หน้าแรก เขียนใบสมัครงาน ลงโฆษณางาน ค้นหาใบสมัครงาน คู่มือการใช้งาน Menu

สนใจลงโฆษณา โทร. 02-275-1900, 02-612-4900, 038-395000

space
   ค้นบ่อย : หางานบัญชี, หางานธุรการ, หางานจัดซื้อ, หางานผู้จัดการ, หางานขับรถ, หางานบุคคล, หางานคลังสินค้า, หางานครู, หางานวิศวกร, หางานเขียนแบบ, หางานคีย์ข้อมูล, หางานการตลาด, หางานโรงแรม, หางานสิ่งแวดล้อม, หางานคอมพิวเตอร์, หางาน Programmer, หางานประชาสัมพันธ์, หางานช่าง, หางานสถาปนิก
เรื่อง การปรับปรุงคุณภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิต
เขียนโดย นายสินชัย ศรีจันทร์อินทร์

Rated: vote
by 165 users

คุณคิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

 




การปรับปรุงคุณภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิต  เปรียบเสมือนกับการแก้ปัญหาเพื่อให้การทำงานที่มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผลที่ดีขึ้น  ในการปรับปรุงแก้ไขจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในทุกขั้นตอนของวิธีการการแก้ไขปัญหา       ซึ่งตามวิธีของการแก้ปัญหานี้ได้มีการใช้การแก้ปัญหาตามหลักวงจร PDCA  ของ W.E. Deming โดยในแต่ละขั้นตอนของการปฎิบัติจะต้องได้รับการตอบสนองการทำงานจากกลุ่มคนที่ทำงานด้วยกันร่วมกันทำจึงจะประสบผลสำเร็จ

การที่จะทำการปรับปรุงคุณภาพเพื่อที่จะเพิ่ม  Productivity  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้วจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจนที่ทำให้ผู้ที่ปฎิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน  เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการในการปรับปรุง Productivity แล้วกล่าวได้ว่ามีความคล้ายคลึงกับกระบวนการเพื่อการแก้ปัญหาเพราะเป็นลักษณะการที่องค์กรมุ่งเน้นที่ความพยายามเพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น  โดยทั่วไปแล้วกระบวนการแก้ปัญหาตามวงจร PDCA ประกอบด้วย

1.       PLAN เป็นการค้นหาสาเหตุหรือหัวข้อของปัญหา  มีการกำหนดเป้าหมายของงานที่จะ

       ทำ  สำรวจสภาพปัจจุบันแล้วกำหนดแนวทางแก้ไข

2.       DO  เป็นการดำเนินการแก้ไข

3.       CHECK  เป็นการตรวจสอบผลการแก้ไข

4.       ACT  การกำหนดมาตรฐานและปรับปรุงให้ดีขึ้น

                การที่จะทำให้การปรับปรุงประสบความสำเร็จจะต้องมีความมุ่งมั่นเอาจริงต่อการปรับปรุง Productivity ขององค์กรไม่ว่าจะเป็นความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมทำของผู้บริหารระดับสูง  ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมทำของผู้บริหารระดับกลาง  ความพยายามอย่างเต็มกำลังของหัวหน้างานและพนักงานและการมีใจที่คิดดีคิดในแง่บวกอยู่ตลอดเวลาทำใจให้เข้มแข็งในการเผชิญกับปัญหาเพื่อให้ฟันฝ่าไปได้สำเร็จ   การดำเนินการปรับปรุง  Productivity  องค์กรอาจจะดำเนินการเองหรือติดต่อขอรับบริการจากองค์การที่ปรึกษา  ประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ คือ 1)  การรับความต้องการ  เป็นจุดเริ่มต้นที่องค์การติดต่อไปยังอง๕การที่ปรึกษาเพื่อขอรับการบริการในการปรับปรุง  Productivity

2) การเตรียมการเบื้องต้น เป็นการที่องค์การที่ปรึกษาต้องติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบ

และเกิดความเข้าใจตรงไปตรงมาต่อสภาพการทำงานจริง  3)  การนำเสนอแผนโครงการ  4)  การลงนามในสัญญาให้คำปรึกษาแนะนำ  5)  การให้คำแนะนำ  6)  การสรุปผลของโครงการ

                ในแบบของการปรับปรุงตามวงจร  PDCA  นั้นจะต้องทำไปตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลที่ดีที่สุดโดยเริ่มที่ขั้นตอนแรก  PLANNING  STEP ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นของการสำรวจเพื่อค้นหาและเลือกหัวข้อของปํญหาโดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  โดยจะทำการศึกษาข้อมูลต่างๆ ที่องค์กรทำการบันทึกและเก็บรวบรวมไว้  มาจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง  ศึกษาสภาพการทำงาน ณ สถานที่จริง  จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบจุดอ่อนจุดแข็งขององค์กนในภาพรวมด้วยวิธีการ  Productivity Analysis ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์มูลค่าเพิ่ม  การวิเคราะห์ทางการเงิน  การวิเคราะห์เชิงกายภาพ  การวิเคราะห์ยอดขาย  ต้นทุนสินค้า  คุณภาพสินค้ารวมถึงการส่งมอบสินค้า  การสำรวจเกี่ยวกับปัจจัยด้านบุคลากร  การสำรวจเกี่ยวกับความสามารถด้านการบริหารจัดการ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ทราบจุดที่เป็นปัญหาวิกฤตในภาพรวม  ปัญหาหลักๆ ที่เกิดขึ้นในส่วนของการผลิต  แล้วนำสิ่งที่ทราบเหล่านี้ไปเลือกหัวข้อของปัญหาที่ต้องการจะนำมาแก้ไขแล้วตั้งเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงต่อไป  โดยที่การกำหนดเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงจะต้องทำในลักษณะที่แคบลงมา  การเริ่มการปรับปรุงในระหว่างนี้จะมีการนำระบบ  7 QC Tool มาใช้เพื่อการเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูลทีเป็นระบบ  ในการปรับปรุงนั้นจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนอย่างที่กล่าวในตอนแรกดังนั้นเป้าหมายที่ดีควรจะเป็น  SMART  Target คือ

                S-Specific  มีความจำเพาะเจาะจง  ผู้เกี่ยวข้องทุกคนสามารถทราบเป้าหมายของตนเอง

                M-Measurable  สามารถวัดได้

                A-Agree Upon  เป้าหมายเป็นที่ยอมรับ

                R-Realistic  เป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้ในการบรรลุผลสำเร็จ

                T-Time Frame  มีระยะเวลาในการบรรลุเป้าหมาย

ขั้นตอนต่อไป  DOING  STEP  เป็นขั้นตอนของการทำให้เป็นไปตามแผนนั้นซึ่งแผนที่ดีจะต้องระบุเวลาในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนและการใช้เครื่องมือในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ของแต่ละบริษัท  เพราะการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการปรับปรุงก็จะทำให้การปรับปรุงเกิดผลสำเร็จ  ในการลงมือปฏิบัติเพื่อการแก้ไขปัญหาผู้ปฏิบัติอาจได้รับ ขั้นต่อมาเป็นขั้นการ  CHECKING STEP  คือการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติ  เพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวทางการแก้ไขปัญหา ในขั้นตอนนี้เป็นการเก็บตัวเลขข้อมูล หลังจากมีการปฏิบัติการแก้ปัญหาแล้ว เพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนการปรับปรุงงาน  โดยใช้เครื่องมือคิวซีในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เป็นเครื่องมือช่วย เช่น ฮิสโตแกรม พาเรโตไดอะแกรม หรือแผนภูมิควบคุม  เป็นต้น  ตลอดจนตรวจสอบดูว่ามาตรฐานที่ได้ปฏิบัติไปนั้นมีผลกระทบต่อปัจจัยใดบ้างหรือไม่ จากนั้นเปรียบเทียบผลที่ได้กับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้นำผลการปรับปรุงไปเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้  หากได้ต่ำกว่าที่ควรให้กลับไปดำเนินการปฏิบัติใหม่  แล้วทำการระบุแยกแยะผลได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยพิจารณาผลที่เกิดขึ้นด้วยการสรุปคำนวณประโยชน์ที่ได้จากการแก้ปัญหานั้น โดยเฉพาะให้คิดออกมาเป็นตัวเงินเพราะจะเป็นหน่วยวัดที่สำคัญและเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ง่ายกว่าในทางปฏิบัติแล้วการตรวจและติดตามผลสามารถทำให้หลายวิธีและหลายช่องทาง เนื่องจากการปรับปรุงเพื่อการแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่ต้องดูแลและต้องติดตามอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งในการทำงานแต่ละวัน หากได้กำหนดช่วงเวลาเพื่อการติดตามผลการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ด้วยก็จะทำให้โอกาสในการที่จะได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าและรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและยังทำให้กระบวนการในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นอย่างเอาจริงเอาจังมีความเป็นไปได้สูงด้วย

การตรวจและติดตามผ่านการประชุมของผู้บริหาร ปัญหาหรืออุปสรรคบางประการ หัวหน้างานอาจจะเข้าไปช่วยเหลือได้ไม่เต็มที่หรืออาจจะไม่อยู่ในสภาวะวิสัยที่จะยื่นมือเข้าไปแก้ไขได้  จำเป็นต้องให้ผู้บังคับบัญชาที่อยู่เหนือขึ้นไปเข้ามาดูแลและให้คำแนะนำ  อย่างไรก็ตาม การจะให้หัวหน้างานเข้าไปรายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยบอกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นอาจจะเป็นได้ยาก  วิธีการหนึ่งที่จะทำให้ผู้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่าวมในเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้นคือการให้มีการประชุมระดับผู้บริหารเพื่อติดตามเรื่องการปรับปรุงนี้อย่างต่อเนื่องเป็นปกติ

การตรวจและติดตามโดยกำหนดให้มีวันแห่งการเพิ่มผลผลิต   สำหรับพนักงานบางกลุ่มแล้ว  การแก้ไขปัญหาหรือการปรับปรุงงานอาจเป็นเรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องที่ยากแก่การเข้าใจและลงมือปฏิบัติ  การจะผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาหรือการปรับปรุงงานอย่างจริงจังจึงไม่ใช่แค่การ “สั่ง” ให้พนักงาน “ทำ” เท่านั้น แต่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างบรรยากาศที่เป็น “บวก” ด้วย การส่งเสริมสนับสนุนและรณรงค์ทั้งองค์การให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับปรุงงานนี้  บางองค์การอาจจัดงานที่เรียกว่า “วันแห่งการเพิ่มผลผลิต – Productivity Day”  ขึ้นทุกๆ 3 เดือน ซึ่งจะคล้ายกับวันเสนอผลงานของกิจกรรมคิวซี  เพียงแต่ในวันดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือมุ่งสร้างให้เกิดการตื่นตัวและเกิดความเป็นกันเองร่วมกันในทุกระดับต่อการปรับปรุงงาน

ACTION  STEP  ปกติเมื่อเราทำการ “ตรวจสอบและติดตามผล (Check)” แล้วผลที่เกิดขึ้นจะมี 2 กรณีคือ

1.     ผลที่ได้เป็นไปตามแผน  คือการจัดทำเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน

2.     ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามแผน 

ACT  นั้นจะประกอบไปด้วยการลงมือกระทำ 3 ระดับคือ

1.     การแก้ไข (Correction

2.     การจัดทำเป็นมาตรฐาน (Standardization)

3.     การปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น (Improvement)

 

การกำหนดเป็นมาตรฐานในขั้นตอนนี้ก็เพื่อเป็นการยุติสาเหตุของปัญหาและนำเอามาตรฐานการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้วไปปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ้ำเมื่อปัญหาหรือหัวข้อที่ได้เลือกมาทำการปรับปรุงนั้นได้รับผลสำเร็จที่ดีจนสามารถกำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานได้  ถือว่ารอบของวงจร PDCA ต่อเรื่องนั้นได้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์

สรุปแล้ว Productivity  Improvement นั้นเน้นตามขั้นตอน P-D-C-A เพื่อแสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงด้าน Productivity เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด และเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าการปรับปรุงเมื่อไม่กระทำอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ไม่เกิดผลการปฏิบัติ  โดยที่บางครั้งผู้ที่ปฏิบัติอยู่อาจจะกระทำอยู่  ปฏิบัติอยู่แต่ผู้บังคับบัญญชาไม่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องก็ไม่เกิดผลในทางที่ดีขึ้นและในการที่จะทำการปรับปรุง Productivity โดยหมุนวงจร PDCA ไปเรื่อยๆทำให้ปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่จะได้รับการแก้ไขมีการทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้นและได้รับการปรับเปลี่ยนกลวิธีต่างๆ  จนกระทั่งจะไม่เกิดซ้ำอีก แต่อย่างไรก็ตามการที่จะให้ประสบผลสำเร็จเลยในครั้งเดียวย่อมเป็นไปได้ยาก  และ  การที่จะทำได้ดังนี้จำเป็นต้องได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังจากผู้ร่วมงานทุกๆคนและผู้บังคับบัญชาจะต้องกระทำให้เห็นเป็นตัวอย่างและสม่ำเสมอพร้อมๆ กับการเปิดใจและมีทัศนคติเป็นบวกต่อการปรับปรุงงานเหล่านั้น บางครั้งการที่ผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่างานนั้นๆ  ดีอยู่แล้วแต่เมื่อสอบถามจากผู้ปฏิบัติแล้วอาจจะได้รับคำตอบว่ายังไม่ดี  หรือยังไม่ดีพอและสามารถที่จะทำให้ดีมากยิ่งขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นและมีแนวทางที่จะแก้ไข  จะเห็นได้ว่าการที่จะทำการปรับปรุงคุณภาพเพื่อที่จะเพิ่ม  Productivity  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้วจำเป็นที่จะต้องมีขั้นตอนที่ชัดเจนที่ทำให้ผู้ที่ปฎิบัติงานมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน  บทบาทและทัศนคติพื้นฐานต่อการปรับปรุงงานตามวงจร PDCA ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆ คนที่เกี่ยวข้องไม่ใช่ที่คนใดคนหนึ่งกระทำเพียงคนเดียว     เนื่องจากการปรับปรุงเพื่อการแก้ปัญหาเป็นกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องที่ต้องดูแลและต้องติดตามอยู่ตลอดเวลา  ซึ่งในการทำงานแต่ละวัน หากได้กำหนดช่วงเวลาเพื่อการติดตามผลการปฏิบัติงานดังกล่าวไว้ด้วยก็จะทำให้โอกาสในการที่จะได้รับรู้ถึงความก้าวหน้าและรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 




ความคิดเห็นของคุณกับบทความนี้ ...

 

user_icon

Knowledge Center
knowledge center
knowledge

star

"สมัครงาน" อย่างไร ให้ "คนรุ่นใหม่" ตรงใจ "นายจ้าง"
 
เรื่องน่ารู้ตามหมวดหมู่
• การแพทย์
• ความรู้ทั่วไป
• เรื่องของผู้หญิง
• กีฬา
• ข่าวและสื่อ

และอื่น ๆ อีกมาก

  ค้นหาเรื่องที่คุณสนใจ
ระบุ keyword
 
True vision

TV Icon

TV Interview

หลากเรื่องราวทางธุรกิจ แง่มุมของผู้บริหาร จากบริษัทชั้นนำต่างๆ

dot
HR Corner
สัมภาษณ์คัดเลือกผู้สมัครงานอย่างไร? ให้ตรงสเป็ค
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
The Seeds of Innovation นวัตกรรมใหม่แห่งการพัฒนาบุคลากร
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
 
การสร้างความแตกต่าง ให้เหนือคู่แข่ง
คุณมกร พฤฒิโฆสิต
https://www.jobpub.com/new_images/play.gif
dot

https://www.jobpub.com/new_images/playall_b.gif

 

หางานบ่อย : สเว่นเซ่น บริษัทไทยวินิเทค ปตท สผ ช่างรีทัช สมัครงานวุฒิ ปวช. เขตทุ่งครุ วุฒิ ม.6 เขตบางพลี นิติพลสาขาชลบุรี สถานที่ตั้ง เช่นบางเขน ธุรการ พุทธมณฑลสาย 5 รับเจ้าหน้าที่การเงินจ.นนทบุรี ฝ่ายขาย สมุทรสาคร wbs human manager วุฒิม.6กรุงเทพ สมัคงานธนาคารกสิกรไทย วิจัยทางการตลาด ใบสมัครงานวิศวกรเสียง screen master telecom ธุรการ ปวช. พนักงานขายในห้างเซ็นทรัลภูเก็ต ธุรการ dm, วุฒิ ม.6 เขตตลิ่งชัน ผู้รับเหมาช่วง ลาดพร้าว84 หางานpcห้างโรบินสันเมกะบางนา l5kxobd เชียงใหม่++สถาปนิก ;bfuFv ธุรการเขตราชเทวี urban หางานขับรถโฟคลิฟ พนักงานดีแทค วุฒิม6 สุขุมวิ หางานวุฒิ ม. พุทธมณฑล สาย5 ขับรถผู้บริหาร จ.ชลบุรี ช่างcctv บัญชี ศรีสะเกด Freehand Sale power core band Jo bpub.com งานพนักงานCall center บริษัท plannet ชบุรี สตาบัก ครู นักวิจัย ชิโนไทย มีตำแหน่งว่าง roomboy หางานชุมพรวุฒิม 3 techno fab