หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง เรื่องของดุลยภาพ
เขียนโดย ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

Rated: vote
by 97 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




เรื่องของดุลยภาพ

โดย ดร. ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์

อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

         ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น หากกำหนดให้ปัจจัยอื่นๆ คงที่ การกำหนดราคาสินค้า หรือบริการจะพิจารณาจากอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ที่เกิดขึ้นในตลาด โดยที่อุปสงค์ หมายถึง ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งปกติแล้ว ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการในปริมาณที่มากขึ้น หากราคาสินค้า หรือบริการนั้นถูกลง ในทางกลับกันหากราคาสินค้า หรือบริการนั้นสูงขึ้น ผู้บริโภคจะมีความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการนั้นในปริมาณที่ลดลง จึงพอสรุปได้ว่า ราคาสินค้า หรือบริการมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในปริมาณความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการของผู้บริโภค โดยมีความสัมพันธ์แบบแปรผกผันกันนั่นเอง

            ในขณะที่อุปทานนั้น หมายถึง ปริมาณความต้องการขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ ระดับราคาใดราคาหนึ่ง ซึ่งผู้ขายมักต้องการที่จะขายสินค้า หรือบริการในปริมาณที่มากขึ้น หากราคาสินค้า หรือบริการนั้นสูงน่าจูงใจ แต่ถ้าราคาสินค้า หรือบริการถูกลง ปริมาณความต้องการขายสินค้า หรือบริการของผู้ขายก็จะลดลงตาม ดังนั้น ราคาสินค้า หรือบริการจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในปริมาณความต้องการขายสินค้า หรือบริการของผู้ขาย เช่นเดียวกับอุปสงค์ แต่ความสัมพันธ์จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันแทน

            คราวนี้ลองมาดูกลไกการทำงานของอุปสงค์ และอุปทานในการกำหนดราคาสินค้า หรือบริการกันดูนะครับ สมมตินะครับสมมติว่า ณ ตลาดแห่งหนึ่ง มีผู้บริโภคกล้วยไข่จำนวนมาก และมีผู้ขายกล้วยไข่จำนวนมากเช่นเดียวกัน และสมมติต่อไปอีกว่า อุปสงค์ และอุปทานของกล้วยไข่ในตลาดนี้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

             ราคาต่อหวี                                  ปริมาณความต้องการซื้อ                                         ปริมาณความต้องการขาย

                5 บาท                                                 300 หวี                                                                         100 หวี                   

              10 บาท                                                 200 หวี                                                                         200 หวี

              15 บาท                                                 100 หวี                                                                         300 หวี

            มาดูที่ราคาหวีละ 5 บาทกันก่อนนะครับ ที่ราคานี้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อถึง 300 หวี แต่ในตลาดกลับมีความต้องการที่จะขายเพียง 100 หวี นั่นหมายความว่า สินค้าขาดตลาด (Shortage) ดังนั้นหากผู้บริโภคต้องการซื้อกล่วยไข่เพิ่มขึ้น ก็ต้องซื้อที่ราคาสูงขึ้นคือ 10 บาทต่อหวี เพื่อที่จะบริโภคกล้วยไข่ได้ตรงตามความต้องการ แต่ในทางกลับกัน กล้วยไข่ที่ราคาหวีละ 15 บาท ณ ราคานี้ผู้ขายมีความต้องการขายถึง 300 หวี แต่ผู้บริโภคกลับมีความต้องการซื้อเพียง 100 หวีเท่านั้น สินค้าจึงล้นตลาด (Excess) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ราคากล้วยไข่แพงไปในสายตาของผู้บริโภค ดังนั้นหาก ผู้ขายต้องการขายกล้วยไข่ในปริมาณที่มากขึ้น ก็ต้องทำการปรับราคาลง ทำให้ในที่สุดปริมาณสินค้าซึ่งทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายมาพบกัน ก็คือ ที่ 200 หวี ณ ราคา 10 บาทต่อหวีนั่นเอง โดยปริมาณที่ทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภค เท่ากับอุปทานของผู้ขายนี้ เราเรียกกันว่า ปริมาณดุลยภาพ (Equilibrium Quantity) และราคาที่ทำให้อุปสงค์ของผู้บริโภค เท่ากับอุปทานของผู้ขาย เราจะเรียกว่า ราคาดุลยภาพ (Equilibrium Price) ครับ ซึ่งราคาดุลยภาพนี้ พูดง่ายๆ ก็คือ ราคาที่ทั้งผู้บริโภค และผู้ขาย เต็มใจที่จะซื้อ หรือขายสินค้า หรือบริการในปริมาณที่เท่ากันพอดีนั่นเอง

            ถึงตรงนี้คงพอสรุปได้ว่า กรณีที่สินค้าขาดตลาด หรือสินค้าล้นตลาดนั้น ก็เป็นเพราะราคาไม่อยู่ในภาวะดุลยภาพนั่นเอง ดังนั้นกลไกการทำงานของอุปสงค์ และอุปทานจะผลักดันให้ราคาที่ไม่อยู่ในภาวะดุลยภาพนี้กลับเข้าสู่ดุลยภาพ โดยปรับปริมาณความต้องการซื้อ ให้เท่ากับปริมาณความต้องการขายโดยผ่านกลไกราคา (Price Mechanism) และทำให้เกิดราคาดุลยภาพขึ้นในที่สุด แต่ว่าราคาดุลยภาพนี้ก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในความเป็นจริงแล้วการกำหนดราคายังมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งไม่ได้คงที่ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับตัวของราคาในตลาด จึงทำให้กำหนดราคาดุลยภาพเป็นไปได้ค่อนข้างยาก

            ทั้งนี้ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งปริมาณดุลยภาพ และราคาดุลยภาพนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาสินค้า หรือบริการของตนต่อไปในอนาคตครับ




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

ดุลยภาพการตลาด
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : ฟ เหมราช 2 ฝ่ายผลิตมใ3 เก็บตั๋วหนัง พนักงานเย็บผ้าเชียงใหม่ ห้าวขวาง ดินแดง ลาดพร้าว hardrock cafe bangkok พนักงานทวงค่างวด 21.00 เจ้าหน้าที่ โปรแกรม นนทบุรี ยป.รขยท ครูปฐมวัยสมุทรปราการ ผู้ดูแลเด็กพิการ มาตาพุด ประเมินราคาม customer servtces สมัครงานประจำ สมุทรปราการ M2J งานขนสงวุฒิ ป.6 เจ้าหน้าที่ วางแผน ผลิต ม.3+รับ ยูนิตี้ ฝ่ายบริหาร T6ธุรการ/ประสานงาน เฝ้าร้าน นักเคมี ลพบุรี ธุราการศรีราชา งานว่างฉะเชิงเทรา เพชรบุรีตัด SCTC acs เชียงใหม่บริการ โรมนวนคร ต่างจังหวัดนิติกร sale ประสานงาน D-Asset สัตวบาล ชลบุรี roepuety เชิง แมก เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน วืจัย ผู้ช่วยพยาบาลหาดใหญ่ ขับรถผู้บริหาร ชลบุรี สัตหีบ ytwepoet บางรัก สี่พระยา พับลิชชิ่ง รถรับจ้าง ตำแหน่งช่างภูเก็ต วิศกรไฟฟ้า ธุรการสมุทรปราการ ปวส