หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ย่างก้าวชาวนาไทย....กับชีวิตแบบไร้สาร
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 0 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 






ท้องทุ่งนาอันเขียวชอุ่ม...นกน้อยกำลังกระพือปีกเพื่อบินกลับสู่รังของตน แสงอาทิตย์สีส้มนวลกำลังลับขอบฟ้า เป็นภาพเดิม ๆ ที่เคยได้สัมผัสมาตั้งแต่จำความได้ เพราะเกิดมาในครอบครัวกึ่งเกษตรกร กึ่งค้าขาย ทำให้ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตที่หลากหลายตั้งแต่ชีวิตแบบเกษตรกร ชาวนา

ชาวไร่และการดำเนินธุรกิจตามสไตล์ชาวจีนแบบเสื่อผืนหมอนใบ
แต่สิ่งที่น่าประทับใจมากที่สุด นั่นคือ อาชีพชาวนาของบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย สืบทอดมาสู่รุ่นพ่อ รุ่นแม่ อาชีพที่เลี้ยงผู้คนได้ทั้งประเทศ ผนวกกับภูมิลำเนาในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ จึงส่งผลให้ชีวิตของชาวนาไทยในพื้นที่นี้เปี่ยมไปด้วยความสุขเพราะเป็นพื้นที่ที่มักจะรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ ต่าง ๆ
แล้วจะมีสักกี่คนที่ทราบว่าเบื้องหลังความสุขนี้ ชีวิตชาวนาจะต้องจมอยู่กับสารพิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นยาปราบศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลง ชาวนาบางคนต้องล้มทั้งยืนในขณะที่ฉีดยาฆ่าหญ้าบนแปลงนาของตนนั่นเอง วิกฤติการณ์ที่มุ่งฆ่าชีวิตชาวนาไทยเช่นนี้ ใครจะเอื้อมมือเข้ามาช่วยผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติเหล่านี้ได้
ความสุขที่กลับกลายเป็นความทุกข์และความเจ็บปวดของชาวนา นอกจากเรื่องของสุขภาพแล้ว เรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวนาต้องเป็นหนี้สินจำนวนมาก อีกทั้งปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ดินแข็งมากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องยิ่งใส่ปุ๋ยเคมีมากขึ้น อีกทั้งยังต้องใช้ยาฆ่าแมลง สิ่งมีชีวิตในท้องนาต้องตายและระบบนิเวศถูกทำลายจนเสียสมดุล ดังนั้นบทเรียนที่สำคัญของชาวนาไทย คือ การลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในระบบเกษตรทั้งหมด ส่งผลให้เกิดการรวมตัวกันของชาวนาที่ต้องการจะปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มาสู่การทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษ จากแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนขึ้นโรงเรียนหนึ่ง นั่นคือ โรงเรียนชาวนา



 

หลาย ๆ คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับ “โรงเรียนชาวนา” โรงเรียนชาวนาเกิดขึ้นจากมูลนิธิข้าวขวัญ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ตั้งอยู่ในตำบลท่าเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมี พันธกิจที่ส่งเสริมให้ชาวนาพัฒนา ปรับปรุงและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวไทยมาอย่างยาวนาน ร่วมมือกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) จัดโครงการ “ส่งเสริมการจัดการความรู้ในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน จ.สุพรรณบุรี” และจัดกิจกรรมโรงเรียนชาวนาขึ้น โดยการรวบรวมกลุ่มชาวนาใน 5 พื้นที่ รอบ ๆ จังหวัดสุพรรณบุรี ในการศึกษาเรียนรู้ถึงระบบของธรรมชาติในแปลงนาและใช้วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันภายในกลุ่มเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาการทำนาของตน โดยหวังให้หลุดพ้นจากการถูกครอบงำทางความคิดของการโฆษณาชวนเชื่อในเรื่องของการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาวะของชาวนาเองและความสมดุลของระบบนิเวศด้วย
การเรียนการสอนในโรงเรียนชาวนาจะเป็นลักษณะของการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยการนำของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภาคสนามหรือชาวนาแกนนำในพื้นที่นั้น ๆ ชาวนาทุกคนจะถูกเรียกว่า “นักเรียนชาวนา” สถานที่เรียนจะเรียนกันที่วัดบ้าง โรงเรียนบ้าง แปลงนาบ้าง เพราะบ่อยครั้งนักเรียนชาวนาจะยกขบวนกันไปเรียนในภาคปฏิบัติที่แปลงนาสาธิตของเพื่อนนักเรียนด้วยกัน



 

กระบวนการเรียนรู้เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร... ด้วยกระแสของแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้หรือ Knowledge Management ที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งผลให้มูลนิธิข้าวขวัญได้นำแนวคิดมาออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นชาวนาในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วถอดบทเรียนออกมาเป็น 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเรื่องแมลง หลักสูตรเรื่องดินและหลักสูตรการพัฒนาพันธุ์ข้าว สุดท้ายแล้วนักเรียนชาวนาจะสามารถผสมพันธุ์ข้าวได้เอง
กระบวนการขับเคลื่อนที่ทำให้กิจกรรมโรงเรียนชาวนาประสบความสำเร็จได้ คงไม่พ้นเรื่องของการสื่อสาร ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหลักของกิจกรรมนี้ โดยเฉพาะการสื่อสารที่เกิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการภาคสนามที่สื่อสารกับนักเรียนชาวนา การสื่อสารผ่านกระบวนการเรียนรู้ภายในกลุ่ม ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติที่กลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรหรือแม้กระทั้งเนื้อหาสารที่ต้องการสื่อไปยังนักเรียนชาวนาทุกคน ล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาที่เกิดจากปัญหาต่าง ๆ ที่ชาวนาประสบ
การก้าวไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดดไม่สามารถไม่สามารถทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างประสบความสำเร็จได้ หลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกับวิถีชีวิตชาวนาที่ไม่สามารถมองข้ามไปได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวเชื่อมประสานเพื่อให้วิถีชีวิตชาวนาไทยแบบดั่งเดิมกับวิถีชีวิตแบบชาวนาไทยสมัยปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ
“ประเพณีรับขวัญข้าว” โดยยายปิ่นทอง ...


 

ยายปิ่นทอง นักเรียนชาวนาวัย 70 ปี คือ หนึ่งในชาวนาที่ผ่านการลองผิด ลองถูก กระทั่งพบว่าหนทางรอดของชาวนามิใช่การพึ่งพายาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี หากแต่เป็นการทำนาที่เอื้ออาทรต่อธรรมชาติและวัฒนธรรมการเคารพบูชาแม่ธรณี-แม่โพสพ ที่ตนดำเนินมาโดยตลอดนั้นมิใช่เรื่องงมงาย แต่เป็นความเชื่อที่เชื่อมโยงวิถีการทำนาที่สอดคล้องกับธรรมชาติเข้าด้วยกันอย่างแยบยล ไม่เฉพาะการเรียนรู้เรื่องลด เลิก ใช้สารเคมีจากโรงเรียนชาวนาเท่านั้น ยายปิ่นทองยังเชื่อมโยงวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปหลังจากการผลิตแบบเร่งด่วนให้กลับเข้ามาเป็นวิถีของชุมชนเหมือนเดิม




 

“ตะเกียงเจ้าพายุ” เด็กรุ่นใหม่คงไม่รู้จักกันแล้ว ตะเกียงเจ้าพายุเป็นตะเกียงที่ให้แสงสว่างในการนวดข้าวในลานโดยใช้แรงงานวัว ควาย ทำเช่นนี้จนกว่าข้าวจะหมด ข้าวที่ได้จะเก็บไว้ในยุ้ง หากจะขายก็มีพ่อค้ามาซื้อจากยุ้ง หากชาวบ้านไม่พอใจในเรื่องราคา ชาวบ้านก็จะเกี่ยวข้าวเอาไว้ก่อน ผักหญ้าก็เก็บเอาจากหนอง คลอง บึง อาหารสดก็มาจากแม่น้ำที่เมื่อก่อนยังมีความสมบูรณ์อยู่มาก




 

ประการสุดท้ายคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากิจกรรมทุกอย่างในสังคมจะไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้ถ้าขาดการมีส่วนร่วม โรงเรียนชาวนาเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันและชาวนาได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการปฏิบัติในแปลงนาสาธิต รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ถ้ามองออกไปในมุมที่กว้างกว่านั้น เราจะพบว่าได้มีปัจจัยอีกหลายประการที่ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของนักเรียนชาวนา ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ ตัวเจ้าหน้าที่ที่เข้าถึงชาวนาอย่างใกล้ชิด ทัศนคติหรือกระบวนทัศน์ของชาวนา ประโยชน์ที่จะได้รับหลังจากเข้ามาเรียนในโรงเรียนชาวนา การส่งเสริมจากครอบครัวหรือแม้กระทั้งปัจจัยด้านการสนับสนุนจากภายนอกชุมชน ทั้งในเรื่องของงบประมาณ วิทยาการความรู้ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้นักเรียนชาวนาเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมโรงเรียนชาวนาทั้งสิ้น
วิถีชีวิตชาวนาแบบนี้ห่างหายไปนาน แต่ปัจจุบันวิถีดั้งเดิมแบบนี้ได้เริ่มกลับมาแล้ว
นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของชีวิตชาวนาไทย สำหรับการหันหลังกลับมาหาธรรมชาติ ซึ่งเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ สอนเรื่องการทำนาแบบปลอดสารพิษ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักเรียนชาวนาทุกคน สิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งผลผลิตที่ไร้สาร การลดค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ความสมดุลของระบบนิเวศและชีวิตของชาวนาจะมีแต่ความสุข มีแต่รอยยิ้ม ถึงแม้ว่าภาระงานที่อยู่ตรงหน้าจะหนักหน้าสักเพียงใดก็ตาม...เพราะชาวนาไทยยังคงเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เป็นแกนหลักของการดำเนินชีวิตของคนไทยทุกคนและจะเป็นอย่างนี้ตลอดไปตราบนานเท่านาน




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

คุณรู้ไหมว่า....คนโบราณเจ๋งขนาดไหน
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ตำแหน่งวิศวกร KSD สยามนิรมิตรภูเก็ต ฝ่ายผลิต สมุทรปราการ ฝ่ายผลิต บัญชี นิคมชลบุรี สถาปัตยกรรม ขึ้นไป ผู้ตัดการ ขับรถลาดพร้าว ผู้จัดการโรงาน ครู กทม. ดีวีดี ช่างนวดหน้า นวดตัว บริษัทประกันชีวิตฐิติกร เขตวิภาวดี งานบัญชีบริษัทในพัทยา พนักงานพี่เลี้ยงเด็ก translator เนชั่นกรุพ สมัครงาน สุขุมวิท 93 plannet ผู้ช่วยหัวหน้านักแสดงภูเก็ต ช่างเย็บ ชลบุรี งานประจำวุฒิม.3 56 ขับรถรีมูซีน การขายประกัน แมรีฟราน งานบิ๊กซีร่มเกล้า บริษัท Smart than ช่าง ปวส. แจกซิม ซาบีน่า กรรมสรรพสามิตร part tome ธุรการเขตพัฒนาการ เจ้าหน้าที่แผนกสีพิเศษ ต่างประเทศ นักงานเขียนแบบ พนักงานmc ง ช่างพับกระดาษ jobbkk ไทยคิคูว่า ค่านำมัน ธุรการ ที่ชลบุรี ถนนพัฒนาการ 38 เกษียณ ขับรถรถส่งสินค้ากลางคืน jsl งานลาดพร้าว106