หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง HRD กับบทบาทใหม่ของการทำงานเพื่อตอบสนองเป้าหมายเชิงกลยุทธ์องค์การ
เขียนโดย ชัชวาลย์

Rated: vote
by 5 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ในอดีตและปัจจุบันของหลายองค์การ  เรายังคงมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาบุคคล ซึ่งนิยมเรียกกันว่า งานฝึกอบรมหรือ Training  หน้าที่หลัก ๆ ของหน่วยงานนี้ว่าไปแล้ว ไม่ได้มีอะไรยอกจากทำหน้าที่ประสานงานฝึกอบรมโดยวิทยากร อาจจะทั้งจากภายในและจ้างหรือเชิญมาจากหน่วยงานฝึกอบรมภายนอก   ซึ่งทำให้หน้าที่และบทบาทหลักของหน่วยงานนี้ ถึงมองออกมาในสองภาพคือ ผู้ประสานงานฝึกอบรม ซึ่งไม่ได้สร้างคุณค่าอื่นใดมากมายนัก แม้จะต้องจัดทำแผนงานฝึกอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ ตามความต้องการฝึกอบรม  ซึ่งจัดทำขึ้นมาตามนโยบายของผู้บริหาร หรือข้อบังคับตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน  รวมทั้ง ระบบมาตรฐานคุณภาพเช่น ISO  อันอาจรวมไปถึงการจัดฝึกอบรมตามคำร้องขอของหน่วยงานอื่นๆ  แต่จะได้ผลมากหรือน้อย ตรงใจฝ่ายบริหารขององค์การหรือไม่นั้น  ยังไม่ประเด็นที่ถกกันมากนัก 

งานหลักอีกอย่างนอกจากการจัดฝึกอบรมตามแผนที่จัดทำไว้แล้วของงานฝึกอบรมแบบเดิมได้แก่ การประเมินผล ซึ่งส่วนหลักแล้วก็มักดูว่า คนเข้าอบรมเยอะหรือไม่  ผลการประเมินวิทยากรและการจัดอบรมโดยผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนดีหรือไม่ ขนาดไหน เพื่อนำมาดูว่าตกลงรอบหน้าจะจ้างอีกหรือเปล่า  และยังดูว่าจัดอบรมแล้วอยู่ในงบประมาณที่ขอไว้หรือไม่  ประมาณนี้  

ผลจากขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบแบบนี้  ก็กลับเป็นว่า หน่วยงานฝึกอบรมที่น่าจะมีบทบาทหลักเคียงคู่องค์การ  ไม่ค่อยได้รับความสำคัญมากนักในสายตาผู้บริหาร  ยิ่งกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก หรืออาจจะเรียกว่า ขนาดย่อมที่ประกอบการกันแบบเถ้าแก่แล้ว  การฝึกอบรมแบบเก่าแบบนี้  ไม่ได้ตอบคำถามที่ว่า จัดฝึกอบรมแล้ว มีหลักประกันอะไรจะทำให้ผลประกอบการหรือปลการทำงานของพนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมดีขึ้น  เมื่อตอบได้ไม่จัด  เพราะโดยธรรมชาติของมันทำให้ไม่สามารถตอบได้ชัดแล้ว   ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า เมื่อมีการปรับลดค่าใช้จ่ายขององค์การ ค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรมนี้ ก็มักจะเป็นค่าใช้จ่ายหมวดต้น ๆ ที่จะต้องปรับลดกันไปก่อน  ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรลดเลย  หากแต่ HR เรายังบอกฝ่ายบริหารได้ยากพอสมควรในคำถามสำคัญของฝ่ายบริหาร

ที่ยังคงฝึกอบรมอยู่ คงเป็นการทำตามความจำเป็นตามกฎหมาย หรือการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ ในสายตาพนักงานและบุคคลภายนอก  หรือเอาไว้โฆษณาว่าองค์กรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร  รวมทั้งการจัดฝึกอบรมเพื่อเป็นสวัสดิการพนักงานในเชิงการสร้างความก้าวหน้าเชิงวิชาชีพให้กับพนักงาน และการจัดอบรมตามข้อกำหนดของระบบมาตรฐานคุณภาพเป็นประการหลัก 

แบบนี้เองที่ค่างานของคนที่ทำงานที่ได้ชื่อว่า คอยพัฒนาฝึกอบรมคนอื่นจึงไม่มากนัก 

พอมาสมัยนี้  งานฝึกอบรมจัดว่าเป็นงานหลักในสาย HRD (Human Resource Development  ซึ่งเป็นสายงานหนึ่งแยกออกมาเฉพาะจากสายงาน  HRM (Human Resource Management) ซึ่งเคยไปหลังบ้านห้องใหญ่ขององค์การ  พร้อมไปกับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเป็นเพียงผู้จัดฝึกอบรมตามแผน ไปสู่บทบาทในการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์การ  

วันเวลาที่ผ่านมา งาน HRD ก็ยิ่งขยายขอบเขตออกไปกว้างขวางมากขึ้น จนกระทั่งในทุกวันนี้ เราพูดคุยกันถึงเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของคน (Personal Work Life Development)  

ในทำนองเดียวกัน งานที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมของหลายองค์การ ได้รับการเรียกขานชื่อใหม่เป็นงานพัฒนาบุคลากร  ซึ่งมีบทบาทหน้าที่หลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะในการทำงาน การปรับทัศนคติและพฤติกรรมการทำงาน โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลายในการเดินตามวัตถุประสงค์

 แน่นอนว่าในเมื่อหน้าที่ความรับผิดชอบและขอบเขตงานขยายมาเป็นการพัฒนาบุคลากรมากกว่าการฝึกอบรมในแบบเดิม   ผู้บริหารองค์การที่จะต้องตัดสินใจให้เงินจำนวนมหาศาลมาใช้กับกิจกรรมของการพัฒนาบุคลากรนี้  ก็ย่อมมีความความหวังที่สูงขึ้นจากผลของการดำเนินงานของหน่วยงานนี้ด้วย   ไม่ใช่ความหวังแบบเดิม ๆ อีกต่อไป 

เรื่องแบบนี้ ส่งผลอะไรครับ

ประการแรก  หน่วยงานที่รับผิดชอบในการฝึกอบรม จะทำงานแบบเดิม ๆ ไม่ได้แล้ว ต้องทำงานแบบมีกลยุทธ์และกลยุทธ์ที่กำหนดนั้น จะต้องตอบสนองหรือรองรับกลยุทธ์ขององค์การในภาพรวม

ประการต่อมา  คนที่ทำงานด้าน HRD  ต้องมีกระบวนทัศน์แบบใหม่ ไม่ใช้คิดแบบ HR เก่า ๆ ที่เน้นงาน “รับคนเข้า เอาคนออก  คีย์บัตรตอก  ออกใบเตือน” หรือเป็น HR ที่หน้าบึ้งตึง สร้างภาพให้คนกลัว  มาเป็น HR ที่มีหัวจิตหัวใจให้บริการ  คอยสนองตอบความต้องการของพนักงานน้อยใหญ่เพื่อที่จะช่วยให้เขาสร้างผลงานที่ดีให้เกิดกับองค์การและหน่วยงาน  กระทั่งสุดท้าย เด้งที่สามกลับคืนมาหาเขา ไม่ว่าจะในแง่ค่าตอบแทน โอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และอื่น ๆ ที่เป็นผลประโยชน์ตอบแทนตามผลการดำเนินงานขององค์การ

หลายท่านผู้รู้บอกว่า จะเอาผู้บริหารสาย HRM มาดูแลงาน HRD คงไม่ได้ครับ  ผมเห็นด้วย  เพราะส่วนใหญ่แล้วกระบวนทัศน์หรือแนวความคิดพื้นฐานของสองสายงานนี้แทบจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสายงาน HRM จะไม่ได้ช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคลากรเลยก็หาไม่  ตรงกันข้าม สายงาน HRM มีเนื้องานที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในลักษณะที่เป็นพื้นฐานของงาน HRD ได้อย่างอเนกอนันต์ เช่น การจัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนแบบ Broadbanding  นั้น มีประโยชน์ที่สามารถใช้รองรับระบบการฝึกอบรมที่อิงสมรรถนะ  (Competency based) ได้ เป็นต้น

ผู้รู้หลายท่านจึงได้ให้คำแนะนำแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ HRD  ในมุมมองใหม่ ประเด็นสำคัญคือ การที่จะต้องเชื่อมโยงงาน HRD (HRD Strategy) ไปสู่กลยุทธ์ขององค์การให้ได้ และได้ผลจริงด้วย  

สิ่งแรก ๆ ที่ HRD จะต้องทำคือศึกษาและตีกลยุทธ์ขององค์กรให้แตก เพื่อให้ได้ภาพอย่างชัดเจนว่า ใน 1 ปี 3 ปี  5 ปี 10 ปี ข้างหน้าองค์การจะเดินไปทางไหน  จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่ฝ่ายบริหารกำหนด และตามแนวทางการเติบโตที่ว่านั้น  องค์การได้กำหนดกลยุทธ์อะไรบ้างมารองรับบ้าง  

จากนั้น HRD ก็ควรตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องได้ตรงไหนบ้าง เช่น ถ้ากลยุทธ์ขององค์กรคือการเปิดตลาดภายในประเทศตามต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น   HRD ก็ต้องย้อนกลับมาถามตัวเองว่าเราจะพัฒนา (เน้นว่าพัฒนานะครับ ไม่ใช่ฝึกอบรม)  บุคลากรตรงไหนบ้าง  ซึ่งอาจจะได้คำตอบที่หลากหลาย

แล้วคำตอบที่ว่าจะต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถอย่างไร มีจิตใจแบบไหน  เพื่อรองรับกลยุทธ์ที่ว่าในเรื่องอะไรบ้างนั้น ไม่ยากครับ ถามหัวหน้างานทั้งหลายดูได้ว่าท่านอยากได้แบบไหน แล้วมาหารือกันภายใน HR  กับปรึกษากับฝ่ายบริหาร เพื่อหาคำตอบให้เคลียร์มากขึ้น  ก็พอได้ครับ  

หลังจากได้คำตอบคร่าว ๆ ที่ว่านี้ แล้ว  ก็ถามต่อไปว่าว่า ด้วยสิ่งที่ต้องการอยากได้นั้น เราจะใช้แนวทางของการพัฒนาและฝึกอบรมได้หรือไม่  หากไม่ได้  มีวิธีการใดที่จะทำให้ได้  เพื่อให้เป็นวิธีการของการพัฒนาบุคลากร  ซึ่งการฝึกอบรม เป็นเพียงวิธีการเดียวที่เรามักจะคุ้นเคยครับ 

ประเด็นสำคัญของการสร้างความสอดคล้องรองรับของแผนงานและกลยุทธ์ของ HRD กับกลยุทธ์ขององค์การนั้น   อยู่ที่สองเรื่องครับ  หนึ่ง แผนกลยุทธ์ HRD มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ขององค์กรชัดเจนหรือไม่  และสอง ความสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ HRD ที่ว่านั้น  วัดได้จากอะไร  สอดรับกับผลที่คาดหวังจริงหรือเปล่า  

เจ้าตัวหลังนี้รู้ยากพอควรครับ  แต่ก็ต้องทำ  วิธีการของเราก็คือ เราจะกำหนดตัวชี้วัดผลงาน (HRD Performance Measurements) ไว้

ผู้รู้ท่านบอกว่า  พอขายหลักการคือแผนกลยุทธ์ของ HRD ได้แล้ว ก็ต้องเก็บเงินคือทำให้เกิดผลจากการพัฒนาตามแผนงานให้ได้  เหมือนกับการได้รับอนุมัติแผนกลยุทธ์ของ HRD แต่พอลงมือทำแล้วตอบอะไรไม่ได้เลยว่าทำแล้วได้ประโยชน์จริงหรือไม่  ก็จะมีประเด็นต้องมาถกกันครับ

ผลที่คาดหวังนี้  เรานิยมกำหนดไว้เป็นวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการพัฒนาและฝึกอบรม 

อย่างไรก็ดี  ในภาพใหญ่ที่มากขึ้น  งานของ HRD สมัยนี้  มักกำหนดระดับการวัดผลงานออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 : ประสิทธิภาพของงาน HRD (HRD Efficiency) ในระดับนี้หมายถึงการวัดว่าการบริหารงานของ HRD มีประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น จัดอบรมได้ตามแผนหรือไม่ บริหารงานให้อยู่ในงบประมาณหรือไม่ ผู้เข้ารับการอบรมพึงพอใจหรือไม่ มีอะไรขาดตกบกพร่องในระหว่างการจัดฝึกอบรมหรือไม่ มีผู้เข้าอบรมครบตามที่กำหนดไว้หรือไม่ วิทยากรมีคุณภาพหรือไม่ เป็นต้น

ระดับที่ 2 : ประสิทธิผลของงาน HRD (HRD Effectiveness)  เป็นการวัดว่าจากที่ HRD ได้จัดอบรมหรือพัฒนาไปแล้ว บุคลากรมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ ดีขึ้นหรือเปล่า เช่น มีความรู้ (Knowledge) เพิ่มขึ้นหรือไม่ มีทักษะ (Skills) สูงขึ้นหรือไม่ พฤติกรรม (Behavior) เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือไม่ ทัศนคติ (Attitude) ดีขึ้นหรือไม่  

ระดับที่ 3 : ผลกระทบต่อองค์กร (Business Impacts)  อันนี้เป็นมิติของการวัดหลักที่ HRD จะต้องพยายามหาวิธีการสะท้อนหาคำตอบให้องค์การครับ การวัดผลกระทบต่อองค์การนี้ เป็นการตอบคำถามที่ผู้บริหาระดับสูงขององค์กรมักจะถามคือมีการพัฒนาและฝึกอบรมไปแล้ว องค์กรได้อะไรบ้าง ผลงานในระดับนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของงาน HRD ที่จะตอบโจทย์ที่ว่า HRD เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่ ถึงแม้ว่างานของ HRD จะทำงานผ่านหน่วยงานอื่นซึ่งจะวัดผลงานได้ยากก็ตาม แต่สุดท้าย HRD จะต้องสาวไปให้ถึงให้ได้ว่าผลลัพธ์ต่างๆในภาพรวมขององค์กรนั้น HRD มีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด เช่น ก่อนและหลังทำโครงการนั้นโครงการนี้ ยอดขายของพนักงานขายต่อคนเพิ่มขึ้น ผลผลิตต่อคนเพิ่มขึ้น และมีส่วนไหนบ้างที่เกิดจาก HRD โดยตรง และการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างภายในองค์กรที่เกิดจากงานของ HRD โดยตรง เช่น การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

ท่านผู้อ่านที่ทำงานด้าน HRD ทั้งหลาย ย่อมพอที่จะทราบหรือมองเห็นภาพของตัวเองในปัจจุบันและอนาคตว่าจะต้องก้างเข้าไปทำงานเชิงกลยุทธ์ขององค์การมากขึ้น ในลักษณะที่เรียกว่า หุ้นส่วนทางกลยุทธ์กับองค์การ (Strategic Business Partner) ขององค์การให้ได้  ซึ่งนั่นหมายถึงการปรับตัวอย่างมากพอสมควร ทั้งในแง่ทักษะ   กระบวนการคิดและวิธีการปฏิบัติงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

พฤติกรรมองค์กร : ความเชื่อมโยงจากปัจเจกสู่กลุ่มชน
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : event ชั่วคราว honmono cpramลาดก ครูธุรการจ.สมุทรปราการ ฝ่ายุคคล kfc แจ้งวัฒนะ e8p8t21 Furcom B.COM ธุรการ ตึกช้าง ในจังดวัดนนทบุรี sales (บุหรี่) พริ้งตี้ ทำงานเป็นชั้วโมง ไม่จำกัดวุฒิจันทบุรี บัญชี,account แม่บ้านพัทยา โลตัส ศรีสะเกษ bulk พนักงานบัญชี ฉะเทิงเชา วุฒิ ม.6 นนทบุรี ขับรถ การเงิน โรงพยาบาล เชียงใหม่ งานศรีราชา เสริฟ เซ็นทรัลลาดพร้าว secretary สีลม สาธร วุฒิปวส.จ.สุพรรณบุรี วุฒิ ม.6งาน คลินิคความงาม นวโลหะไทย งานบัญชี สายไหม ยพยนร‘ยงยงร’ยนยขร’ร‚ ฝ่ายผลิต โรงงาน ชลบุรี ไทยประกันชัวิต กระทรวงยุติธรรม PC สินต้า แม่บ้านวิลล่า mtx งานทำที่บ้าน ชลบุรี เจ้าหน้าบุคคล ชลบุรี โรจจนะ วุฒิ ม.6 เหม่งจ่าย ฝ่ายผลิต หน้านิคม จ.ชลบุรี accountant บัญชี ยาราไทย เสมียน ม.6 สมุทปราการ พนักงานขายร้านกาแฟ ฝ่ายผลิตรามคำแหง ศึกษา สุข uno