หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ศักยภาพของสมองในการประมวลข้อมูลจากการรับรู้
เขียนโดย นายธนากรณ์ ใจสมานมิตร

Rated: vote
by 5 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ศักยภาพของสมองในการประมวลข้อมูลจากการรับรู้

         

            มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีศักยภาพสูง โดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาด้านสติปัญญา นักการศึกษาต่างให้ความสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้การทำงานของสมองมนุษย์ ตั้งแต่ปี ค.ศ๑๙๕๐ จวบจนปัจจุบัน และมีผู้เรียกชื่อผลการศึกษาเป็นภาษาไทยหลากหลายชื่อ เช่น  ทฤษฎีการประมวลข้อมูลข่าวสาร , ทฤษฎีกระบวนการจัดกระทำข้อมูล , ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล ฯลฯ แนวคิดของหลักทฤษฎีนี้มีอยู่ว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยคลอสเมียร์ (Klausmeier, ๑๙๘๕)[๑] ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน กล่าวคือ ๑) เริ่มต้นจากการรับรู้ข้อมูล (Input) ๒) การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ ๓) การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์ คลอสเมียร์ยังได้อธิบายต่อว่ากระบวนการประมวลข้อมูล เริ่มต้นจากการรับสิ่งเร้าเข้ามาทางสัมผัสทั้ง๕ สิ่งเร้าที่เข้ามาเราเรียกว่าข้อมูล โดยจะผ่านพื้นที่ส่วนหน้าของสมองที่ได้รับอิทธิพลจากสมองทางซีกซ้าย (เกี่ยวกับการใช้เหตุผล , สิ่งที่เป็นรูปธรรม , ควบคุมการรู้สำนึกในเบื้องต้น) ข้อมูลที่เข้ามาในส่วนนี้จะได้รับการบันทึกไว้ในระยะสั้นๆ โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพล ๒ ตัวหลักคือ ๑) การรู้จัก (Recognition) และ ๒) ความสนใจ (Attention) ของบุคคลที่รับข้อมูลนั้น

            ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory หรือ STM) จะคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก แต่ละบุคคลจะสามารถจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันได้เพียงครั้งละ ๕ – ๙ รายการเท่านั้น[๒] ถ้าข้อมูลบางอย่างมีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้เพื่อการทำงานชั่วคราว เราเรียกว่า ความจำเพื่อการใช้งาน (Working Memory) อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆช่วยในการเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ให้คงอยู่ยาวนานขึ้นในระดับหนึ่ง หรืออาจจะเป็นการเก็บไว้เป็นความจำระยะยาว (Long-Term Memory) เลยก็สามารถทำได้

            ความจำระยะยาว (Long-Term Memory หรือ LTD) เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับรู้โดยผ่านพื้นที่ส่วนหน้าของสมองที่ได้รับอิทธิพลจากสมองทางซีกซ้าย มาผ่านการประมวลและเปลี่ยนรูป โดยการเข้ารหัส (Encoding) เพื่อลำเลียงเข้าสู่ส่วนของสมองซีกขวา (เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึก สุนทรียภาพ , สิ่งที่เป็นนามธรรม , ควบคุมในส่วนของจิตใต้สำนึก (จิตไร้สำนึก) เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ส่วนที่เรียกว่า “Hippocampus” ซึ่งเป็นส่วนของการฝังข้อมูลที่เข้าผ่านการเข้ารหัสมาแล้ว เราอาจเรียกพื้นที่ส่วนนี้ว่า “Seat of Memory” ก็ได้ ข้อมูลใดก็ตามที่สามารถเข้ามาสู่ส่วนนี้ได้จะมีแนวโน้มที่ทำให้มนุษย์มีการจำได้ยาวนานกว่าในส่วนแรกที่กล่าวมา ข้อมูลบางข้อมูลอาจจะจดจำไปได้ตลอดชีวิตของมนุษย์เลยทีเดียว

ความจำระยะยาวสามารถแบ่งออกได้ ๒ กลุ่มหลักคือ

            กลุ่มที่ ๑. ความจำที่ชัดแจ้ง (Declarative Memory) สามารถจำแนกได้เป็น

                        ๑.๑      ความจำที่เป็นหลักการความจริง (Facts) ได้แก่ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic Memory)

                        ๑.๒     ความจำที่เกี่ยวกับองค์ประกอบภาพรวม (Event) ได้แก่ ความจำที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ (Episodic Memory)

            กลุ่มที่ ๒. ความจำที่ไม่ชัดแจ้ง (Nondeclarative Memory) สามารถจำแนกได้เป็น

                        ๒.๑     ความจำที่เกี่ยวข้องกับทักษะและอุปนิสัยของบุคคล ได้แก่ ความจำประเภทที่มีแนวทาง มีกระบวนการ (Procedural Memory)

                        ๒.๒     ความจำที่เกิดจากการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning) ได้แก่ ความจำจากการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางไว้จนเป็นเงื่อนไขนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning Theory)[๓]

                        ๒.๓     ความจำที่เกิดจากการรับรู้ทางอารมณ์ ความรู้สึก ได้แก่ ความจำที่เกิดจากความรู้สึกกลัว (Fear Memory) ของมนุษย์  

            เนื่องจากข้อมูลในส่วนความจำระยะยาวมีการเก็บไว้ในรูปของการเข้ารหัส (Encoding) ดังนั้นการเรียกข้อมูลออกมาใช้จำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decode) จากความจำระยะยาวนั้น และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือแรงกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว, การตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมต่างๆของมนุษย์นั่นเอง

เทคนิคการจำข้อมูลระยะยาวโดยการเข้ารหัส ตามรูปแบบของ Einstein Memory Step[๔]

            เป็นหลักการที่ Mr. Ron White – World#Memory Expert and USA Memory Champion ๒๐๐๙ ได้ฝึกใช้และเกิดผลจริง โดยเขาเป็นบุคคลที่สามารถจดจำรายละเอียดของข้อมูลต่างๆที่ไม่สัมพันธ์กัน และสามารถเอาชนะข้อจำกัดในการจำอย่างเห็นผลได้ชัดเจนด้วยวิธีการฝึกฝนและฝึกฝนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเท่านั้น หลักการดังกล่าวนี้ชาวกรีกเริ่มฝึกใช้กันมาตั้งแต่ปี ค.ศ.๔๗๗ ปัจจุบันเรียกกันว่า Einstein[๕] memory step ซึ่งมีกระบวนการดังต่อไปนี้

            ๑. Focus  : การกำหนดจิตด้วยความมีสมาธิและพร้อมที่จะรับรู้ข้อมูลในชุดนั้นๆจิตที่มีสมาธิควรเป็นไปตามธรรมชาติ อย่ากดดัน , บีบคั้น , คาดคั้นตัวเราเองอย่างเด็ดขาดเพราะอาจเกิดความเครียดทำให้ไม่สามารถดำเนินในขั้นตอนต่อไปได้ หรืออาจจะไม่เกิดผลที่ดีพอ

            ๒. Files : การกำหนดสิ่งยึดเหนี่ยวที่คุ้นเคยกับชีวิตเรา เพื่อที่จะใส่ข้อมูลที่เราต้องการจำเอาไว้ ขั้นตอนนี้ก็คือการเข้ารหัส (Encoding) ให้กับข้อมูลนั่นเอง ในความเป็นจริงนั้นสิ่งที่มนุษย์คุ้นเคยมีมากมายหลากหลาย ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะแตกต่างกันก็ได้ การกำหนดสิ่งยึดเหนี่ยวอาจกำหนดได้จาก

                        ๒.๑     บริบทรอบข้าง ณ ขณะนั้นที่เราไม่คุ้นเคย เหมาะสำหรับการจดจำข้อมูลชั่วคราวที่ไม่มากนัก และการจดจำเบอร์โทรศัพท์ของบุคคลที่เราพบเจอ ณ สถานที่นั้นๆ

                        ๒.๒     สถานที่ๆเราคุ้นเคยอย่างดี เหมาะสำหรับการจำข้อมูลที่สำคัญต้องการจำอย่างยาวนานและมีจำนวนมากๆ

                        ๒.๓     อวัยวะในตัวเรา เหมาะสำหรับข้อมูลที่ต้องการจำแบบไม่ยาวนาน ส่วนมากจะใช้กับการลำดับข้อมูลเพื่อการนำเสนอ เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ , การเสวนา , การปาฐกถา , การนำเสนอ ฯลฯ

                        ๒.๔     เพลงที่เราชอบ เป็นการจำระยะยาวในกลุ่ม Nondeclarative Memory แบบวางเงื่อนไข เหมาะสำหรับข้อมูลที่เป็นภาพรวมไม่ลงในรายละเอียดมากนัก และเป็นข้อมูลที่ต้องการจำอย่างยาวนานด้วยความประทับใจ ตื้นตันใจ

                        ๒.๕     อัตลักษณ์ที่เราสร้างขึ้นเป็นมโนภาพ เหมาะสำหรับข้อมูลที่ใช้เป็นเค้าโครงสำหรับการเขียน , การวาด , ตัวอักษร , ตัวเลข และเป็นข้อมูลที่ต้องการจำอย่างยาวนานเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้

            ๓. Pictures : สร้างจินตนาการภาพ ของข้อมูลสิ่งที่เราต้องการจะจำ ใส่ไว้ในสิ่งที่เราคุ้นเคย (File)  โดยต้องใช้จินตนาการของตนเองเท่านั้น สร้างเป็นภาพของข้อมูลสิ่งที่เราจะจำและมองให้เห็นภาพนั้นด้วยจิตที่มีสมาธิขณะนั้นให้ได้ สิ่งนี้คือมโนทัศน์ของเรา ไม่มีใครทราบนอกจากตัวเราเอง

            ๔. Glue : เป็นขั้นตอนที่สำคัญ กล่าวคือ เอาภาพข้อมูลสิ่งที่เราต้องการจะจำ (Pictures) ที่เป็นมโนทัศน์โดยการวาดด้วยจินตนาการของเรามา “ทากาว” แปะยึดติดไว้ให้แน่นในสิ่งที่เราคุ้นเคย (Files) ด้วยหลักการคือ “เราต้องติดภาพข้อมูลนั้นด้วยความประทับใจ” ให้มากที่สุด ขั้นตอนนี้ก็คือการถอดรหัส (Decoding) นั่นเอง

            ๕. Review :  เป็นการทบทวน สอบกลับข้อมูล ด้วยหลักการที่สำคัญคือ ทุกๆการรับรู้ข้อมูลใหม่ ๑ รายการ ให้กลับไปทบทวนข้อมูลก่อนหน้านั้น ๑ รายการเสมอ และทำเช่นนี้ไปตลอดจนข้อมูลที่ต้องการจะจำครบถ้วน การทบทวนในขณะที่จิตมีสมาธิจะทำให้ข้อมูลที่เข้ารหัส (Encoding) เชื่อมสู่ส่วนของ “Hippocampus” และฝังลงไปในส่วนที่เราเรียกว่า “Seat of Memory” ผลคือจำข้อมูลได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น (เป็นส่วนของความจำระยะยาว) ในขณะเดียวกันการเรียกข้อมูลส่วนนี้ออกมาใช้ก็จะมีการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วด้วยเนื่องมาจากเราได้มีการถอดรหัส (Decoding) ไว้พร้อมอยู่แล้วในขั้นตอนก่อนหน้านี้

            ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาจะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้และสิ่งที่ต้องตระหนักให้มากที่สุดคือ เราจำเป็นต้องฝึกฝน และฝึกฝนเท่านั้นจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ อย่างเข้าใจว่าเป็นพรสวรรค์ หรือเป็นสิ่งที่ติดตัวบุคคลมาตั้งแต่กำเนิด มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้และได้ดียิ่งๆขึ้นไปหากสามารถสร้างให้เป็นทักษะที่ดีติดตัวอย่างถาวรได้



[๑] Klausmeier, H.J..Educational psychology. New York : Harper & Row, ๑๙๘

[๒] ทิศนา  แขมมณี และคณะ. วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ, ๒๕๔๔ (น.๒๗)

[๓] อ้างใน Hergenhahn, B.R. and Olson, M.H.. An introduction to theories of learning. New Jersey : Prentice-Hall, ๑๙๙๓.

[๔] ที่มา “เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพความจำของท่าน ๓๐๐% “ , เอกสารประกอบการฝึกอบรม . ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ :

[๕] ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า ๓๐๐ ชิ้น และงานอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกกว่า ๑๕๐ ชิ้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งศตวรรษ" ผู้เขียนชีวประวัติของเขาเอ่ยถึงเขาว่า "สำหรับความหมายในทางวิทยาศาสตร์ และต่อมาเป็นความหมายต่อสาธารณะ ไอน์สไตน์ มีความหมายเดียวกันกับ อัจฉริยะ” (Howard, Don, and Stachel, John J. Einstein: The Formative Years, ๑๘๗๙-๑๙๐๙ ,Springer : ๒๐๐๐)




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

วิธีชี้ทางให้เจ้านาย มองเห็นผลงานของคุณ
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ทางการ ผู้จัดการฝ่ายขายโครงการ กระบี่ ฝ่าบุคคล จ.นครราชสีมา พนักงาน บขส วิศกรขาย atn100100 pretty pr ที่ตั้ง ตำแหน่งงานที่รับสมัคร จบ ม.6 เชียงใหม่ ประสานงาน ต่างประเทศ ผู้พิการ สมุทรปราการ ตลาดบางกะปิ บริษัท ทีเค ลำปาง จำกัด หางานpcห้างเมกะบางนา เลนญ่า จิวเวลรี่ สีลม พนักงานขนเงิน Human Resources Manager งานว่างพัทยา centerโรงแรม ่พนักงานขายpc ด้านปรัชญา วันละ 600 รวมกิจ ขุดเจาะ ภารโรง พนักงานขับรถสำนักงาน preety งานราชการโคราชวุฒิ ปวส บิ๊กซีรามคำแหง พนักงานผลิตสินค้าในโรงงาน สามโคก การเงินโรงแรม บุคคลลำพูน pototype การเงิน ปรึกษา วางแผน สมัครงานในห้างเมกะบางนา เจ้าหน้าที่ธุรการ สมุทรปราการ บริษัท พรพล `v c.b. แทค ตำแหน่งงานในครัวเย๊น นักวิชาการเกษตร ธุรกิจลาดพร้าว สมัครงานวุฒิ ปวช.นครศรีธรรมราช ผู้จ้ดการบัญชี บริษัท ไทยมี จำกัด ทรัพยากรบุคคล บางเขน สหเศรษฐศิริ organ ครูแนะแนว สงขลา นักเขียนโปรแกรม ลาดพร้าว 71, 73