนสวยงามด้วยบันไดนาคที่ทอดยาวขึ้นไปสู่พระเจดีย์ซึ่งพรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณวัดได้รับการจัดแต่งเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและด้วยมีไม้ใหญ่ปกคตลุมร่มรื่นจึงทำให้สำนักงานป่าไม้เขตลำปางประกาศให้เป็นวนอุทยานม่อนพญาแช่

วัดไชยมงคล

        หรือเรียกชื่อหนึ่งว่า วัดจองคำ วัดไชยมงคลอยู่เยื้องวัดป่าฝาง พุทธสถานที่เด่นของวัดคือกุฏิมีขนาดปานกลางตัวอาคารเป็นตึกสีขาว หลังคาเครื่องไม้แบบพม่า ประดับกระจกดูแวววาว หน้าบันประดับด้วยกระจกเป็นรูปเทวดา เสาประดับด้วยขดลวดโลหะสีทองขดเป็นลายเครือเถาประดับกระจกสีต่าง ๆ งดงาม ระเบียงโดยรอบกุฏิฉลุไม้อย่างประณีต เพดานทาสีชาด พระพุทธรูปสำริดมีลักษณะงดงามสร้างจากเมืองมัณเล ส่วนพระเจดีย์องค์ใหญ่สีขาวยอดฉัตรสีทองมีหมู่เจดีย์องค์เล็กประจำอยู่สี่ทิศ นรสิงห์ตัวเล็ก ๆ อยู่เคียงข้าง

วัดศรีชุม

         จากถนนพหลโยธินถึงโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยแล้วแยกซ้ายบริเวณสี่แยกเข้าถนนศรีชุมไปอีก 100 เมตร จะพบทางเข้าวัดทางด้านขวามือ จัดเป็นวัดศิลปะพม่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จุดเด่นอยู่ที่วิหารซึ่งเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้แบบปราสาท หลังคาเครื่องไม้ยอดแหลมแกะสลักลวดลาย บานประตูไม้แกะสลักฉลุลวดลายโปร่งงดงาม ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติและพระพุทธรูปศิลปะพม่า แต่มาถูกไฟไหม้เมื่อ พ.ศ. 2535 หลังจากนั้นจึงเริ่มทำการบูรณะโดยใช้เวลากว่า 7 ปีให้คงลักษณะเดิมไว้ทั้งหมด

บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน

         บ่อน้ำร้อนแจ้ซ้อน : อยู่บริเวณเดียวดับน้ำตกแจ้ซ้อน ห่างกันประมาณ 1 กม. เป็นบริเวณธารน้ำร้อน ซึ่งเต็มไปด้วยโขตหิน น้ำบางตอน ร้อนจัด มีควันพุ่ง แต่บางตอนก็อุ่นๆน้ำที่ร้อนที่สุดประมาณ 70 - 90 ?C.

ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ช้างไทย

         ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย : ได้เปลี่ยนชื่อมาจากศูนย์ฝึกลูกช้างที่บ้านปางหละ อ.งาว และได้ทำการย้ายมาอยู่ที่ สวนป่าทุ่งเกวียนอ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เป็นสถานที่ใช้ฝึกลูกช้างก่อนที่จะนำไปใช้งานลากไม้ในป่าใหญ่ หรือภูเขาสูง ซึ่งรถไม่สามารถเข้าไปถึง จึงต้องอาศัย แรงช้างในการลากจูง
         การฝึกลูกช้างจะทำการลูกช้างอายุประมาณ 5 ขวบขึ้นไป นับว่าเป็นศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ เพราะเดี๋ยวนี้หากไม่มีการอนุรักษ์ไว้ อีกหน่อยช้างอาจจะสูญพันธ์ไปจากโลกนี้ได้ ทางอุตสาหกรรมป่าไม้ จึงมองเห็นความสำคัญของช้าง เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้อยู่สืบไป ถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
         ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย : ห่างจากตัวจังหวัดลำปางไปตามเส้นทางลำปาง - เชียงใหม่ ประมาณ 38 กิโลเมตร จะทำการฝึกลูกช้างให้นักท่องเที่ยวชม ถึงความน่ารักของช้างไทยทุกวัน โดยเริ่มรอบเช้าเวลา 09:00 น. และ 11:00 น. *รอบบ่ายเวลา 14:00 น.(*หมายเหตุ : รอบบ่ายมีเฉพาะวันหยุดและวันนักขัตฤกษ์เท่านั้น) โดยผู้เข้าชมจะต้องเสียค่าผ่านเข้าชมเพียงท่านละ 20 บาทเงินจำนวนนี้ทางอุตสาหกรรมป่าไม้ก็จะนำไปซื้ออ้อย และกล้วยเพื่อเป็นอาหารให้ช้างต่อไป

ทั้งหมดนี้ขอขอบคุณ

www.google.co.th & www.google.com

www.lampang.go.th

ที่ทำให้มีบทความดีๆนี้ ให้ที่สนใจได้อ่านและทำความรู้จักกับจังหวัดลำปางเมืองแห่งรถม้า และเมืองที่สวยอีกเมืองหนึ่งในประเทศไทย หากเพื่อนๆสนใจไปเที่ยวชม อย่าลืมเก็บภาพความประทับใจมาด้วยนะคะ

 

 




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

บันได 5 ขั้นสู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่า
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : sale สุรา งานในธนาคาร callcenter 7777 labคุณภาพน้ำ พนักงานขับรถนายญี่ปุ่น ช่าง ในสมุทรสาคร black canyon ห้างโลตัสพัทยาใต้ outrrpor P&G weelgrowเชลแมน เขตยานนาวา ผู้ช่วย คนญื่ปุ่น หางานในหมู่บ้าน200ปี ขับรถ ปทุม document QC QA จ. ชลบุรี mantenance QC/ธุรการ พนักงานผู้ช่วยพยาบาล ไตเทียม หางานวุฒิ ม3 จังหวัดสุโขทัย พนักงานบัญชี พระราม3 ห้รย เดินระบบไฟฟ้า ชลบุรี หางานโรงงานเชียงใหม่ ธุรการ,บุคคล,ประสานงาน รามคำแหง 24/18 หางานวุฒิม.3แถวบางแค โรงแรมวุฒิม6 ประสานงานขายสาทร นักการตลาด งานสำหรับวุฒิ ม. 3 ขายกาแฟสด หาดใหญ่ การพยาบาล ชลบุรี PHP programmer ไม่จำกัดวุฒิ โปรโมทเว็บ พนักงานขายรถ วุฒิ ม.6 ขักข่าว ภาษจีน รับประกัน บัญชีและธุรการ ลาดพร้าว โชคชัย 4 เจ้าหน้าที่ประสานงานงานขาย ธุรการประสานงานพระโขนงบางนา บัญชี พัทยา2012 บริษัท T w บริษัท ทีวี ไดเร็ค สาขาชลบุรี งานวิทยุ เช่น ธุรการลาดพร้าว พนง.ขายกาแฟสด ผลิตจิวเวลรี่