หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Database Component for Borland Delphi 6.0
เขียนโดย วิชนันท์ เกลียวทอง

Rated: vote
by 81 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Database Component  for Borland Delphi 6.0
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>>

        ในการพัฒนา Application ด้วย Delphi นั้น Component ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากเราสามารถใช้ Component ในการติดต่อและตอบโต้กับผู้ใช้ และเป็น เครื่องมือที่ช่วยให้ควบคุมการทำงานภายใน Applicationได้อย่างง่ายดายและสะดวก
        ความหมายและประเภทของ Component

คอมโพเนนต์ คือ object ต่างๆที่นำมาใช้ประกอบในการสร้างแอพลิเคชัน ซึ่ง คอมโพเนนต์ ส่วนใหญ่จะถูกจัดเก็บไว้ใน Compinent Palette โดยแยกเก็บเป็นหมวดหมู่เอาไว้พร้อมนำไปประกอบแอพพลิเคชันที่เราสร้างขึ้น คอมโพเนนต์จะถูกแยกออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
                Visual Component     เป็นคอมโพเนนต์ที่มีส่วนติดต่อกับผู้ใช้โดยจะแสดงให้เห็นในขณะที่รันแอพพลิเคชัน เช่นข้อความหรือปุ่มต่างๆ
                Non-Visual Component     เป็นคอมโพเนนต์ที่ไม่แสดงให้เห็นในขณะที่รันแอพพลิเคชัน โดยจะเป็นไอคอนขนาดเล็กอยู่บนฟอร์มขณะออกแบบ เช่น MainMenu , PopupMenu       
               ส่วนประกอบของคอมโพเนนต์
คอมโพเนนต์ก็คือ object ชนิดหนึ่งซึ่งจะต้องมีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนดังนี้
        1. Property
        2. Event
        3. Method
                Property     Property คือคุณสมบัติต่างๆ ที่ใช้ในการกำหนดลักษณะและการทำงานของคอมโพเนนต์ จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่เป็น Object เช่น ชื่อ ความกว้าง ความสูง เป็นต้น ใน Object ชนิดเดียวกันนั้นจะมี property อย่างเดียวกัน แต่อาจมีค่าของแต่ละ property แตกต่างกัน โดยเราสามารถกำหนดค่าของ property ได้
                Event     Eventคือเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นกับแต่ละ Object ซึ่งอาจเกิดจากผู้ใช้หรือการทำงานภายในแอพพลิเคชันเองก็ได้ เช่นเมื่อคลิกเมาส์ที่ปุ่มจะเกิดอีเวนต์ OnClick กับปุ่มนั้นเป็นต้น
                Method     Method คือโพรซีเยอร์หรือฟังชันการทำงานของคอมโพเนนต์ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า Method ก็คือ ความสามารถในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างใดอย่างหนึ่งของแต่ละ Object เช่น ฟอร์ม มี method Show ใช้แสดงฟร์ม และ method Hide ใช้ซ่อนฟอร์ม เป็นต้น
        Component Palette คอมโพเนนต์ต่างๆที่อยู่ใน คอมโพเนนต์ พาเล็ตจะถูกจักแยกเป็นกลุ่มๆเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน โดยจะแยกเป็นpage ดังรูป




:: วิธีการสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลจากคอมโพเนนต์
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>> Top

        ก่อนที่เราจะจะสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลเราควรทำความเข้าใจหลักการทำงานของ คอมโพเนนต์ต่างๆกันก่อน เนื่องจากคอมโพเนนต์ที่ใช้งานกับฐานข้อมูลแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
       1. คอมโพเนนต์ประเภท Dataset
       2. คอมโพเนนต์ Datasource
       3. คอมโพเนนต์ประเภท Data Control
เราสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างคอมโพเนนต์ในการติดต่อกับฐานข้อมูลได้ดังรูป


       จากรูปจะเห็นได้ว่าส่วนที่ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยตรงคือส่วนของ Dataset ซึ่งเป็นคอมโพเนนต์ที่ทำหน้าที่ดึงกลุ่มของข้อมูลจากตารางที่เราสนใจในฐานข้อมูล แต่คอมโพเนนต์ประเภท Dataset จะแสดงข้อมูลจากฐานข้อมูลไม่ได้เนื่องจากเป็นคอมโพเนนต์แบบ Non-Visual แต่การสร้าง แอพพลิเคชันฐานข้อมูลส่วนมาก จำเป็นต้องมีส่วนที่ใช้แสดงข้อมูล ดังนั้น Delphi จึงมีคอมโพเนนต์ประเภท Data Control ซึ่งเป็นคอมโพเนนต์ที่สามารถนำข้อมูลจาก Dataset มาแสดงผลได้ ซึ่งการนำข้อมูลมาแสดงผลนั้น จะต้องมีตัวกลางในการเชื่อมระหว่างคอมโพเนนต์ทั้งสองประเภท ซึ่งก็คือ คอมโพเนนต์ Datasource หรือ คอมโพเนนต์แหล่งข้อมูล

:: การสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลโดยใช้ BDE
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>> Top

        ทำความรู้จักกับ BDE                 BDE หรือ Boland Database Engine เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ Application ของ Delphi สามารถทำการติดต่อกับฐานข้อมูลได้ ฐานข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ Local Database ที่ทำงานโดยเครื่องที่รัน แอพพลิเคชันนั้นอยู่เอง เช่น dBase , Paradox เป็นต้น กับประเภท Remote Database ที่มักจะอยู่บน Server เช่น Oracle , Interbase , Informix โดยจะเชื่อมผ่าน SQL Link หรือ ODBC Driver ก็ได้ ซึ่ง BDE และฐานข้อมูลมีความสัมพันธ์กันดังรูป
       ประโยชน์ของ BDE
        * ใช้ API (Application Programing Interface) เดียวในการเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท ทำให้การพัฒนาโปรแกรมไม่ขึ้นกับชนิดของฐานข้อมูล
        * สามารถใช้กับการพัฒนาแอพพลิเคชันแบบ Client/Server โดยเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งแบบ Local Database และ ที่อยู่ของ Server
        * สามารถติดต่อและเข้าถึงข้อมูลประเภทต่างๆได้โดยไม่ต้องทำการ Import
        * ทุกแอพพลิเคชันสามารถใช้ BDE ร่วมกันได้ ซึ่งในกรณีที่มีแอพพลิเคชันหลายตัวเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลหลายประเภทก็ใช้ BDE ตัวเดียวร่วมกันได้
        การใช้ BDE ร่วมกับคอมโพเนนต์ในการติดต่อกับฐานข้อูมูล
        ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นเราทราบแล้วว่า คอมโพเนนต์ที่ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่าน BDE นั้น แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ Dataset , Datasource และ Datacontrol ซึ่งรายละเอียดของแต่ละประเภทมีดังนี้
               Dataset
               ในการใช้ BDE ติดต่อกับฐานข้อมูล คอมโพเนนต์ที่เป็น Dataset มี 4 ตัวได้แก่
                      1. Table
                      เป็นคอมโพเนนต์ที่ใช้สำหรับเข้าถึงข้อมูลใน Table ต่างๆของฐานข้อมูล ซึ่งสามารถดูและ แก้ไขข้อมูลได้ทุกๆเร็คคอร์ดและทุกๆฟิลด์ในTable รวมทั้งยังสามารถเลือกข้อมูลเฉพาะเร็คคอร์ดที่ต้องการได้โดยทำการกรองข้อมูลหรือกำหนดช่วงข้อมูลเป็นต้น
                            การใช้งานคอมโพเนนต์ Table เพื่อเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นจะต้องกำหนด Property ตามลำดับดังนี้
                           - DatabaseName กำหนดชื่อฐานข้อมูล เพื่ออ้างอิงไปยังฐานข้อมูลที่ต้องการใช้งาน
                           - TableName กำหนดชื่อเทเบิลเพื่ออ้างอิงไปยังเทเบิลที่ จะทำงานด้วย โดยที่จะอ้างอิงถึงตารางได้ 1 ตาราง
                           - Active กำหนด ให้เป็น True เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล

                      2. Query
                           เป็นคอมโพเนนต์ที่ใช้เข้าถึงข้อมูลด้วยคำสั่ง SQL คอมโพเนนต์นี้จะมีลักษณะคล้ายๆกับ Table แต่จะมีข้อแตกต่างดังนี้
                            -เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ครั้งละมากกว่า 1 เทเบิล เช่นการใช้คำสั่ง Join ในประโยค SQL
                            -เราสามารถเลือกข้อมูลได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดในประโยค SQL ซึ่งมีประสิทธิภาพกว่าการใช้ method ของ เทเบิล ในการกำหนดช่วงข้อมูล
                            -เหมาะสำหรับใช้งานกับ Database Server
                           การใช้งานคอมโพเนนต์ Query เพื่อเข้าถึงข้อมูลในเทเบิลต่างๆโดยใช้คำสั่ง SQL จะต้องกำหนด Property ดังนี้
                                  - DatabaseName กำหนดชื่อฐานข้อมูล เพื่ออ้างอิงไปยังฐานข้อมูลที่ต้องการใช้งาน
                                  - SQL สำหรับระบุประโยค SQL ที่ใช้ในการเรียกข้อมูล
                                  - Params ถ้ามีการใช้พารามิเตอร์ใน SQL จะต้องกำหนดค่าให้กับพารามิเตอร์ด้วย
                                  - Active กำหนด ให้เป็น True เพื่อติดต่อกับฐานข้อมูล
                      3. StoredProc
                           เป็นคอมโพเนนต์ที่ใช้เก็บ Procdure ไว้สำหรับใช้งานกับฐานข้อมูล Stored Procdure ก็คือ โพรซีเจอร์ที่หระกอบด้วยคำสั่งในภาษา SQL ซึ่งมักจะเป็นงานที่ต้องทำกับฐานข้อมูลอยู่เป็นประจำๆ เราจึงเขียนให้อยู่ในรูปโพรซีเจอร์เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน
                      4. NestedTable
                           ใช้กับข้อมูลที่อยู่ในฟิลด์ชนิด Dataset ซึ่งเป็นข้อมูลที่ซhอนอยู่ในข้อมูลอีกทีหนึ่ง เช่น ฟิลด์ใน oracle 8 เป็นต้น การใช้งานก็เพียงแต่กำหนดชื่อฟิลด์ที่เป็นชนิด TdatasetField ให้กับพร็อพเพอร์ตี้ DatasetField แล้วจากนั้นก็ใช้งานเสมือนเป็น Table ปกติทั่วไป
                ซึ่งคอมโพเนนต์ที่เป็น Dataset ทั้ง 4 แบบนี้จะอยู่ในเพจของ BDE ในคอมโพเนนต์พาเล็ต


               Datasource
               Datasource เป็นคอมโพเนนต์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง DataSet กับ Data Control เพื่อนำข้อมูลต่างๆที่อยู่ใน DataSet มาแสดงผลใน Data Comtrol หรือส่งข้อมูลต่างๆที่อยู่ใน Data Control กลับไปให้ DataSet เพื่อจัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูลกล่าง่ายๆว่า Datasource เป็นคอมโพเนนต์ที่ใช้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มข้อมูลกับคอมโพเนนต์ที่ใช้แสดงข้อมูล
           พร็อพเพอร์ตีที่สำคัญ
Dataset เป็นพร็อพเพอร์ตีที่ใช้สำหรับกำหนดคอมโพเนนต์ประเภท Dataset คือ Table , Query และ StoredProc เพื่อใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
AutoEdit กำหนดให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการสั่ง Edit โดยกำหนดค่าเป็น True หรือ False
         คอมโพเนนต์ Datasource จะถูกจัดไว้ในเพจของ Data Access ในคอมโพเนนต์ พาเล็ต ดังรูป


               Data Control
               Datasource คอมโพเนนต์ในส่วนนี้ ใช้แสดงข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยข้อมูลที่นำมาแสดงนั้นได้มาจากคอมโพเนนต์ Dataset จากเพจ Data Access เราจะไม่เห็นข้อมูลถ้าไม่มีคอมโพเนนต์ในส่วนนี้
                   คอมโพเนนต์ที่สำคัญในส่วนของ Data Control ประกอบด้วย
           DBGrid ใช้แสดงข้อมูลในรูปแบบของตาราง ที่ประกอบด้วยคอลัมน์ และแถวของข้อมูลจากคอมโพเนนต์ dataset นอกจากนั้นเรายังสามารถทำการแก้ไขข้อมูลภายใน DBGrid ได้ด้วย

          DBNavigator ใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูล เช่นการเลื่อนไปยัง record ถัดไป การเลื่อนตัวชี้ไปยัง record สุดท้าย การเพิ่มหรือลบข้อมูลเป็นต้น

           DBText การทำงานจะคล้ายๆกับคอมโพเนนต์ Label ในเพจมาตรฐาน แต่ DBTextจะไม่มีproperty ที่ใช้กำหนดข้อความให้กับคอมโพเนนต์ โดยข้อความนั้นจะเป็นข้อมูลที่ดึงมาจากฐานข้อมูล

           DBEdit การทำงานคล้ายกับคอมโพเนนต์ Edit แต่เป็นการแสดงข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลรวมทั้งยังมีความสามารถในการแก้ไขข้อมูลในฐานข้อมูลได้ด้วย

           DBMemo ใช้แสดงข้อมูล และแก้ไขข้อมูลจำนวนหลายๆบรรทัด จากฐานข้อมูล

           DBImage ใช้ใชการแสดงหรือเปลี่ยนแปลงฟิลด์ข้อมูลที่มีชนิดเป็นรูปภาพจากฐานข้อมูล คอมโพเนนต์นี้มีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการเก็บข้อมูลชนิดรูปภาพได้เป็นอย่างมาก

           DBListbox มีลักษณะคล้ายกับคอมโพเนนต์ ListBox ในแท็บ Standard ซึ่งใช้สำหรับกำหนดลิสต์รายการเพื่อให้ผู้ใช้เลือก แต่รายการที่ถูกเลือกจะถูกเก็บเข้าไปในฟิลด์ที่เรากำหนดให้กับ DBListBox

           DBComboBox เป็นคอมโพเนนต์ที่ประกอบด้วยส่วนของ Edit และ ListBox โดยมีลักษณะคล้ายกับคอมโพเนนต์ ComboBox ในแท็บ Standard

           DBCheckBox ใช้สำหรับกำหนดฟิลด์ประเภทบูลีน ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายกับคอมโพเนนต์ CheckBox ในแท็บ Standard ในการใช้งานจะต้องกำหนด property DataSource สำหรับเชื่อมต่อไปยัง Dataset และพร็อพเพอร์ตี้ DataField สำหรับกำหนดฟิลด์ที่ต้องการทำงานด้วย



:: การสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลโดยใช้ ADO
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::>> Top

        ทำความรู้จักกับ ADO การพัฒนาแอพพลิเคชันฐานข้อมูลทั่วๆไปใน Delphi นั้นแต่เดิมจะต้องอาศัย BDE ดังที่ได้อธิบายไปแล้วแต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่มคุณสมบัติของการติดต่อกับฐานข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้โมเดลของ Active Data Object หรือ ADO ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาโดยไมโครซอฟต์เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลายประเภทและใช้งานได้ง่าย
        ADO หรือ Active Data Object เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อกับฐานข้อมูลรูปแบบใหม่ เป็น Data Object ที่ช่วยให้แอพพลิเคชันสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยผ่าน OLE DB (เป็นรูปแบบ และวิธีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของเทคโนโลยี ADO) ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสระดับล่างที่สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ได้หลายประเภท โดยจะรวมความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลในลักษณะที่เรียกว่า Universal Data Access นั่นคือสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลได้ หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลแบบ relational หรือ non-relational , e-mail และ ระบบ ไฟล์ , เท็กซ์และกราฟฟิก และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตารางแต่เพียงอย่างเดียว คุณสมบัติของADO คือใช้งานง่าย มีขั้นตอนในการติดต่อระหว่างแอพพลิเคชันน้อย ใช้ทรัพยากรเครือข่ายไม่มาก อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพต่อการเข้าถึงข้อมูลสูงสุดด้วย
        การทำงานของ ADO นั้นสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลได้ทั้งแบบ 1-tier คือลักษณะที่ฐานข้อมูลอยู่ภายในเครื่องเดียวกับแอพพลิเคชัน และการใช้งานแบบ multi-tier คือลักษณะที่ฐานข้อมูลอยู่คนละเครื่องกับแอพพลิเคชัน
        แนวโน้มการใช้งาน ADO จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเข้าถึงข้อมูลของไมโครซอฟต์เช่น MS Access และ My SQL Server ซึ่งนอกจากจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์กว่าการใช้ BDE แล้วการแจกจ่ายโปรแกรมที่ใช้ ADO ในอนาคตไม่จำเป็นต้องมีการแจกจ่าย Database Engine ไปด้วยเลย เนื่องจาก Database Engine ที่ใช้คือ OLE DB ซึ่งจะมีอยู่ใน MS Windows รุ่นใหม่ๆ (98 SE , 2000)และใน MS Office 2000 ด้วย
        ขั้นตอนการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้ ADO อธิบายได้ดังรูป



        ในทำนองเดียวกับ BDE คอมโพเนนต์ที่ใช้ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยผ่าน ADO นั้น ก็แบ่งเป็น 3 ประเภทเช่นกัน คือ Dataset , Datasource และ Data Control ซึ่งรายละเอียดในการใช้งานของ Datasource และ Data Control นั้นจะเหมือนกันกับการใช้งานใน BDE จะต่างกันแต่เพียงส่วนของ Dataset ซึ่งรายละเอียดของ Dataset ที่ใช้กับ ADO มีดังนี้                 ADOConnection ใช้ติดต่อกับแหล่งข้อมูลของ ADO โดยเราสามารถใช้ ADOConnaection ร่วมกับADODataset ต่างๆและคอมโพเนนต์ ADOCommand เพื่อเอ็กซีคิวคำสั่งและเข้าถึงข้อมูล
                ADODataset เป็นคอมโพเนนต์หลักที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล สามารถดึงข้อมูลจากเทเบิลเดี่ยวๆหรือหลายๆเทเบิลโดยใช้คำสั่ง SQL ก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรงหรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
                ADOTable ใช้สำหรับทำงานกับเทเบิลเดี่ยวๆสามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรงหรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
                ADOQuery ใช้สำหรับทำงานกับคำสั่ง SQL สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
                ADOStoredProc ใช้สำหรับเอ็กซีคิวต์ stored procedure สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
                ADOCommand ใช้ในการเอ็กซีคิวต์คำสั่งต่างๆเช่นคำสั่ง SQL สามารถติดต่อกับแหล่งข้อมูลโดยตรง หรือผ่าน ADOConnection ก็ได้
                RDSConnection เป็นคอมโพเนนต์ที่มีลักษณะการทำงานคล้ายกับ ADOConnectionใช้ในการสร้างแอพพลิเคชันแบบ multi-tier

        ออบเจ็คหลักๆของ ADO คือ Connection, Command และ Recordset โดยออบเจ็คเหล่านี้แทนด้วย คอมโพเนนต์ใน Delphi คือ ADOConnection, ADOCommand และ ADO dataset ทั้งหลาย (คือ ADODatasset, ADOTable และ ADOQuery) นอกจากนี้ยังมีออบเจ็คอื่นที่ช่วยในการทำงานของ ADO เพียงแต่จะไม่ถูกเรียกใช้โดยตรงและไม่มีคอมโพเนนต์ที่ใช้แทนออบเจ็คเหล่านี้
       การใช้ ADO ทำให้เราสร้างแอพพลิเคชันฐานข้อมูลได้โดยไม่ขึ้นกับ Boland Database Engine (BDE) คือ ได้โดยไม่ต้องมี BDE แต่ลักษณะโครงสร้างของแอพพลิเคชันก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพียงแต่จะใช้คอมโพเนนต์ ADO แทน Data Access เท่านั้นและยังคงใช้ DataSource กับ Data Control ชุดเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนค่าพร็อพเพอร์ตี Dataset ของ DataSource ให้เป็นคอมโพเนนต์ ADO
        การติดต่อกับแหล่งข้อมูล
               การติดต่อกับฐานข้อมูลเพื่อนำข้อมูลต่างๆมาใช้งานนั้นสามารถเชื่อมโยงแอพพลิเคชันเข้ากับฐานข้อมูลได้ 2 วิธี                         วิธีที่ 1 ใช้คอมโพเนนต์ ADOConnection ในการติดต่อกับฐานข้อมูล ซึ่งจะเป็นตัวกลางระหว่างฐานข้อมูลและ Dataset
                       วิธีที่ 2 ใช้คอมโพเนนต์ Dataset เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลโดยตรง
                ในการติดต่อกับฐานข้อมูลโดยใช้ ADOConnection จะมีข้อดีกว่าการใช้ Dataset ติดต่อโดยตรงดังนี้
                        -- สามารถใช้ ADOConnection ร่วมกับคอมโพเนต์ ADO ตัวอื่นๆได้ ช่วยให้การปรับปรุงแก้ไขทำได้ง่าย เช่น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงชื่อฐานข้อมูลโดยโครงสร้างภายในเหมือนเดิม เราก็แก้ไขเฉพาะที่ ADOConnection ซึ่งจะไม่มีผลกระทบต่อคอมโพเนนต์ ADO ตัวอื่นๆ
                        -- สามารถดูได้ว่า มีคอมโพเนนต์ ADO อะไรบ้างที่เชื่อมต่ออยู่กับ ADOConnection
                        -- สามารถควบคุม Transaction ที่เกิดขึ้นได้



ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

Blue Ocean Stategy
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : กราฟิค กรุงเทพ ช่างทำงาน4วันหยุด3วัน วุฒิ ปวส.ศรีราชา พนง. หางาน พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา วิศวกรไฟฟ้า ภาคใต้ นักศึกษาฝึกงานด้านกฎหมาย พนักงานขับรถส่วนกลาง/ผู้บริหาร สนามเป โรงแรม สัตหีบ pc ราบรี bartenser oct งานกลางคืนสมุทรปราการ การบินไทยพนักงานขาย ประกาศwdเปิดรับสมัครพนักงาน Staff Pur พนักงงานฝ่ายผลิต พีชีสินค้า งานLASER นักศึกษาจบใหม่ วิศว หางานในเขตจังหวัดชลบุรี เขตสมุทรปราการ นายจ้างฝรั่ง ในหาดใหญ่ บริษัทสามารถ โรงแรม-บางนา-ประเวศ p.c วิ่งภูเก็ต วุฒิม.6 บางนา บัญชี นครราชสีมา รามคำแหง 2 ช่างไฟฟ้าโรงแรมภูเก็ต ม.ปลาย ม.6 ฝ่ายบุคคล จ.ชลบุรี ผู้จัดการสาขาโลตัส QA QC วุฒิม.6 ดีพืระีพำ ไม่จำกัดวุฒิที่นวนคร ญสฟืรืเ งานด้านขนส่ง หัวหน้าช่างโรงแรม 5111110338 กฎหมายภาษี สาธารณสุขท.บางพระ ต่างประเทศโรงงานเกาหลี พนักงานขายกาแพ การวิจัยสินค้า หางานทำเชียงราย ปัญญาภิ glovetex Human Reserch