หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ทักษะ 6 อย่างของคนทำงานในยุคสังคมฐานความรู้
เขียนโดย ชัชวาลย์

Rated: vote
by 4 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




มีผู้รู้หลายท่านได้เสนอไว้ให้เห็นว่า สังคมในปัจจุบัน และในห้วงเวลาต่อไป ได้ก้าวเข้าสู้การเป็นสังคมที่อาศัยความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมหรือที่เรียกกันเป็นภาษาไทยทางเทคนิคและภาษาอังกฤษว่า “สังคมฐานความรู้ (knowledge-based society)” สังคมลักษณะนี้  มีเงื่อนไขความเป็นไปของการดำรงชีวิตที่แตกต่างจากสังคมในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมาหลายเรื่องหลายราว  บางอย่างถึงกับปรับเปลี่ยนวิธีคิดหรือ shift paradigm ของเราจากเดิมไปสู่แนวคิดใหม่ที่ท้าทายต่อความเชื่อเดิม ๆ ไปอย่างมากมาย

 

แน่นอนครับว่า สังคมแบบใหม่นี้ อาศัยสมาชิกที่มีกระบวนการคิดที่เปลี่ยนไปจากเดิม มากไปกว่านั้นก็คือ คุณลักษณะความเป็นตัวตนของคนที่ทำงานในสังคมดังกล่าวก็น่าสนใจไม่น้อย  หลายท่านบอกว่า สังคมมนุษย์ในห้วงเวลาเช่นนี้ จะมีการแข่งขันกันของมนุษย์เงินเดือนกันอย่างสูง แข่งขันกันทั้งในเรื่องคุณวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะความสามารถ ซึ่งอาจเรียกกันรวม ๆ ว่า Individual Competency ในทำนองว่า ใครจะมีสิ่งเหล่านี้ match กับความต้องการขององค์การที่อยากไปทำงานด้วยแตกต่างกัน

 

และมันก็ก่อให้เกิดความเครียดและปิดช่องทางคนที่ไม่พัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าล้ำยุคอยู่เสมอ  ไม่ใช่ในเรื่องแฟชั่นการแต่งตัวหรือความรอบรู้ในบรรดาละควรหรือเพลงที่โหมโฆษณาในสื่อสารมวลชนต่าง ๆ หรอกครับ หากแต่เป็นความก้าวหน้าล้ำกว่าใครในศักยภาพความสามารถ

 

ผมคิดคาดเอาว่า สังคมยุคที่เรากำลังใช้ชีวิตการทำงานอยู่นี้ เริ่มปรากฏพนักงานในองค์การต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ชั้นนำหรือองค์การขนาดใหญ่ อย่างน้อยก็ 2 ชนชั้น หนึ่งคือชนชั้นที่ทำงานเป็นพนักงานประจำ นั่งอยู่ในสายธุรกิจหลัก (core business) ขององค์การ และสองคือคนที่รับจ้างเหมาภายนอกหรือ outsource เข้ามาทำงานในส่วนที่ไม่ใช่งานหลัก    แต่ท่านจะเรียกว่าอย่างไรแตกต่างจากผมหรือไม่ ผมว่าอาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เรื่องที่อยากจะบอกให้เห็นนั้นก็คือ ความแตกต่างกันในระดับหนึ่งของคนทำงานในองค์การ 2 กลุ่มนี้ ที่มีให้เห็นอย่างชัดเจน และสามารถพิสูจน์กันได้ไม่ยากด้วยค่างานที่แตกต่างกันนั่นเอง 

 

แต่กระนั้นก็ไม่ใช่ว่า ชนชั้นที่ทำงานประจำในองค์การชั้นนำเหล่านี้ จะไม่แชร์ลักษณะบางอย่างของชนชั้นที่สองนั้นเสียเลย หากแต่เป็นไปได้มากนะครับที่ชนชั้นแรกนั้น มีโอกาสที่ดีมากกว่าเท่านั้น หากแต่วัตรปฏิบัติของชีวิตก็ยังคงติดละควรน้ำเน่า เข้าทำนองไม่แสวงหาความก้าวหน้าใส่ตัว ลืมไปเลยว่า ความก้าวหน้าและมั่นคงในหน้าที่การงานที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงสิ่งเดียวนั้นก็คือ การพัฒนาตัวอย่างเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่อง

 

เพื่อไม่ให้หลุดยุค ผมขอนำเสนอข้อคิดให้ท่านผู้อ่านได้เห็นว่า ในยุคสังคมเศรษฐกิจแบบนี้ องค์การต่าง ๆ ที่ต้องต่อสู้แข่งขันดิ้นรนทำธุรกิจ ซึ่งต่างก็มุ่งหวังทั้งความอยู่รอดและความก้าวหน้าเติบโต ต่างต้องการคนทำงานที่มีคุณลักษณะจำเพาะเจาะจง ซึ่งอย่างน้อยก็คือเรื่องต่าง ๆ ซึ่งท่านผู้รู้หลายท่าน และผมขอสรุปนำเสนอท่านผู้อ่านรวม 6 ลักษณะของทักษะที่ต้องการและจำเป็นดังต่อไปนี้ ครับ

 

1. ทักษะการคิด (Thinking)

คนทำงานในสังคมยุคใหม่ที่ว่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักการสร้างความคิด คิดให้มากเข้าไว้ และพยายามคิดให้ได้คิดให้เป็นด้วยตัวเขาเอง พร้อมทั้งมีทักษะความสามารถในการคิดต่อยอดความรู้ที่ได้รับมา ทั้งจากการเรียน การอ่านหนังสือหรือจากประสบการณ์การทำงาน เพื่อสร้างความสามารถและโอกาสของความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

 

ทักษะของการคิดที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ว่านี้ได้แก่ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดเชิงบวก (Positive Thinking) การคิดนอกกรอบหรือแนวขวาง (Lateral Thinking) เพิ่มเติมจากการคิดเชิงเหตุผล (Rational Thinking)  ผมเองมองว่า ทักษะความคิดต่างๆ  เหล่านี้ เป็นพื้นฐานความจำเป็นเพื่อการสร้าง ต่อยอดและพัฒนาความรู้ในอนาคตของคนทำงาน

 

2. ทักษะการเขียน (Writing)

ตามธรรมดาเมื่อคิดได้ แล้วไม่แสดงออกอะไรมาสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนจากสิ่งที่คิด หรือการปฏิบัติในสิ่งที่คิดได้มันมักจะลืมเลือนไปในช่วงเวลาไม่นานนัก คนที่คิดได้คิดเก่งแต่ไม่มีวิธีหรือขาดทักษะการนำเสนอก็ไม่อาจจัดได้ว่ามีขีดความสามารถกว้างขวางเท่าใดนัก ผู้รู้ท่านว่า เมื่อคิดอะไรออกมาได้แล้ว ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการทำงาน วิธีการปรับปรุงงานในหน้าที่รับผิดชอบ ต้องรู้จักการเขียนสิ่งที่คิดออกมา

 

แต่บังเอิญและโชคร้ายเสียจริงว่า คนทำงานจำนวนไม่น้อย คิดเก่งและคิดได้สารพัด แต่ไม่ยักกะมีใครชอบที่จะนำเสนอมันออกมาด้วยการเขียน  ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า นิสัยดั้งเดิมของคนไทยนั้น ไม่ค่อยชอบขีดเขียน ซึ่งเรื่องนี้ สังเกตหรือเห็นได้จากเอกสารอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ที่บ้านเรามีน้อยมากเมื่อเทียบกับสังคมอารยะที่ก้าวหน้า  ด้วยข้อจำกัดแบบนี้  ก็เลยมีข้อเสนอแนะให้คนทำงานทั้งหลาย รู้จักเทคนิคการนำเสนอความคิดดีดีผ่าน “สุนทรียสนทนาหรือ dialoque”

 

แต่กระนั้น การฝึกทักษะในการเขียนก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็นนะครับ คนที่เติบโตในสายงานก้าวไปเป็นผู้บริหารขององค์การ แม้จะไม่ได้เขียนอะไรออกมาโดยตรง หากแต่เหล่านั้นก็ถึงพร้อมด้วยทักษะความสามารถในการเขียน การฟังและการนำเสนอมาก่อน

 

โดยเนื้อแท้นั้น การเขียนก็คือ การถ่ายทอดข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งหลายไปสู่ผู้อื่นด้วยตัวอักษร หรืออาจจะเป็นภาพแต่ชะรอยว่า คนทำงานยุคใหม่จำนวนไม่น้อย ถนัดกับการแชทออนไลน์กันมาก หากแต่พอให้เขียนหรือนำเสนออะไรที่เป็นเรื่องเป็นเรา กลับทำไม่ค่อยได้

 

3. ทักษะการอ่าน (Reading)

การอ่านนั้น จัดได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเสริมความรู้ให้แก้เราได้อย่างมหาศาล การอ่านนั้น นอกเหนือจากจะเติมเต็มในสิ่งที่เรายังไม่รู้แล้ว ยังเป็นการเรียนรู้ที่จะรับฟังและยอมรับความคิดความเห็นของผู้อ่านที่บรรจงเขียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งออกมา  อย่างไรก็ตาม การนิยมอ่านแต่เรื่องบันเทิงเข้าทำนองว่าเป็นเจ้าแม่ละครหรือรอบรู้เรื่องดาราสารพัด ไม่ได้เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์อะไรแม้แต่น้อย เราก็เลยจำเป็นที่จะต้องรู้จักเลือกเรื่องที่จะอ่านด้วย และเมื่อด่านแล้วก็รู้จักวิเคราะห์ เพื่อเค้นเอาสารัตถะอะไรบางอย่างจากเรื่องที่อ่านออกมานำไปใช้ประโยชน์

 

4. ทักษะการพูด (Speaking)

ผมคิดว่า คนทำงานทั้งหลายรู้อยู่แล้วว่า การพูดนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญของการสื่อสาร คนทำงานยุคใหม่จำเป็นนะครับที่จะต้องเรียนรู้และรู้จักวิธีการพูดให้ถูกต้อง เหมาะสม  รู้จักวิธีการนำเสนอต่อผู้อื่น

 

การจะพูดให้ได้ให้ดีนั้น ผมคิดว่ามันอยู่บนพื้นฐานของการที่เรามีข้อมูลหรือรู้เรื่องที่เราจะพูดนั้นอย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง  และโดยทั่วไปเราก็มักจะมั่นใจมากขึ้นเมื่อเรารู้ข้อมูลหรือเรื่องราวนั้น ๆ อย่างถ้วนถี่หรือมีความเชี่ยวชาญ นอกจากนี้ การจะพูดจะสื่อสารให้ใครเข้าใจเจตนาที่จริงของสิ่งที่ต้องการสื่อนั้น มันก็ไม่ใช่สักแต่ว่าจะพูด คนทำงานก็เลยจะต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถในการพูดในหลากหลายสถานการณ์ เรียนรู้และทดลองปฏิบัติเพื่อลดจุดอ่อนของการพูด เพื่อให้ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

 

4. ทักษะการฟัง (Listening)

การฟังเป็นอีกทักษะที่เรามักจะลืมกันไปครับ ในงานเขียนตอนก่อนหน้า ผมได้นำเสนอท่านผู้อ่านไปว่า เราจะฟังกันอย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะเรามักพบว่า คนเรานั้นไม่ชอบฟังใคร เอาแต่จะพูด สุดท้ายก็แย่งกันพูดและต่างคนต่างพูด จนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งแค้นเคืองกัน

 

การฟังนั้น หากจะว่าไปแล้วก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ของความคิด และเป็นการเรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่น้อยเช่นกัน เพราะการฟังนั้น โดยทั่วไปก่อให้เกิดการรับรู้ได้รวบเร็วกว่าการอ่านเป็นไหนไหน

 

6. ทักษะการปฏิบัติ (Doing)

จากทักษะทั้ง 5 อย่างที่ผมได้นำเสนอไปนั้น แม้จะฝึกฝนมาให้ได้เป็นอย่างดีแล้ว หากไม่อาศัยทักษะอย่างที่ 6 หรือทักษะของการนำไปปฏิบัติแล้ว ก็ไม่ค่อยจะเกิดผลเท่าใดครับ

 

ทักษะการปฏิบัตินั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่า ทักษะต่างๆ ที่เรามีเราจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับการทำงานหรือกับการดำรงชีวิตได้จริง ภาษาชาวบ้านเค้าเรียกว่า ไม่ใช่เก่งแต่พูด หรือเป็นจ้าวแห่งทฤษฎี แต่ยังสามารถ “ทำ” ได้ด้วย คนทำงานทั่วไป เรียกคนพวกที่เก่งแต่พูด แต่ทำไม่เป็นว่าพวกนักวิชาการ ซึ่งผมก็อยากแย้งนะว่าโลกทัศน์หรือความคิดแบบนั้นไม่ค่อยถูกต้องเท่าใดหรอก แต่มันก็จริงครับที่ว่า นักวิชาการจำนวนไม่น้อยก็หลุดลอยไปจากโลกของความเป็นจริง เพราะดีแต่คิด หรืออ่านจากความคิดของคนอื่น ๆ แล้วแต่เอาไปใช้ประโยชน์จริง ๆ ไม่ได้เพราะไม่เคยทำด้วยตัวเอง แต่กระนั้น นักวิชาการเก่ง ๆ ที่จัดเจนในการปฏิบัติก็มีไม่น้อยเลยนะครับ

 

เลาล่ะครับ ทักษะทั้ง 6 ด้านหรือ 6 อย่างที่ผมนำเสนอไปนี้  เชื่อว่าเป็นเรื่องพื้น ๆ ที่ไม่ได้ยากเกินไปหากเราท่านทั้งหลายจะได้ทดลองนำฝึกฝนและไปปฏิบัติจริงให้ได้ผล เพราะมันก็คือมูลค่าเพิ่มในตัวที่ท่านทั้งหลายจะสร้างให้กับตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงของชีวิตการทำงานนั้น ไม่ใช่ท่านฝ่ายเดียวที่อยากจะพัฒนาให้ทักษะเหล่านี้เกิดขึ้น หากแต่องค์การก็ยังต้องการด้วยเช่นกัน แต่หากเข็นไม่ไหว หรือสุดที่จะเคลียร์ ท่านก็อาจจะกลายเป็น “คนที่องค์การไม่ต้องการ” ก็ได้นะครับ

 

แต่ก็อย่าได้เผลอไผลไปเป็นเช่นนั้นเลย !!!! จะดีกว่าครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

หมดหวังท้อแท้ในชีวิต..คิดอย่างไรให้ใจสู้
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : พีซีประจำห้าง ขาย ลาดพร้าว รามคำแหง โรงงาน บางแค งานเดินทะเล ถาวรลำปาง จำกัด ปุณณวิ ตาล ขับรถส่งนักเรียน หัวหน้าแผนกผลิต ชลบุรี ท็ ลาดพร้าว โชดชัย4 watsoon พนักงานเขียนแบบ ชาย/หญิง สมัครงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนford ห้วยขวาง ลาดพร้าว ดินแดง สมัครงานร้านผ้าม่าน งานวุฒิม.3ในกรุงเทพสมุทรสาคร บุคคล คิดเงินค่าจ้าง 7-even สุขุมวืท KFC สาขา บิ๊กซี กุ๊ก โรงแรม กทม. เขตบา บ้านศิลาสุโขทัย กรุงเทพ+ว่าง บริการ โรงแรม ปวส หัวหน้า วิศวกรไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต กราฟฟิก รƒยค เขียนแบบโครงสร้าง พนักงานขับรถยก งานพิเศา วิศวกรรมการเกษตร/การชลประทาน กุ๊ก ครัวbakery duty manager ผู้ช่วยผูจัดการ สาขาลาดพร้าว ตำแหน่งงานธุรการแถวลาดพร้าว แม่บ้าน สาธร งานราชการ ม.3 ธุรการ ชลบุรี ทเคนิค ประสานงาน วุฒิ ม.6 จ.ชลบุรี ฌฐฌฏณ๊ กระทุ่มล้ม samutprakran ปะปานครหลวง สปา สถานความงาม ทำความเย็น ครูประจำ