หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง Back Support - การใช้งานและสรรพคุณ
เขียนโดย นุชนันท์ วรรณโกวิท

Rated: vote
by 15 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




การทำงานและ สรรพคุณของ Back Support

 

ในปัจจุบันมีผู้ผลิต Back Support ซึ่งก็คือเครื่องพยุงหลัง หรืออุปกรณ์พยุงหลัง ออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ที่มีขายในเมืองไทยอาจมีรูปแบบที่ไม่หลากหลายมากนัก จึงทำให้เรารู้สึกว่ามีอยู่น้อย ที่ผลิตออกจากหลากหลายประเทศ ก็มีรูปร่างต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ เช่น บางประเภทช่วยแก้เรื่องกระดูกสันหลังคด ช่วยปรับท่าทางในการทำงานให้เหมาะสม ช่วยกระชับกระดูกกระเบนเหน็บและบั้นเอว บางประเภทก็แค่ช่วยพยุงหลังส่วนล่างและช่องท้อง ซึ่งออกแบบต่างกันตามการใช้งาน  ทั้งในแบบมีอาการและผู้ยังไม่มีอาการ ในระยะก่อนเกิดการบาดเจ็บ และหลังเกิดการบาดเจ็บ สำหรับผู้มีอาการปวดหลัง  back support ที่ควรใช้จะมีหลักการทำงานคือ ลดช่วงการเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการบาดเจ็บมากขึ้น สำหรับผู้ยังไม่มีอาการปวดหลังแต่ต้องการใช้เพื่อป้องกัน back support จะถูกออกแบบมาเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวได้มากที่สุดเท่าที่จะไม่ก่อให้เกิดอาการปวดหลังจากการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การก้มเงยซ้ำ ๆ ร่วมกับการยกของหนัก การทำงานบนเครื่องมือที่มีแรงสั่นสะเทือนสูงเกิดขึ้นกับหลัง การนั่งนาน ๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง (ในกรณีนี้ back support ที่ใช้กันทั่วไป ก็อาจเป็นเพียงแผ่นรองหลังที่ออกแบบมาเพื่อช่วยพยุงแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในแนวปกติ หรือเพื่อช่วยคงท่าทางการนั่งที่ถูกต้อง) ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบตามหลักการยะศาสตร์(Ergonomics) เพื่อใช้งานได้เหมาะกับกลุ่มคนที่ทำงานและมีรูปร่างต่างกัน

 

ส่วนใหญ่ที่พบในบ้านเราและแพทย์สั่งให้ใช้สำหรับผู้มีอาการปวดหลังแล้วมักเป็นรูปแบบของแผ่นผ้าแบบยืดหยุ่นได้และไม่ยืดหยุ่น โดยมากเป็นผ้าชิ้นเดียว บางยี่ห้อเป็นผ้า 2 ชิ้น และมีแถบรัด หรือเชือกรัดไว้กับลำตัว ทำหน้าที่ยึดช่วงเอวและกระดูกสันหลังส่วนล่างไม่ให้เคลื่อนตัวออกจากกันมากเกินไปทั้งในแนวดิ่ง และขวาง ใช้เมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน จากอุบัติเหตุ หรือหลังได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะเมื่อมีหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือกระดูกสันหลังแตกหัก ในกรณีหมอนรองกระดูกสันหลังช่วงล่างเคลื่อนในระยะเฉียบพลัน ถ้าใส่ support ร่วมกับการรักษาทางยาและกายภาพบำบัดแล้วมีอาการโดยรวมดีขึ้น ส่วนใหญ่แพทย์จะไม่แนะนำให้ผ่าตัด แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างในกรณีที่ผู้ป่วยมีโครงสร้างร่างกายไม่สมมาตร (Asymmetry) เช่น ระดับกระดูกเชิงกรานไม่เท่ากัน ความยาวขาต่างกัน การใช้ support ที่ออกแบบมาสำหรับคนส่วนใหญ่ที่มีโครงสร้างร่างกายปกติก็อาจให้ผลต่างกัน อาจต้องไปแก้ไขเรื่องความไม่สมมาตรด้วย

 

สำหรับผู้มีอาการปวดหลังการทำงานของ back supportหลัก ๆ ก็คือการป้องกันการเคลื่อนไหว(immobilization)  ตามลักษณะการออกแบบของตัว back support ที่มีทั้งแถบผ้าที่รัดบริเวณหน้าท้อง และโครงเหล็กเส้นยืนที่ช่วยพยุงแนวกระดูกสันหลัง เพื่อป้องกันการทรุดตัวในแนวดิ่ง หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกออกจากแนวปกติ พร้อมกับช่วยป้องกันการเกิดแรงดันขึ้นในช่องท้องเมื่อก้มตัวมากเกินไป หรือเมื่อไอแรง การออกแบบในส่วนมีลูกเล่นมากขึ้นสำหรับผู้สวมใส่ที่ต้องการใส่ไว้นอกเสื้อผ้า หรือเครื่องแบบที่ต้องใส่ในชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องสีสัน รูปแบบ ที่ไม่มีเส้นเชือกระโยงระยางเหมือนแบบโบราณ อีกทั้งยังใช้วัตถุดิบที่ให้ความกระชับมากขึ้น แต่ก็มีความยืดหยุ่นดี ทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกอึดอัดจนเกินไป โดยยังคงสรรพคุณในการป้องกันการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นหน้าที่หลักอยู่  ผู้ใส่จะรู้สึกปลอดภัยขึ้น พร้อม ๆ กับระวังมากขึ้นเมื่อต้องทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ  การใส่ support ในระยะยาวเพื่อช่วยปรับแนวกระดูกสันหลังก็อาจจะยังปฏิบัติกันอยู่ สำหรับผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดในระดับที่สูงขึ้นไปจากหลังส่วนล่าง แต่ในปัจจุบันหลักการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ให้ทำงานร่วมกันในการพยุงแนวกระดูกสันหลัง ร่วมกับการขยับเขยื้อนข้อต่อจะเป็นที่นิยมกว่าการใช้เครื่องป้องกันการเคลื่อนไหวในระยะยาว

 

            ถ้าค้นข้อมูลเพิ่มเติมทาง internet ใส่คำว่า back support ก็จะพบว่ามี support อยู่มากมายหลายรูปแบบ ทั้งสำหรับหลังส่วนบน ส่วนกลาง และล่าง แบบไม่ยึดติดกับลำตัว แบบใช้ในการทำงาน เล่นกีฬา ฯลฯ มากมายจริง ๆ ก็เพื่อให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมนั่นเอง ส่วนอุปกรณ์ที่เพิ่มระดับการป้องกันการเคลื่อนไหว (immobilization) ให้มากขึ้นกว่า support จะเรียกว่า เกราะ  (Brace)

 

 ผลเสียหรือผลข้างเคียง

 

            การใช้ support ในระยะยาวโดยไม่ได้ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวในช่วงการเคลื่อนไหวปกตินาน ๆ มักทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ บางครั้งแทนที่จะทำให้เกิดผลดี กลายเป็นผลเสียที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมได้ เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลัง และใส่ back support เป็นเวลานาน มักรู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อต้อง ยืนเดินหรือนั่งโดยไม่มีสิ่งผูกรัดหน้าท้องและหลัง ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอาการปวดแล้ว บางรายอาการปวดหายไปแต่เคลื่อนไหวช่วงหลังไม่ได้ตามปกติเพราะ เกิดการยึดติดของกระดูกสันหลังบางระดับ บางรายเกิดการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงกระดูกสันหลัง และเกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ทำให้กระดูกสันหลังในระดับอื่น ๆ เสียความมั่นคง (instability) ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังซ้ำได้อีกในระดับเดิม หรือระดับอื่น ๆ บางรายที่ใส่ support นาน ๆ จนติดและคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนได้ ก็ต้องพบว่าไม่เป็นความจริง เพราะในบางเวลาที่ไม่ได้ใส่เครื่องพยุง เช่น ขณะอาบน้ำ แล้วก้มลงเก็บสบู่ที่ตก ก็อาจเกิดการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกเฉียบพลันได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ช่วยพยุงหลังไม่ทำงาน เพราะสั่งสมความอ่อนแรงและขาดการออกกำลังมาเป็นเวลานาน

 

          จริงอยู่ว่า back support ช่วยป้องกันการเคลื่อนไหว ช่วยลดการเคลื่อนไหว หรือเพิ่มความรู้สึกมั่นคงให้แก่ส่วนหลัง แต่สำหรับผู้ที่ต้องใช้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบหลักการทำงานของ back support และหลักการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมด้วย เช่น การฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกล้ามเนื้อโดยรอบกระดูกสันหลัง และ การค่อย ๆ เลิกใช้เครื่องพยุง เมื่อกล้ามเนื้อที่ต้องใช้ในการพยุงและเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่หลังทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังในระดับอื่น ๆ อันเป็นผลจากการมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และภาวะยึดติดของกระดูกในระดับที่ต่อเนื่องกัน ผลข้างเคียงของการใช้ support หรือ brace แต่ละประเภท มักหนีไม่พ้นเรื่องการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และการยึดติดของข้อต่อ แต่ก็มีผลที่ซับซ้อนเกี่ยวกับอวัยวะภายในได้ในบางกรณี เช่น ผู้ป่วยบางรายที่ใช้ brace เป็นเวลานานเพื่อช่วยลดปัญหากระดูกสันหลังคดระดับอกอาจพบภาวะแทรกซ้อนซึ่งเกิดจากปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากถูกจำกัดการเคลื่อนไหวมากเกินไป เพราะการออกแบบให้ใช้รัดช่องอกและกระดูกสันหลัง ผู้ออกแบบในปัจจุบันได้พัฒนารูปแบบ support และ brace ให้ช่วยลดผลเสียลงได้มากกว่ารูปแบบที่มีในอดีต

 

**หากสนใจขอรายละเอียดเพิ่มเติม
ติชม-แนะนำ เปิดเผยต่อสาธารณะได้เชิญที่ http://www.jobpub.com/editor/nwannakowit
**หากมีข้อซักถามเป็นส่วนตัวเชิญที่ [email protected]  



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

คำแนะนำน้องใหม่ขององค์การ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ธุรการแถวพระราม2 ฝ่าายศิลปื พนักงานบริษัท พระราม2 หางานในภูเก็ต ช่างเทคนิคดูแลระบบ en คนขับรถ สงขลา LG งพัทยา หน่วยโสต สงขลา มีบุคลิก B-q ขับรถ ติดตั้ว สาธิต ธุรการ เขตบางแค ม.6 โคราช หางานในจังหวัดพิษณุโลก หางานเย็บผ้าทำ ชลบุรี่ ผู้ประกาศ พิธีกร sale ขายประกันชีวิต กลึงเขตลาดพร้าว นวพลาส วุฒิม.6 ถนนวิภาวดี orupuepu งานพาสทาม ชลบุรี จัดเรียงสินค้าลำปาง กระนวน พนักงานบริการโดยสาร โงแรม โคโยตี้ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ธุรการ-พระราม2 ธุรการหญิง กะหร่ ประจำสาขากรุงไทย c#.net programmer ชลบุรี ล่าม รับเด็กเสริฟ ผับ งานบุคคล ภูเก็ต ธุรการ นนทบุรี ราชการ จ.พัทลุง งานธนาคารสาขาพนัสนิคม พุทธบูชา44 วันที่ี 24 บุลคล สุพรรณบรุี เพชรเกษมบางแควุฒิปวช บัญชี,ตลาด,ขาย ปวส.การขายการตลาดชลบุรี factory+manager event tv