หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ก๊าซธรรมชาติ
เขียนโดย Wonder Man

Rated: vote
by 3 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




1. ก๊าซธรรมชาติคืออะไร
      ก๊าซธรรมชาติ คือ ส่วนผสมของก๊าซไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนต่างๆในสภาวะก๊าซ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น สิ่งเจือปนอื่นๆที่พบในก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์ เป็นต้น
      ก๊าซธรรมชาติเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีสารสำคัญ 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน (H) กับ คาร์บอน (C) รวมตัวกันในสัดส่วนของอะตอม ที่ต่างๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันดับแรกที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม กับ ไฮโดรเจน 4 อะตอม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ก๊าซมีเทน" จนกระทั่งมีคาร์บอนเพิ่มมากขึ้นถึง 8 อะตอม กับไฮโดรเจน 18 อะตอม มีชื่อเรียกว่า "อ๊อกเทน"
2. การเกิดก๊าซธรรมชาติ
      ก๊าซธรรมชาติเกิดจาก การสะสมและทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ สะสมเป็นเวลานาน จนเกิดการรวมตัวกันเป็นก๊าซธรรมชาติ ซึ่งประกอบ ด้วย สารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน เพนเทน เฮกเซน เฮปเซน และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน อื่น ๆ อีก นอกจากนี้มีสิ่งเจือปนอื่นๆอีก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ฮีเลียม ไนโตรเจนและไอน้ำ เป็นต้น
      ก๊าซธรรมชาติที่ได้จากแหล่งอาจประกอบด้วยก๊าซมีเทนล้วนๆ หรืออาจจะมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆปนอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติแต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70 เปอร์เซนต์ขึ้นไป และมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นปนอยู่บ้าง ก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนเกือบทั้งหมด เรียกว่า " ก๊าซแห้ง (dry gas)" แต่ถ้าก๊าซธรรมชาติใดมีพวกโพรเพน บิวเทน และพวกไฮโดรคาร์บอนเหลวหรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ เช่น เพนเทน เฮกเทน ฯลฯ ปนอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง เรียกก๊าซธรรมชาตินี้ว่า "ก๊าซชื้น (wet gas)"
      ก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทนหรือที่เรียกว่าก๊าซแห้งนั้นจะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจำเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซชื้นที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 4 – 8 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศเช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพนและบิวเทนออกจากก๊าซธรรมชาติได้แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือ LPG(Liquefied Petroleum Gas) ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวหรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ ซึ่งเรียกกันว่า "คอนเดนเซท" (Condensate) คือ พวกไฮโดรคาร์บอนเหลว ได้แก่ เพนเทน เฮกเซน เฮปเทน และอ๊อกเทน ซึ่งมีสภาพเป็นของเหลว เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตสามารถแยกออกจากก๊าซธรรมชาติได้บนแท่นผลิต การขนส่งอาจลำเลียงทางเรือหรือส่งไปตามท่อได้
3. พัฒนาการของก๊าซธรรมชาติ
      ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการ เนื่องจากมีการใช้พลังงานน้อย และมีน้ำมันดิบอยู่เหลือเฟือเกินความต้องการ แต่ในปัจจุบันนี้ ก๊าซธรรมชาติถูกนำมาใช้ทดแทนน้ำมันมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากน้ำมันเหลือน้อยลงนั่นเอง และราคาน้ำมันของโลกก็สูงขึ้น ประกอบกับก๊าซธรรมชาติจัดเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด ดังนั้นด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนาในการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้เป็นพลังงานทดแทน มากขึ้น ในขณะนี้ประเทศไทยได้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงแล้ว โดยได้ทดลองใช้กับรถประจำทางของขนส่งมวลชนและรถแท๊กซี่ จำนวนหนึ่ง ซึ่งต่อไปจะพัฒนาระบบและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานีบริการที่รองรับสำหรับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ และทางภาคอุตสาหกรรม ได้นำก๊าซธรรมชาติไปใช้ทดแทนน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวแล้ว ซึ่งในอนาคตก๊าซธรรมชาติจะมีบทบาทมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมัน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว ทั้งนี้เนื่องจากราคาของน้ำมันและก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะสูงขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับราคาก๊าซธรรมชาติ จึงนับว่าก๊าซธรรมชาติเป็นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งและควรจะสนับสนุน และอีกประการหนึ่งเพื่อลดการนำเข้าน้ำมันได้อีกด้วย
(ที่มา : 1. เอกสารวิชาการ กองควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซ กรมโยธาธิการ 2. เอกสารประกอบการสอน วิชาวิศวกรรมแก๊สธรรมชาติ โดย ดร. ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
เรียบเรียงโดย : สำนักความปลอดภัยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

การสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและการขุดเจาะ
      ก๊าซธรรมชาติ มักมีการค้นพบในแหล่งเดียวกันกับน้ำมันดิบและจะถูกนำขึ้นมาพร้อมๆกัน ก๊าซจะถูกแยกออกจากน้ำมัน การสำรวจเริ่มจากการ ศึกษาสภาพภูมิประเทศและสภาพทางธรณีวิทยา อย่างไรก็ตาม การสำรวจภาคพื้นดินจะได้ข้อมูลคร่าวๆ ซึ่งจะนำมาใช้ในการคาดคะเนว่ามีน้ำมันดิบหรือ ก๊าซธรรมชาติสะสมตัวอยู่หรือไม่ แต่จะไม่ทราบแน่ชัด จะต้องทำการขุดเจาะสำรวจ เสียก่อน การศึกษาสภาพภูมิประเทศได้จากการศึกษาแผนที่ทางธรณีวิทยา ตัวอย่างหิน ภาพถ่ายจากดาวเทียม การสำรวจโครงสร้าง ทางธรณีวิทยาของชั้นหินใต้พื้นดิน ใช้วิธีการทางธรณีฟิสิกส์ เช่น การวัดค่าสนามแม่เหล็ก การวัดแรงดึงดูดของโลก การวัดความไหวสะเทือนของชั้นหินซึ่งแต่ละชั้นหินจะให้ค่าออกมาต่างกัน

      ในการสำรวจสภาพทางธรณีวิทยา การสำรวจความไหวสะเทือนโดยระบบ Seismic มีความสำคัญมาก ผลความไหวสะเทือน ที่ได้ออกมา จะทำให้ทราบลักษณะโครงสร้างของชั้นหิน ซึ่งจากข้อมูลเก่าๆทางด้านธรณีวิทยาจะแสดงให้เห็นว่าบริเวณนั้นๆ จะเป็นแหล่งสะสมของน้ำมันหรือไม่ จากการทำ Seismic หลายๆจุด จะทำให้สามารถวาดภาพลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาได้ การศึกษาสภาพภูมิประเทศและโครงสร้างทางธรณีวิทยาจะทำให้ ้ทราบเพียงว่าอาจจะมีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติอยู่เท่านั้น ถ้าให้แน่ชัดต้องทำการเจาะสำรวจอีกครั้ง ซึ่งในการเจาะสำรวจจะมีการศึกษาเพิ่มเติมจากตัวอย่าง หินและเครื่องมือที่ติดไปกับ แท่นขุดเจาะ

การขุดเจาะเพื่อสำรวจให้แน่ชัดว่ามีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติสะสมตัวหรือไม่นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเครื่องมือขุดเจาะมีลักษณะเป็นแบบสว่าน หมุนส่วนประกอบที่สำคัญประกอบด้วย หัวเจาะ ท่อเจาะ แท่นยึด และเครื่องยนต์ ซึ่งทำหน้าที่หมุนและดันหัวเจาะลงไปใต้พื้นดิน เนื่องจากท่อเจาะแต่ละท่อนยาวประมาณ 10 เมตร ดังนั้น การขุดเจาะจะต้องหยุด เพื่อทำการต่อท่อทุกระยะ 10 เมตร และหัวเจาะที่ใช้ก็อาจทื่อ และจำเป็นต้องเปลี่ยนบ่อยๆ การที่จะเปลี่ยนหัวเจาะจะต้องถอนท่อเจาะ ที่เจาะไปแล้วทั้งหมดออกมา แล้วเริ่มขุดเจาะใหม่ ซึ่งระหว่างการขุดเจาะก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย ได้แก่ ดินถล่ม หินพังทลาย ในระหว่างการถอนท่อเจาะออกเพื่อเปลี่ยนหัวเจาะ จึงจำเป็นต้องใส่ปลอกกันบ่อพังเสียก่อนที่จะทำการถอนท่อและบางครั้งท่อเจาะ เมื่อเจาะลงลึกๆ ก็อาจมีการหักได้ การแก้ไขต้องนำท่อเจาะขึ้นมา ก่อนทำการเจาะต่อ

แหล่งก๊าซธรรมชาติ NGVคืออะไร
      แหล่งก๊าซธรรมชาติ ได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งในทะเลและบนบก รวมทั้งการนำเข้าจากประเทศเมียนมาร์ จากแหล่งยาคานา และแหล่งเยตากุน ส่วนแหล่งในประเทศได้จากแหล่งเอราวัณ บงกช ยูโนแคล 2 และ 3 ทานตะวัน ไพลิน
      การแยกก๊าซธรรมชาติ คือ การแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ซึ่งปะปนกันหลายชนิดตามธรรมชาติออกจากก๊าซธรรมชาติ มาเป็นก๊าซชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามคุณสมบัติ และคุณค่าของก๊าซนั้น ๆ โรงแยกก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย เกิดขึ้นหลังจากที่มีการนำก๊าซธรรมชาติซึ่งค้นพบในอ่าวไทยมาใช้ประโยชน์ เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ก๊าซธรรมชาติประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่เป็นประโยชน์ สามารถแยกออกมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง เพียงอย่างเดียว ก๊าซธรรมชาติใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ด้วยการใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการทำกระจก อุตสาหกรรมเซรามิค อุตสาหกรรมสุขภัณฑ์ ฯลฯ และเมื่อนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูงก็นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ได้ เรียกว่าก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (Natural Gas for Vehicles : NGV)

ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลังกระบวนการแยกของโรงแยกก๊าซ
      ก๊าซธรรมชาติมีสารประกอบที่เป็นประโยชน์ เมื่อผ่านกระบวนการแยกที่โรงแยกก๊าซแล้ว จะได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
      1.ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า “ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์” (Natural Gas for Vehicles : NGV)
      2.ก๊าซอีเทน (C2) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป
      3.ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ขั้นต้นได้เช่นเดียวกัน และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้รวมทั้งยังนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทได้อีกด้วย
      4.ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon) : อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต เรียกว่า คอนเดนเสท (Condensate) สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป
      5.ก๊าซโซลีนธรรมชาติ : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (natural gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้เช่นเดียวกับคอนเดนเสท และยังเป็นตัวทำละลาย ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน
      6.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือการถ่ายทำภาพยนต์

ก๊าซธรรมชาติ อยู่ในสภาพสถานะต่าง ๆ ดังนี้
      1.Pipe Natural Gas เป็นการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ซึ่งเป็นก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ การขนส่งด้วยระบบท่อ จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและในโรงงานอุตสาหกรรม
      2.NGV หรือ Natural Gas for Vehicles เป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน การขนส่งก๊าซธรรมชาติมาทางท่อและขนส่งทางรถยนต์ เข้าสู่สถานีบริการ และเข้าสู่ระบบขบวนการในการบรรจุลงในถังเก็บก๊าซของรถยนต์ต่อไป
      3.LNG หรือ Liquefied Natural Gas เป็นการขนส่งด้วยเรือที่ออกแบบไว้เฉพาะ โดยการทำก๊าซธรรมชาติให้กลายเป็นของเหลว เพื่อให้ปริมาตรลดลงประมาณ 600 เท่า โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส
NGV คืออะไร
      NGV ย่อมาจาก Natural Gas for Vehicles เป็นก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ มีส่วนประกอบหลัก คือก๊าซมีเทน ซึ่งมีคุณสมบัติเบากว่าอากาศ ส่วนใหญ่จะใช้งานอยู่ในสภาพเป็นก๊าซที่ถูกอัดจนมีความดัน 3,000 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว บางครั้งเรียกก๊าซนี้ว่า CNG ซึ่งย่อมาจาก Compressed Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติอัด

สถานีบริการ NGV
      สถานีบริการ หมายถึง สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็น สถานีที่ที่มีไว้ในครอบครองก๊าซธรรมชาติที่เป็นจุดเก็บรวมหรือจุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้บริการหรือจำหน่ายก๊าซแก่ยานพาหนะ ซึ่งประกอบด้วยถังเก็บและจ่ายก๊าซ ระบบท่อเครื่องสูบอัดก๊าซและอุปกรณ์เครื่องมือตลอดจนระบบ ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอาคารบริการ สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ตลอดจนบริเวณสถานที่ดังกล่าว เพื่อใช้ในการนี้ ลักษณะของสถานีบริการ NGV
      1. สถานีบริการ NGV แบบทั่วไป ตั้งอยู่ตามแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และบรรจุก๊าซลงถังส่งให้สถานีบริการ NGV ที่อยู่ใกล้ชุมชนและห่างไกลแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และสามารถบรรจุจำหน่ายก๊าซแก่ยานพาหนะได้ด้วย
      2. สถานีบริการ NGV แบบอยู่ห่างแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้ชุมชนบริเวณที่ไม่มีแนวท่อก๊าซธรรมชาติผ่าน ต้องรับก๊าซจากสถานีบริการ NGV แบบทั่วไป โดยการขนส่งทางยานพาหนะขนส่งก๊าซ จึงจะทำการบรรจุจำหน่ายก๊าซแก่ยานพาหนะได้ และที่ตั้งของสถานีบริการ NGV ลักษณะนี้ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ร่วมกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว
แนวโน้มการใช้ NGV ภายในประเทศและต่างประเทศ
      การใช้ก๊าซ NGV ภายในประเทศ ได้มีการกำหนดเป็นนโยบายด้านพลังงานของประเทศที่ต้องการให้มีการขยายการใช้ก๊าซ NGV ในภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และปัญหาด้านมลพิษด้วย และขณะนี้ได้มีรถแท็กซี่ที่ติดตั้งเครื่องยนต์ใช้ NGV แล้วจำนวนหนึ่ง ซึ่งในอนาคตข้างหน้าจะมีการติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก เพื่อรองรับการขยายตัว การเปิดสถานีบริการ NGV โดยปัจจุบัน ปตท. ได้เปิดให้บริการสถานีบริการ NGV แล้วจำนวน 8 สถานี ได้แก่
      1. สถานีบริการ NGV รังสิต ที่ อู่รถ ขสมก. รังสิต
      2. สถานีบริการ ปตท. หจก. ศรีเจริญภัณฑ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
      3. สถานีบริการ ปตท. กิมจีน ถนนพหลโยธิน
      4. สถานีบริการ ปตท. สวัสดิการรถไฟ ถนนกำแพงเพชร 2
      5. สถานีควบคุมความดันก๊าซฯ ปตท. ถนนสุขุมวิท จังหวัดสมุทรปราการ
      6. สถานีบริการ ปตท. ถนนกรุงเทพ – นนทบุรี
      7. สถานีบริการ ปตท. ถนนพัฒนาการ
      8. สถานีบริการ ปตท. ถนนพระรามที่ 3
และจากข้อมูลของโครงการก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พบว่าจะมีการเพิ่มจำนวนสถานีบริการ NGV เป็น 120 สถานี ภายในปี 2551 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV ในอนาคต ส่วนการขยายจำนวนรถยนต์ใช้ก๊าซ NGV ปตท. มีโครงการที่จะทำการดัดแปลงรถแท็กซี่และรถยนต์ของหน่วยงานราชการ โดยจะเริ่มจากรถโดยสาร ขสมก. และรถเก็บขยะของกทม. ก่อน และจึงจะขยายจำนวนไปยังรถ กลุ่มอื่นต่อไป


ยานพาหนะที่ใช้ NGV
           การใช้ก๊าซ NGV ในประเทศไทย ได้เริ่มทดลองใช้กับยานพาหนะในปี พ.ศ. 2527 โดยทดลองใช้กับรถโดยสารประจำทางของ ขสมก. และรถสามล้อเครื่อง แต่ยังไม่มีความแพร่หลาย ทั้งนี้เนื่องจากไม่คุ้มค่ากับการลงทุนดัดแปลงเครื่องยนต์ และในขณะนั้นน้ำมันเชื้อเพลิง ก็มีราคาถูกอยู่ต่อมาเกิดวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้น รถรับจ้าง ได้แก่ รถแท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง ได้ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ โดยใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงแทน ซึ่งสภาวะดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดสถานีบริการก๊าซขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ในอนาคตอันใกล้ ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะต้องขยับสูงขึ้น และปล่อยให้ลอยตัว จึงทำให้ราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะต้องสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่เป็นอยู่รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายด้านพลังงาน ให้มีการขยายการใช้ก๊าซ NGV ในภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพง และปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ จึงได้จัดตั้งโครงการก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์ (NGV Project) เพื่อสนับสนุนผลักดันให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ให้มากขึ้น โดยให้ ปตท. และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จัดทำโครงการทดสอบและนำร่องการใช้ก๊าซ NGV ในรถแท็กซี่ พร้อมกับให้ ปตท. เร่งรัดการก่อสร้างสถานีบริการก๊าซ NGV ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งปัจจุบัน ปตท. ได้เปิดให้บริการสถานีบริการก๊าซ NGV แล้วจำนวน 8 แห่ง ดังนี้
           1. สถานีบริการก๊าซ NGV รังสิต ณ อู่รถ ขสมก. รังสิต
           2. สถานีบริการ ปตท. หจก. ศรีเจริญภัณฑ์ ถ.วิภาวดีรังสิต
           3. สถานีบริการ ปตท. กิมจีน ถ.พหลโยธิน ใกล้สี่แยกอนุสรณ์สถาน
           4. สถานีบริการ ปตท. สวัสดิการรถไฟ ถ.กำแพงเพชร 2 ใกล้สถานีขนส่งหมอชิต 2
           5. สถานีควบคุมความดันก๊าซฯ ปตท. ถ.สุขุมวิท จ.สมุทรปราการ
           6. สถานีบริการ ปตท. ถ. กรุงเทพ - นนทบุรี
           7. สถานีบริการ ปตท. ถ.พัฒนาการ
           8. สถานีบริการ ปตท. ถ. พระราม 3
ในอนาคตจะเพิ่มจำนวนสถานีบริการ เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวน รถยนต์ใช้ก๊าซ NGV การขยายจำนวนรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV ปตท. มีโครงการดัดแปลงรถแท็กซี่ และรถยนต์ของหน่วยงานราชการ ซึ่งได้แก่ รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. และรถเก็บขยะของกรุงเทพมหานครและจะขยายจำนวนไปยังรถกลุ่มอื่นต่อไป ซึ่งในขณะนี้ ได้มีการร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด ในการให้สินเชื่อ เพื่อซื้อรถแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซ NGV และเรื่องดังกล่าวนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินการ เป้าหมายจำนวนรถ NGV และค่าใช้จ่าย



รูปแบบเครื่องยนต์ใช้ NGV
           1. เครื่องยนต์ที่ใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิงเพียงอย่าเดียว ( Dedicated NGV ) เป็นเครื่องยนต์ ที่ออกแบบให้ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ โดยมีระบบเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบที่ต้องใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด จะมีทั้งรถที่ผลิตออกมาจากโรงงานรถยนต์โดยตรง ( OEM ) และที่ทำการดัดแปลงเครื่องยนต์ภายหลัง
           2. เครื่องยนต์ที่ใช้เชื่อเพลิงได้สองประเภท มี 2 ระบบ ดังนี้
           2.1 เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงสองระบบ ( Bi - Fuel ) เป็นเครื่องยนต์เบนซินที่ติดตั้ง อุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV ถังก๊าซ NGV เพิ่มเติมสามารถเลือกใช้เชื้อเพลิงได้ทั้งน้ำมันเบนซินและก๊าซ NGV
           2.2 เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงร่วม ( Diesel Dual Fuel ) เป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้ง อุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV และถังก๊าซ NGV เช่นเดียวกับระบบเชื้อเพลิงสองระบบ ( Bi - Fuel ) ซึ่งต้องใช้น้ำมันดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติ โดยใช้น้ำมันดีเซลเป็นตัวจุดระเบิดนำร่อง


ข้อเปรียบเทียบการใช้ NGV กับน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ LPG
ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงที่มีความปลอดภัย
           NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถยนต์ มีความปลอดภัยกว่าน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของ NGV มีดังนี้
           1. ก๊าซ NGV เบากว่าอากาศ ดังนั้นเมื่อเกิดการรั่วไหลก๊าซ NGV จะลอยตัวและฟุ้ง กระจายไปสู่ด้านบน ไม่สะสมอยู่บนพื้นดิน จนเกิดการลุกไหม้เหมือนเชื้อเพลิงอื่นๆ
           2. อุณหภูมิที่ก๊าซ NGV จะลุกติดไฟในอากาศเองได้ เมื่อมีความเข้มข้นของเชื้อเพลิงพอ จะต้องสูงถึง 650 ?c
           3. ความเข้มข้นขั้นต่ำสุดที่จะลุกติดไฟได้ของก๊าซ NGVจะต้องมีปริมาณสะสมถึง5%ในขณะที่ก๊าซหุงต้มจะอยู่ที่ 2%
ข้อเปรียบเทียบการใช้ก๊าซ NGV กับก๊าซ LPG และน้ำมันเชื้อเพลิง


ปัญหาจากการใช้ NGV ของยานพาหนะ
           1. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ NGV ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จึงมีราคาสูง เช่น อุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ ระบบ Diesel Dual Fuel ราคาประมาณ 400,000 – 500,000 บาท และอุปกรณ์ใช้ก๊าซฯ ระบบ Bi – Fuel ราคาประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
           2. การติดตั้งถังบรรจุก๊าซฯ ภายในรถ มีความจุประมาณ 70 ลิตร น้ำหนักประมาณ 60-70 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่าน้ำมันเบนซินประมาณ 15 ลิตร การติดตั้งต้องติดตั้งไว้ในกระโปรงหลังรถ ทำให้เสียพื้นที่ใช้สอยไปบางส่วน ในการบรรทุกของ
           3. การบรรจุก๊าซฯ ลงในถังก๊าซฯ ต้องบรรจุบ่อยครั้งกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ น้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากปริมาณก๊าซฯที่บรรจุอยู่ภายในถังมีปริมาณน้อย โดยเฉลี่ยก๊าซ NGV 1 ถังนั้น รถวิ่งได้ระยะทางประมาณ 150 - 250 กิโลเมตร แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาพการจราจรด้วย
           4. สมรรถนะและกำลังเครื่องยนต์ลดลง เนื่องด้วยน้ำหนักถังก๊าซฯ ที่ติดตั้งเพิ่มขึ้นมีผลทำให้ อัตราการใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น ประกอบกับลักษณะของเครื่องยนต์ใช้ก๊าซฯ มีปริมาณก๊าซฯ จะเข้าแทนที่อากาศในเครื่องยนต์ จึงทำให้มีจำนวนออกซิเจน สำหรับการ รเผาไหม้น้อยลง กำลังของเครื่องยนต์จึงตกลง และมีผลทำให้อัตราเร่งลดลงประมาณ 10% และอัตราการใช้เชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 10%
           5. จำนวนสถานีบริการก๊าซ NGV ปัจจุบันมีจำนวนน้อย ซึ่งอาจไม่สะดวกในการหาที่เติมก๊าซ

แนวทาง การแก้ไขปัญหา เพื่อสนับสนุนการใช้ NGV เป็นเชื้อเพลิง
           1. ปตท. ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง ในการขอยกเว้น / ลดหย่อนอากรการนำเข้า อุปกรณ์ใช้ก๊าซ และประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้การสนับสนุน โดยให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ลงทุน / ประกอบการ ในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งในรถยนต์ใช้ก๊าซฯ และสถานีบริการก๊าซ NGV ซึ่งจะทำให้ราคาอุปกรณ์ก๊าซฯ ต่ำลงในอนาคต
           2. ราคาก๊าซ NGV มีราคาถูกกว่าน้ำมันเชื้อเพลิง หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว จึงเหมาะสมกับ รถที่มีการวิ่งใช้งานมาก ๆ เช่น รถแท็กซี่ รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. เพราะจะทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน
           3. ในอนาคตอันใกล้ ปตท. จะเพิ่มจำนวนสถานีบริการก๊าซ NGV ให้ได้ 120 แห่ง ภายใน ปี พ.ศ. 2551 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ ที่ใช้ก๊าซ NGV ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ได้เปิดดำเนินการแล้ว จำนวน 8 แห่ง
           4. ในอนาคต การพัฒนาและปรับปรุงอุปกรณ์ก๊าซฯ ที่ใช้กับเครื่องยนต์ จะต้องพัฒนาให้ดี ขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาเกี่ยวกับกำลังเครื่องยนต์ก็จะไม่มีผลกระทบ โดยทั้งนี้โรงงานที่ผลิตรถยนต์ จะต้องหาวิธีการ แก้ไขปัญหา และปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ เพื่อตอบสนองผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV
           5. ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาด สามารถผลิตได้ในประเทศไทย มีคุณสมบัติที่ทำให้ ปริมาณของไอเสียจากรถยนต์ ต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น และอันตรายน้อยกว่าน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(ข้อมูล. อ้างอิงจาก โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พฤษภาคม 2546)




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

เก็บเกี่ยวประสบการณ์
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : Karona Resort & Spa สมัครงานแถวสมุทรปาการ นักจิตเวช งานบัญชี แจ้งวัฒนะ ผู้จัดการแผนกวิจัยและพัฒนา ไม่จำกัดวุฒิ พัิยา การเงิน บัญชี สมัครงานวุฒิม.6 บันเทิง ขับรถบรรทุก-รถพุวง-รถหัวลาก เจ้าหน้าการตลาด จนท ขายตั๋วโดยสาร ช่างเพ็นเล็บ โลตัส ราม 2 บัญชี นักศึกษาจบใหม่ พระโขนง ไม่จำกัดวุฒิ รัชดา ห้วยขวาง บริษัทบันยันทรี สมัคงานแถวพระราม2 ฦ่ายผลิต ขับรถ ส่งสินค้า ธนาคาร สุราษ ชับรถผู้บริหารชาวต่างชาติ 3900900048359 งาดพร้าวบางกะปิ สระว่ายน้ำสมุทรสาคร PR ประจำ Boot Account Excel คลังสินค้า จัดส่ง ราชบุรี วิจัยยา เจ้าหน้าที่วิชาการ souschef รัชดาแถว ม.จันทรเกษม ต่างประเทศ งานกุ๊กมาเลเซ๊ย cc-oo เดินภาพ สมัครงานเกาะช้าง ชลบุรี บัญชี หาดใหญ่ ม.6 เพชรบุรีตัดใหม่ yprpttyy บัญชีทั่วไป สัตหีบ ชลบุรี งานโรงแรมที่จันทบุรี บัญชีโรงแรมเชียงใหม่ วุฒิ ม.6 ทำงานเชียงราย ToS ขับรถ eastren seaborad ่างภาพ ช่ หินน้ำทรายสวยหัวหิน ช่างแพ็ตเทริน ศรีราชา ชลบุรี เท่านั้น สยามเด็น